**การตรวจสอบข้อเท็จจริงด้านการตรวจพิสูจน์ทางนิติเวชและนิติวิทยาศาสตร์
เรื่องเดิม
สืบเนื่องจากกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังและอาวุธแก๊สน้ำตาเข้าสลายฝูงชนที่เข้าร่วมชุมนุมอยู่ที่บริเวณถนนราชวิถีและถนนอู่ทองในรอบๆ รัฐสภา ตั้งแต่ช่วงเช้าของวันที่ 7 ตุลาคม 2551 เวลาประมาณ 6 นาฬิกาเศษ รวมทั้งการสลายฝูงชนบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า และบริเวณถนนศรีอยุธยาด้านหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล ในช่วงบ่ายและเย็นตามลำดับ จนเป็นเหตุให้มีประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บและบาดเจ็บสาหัส นอกจากนั้นยังมีประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมเสียชีวิตด้วย ซึ่งคณะอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 1 **ได้สรุปข้อเท็จจริงเบื้องต้นเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2551 ว่า การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการใช้กำลังและอาวุธแก๊สน้ำตาในการเข้าสลายฝูงชนโดยไม่มีการแจ้งเตือน อีกทั้งมิได้มีการปฏิบัติตามหลักการที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และประมวลหลักการประพฤติปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย และหลักการพื้นฐานในการใช้กำลังและอาวุธปืนโดยเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย จนเป็นเหตุให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตดังกล่าว** จึงเป็นการกระทำที่ไม่เป็นไปตามหลักการตามปฏิญญาสากลดังกล่าว ซึ่งในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายจะต้องเคารพและคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และธำรงรักษา ผดุงไว้ซึ่งสิทธิมนุษยชนและละเมิดต่อกฎหมาย โดยการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการใช้กำลังและอาวุธแก๊สน้ำตาเข้าสลายฝูงชนในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 นั้น เกิดจากการสั่งการของรัฐบาล เพื่อให้การแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อที่ประชุมรัฐสภาสามารถดำเนินการได้ตามกำหนด จึงได้มีการวางแผนการสลายฝูงชนไว้ล่วงหน้าแล้วตั้งแต่คืนวันที่ 6 ตุลาคม 2551 เมื่อเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้น รัฐบาลและสำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงมิอาจปฏิเสธความรับผิดในการสูญเสียที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ได้
**อนุกรรมการฯ ได้พิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ดังนี้
จากการที่คณะอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 1 ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณีการบาดเจ็บและเสียชีวิตของประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม โดยรวบรวมข้อเท็จจริงจากประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐและสื่อมวลชนที่อยู่ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมฯ จำนวนมากกว่า 50 คน ซึ่งได้ให้ถ้อยคำไว้กับคณะอนุกรรมการฯ แล้ว รวมทั้งการตรวจสอบรวบรวมพยานหลักฐานทางนิติเวชและนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีประเด็นต้องพิจารณาดังต่อไปนี้
**ประเด็นแรก “การบาดเจ็บและเสียชีวิตของประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผลโดยตรงมาจากการใช้แก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุมหรือไม่”** พิจารณาแล้ว ผู้ได้รับบาดเจ็บส่วนมากให้ถ้อยคำยืนยันระเบิดแก๊สน้ำตาที่เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ในการสลายการชุมนุมมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ ระเบิดแก๊สน้ำตาและวัตถุคล้ายวัตถุระเบิดชนิดยิงจากอาวุธปืน และชนิดขว้าง ส่วนการทำงานของระเบิดแก๊สน้ำตาที่ผู้ให้ถ้อยคำสังเกตเห็นจะมีอยู่ 2 แบบ คือ เมื่อตกลงสู่พื้นแล้วจะมีควันสีขาวพ่นออกมาสักครู่จึงระเบิดขึ้นพร้อมกับมีเสียงดังมาก โดย**มีควันสีขาวระเบิดกระจายออกมา** ส่วนอีกแบบหนึ่ง เมื่อตกลงสู่พื้นแล้วจะไม่มีควันสีขาวพ่นออกมา สักครู่จึงระเบิดขึ้นพร้อมกับมีเสียงดังมาก โดย**ไม่มีควันสีขาวระเบิดกระจายออกมาเช่นเดียวกับแบบแรก** ก่อนผู้ให้ถ้อยคำจะได้รับบาดเจ็บได้สังเกตเห็นระเบิดแก๊สน้ำตา หรือวัตถุรูปร่างคล้ายระเบิดแก๊สน้ำตา หรือวัตถุรูปร่างคล้ายระเบิดแก๊สน้ำตา ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจยิงและขว้างใส่ประชาชนไปถูกที่ร่างกายของผู้บาดเจ็บโดยตรง หรือตกที่บริเวณใกล้ตัวของผู้บาดเจ็บแล้วเกิดระเบิดขึ้นจนเป็นเหตุให้ผู้ให้ถ้อยคำได้รับบาดเจ็บขาขาด แขนขาด และบางรายได้รับบาดเจ็บมีบาดแผลฉีกขาดตามลำตัว แขน ขา และใบหน้า บางรายได้รับบาดเจ็บแก้วหูฉีกและทะลุ บางรายมีบาดแผลลึกลงไปถึงชั้นไขมัน บางรายกระดูกแขน ขา แตกหัก ผิวหนังและเนื้อหายไปสำหรับผู้บาดเจ็บสาหัสที่มีบาดแผลฉกรรจ์อาการปางตาย คือ **นางรุ่งทิวา ธาตุนิยม** ได้รับบาดเจ็บจากวัตถุที่มีแรงอัดเข้าที่บริเวณเบ้าตาและศีรษะด้านซ้าย หนังศีรษะฉีกขาด กระดูกกะโหลกศีรษะด้านหน้าข้างซ้ายแตก กระดูกฐานกะโหลกศีรษะด้านซ้ายแตก กระดูกเบ้าตาซ้ายแตก ลูกตาซ้ายถูกทำลาย เนื้อสมองด้านซ้ายฉีกขาดและหายไปบางส่วน แขนข้างขวาบริเวณข้อมือ ฝ่ามือ และนิ้วมือถูกอาวุธที่มีแรงอัด มีเศษพลาสติกรูปทรงกระบอกฝังอยู่ที่บริเวณข้อมือ ความหวังที่จะมีชีวิตรอดเมื่อมีผู้นำส่งถึงโรงพยาบาลมีเพียง 5 % เท่านั้น
สำหรับ**ผู้บาดเจ็บที่เสียชีวิต** คือ **นางสาว อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ** หรือ **น้องโบว์** ได้รับบาดเจ็บมีบาดแผลฉีกขาดบริเวณหน้าอกด้านซ้ายต่อเนื่องถึงต้นแขนด้านซ้ายลึกถึงกระดูกซี่โครง กระดูกซี่โครงด้านซ้ายหักทุกซี่ เลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอดด้านซ้าย 200 มิลลิลิตร ปอดข้างซ้ายฉีกขาดและฟกช้ำ ผนังหัวใจห้องล่างซ้ายฉีกขาด กระเพาะอาหารทะลุ ม้าม ไตข้างซ้าย ตับ และปอดด้านซ้ายฉีกขาด กระดูกต้นแขนด้านซ้ายหัก แก้วหูซ้ายทะลุ โดย**มีผู้ได้รับบาดเจ็บอยู่ใกล้ๆ นางสาวอังคณาฯ และเห็นเหตุการณ์ได้ให้ถ้อยคำยืนยันว่า เห็นมีวัตถุพุ่งเข้าใส่ร่างกายของ น.ส.อังคณาฯ โดยตรง และเกิดระเบิดขึ้น**
นอกจากนั้น ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมฯ บริเวณหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาลและบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า จำนวนหลายรายให้ถ้อยคำว่า เห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่บนอาคาร ต้นไม้และกำแพงด้านในกองบัญชาการตำรวจนครบาล ใช้อาวุธปืนยิงระเบิดแก๊สน้ำตาออกมาจากกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยยิงเข้าใส่ประชาชนที่เดินผ่านถนนศรีอยุธยาด้านหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล เพื่อไปยังลานพระบรมรูปทรงม้า และที่เดินผ่านถนนราชดำเนินด้านข้างกองบัญชาการตำรวจนครบาลทั้งที่มุ่งหน้าไปยังลานพระบรมรูปทรงม้า และระหว่างการเดินกลับไปยังสะพานมัฆวาน รวมทั้งประชาชนที่ยืนจับกลุ่มพูดคุยกันอยู่บนถนนดังกล่าว ในช่วงเวลาระหว่าง 1100 – 12.00 น. และช่วงเวลาระหว่าง 17.00 – 19.00 น. ซึ่งต่างเวลาและต่างสถานที่กันกับที่เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังสลายการชุมนุมเพื่อเปิดทางให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาและคณะรัฐมนตรีเข้าไปในรัฐสภาเพื่อแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในช่วงเช้า และช่วงเย็นเพื่อเดินทางออกจากรัฐสภาภายหลังเสร็จสิ้นการแถลงนโยบายแล้ว
อีกทั้งมีผู้ให้ถ้อยคำหลายรายยืนยันว่า เห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้อาวุธปืนยิงวัตถุระเบิดออกมาจากภายในรัฐสภาด้วย ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บจากการระดมยิงของเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างต่อเนื่องเป็นระยะยาวนานนับชั่วโมงที่บริเวณด้านหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาลและลานพระบรมรูปทรงม้า ส่วนใหญ่ต้องการเดินทางเข้าไปช่วยประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณรัฐสภา แต่ติดแนวกั้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจระหว่างที่มีการเจรจาเพื่อขอผ่านแนวกั้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจไปยังรัฐสภานั้น ผู้บัญชาการเหตุการณ์ได้ประกาศเตือนผ่านเครื่องขยายเสียงว่าจะมีการใช้แก๊สน้ำตา หากยังไม่มีการถอยร่นของกลุ่มผู้ชุมนุม แต่กลุ่มผู้ชุมนุมไม่ยอมและได้ขว้างปาสิ่งของต่างๆ เช่น ก้อนอิฐ หนังสติ๊ก และขวดน้ำซึ่งบรรจุของเหลว เมื่อของเหลวดังกล่าวถูกโล่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจมีลักษณะเป็นฟองคล้ายน้ำกรด จากนั้นผู้บัญชาการเหตุการณ์ ณ ที่นั้นได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจระดมยิงระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าใส่ประชาชน จนเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บและบาดเจ็บสาหัสจำนวนหลายราย รวมทั้งมีผู้เสียชีวิตด้วย เช่นเดียวกับที่รัฐสภาก็ได้มีการระดมยิงต่อเนื่องเป็นระยะๆ ยาวนานเป็นชั่วโมงๆ โดยเฉพาะช่วงเย็นตั้งแต่เวลา 16.00 – 17.00 น. **ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการสั่งการให้ใช้ระเบิดแก๊สน้ำตาสลายการชุมนุมอีกครั้งเพื่อเปิดทางให้** สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาและคณะรัฐมนตรีเดินทางออกจากรัฐสภาภายหลังเสร็จสิ้นการแถลงนโยบายแล้วนอกจากนั้น เจ้าหน้าที่แพทย์และพยาบาลหลายรายได้ให้ถ้อยคำว่าได้พยายามนำรถพยาบาลเข้าไปช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณหน้ารัฐสภาฯ แยกการเรือน ด้านหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาลและบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ก็ยังถูกระดมยิงด้วยแก๊สน้ำตา โดยเฉพาะประชาชนที่ถูกระดมยิงด้วยแก๊สน้ำตาได้ถอยร่นเข้าไปหลบหลังรถพยาบาลของโรงพยาบาลต่างๆ และมีเครื่องหมายกาชาดติดอยู่ที่รถพยาบาลสามารถมองเห็นได้ชัดเจนทุกคันด้วย เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ยังคงระดมยิงระเบิดแก๊สน้ำตา เข้าใส่ประชานและเจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์ **จากการรวบรวมพยานหลักฐานทางด้านนิติเวช** ยืนยันว่า ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บ และบาดเจ็บสาหัส มีบาดแผลเกิดจากแรงอัดอากาศ หรือแรงระเบิดที่สามารถทำลายเนื้อเยื่อ กระดูก และอวัยวะภายในได้อย่างรุนแรง
สำหรับ**สาเหตุการตายของนางสาวอังคณาฯ** เกิดจากบาดแผลฉีกขาดขนาดใหญ่ที่หน้าอกด้านซ้าย ตับ ปอดและหัวใจฉีกขาด ซึ่งสันนิษฐานว่าเกิดจาก**วัตถุของแข็งมีความร้อนร่วมกับมีแรงอัดซึ่งลักษณะเข้าได้กับการถูกแรงระเบิด** เช่นเดียวกับนางรุ่งทิวาฯ ที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสเนื่องจากถูก**วัตถุที่มีแรงอัด**เข้าที่บริเวณเบ้าตาและศีรษะด้านซ้าย หนังศีรษะฉีกขาด กระดูกกะโหลกศีรษะด้านหน้าข้างซ้ายแตก กระดูกฐานกะโหลกศีรษะด้านซ้ายแตก กระดูกเบ้าตาซ้ายแตก ลูกตาซ้ายถูกทำลาย เนื้อสมองด้านซ้ายฉีกขาดและหายไปบางส่วน นอกจากนั้น ประชาชนที่ถูกสะเก็ดระเบิดขนาดเล็กฝังอยู่ตามร่างกายโดยไม่ทราบว่าตนเองถูกสะเก็ดระเบิด เนื่องจากสะเก็ดระเบิดมีขนาดเล็กเท่าเมล็ดถั่วเขียว หรือเท่าเมล็ดถั่วแดง สะเก็ดระเบิดเล็กๆ เหล่านี้แทงทะลุและฝังอยู่ตามร่างกาย โดยมีทั้งฝังอยู่ในระดับตื้นใต้ผิวหนังประมาณ 1 เซนติเมตร และหากอยู่ใกล้กับระเบิดแก๊สน้ำตา สะเก็ดจะฝังอยู่ใต้ผิวหนังลึกถึง 10 เซนติเมตร อาการผิดปกติที่เกิดจากสะเก็ดระเบิดจะแสดงอาการหลัง 72 ชั่วโมง โดยผู้บาดเจ็บจะมีอาการปวดร้อน บวมแดงที่บาดแผล ซึ่งหากปล่อยไว้จะเกิดการอักเสบ เป็นหนอง หากไม่ได้รับการดูแลรักษาเนื้อเยื่อบริเวณนั้นก็จะเกิดการเน่า เนื้อตาย และอาจรุนแรงถึงขั้นติดเชื้อในกระแสโลหิตถึงแก่ชีวิตได้ หากบาดแผลลักษณะดังกล่าวเกิดกับผู้บาดเจ็บที่เป็นเบาหวาน ก็มีโอกาสที่จะสูญเสียอวัยวะ ตัดแขน ตัดขา เนื่องจากการดูแลรักษาบาดแผลดังกล่าวเป็นไปอย่างยากลำบาก เช่นเดียวกับ**การตรวจพิสูจน์หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์**โดยสถาบันนิติวิทยาศาสตร์กระทรวงยุติธรรม ได้ส่งทีมนักนิติวิทยาศาสตร์จำนวนหลายคนเข้าตรวจสอบรวบรวมพยานหลักฐานในสถานที่เกิดเหตุ และผู้เสียหายจากเหตุการณ์ในสถานที่ 3 แห่ง ในวันที่ 10 ตุลาคม 2551 ด้วยเครื่องไอออนสแกนทั้งที่บริเวณหน้ารัฐสภา และบริเวณหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล ตรวจพบสารระเบิดร้ายแรง RDX ที่บริเวณหน้ารัฐสภา และบริเวณหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล รวมทั้งบริเวณกำแพงหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล ที่**นายชิงชัย อุดมเจริญกิจ หรือนายตี๋** ศิลปินวาดภาพที่ได้รับบาดเจ็บมือขวาขาด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอการตรวจยืนยันด้วยเครื่อง GC-MS อีกครั้งหนึ่ง
นอกจากนั้น ยังตรวจพบสารระเบิดร้ายแรง RDX ติดตามตัว เสื้อผ้า และเส้นผมของผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตอีกด้วย (RDX หมายถึง Cyclotrimethylenetrinitramine มีชื่อเรียกอย่างอื่นคือ Cyclonite หรือ Research Development Formular X ซึ่งเป็นสารประกอบวัตถุระเบิด) นอกจากนั้น ยังตรวจพบสารระเบิดร้ายแรง TNT และ RDX หรือซีโฟร์ (C4) บริเวณรถจี๊ปเชอโรกีที่ระเบิดหน้าที่ทำการการพรรคชาติไทยในบางจุด จนเป็นเหตุให้พันตำรวจโท มนตรี ชาติมนตรี หรือสารวัตรจ๊าบ หัวหน้าหน่วยรักษาความปลอดภัยพันธมิตรฯ เสียชีวิตจากเหตุระเบิดรถจี๊ปเชอโรกีดังกล่าว (TNTหมายถึง Trinitrotolune ซึ่งเป็นสารประกอบวัตถุระเบิด) ซึ่งขณะนี้ยังไม่ทราบสาเหตุการระเบิดที่ชัดเจน
**คณะอนุกรรมการฯ เห็นว่า** ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บและบาดเจ็บสาหัสส่วนใหญ่ให้ถ้อยคำยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจบางคนได้ใช้อาวุธระดมยิงระเบิดแก๊สน้ำตา และขว้างระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าใส่ประชาชนโดยตรง จนเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตดังกล่าว ประกอบกับมีวัตถุพยานที่เป็นภาพถ่ายทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวจำนวนมาก แสดงให้เห็นถึงการใช้อาวุธปืนยิงระเบิดแก๊สน้ำตาในระยะใกล้ โดยเล็งยิงในแนวราบที่มีเป้าหมายคือประชาชนที่มาร่วมชุมนุม หรือแม้เป็นการยิงในวิถีโค้งจากพื้นสู่อากาศและตกลงสู่พื้นดินแต่ก็ยังเป็นการยิงในระยะใกล้ ซึ่งลูกระเบิดแก๊สน้ำตาเหล่านั้น ได้ไปตกลงใกล้ตัวประชาชน จนเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตดังกล่าว ซึ่งผู้บังคับการพลาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ชี้แจงหลังการทดลองยิงแก๊สน้ำตาร่วมกับผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ยืนยันว่า ผู้ใช้อาวุธยิงแก๊สน้ำตาไม่ควรยิงตรงไปยังฝูงชน ไม่ควรให้อาวุธในระยะใกล้ ไม่ควรใช้กระสุนจำนวนมากเนื่องจากมีสารเคมีอันตราย และอาจทำอันตรายต่อร่างกายได้ **ดังนั้น การบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิต จึงเป็นผลโดยตรงจากการระดมยิงระเบิดแก๊สน้ำตาของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการใช้กำลังและอาวุธเข้าสลายการชุมนุม** สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ถูกประชาชนทำร้ายร่างกายได้รับบาดเจ็บในช่วงเย็นระหว่างเวลาประมาณ 16.00 – 17.00 น. นั้น เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังประชาชนถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจระดมยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่ประชาชนเพื่อสลายการชุมนุมตั้งแต่ช่วงเช้า เป็นต้น และยังมีการระดมยิงต่อเนื่องเป็นระยะๆ ตลอดมาทั้งที่บริเวณหน้ารัฐสภา ด้านหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล และบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า จนเป็นเหตุให้มีประชาชนได้รับบาดเจ็บและบาดเจ็บสาหัสถึงกับแขนขาด ขาขาด และเสียชีวิตด้วย ย่อมเป็นการสร้างความโกรธแค้นให้กับประชาชนที่ถูกระดมยิงด้วยแก๊สน้ำตาเข้าใส่ ซึ่งล้วนเป็นผลสืบเนื่องลุกลามมาจากการใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมทั้งสิ้น
**ประเด็นที่สอง“ระเบิดแก๊สน้ำตาที่เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ยิงและขว้างเข้าใส่ประชาชนเพื่อสลายการชุมนุมนั้น สามารถทำอันตรายแก่ร่างกายและชีวิตของประชาชนได้หรือไม่”** พิจารณาแล้ว จากผลการตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์กรณีการใช้แก๊สน้ำตาสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ของแพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ สรุปได้ว่า การสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาทั้งชนิดยิงและขว้างที่ผลิตจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่ง**แก๊สน้ำตาทั้งสองชนิดมีองค์ประกอบเป็นเชื้อปะทุทำให้เกิดปฏิกิริยารุนแรงคือ “แรงระเบิด”** ทำให้มีผู้บาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิต รวมทั้งเป็นสาเหตุให้ตรวจพบสารระเบิดร้ายแรง RDX จึงไม่ควรนำมาใช้ในการควบคุมฝูงชน แก๊สน้ำตามีสารเคมีอันตราย 2 ชนิด คือ CN (Chlorlacetophenone) และ CS (Chlorobenzyliden malononitrile) โดย CS มีอันตรายต่อร่างกายน้อยกว่า CN สาร CN อาจก่อมะเร็งได้ นอกจากนั้น ผู้บังคับการพลาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ชี้แจงหลังการทดลองยิงแก๊สน้ำตาว่า พลาธิการได้เรียกคืนกระสุนแก๊สน้ำตาจากจีนทั้งหมด เนื่องจาก กระสุนแก๊สน้ำตาเหล่านั้นมีการสั่งซื้อมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 และให้หน่วยงานต่างๆ เบิกไปไว้ในสต๊อกตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 ผู้ใช้อาวุธยิงแก๊สน้ำตาไม่ควรยิงไปยังฝูงชน ไม่ควรใช้อาวุธในระยะใกล้ ไม่ควรใช้กระสุนจำนวนมาก เนื่องจากเป็นสารเคมีอันตราย และอาจทำอันตรายต่อร่างกายได้ เห็นว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำแก๊สน้ำตาตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 และให้หน่วยงานต่างๆ เบิกไปไว้ใช้ในราชการตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 ซึ่งแก๊สน้ำตาทั้งสองชนิดมีองค์ประกอบเป็นเชื้อปะทุทำให้เกิดปฏิกิริยารุนแรงคือ “การระเบิด” จึงเป็นสาเหตุให้ตรวจพบสารระเบิดร้ายแรง RDX ที่บริเวณรัฐสภา และด้านหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล รวมทั้งเสื้อผ้า และร่างกายของผู้ได้รับบาดเจ็บ ระเบิดแก๊สน้ำตาที่เจ้าหน้าที่ใช้ในการสลายฝูงชนในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 จึงเป็นระเบิดแก๊สน้ำตาที่มีปฏิกิริยารุนแรงคือการระเบิด ประกอบเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ใช้ยิงตรงไปยังประชาชน และขว้างเข้าใส่ประชาชน อีกทั้งเป็นการยิงและขว้างในระยะใกล้ และระดมยิงอย่างต่อเนื่องยาวนานเป็นระยะๆ หลายครั้ง แม้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเห็นผลของการใช้แก๊สน้ำตายิงและขว้างเข้าใส่ประชาชนจนเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บถึงกับขาขาดในช่วงเช้ามาแล้ว ซึ่งจากวิดีโอบันทึกภาพเหตุการณ์ที่ได้รับจากสื่อมวลชน แสดงให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจหลายนายได้เดินผ่านและเห็นประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บหลายราย บางรายขาขาด ซึ่งเจ้าหน้าที่บางรายเท่านั้นที่ให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ เจ้าหน้าที่ตำรวจย่อมทราบดีอยู่แล้วว่า แก๊สน้ำตาที่นำมาใช้นั้นมีปฏิกิริยาระเบิดอย่างรุนแรงสามารถทำให้ขาขาดได้ แต่ยังคงใช้แก๊สน้ำตาดังกล่าวสลายฝูงชนต่อไปอีกตลอดทั้งวัน
**ระเบิดแก๊สน้ำตาที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยิงและขว้างเข้าใส่ประชาชนเพื่อสลายการชุมนุมดังกล่าว จึงเป็นวัตถุระเบิดที่สามารถทำอันตรายแก่ร่างกายและชีวิตประชาชน จนเป็นเหตุให้มีประชาชนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตดังกล่าว**
**ประเด็นสุดท้าย ที่จะต้องพิจารณาคือ **ผู้ใดจะต้องรับผิดชอบต่อการสลายฝูงชน จนเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 **พิจารณาแล้ว จากการให้ถ้อยคำของเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่ได้ให้ถ้อยคำต่อคณะอนุกรรมการฯ ว่า นายสมชาย วงษ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้สั่งการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม จนเป็นเหตุให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัส และมีประชาชนเสียชีวิต **เห็นว่า** การใช้กำลังและอาวุธระเบิดแก๊สน้ำตา ซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงระดมยิงและขว้างใส่ประชาชนที่ปราศจากอาวุธร้ายแรงโดยตรง อีกทั้งเป็นการยิงและขว้างในระยะใกล้ จนเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต นับเป็นการปฏิบัติการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ **เป็นการใช้ความรุนแรงต่อเพื่อนมนุษย์ โดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ ซึ่งต้องได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และขัดต่อหลักการประพฤติปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย (Code of Conduct for Law Enforeement Officials (CCLEO, 1997)
ดังนั้น ในส่วนของรัฐบาลที่ได้สั่งให้มีการใช้กำลังและระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุม เพื่อเปิดช่องทางให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี สามารถเข้าไปในรัฐสภาเพื่อแถลงนโยบาย และเมื่อรู้แล้วว่าการสลายการชุมนุมในช่วงเช้าเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บและบาดเจ็บสาหัส นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล แทนที่จะออกคำสั่งห้ามการใช้ระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าสลายฝูงชน แต่หาได้กระทำเช่นนั้นไม่ ยังคงปล่อยให้มีการใช้กำลังและยิงระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุมอีกเพื่อเปิดทางให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีเดินทางออกจากรับสภาภายหลังเสร็จสิ้นการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว แม้การแถลงนโยบายฯ เสร็จสิ้นแล้ว ก็ยังคงปล่อยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจระดมยิงและขว้างระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าใส่ประชาชนที่กำลังเดินทางเข้าไปช่วยประชาชนที่ถูกล้อมอยู่ที่บริเวณรัฐสภา และประชาชนที่กำลังเดินทางกลับไปยังสะพานมัฆวาน จนเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก และเสียชีวิตด้วยที่บริเวณหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล
**ฉะนั้น นายสมชาย วงษ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้สั่งการให้มีการสลายการชุมนุมและสั่งการให้มีการสลายการชุมนุม รวมทั้งรัฐมนตรีที่อยู่ด้วยในการประชุมคณะรัฐมนตรี แต่มิได้คัดค้านการใช้กำลังและระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุม ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นในการสลายการชุมนุมในครั้งนี้**
ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในฐานะเป็นผู้ปฏิบัติการใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวม ประมวลข้อเท็จจริง เพื่อจัดทำรายงานการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในส่วนนี้ต่อไปโดยเร็ว
คณะอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 1
วันที่ 24 ตุลาคม 2551
เรื่องเดิม
สืบเนื่องจากกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังและอาวุธแก๊สน้ำตาเข้าสลายฝูงชนที่เข้าร่วมชุมนุมอยู่ที่บริเวณถนนราชวิถีและถนนอู่ทองในรอบๆ รัฐสภา ตั้งแต่ช่วงเช้าของวันที่ 7 ตุลาคม 2551 เวลาประมาณ 6 นาฬิกาเศษ รวมทั้งการสลายฝูงชนบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า และบริเวณถนนศรีอยุธยาด้านหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล ในช่วงบ่ายและเย็นตามลำดับ จนเป็นเหตุให้มีประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บและบาดเจ็บสาหัส นอกจากนั้นยังมีประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมเสียชีวิตด้วย ซึ่งคณะอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 1 **ได้สรุปข้อเท็จจริงเบื้องต้นเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2551 ว่า การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการใช้กำลังและอาวุธแก๊สน้ำตาในการเข้าสลายฝูงชนโดยไม่มีการแจ้งเตือน อีกทั้งมิได้มีการปฏิบัติตามหลักการที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และประมวลหลักการประพฤติปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย และหลักการพื้นฐานในการใช้กำลังและอาวุธปืนโดยเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย จนเป็นเหตุให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตดังกล่าว** จึงเป็นการกระทำที่ไม่เป็นไปตามหลักการตามปฏิญญาสากลดังกล่าว ซึ่งในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายจะต้องเคารพและคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และธำรงรักษา ผดุงไว้ซึ่งสิทธิมนุษยชนและละเมิดต่อกฎหมาย โดยการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการใช้กำลังและอาวุธแก๊สน้ำตาเข้าสลายฝูงชนในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 นั้น เกิดจากการสั่งการของรัฐบาล เพื่อให้การแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อที่ประชุมรัฐสภาสามารถดำเนินการได้ตามกำหนด จึงได้มีการวางแผนการสลายฝูงชนไว้ล่วงหน้าแล้วตั้งแต่คืนวันที่ 6 ตุลาคม 2551 เมื่อเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้น รัฐบาลและสำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงมิอาจปฏิเสธความรับผิดในการสูญเสียที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ได้
**อนุกรรมการฯ ได้พิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ดังนี้
จากการที่คณะอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 1 ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณีการบาดเจ็บและเสียชีวิตของประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม โดยรวบรวมข้อเท็จจริงจากประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐและสื่อมวลชนที่อยู่ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมฯ จำนวนมากกว่า 50 คน ซึ่งได้ให้ถ้อยคำไว้กับคณะอนุกรรมการฯ แล้ว รวมทั้งการตรวจสอบรวบรวมพยานหลักฐานทางนิติเวชและนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีประเด็นต้องพิจารณาดังต่อไปนี้
**ประเด็นแรก “การบาดเจ็บและเสียชีวิตของประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผลโดยตรงมาจากการใช้แก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุมหรือไม่”** พิจารณาแล้ว ผู้ได้รับบาดเจ็บส่วนมากให้ถ้อยคำยืนยันระเบิดแก๊สน้ำตาที่เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ในการสลายการชุมนุมมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ ระเบิดแก๊สน้ำตาและวัตถุคล้ายวัตถุระเบิดชนิดยิงจากอาวุธปืน และชนิดขว้าง ส่วนการทำงานของระเบิดแก๊สน้ำตาที่ผู้ให้ถ้อยคำสังเกตเห็นจะมีอยู่ 2 แบบ คือ เมื่อตกลงสู่พื้นแล้วจะมีควันสีขาวพ่นออกมาสักครู่จึงระเบิดขึ้นพร้อมกับมีเสียงดังมาก โดย**มีควันสีขาวระเบิดกระจายออกมา** ส่วนอีกแบบหนึ่ง เมื่อตกลงสู่พื้นแล้วจะไม่มีควันสีขาวพ่นออกมา สักครู่จึงระเบิดขึ้นพร้อมกับมีเสียงดังมาก โดย**ไม่มีควันสีขาวระเบิดกระจายออกมาเช่นเดียวกับแบบแรก** ก่อนผู้ให้ถ้อยคำจะได้รับบาดเจ็บได้สังเกตเห็นระเบิดแก๊สน้ำตา หรือวัตถุรูปร่างคล้ายระเบิดแก๊สน้ำตา หรือวัตถุรูปร่างคล้ายระเบิดแก๊สน้ำตา ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจยิงและขว้างใส่ประชาชนไปถูกที่ร่างกายของผู้บาดเจ็บโดยตรง หรือตกที่บริเวณใกล้ตัวของผู้บาดเจ็บแล้วเกิดระเบิดขึ้นจนเป็นเหตุให้ผู้ให้ถ้อยคำได้รับบาดเจ็บขาขาด แขนขาด และบางรายได้รับบาดเจ็บมีบาดแผลฉีกขาดตามลำตัว แขน ขา และใบหน้า บางรายได้รับบาดเจ็บแก้วหูฉีกและทะลุ บางรายมีบาดแผลลึกลงไปถึงชั้นไขมัน บางรายกระดูกแขน ขา แตกหัก ผิวหนังและเนื้อหายไปสำหรับผู้บาดเจ็บสาหัสที่มีบาดแผลฉกรรจ์อาการปางตาย คือ **นางรุ่งทิวา ธาตุนิยม** ได้รับบาดเจ็บจากวัตถุที่มีแรงอัดเข้าที่บริเวณเบ้าตาและศีรษะด้านซ้าย หนังศีรษะฉีกขาด กระดูกกะโหลกศีรษะด้านหน้าข้างซ้ายแตก กระดูกฐานกะโหลกศีรษะด้านซ้ายแตก กระดูกเบ้าตาซ้ายแตก ลูกตาซ้ายถูกทำลาย เนื้อสมองด้านซ้ายฉีกขาดและหายไปบางส่วน แขนข้างขวาบริเวณข้อมือ ฝ่ามือ และนิ้วมือถูกอาวุธที่มีแรงอัด มีเศษพลาสติกรูปทรงกระบอกฝังอยู่ที่บริเวณข้อมือ ความหวังที่จะมีชีวิตรอดเมื่อมีผู้นำส่งถึงโรงพยาบาลมีเพียง 5 % เท่านั้น
สำหรับ**ผู้บาดเจ็บที่เสียชีวิต** คือ **นางสาว อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ** หรือ **น้องโบว์** ได้รับบาดเจ็บมีบาดแผลฉีกขาดบริเวณหน้าอกด้านซ้ายต่อเนื่องถึงต้นแขนด้านซ้ายลึกถึงกระดูกซี่โครง กระดูกซี่โครงด้านซ้ายหักทุกซี่ เลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอดด้านซ้าย 200 มิลลิลิตร ปอดข้างซ้ายฉีกขาดและฟกช้ำ ผนังหัวใจห้องล่างซ้ายฉีกขาด กระเพาะอาหารทะลุ ม้าม ไตข้างซ้าย ตับ และปอดด้านซ้ายฉีกขาด กระดูกต้นแขนด้านซ้ายหัก แก้วหูซ้ายทะลุ โดย**มีผู้ได้รับบาดเจ็บอยู่ใกล้ๆ นางสาวอังคณาฯ และเห็นเหตุการณ์ได้ให้ถ้อยคำยืนยันว่า เห็นมีวัตถุพุ่งเข้าใส่ร่างกายของ น.ส.อังคณาฯ โดยตรง และเกิดระเบิดขึ้น**
นอกจากนั้น ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมฯ บริเวณหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาลและบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า จำนวนหลายรายให้ถ้อยคำว่า เห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่บนอาคาร ต้นไม้และกำแพงด้านในกองบัญชาการตำรวจนครบาล ใช้อาวุธปืนยิงระเบิดแก๊สน้ำตาออกมาจากกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยยิงเข้าใส่ประชาชนที่เดินผ่านถนนศรีอยุธยาด้านหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล เพื่อไปยังลานพระบรมรูปทรงม้า และที่เดินผ่านถนนราชดำเนินด้านข้างกองบัญชาการตำรวจนครบาลทั้งที่มุ่งหน้าไปยังลานพระบรมรูปทรงม้า และระหว่างการเดินกลับไปยังสะพานมัฆวาน รวมทั้งประชาชนที่ยืนจับกลุ่มพูดคุยกันอยู่บนถนนดังกล่าว ในช่วงเวลาระหว่าง 1100 – 12.00 น. และช่วงเวลาระหว่าง 17.00 – 19.00 น. ซึ่งต่างเวลาและต่างสถานที่กันกับที่เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังสลายการชุมนุมเพื่อเปิดทางให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาและคณะรัฐมนตรีเข้าไปในรัฐสภาเพื่อแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในช่วงเช้า และช่วงเย็นเพื่อเดินทางออกจากรัฐสภาภายหลังเสร็จสิ้นการแถลงนโยบายแล้ว
อีกทั้งมีผู้ให้ถ้อยคำหลายรายยืนยันว่า เห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้อาวุธปืนยิงวัตถุระเบิดออกมาจากภายในรัฐสภาด้วย ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บจากการระดมยิงของเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างต่อเนื่องเป็นระยะยาวนานนับชั่วโมงที่บริเวณด้านหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาลและลานพระบรมรูปทรงม้า ส่วนใหญ่ต้องการเดินทางเข้าไปช่วยประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณรัฐสภา แต่ติดแนวกั้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจระหว่างที่มีการเจรจาเพื่อขอผ่านแนวกั้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจไปยังรัฐสภานั้น ผู้บัญชาการเหตุการณ์ได้ประกาศเตือนผ่านเครื่องขยายเสียงว่าจะมีการใช้แก๊สน้ำตา หากยังไม่มีการถอยร่นของกลุ่มผู้ชุมนุม แต่กลุ่มผู้ชุมนุมไม่ยอมและได้ขว้างปาสิ่งของต่างๆ เช่น ก้อนอิฐ หนังสติ๊ก และขวดน้ำซึ่งบรรจุของเหลว เมื่อของเหลวดังกล่าวถูกโล่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจมีลักษณะเป็นฟองคล้ายน้ำกรด จากนั้นผู้บัญชาการเหตุการณ์ ณ ที่นั้นได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจระดมยิงระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าใส่ประชาชน จนเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บและบาดเจ็บสาหัสจำนวนหลายราย รวมทั้งมีผู้เสียชีวิตด้วย เช่นเดียวกับที่รัฐสภาก็ได้มีการระดมยิงต่อเนื่องเป็นระยะๆ ยาวนานเป็นชั่วโมงๆ โดยเฉพาะช่วงเย็นตั้งแต่เวลา 16.00 – 17.00 น. **ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการสั่งการให้ใช้ระเบิดแก๊สน้ำตาสลายการชุมนุมอีกครั้งเพื่อเปิดทางให้** สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาและคณะรัฐมนตรีเดินทางออกจากรัฐสภาภายหลังเสร็จสิ้นการแถลงนโยบายแล้วนอกจากนั้น เจ้าหน้าที่แพทย์และพยาบาลหลายรายได้ให้ถ้อยคำว่าได้พยายามนำรถพยาบาลเข้าไปช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณหน้ารัฐสภาฯ แยกการเรือน ด้านหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาลและบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ก็ยังถูกระดมยิงด้วยแก๊สน้ำตา โดยเฉพาะประชาชนที่ถูกระดมยิงด้วยแก๊สน้ำตาได้ถอยร่นเข้าไปหลบหลังรถพยาบาลของโรงพยาบาลต่างๆ และมีเครื่องหมายกาชาดติดอยู่ที่รถพยาบาลสามารถมองเห็นได้ชัดเจนทุกคันด้วย เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ยังคงระดมยิงระเบิดแก๊สน้ำตา เข้าใส่ประชานและเจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์ **จากการรวบรวมพยานหลักฐานทางด้านนิติเวช** ยืนยันว่า ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บ และบาดเจ็บสาหัส มีบาดแผลเกิดจากแรงอัดอากาศ หรือแรงระเบิดที่สามารถทำลายเนื้อเยื่อ กระดูก และอวัยวะภายในได้อย่างรุนแรง
สำหรับ**สาเหตุการตายของนางสาวอังคณาฯ** เกิดจากบาดแผลฉีกขาดขนาดใหญ่ที่หน้าอกด้านซ้าย ตับ ปอดและหัวใจฉีกขาด ซึ่งสันนิษฐานว่าเกิดจาก**วัตถุของแข็งมีความร้อนร่วมกับมีแรงอัดซึ่งลักษณะเข้าได้กับการถูกแรงระเบิด** เช่นเดียวกับนางรุ่งทิวาฯ ที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสเนื่องจากถูก**วัตถุที่มีแรงอัด**เข้าที่บริเวณเบ้าตาและศีรษะด้านซ้าย หนังศีรษะฉีกขาด กระดูกกะโหลกศีรษะด้านหน้าข้างซ้ายแตก กระดูกฐานกะโหลกศีรษะด้านซ้ายแตก กระดูกเบ้าตาซ้ายแตก ลูกตาซ้ายถูกทำลาย เนื้อสมองด้านซ้ายฉีกขาดและหายไปบางส่วน นอกจากนั้น ประชาชนที่ถูกสะเก็ดระเบิดขนาดเล็กฝังอยู่ตามร่างกายโดยไม่ทราบว่าตนเองถูกสะเก็ดระเบิด เนื่องจากสะเก็ดระเบิดมีขนาดเล็กเท่าเมล็ดถั่วเขียว หรือเท่าเมล็ดถั่วแดง สะเก็ดระเบิดเล็กๆ เหล่านี้แทงทะลุและฝังอยู่ตามร่างกาย โดยมีทั้งฝังอยู่ในระดับตื้นใต้ผิวหนังประมาณ 1 เซนติเมตร และหากอยู่ใกล้กับระเบิดแก๊สน้ำตา สะเก็ดจะฝังอยู่ใต้ผิวหนังลึกถึง 10 เซนติเมตร อาการผิดปกติที่เกิดจากสะเก็ดระเบิดจะแสดงอาการหลัง 72 ชั่วโมง โดยผู้บาดเจ็บจะมีอาการปวดร้อน บวมแดงที่บาดแผล ซึ่งหากปล่อยไว้จะเกิดการอักเสบ เป็นหนอง หากไม่ได้รับการดูแลรักษาเนื้อเยื่อบริเวณนั้นก็จะเกิดการเน่า เนื้อตาย และอาจรุนแรงถึงขั้นติดเชื้อในกระแสโลหิตถึงแก่ชีวิตได้ หากบาดแผลลักษณะดังกล่าวเกิดกับผู้บาดเจ็บที่เป็นเบาหวาน ก็มีโอกาสที่จะสูญเสียอวัยวะ ตัดแขน ตัดขา เนื่องจากการดูแลรักษาบาดแผลดังกล่าวเป็นไปอย่างยากลำบาก เช่นเดียวกับ**การตรวจพิสูจน์หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์**โดยสถาบันนิติวิทยาศาสตร์กระทรวงยุติธรรม ได้ส่งทีมนักนิติวิทยาศาสตร์จำนวนหลายคนเข้าตรวจสอบรวบรวมพยานหลักฐานในสถานที่เกิดเหตุ และผู้เสียหายจากเหตุการณ์ในสถานที่ 3 แห่ง ในวันที่ 10 ตุลาคม 2551 ด้วยเครื่องไอออนสแกนทั้งที่บริเวณหน้ารัฐสภา และบริเวณหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล ตรวจพบสารระเบิดร้ายแรง RDX ที่บริเวณหน้ารัฐสภา และบริเวณหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล รวมทั้งบริเวณกำแพงหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล ที่**นายชิงชัย อุดมเจริญกิจ หรือนายตี๋** ศิลปินวาดภาพที่ได้รับบาดเจ็บมือขวาขาด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอการตรวจยืนยันด้วยเครื่อง GC-MS อีกครั้งหนึ่ง
นอกจากนั้น ยังตรวจพบสารระเบิดร้ายแรง RDX ติดตามตัว เสื้อผ้า และเส้นผมของผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตอีกด้วย (RDX หมายถึง Cyclotrimethylenetrinitramine มีชื่อเรียกอย่างอื่นคือ Cyclonite หรือ Research Development Formular X ซึ่งเป็นสารประกอบวัตถุระเบิด) นอกจากนั้น ยังตรวจพบสารระเบิดร้ายแรง TNT และ RDX หรือซีโฟร์ (C4) บริเวณรถจี๊ปเชอโรกีที่ระเบิดหน้าที่ทำการการพรรคชาติไทยในบางจุด จนเป็นเหตุให้พันตำรวจโท มนตรี ชาติมนตรี หรือสารวัตรจ๊าบ หัวหน้าหน่วยรักษาความปลอดภัยพันธมิตรฯ เสียชีวิตจากเหตุระเบิดรถจี๊ปเชอโรกีดังกล่าว (TNTหมายถึง Trinitrotolune ซึ่งเป็นสารประกอบวัตถุระเบิด) ซึ่งขณะนี้ยังไม่ทราบสาเหตุการระเบิดที่ชัดเจน
**คณะอนุกรรมการฯ เห็นว่า** ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บและบาดเจ็บสาหัสส่วนใหญ่ให้ถ้อยคำยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจบางคนได้ใช้อาวุธระดมยิงระเบิดแก๊สน้ำตา และขว้างระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าใส่ประชาชนโดยตรง จนเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตดังกล่าว ประกอบกับมีวัตถุพยานที่เป็นภาพถ่ายทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวจำนวนมาก แสดงให้เห็นถึงการใช้อาวุธปืนยิงระเบิดแก๊สน้ำตาในระยะใกล้ โดยเล็งยิงในแนวราบที่มีเป้าหมายคือประชาชนที่มาร่วมชุมนุม หรือแม้เป็นการยิงในวิถีโค้งจากพื้นสู่อากาศและตกลงสู่พื้นดินแต่ก็ยังเป็นการยิงในระยะใกล้ ซึ่งลูกระเบิดแก๊สน้ำตาเหล่านั้น ได้ไปตกลงใกล้ตัวประชาชน จนเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตดังกล่าว ซึ่งผู้บังคับการพลาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ชี้แจงหลังการทดลองยิงแก๊สน้ำตาร่วมกับผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ยืนยันว่า ผู้ใช้อาวุธยิงแก๊สน้ำตาไม่ควรยิงตรงไปยังฝูงชน ไม่ควรให้อาวุธในระยะใกล้ ไม่ควรใช้กระสุนจำนวนมากเนื่องจากมีสารเคมีอันตราย และอาจทำอันตรายต่อร่างกายได้ **ดังนั้น การบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิต จึงเป็นผลโดยตรงจากการระดมยิงระเบิดแก๊สน้ำตาของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการใช้กำลังและอาวุธเข้าสลายการชุมนุม** สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ถูกประชาชนทำร้ายร่างกายได้รับบาดเจ็บในช่วงเย็นระหว่างเวลาประมาณ 16.00 – 17.00 น. นั้น เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังประชาชนถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจระดมยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่ประชาชนเพื่อสลายการชุมนุมตั้งแต่ช่วงเช้า เป็นต้น และยังมีการระดมยิงต่อเนื่องเป็นระยะๆ ตลอดมาทั้งที่บริเวณหน้ารัฐสภา ด้านหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล และบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า จนเป็นเหตุให้มีประชาชนได้รับบาดเจ็บและบาดเจ็บสาหัสถึงกับแขนขาด ขาขาด และเสียชีวิตด้วย ย่อมเป็นการสร้างความโกรธแค้นให้กับประชาชนที่ถูกระดมยิงด้วยแก๊สน้ำตาเข้าใส่ ซึ่งล้วนเป็นผลสืบเนื่องลุกลามมาจากการใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมทั้งสิ้น
**ประเด็นที่สอง“ระเบิดแก๊สน้ำตาที่เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ยิงและขว้างเข้าใส่ประชาชนเพื่อสลายการชุมนุมนั้น สามารถทำอันตรายแก่ร่างกายและชีวิตของประชาชนได้หรือไม่”** พิจารณาแล้ว จากผลการตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์กรณีการใช้แก๊สน้ำตาสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ของแพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ สรุปได้ว่า การสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาทั้งชนิดยิงและขว้างที่ผลิตจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่ง**แก๊สน้ำตาทั้งสองชนิดมีองค์ประกอบเป็นเชื้อปะทุทำให้เกิดปฏิกิริยารุนแรงคือ “แรงระเบิด”** ทำให้มีผู้บาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิต รวมทั้งเป็นสาเหตุให้ตรวจพบสารระเบิดร้ายแรง RDX จึงไม่ควรนำมาใช้ในการควบคุมฝูงชน แก๊สน้ำตามีสารเคมีอันตราย 2 ชนิด คือ CN (Chlorlacetophenone) และ CS (Chlorobenzyliden malononitrile) โดย CS มีอันตรายต่อร่างกายน้อยกว่า CN สาร CN อาจก่อมะเร็งได้ นอกจากนั้น ผู้บังคับการพลาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ชี้แจงหลังการทดลองยิงแก๊สน้ำตาว่า พลาธิการได้เรียกคืนกระสุนแก๊สน้ำตาจากจีนทั้งหมด เนื่องจาก กระสุนแก๊สน้ำตาเหล่านั้นมีการสั่งซื้อมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 และให้หน่วยงานต่างๆ เบิกไปไว้ในสต๊อกตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 ผู้ใช้อาวุธยิงแก๊สน้ำตาไม่ควรยิงไปยังฝูงชน ไม่ควรใช้อาวุธในระยะใกล้ ไม่ควรใช้กระสุนจำนวนมาก เนื่องจากเป็นสารเคมีอันตราย และอาจทำอันตรายต่อร่างกายได้ เห็นว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำแก๊สน้ำตาตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 และให้หน่วยงานต่างๆ เบิกไปไว้ใช้ในราชการตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 ซึ่งแก๊สน้ำตาทั้งสองชนิดมีองค์ประกอบเป็นเชื้อปะทุทำให้เกิดปฏิกิริยารุนแรงคือ “การระเบิด” จึงเป็นสาเหตุให้ตรวจพบสารระเบิดร้ายแรง RDX ที่บริเวณรัฐสภา และด้านหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล รวมทั้งเสื้อผ้า และร่างกายของผู้ได้รับบาดเจ็บ ระเบิดแก๊สน้ำตาที่เจ้าหน้าที่ใช้ในการสลายฝูงชนในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 จึงเป็นระเบิดแก๊สน้ำตาที่มีปฏิกิริยารุนแรงคือการระเบิด ประกอบเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ใช้ยิงตรงไปยังประชาชน และขว้างเข้าใส่ประชาชน อีกทั้งเป็นการยิงและขว้างในระยะใกล้ และระดมยิงอย่างต่อเนื่องยาวนานเป็นระยะๆ หลายครั้ง แม้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเห็นผลของการใช้แก๊สน้ำตายิงและขว้างเข้าใส่ประชาชนจนเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บถึงกับขาขาดในช่วงเช้ามาแล้ว ซึ่งจากวิดีโอบันทึกภาพเหตุการณ์ที่ได้รับจากสื่อมวลชน แสดงให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจหลายนายได้เดินผ่านและเห็นประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บหลายราย บางรายขาขาด ซึ่งเจ้าหน้าที่บางรายเท่านั้นที่ให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ เจ้าหน้าที่ตำรวจย่อมทราบดีอยู่แล้วว่า แก๊สน้ำตาที่นำมาใช้นั้นมีปฏิกิริยาระเบิดอย่างรุนแรงสามารถทำให้ขาขาดได้ แต่ยังคงใช้แก๊สน้ำตาดังกล่าวสลายฝูงชนต่อไปอีกตลอดทั้งวัน
**ระเบิดแก๊สน้ำตาที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยิงและขว้างเข้าใส่ประชาชนเพื่อสลายการชุมนุมดังกล่าว จึงเป็นวัตถุระเบิดที่สามารถทำอันตรายแก่ร่างกายและชีวิตประชาชน จนเป็นเหตุให้มีประชาชนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตดังกล่าว**
**ประเด็นสุดท้าย ที่จะต้องพิจารณาคือ **ผู้ใดจะต้องรับผิดชอบต่อการสลายฝูงชน จนเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 **พิจารณาแล้ว จากการให้ถ้อยคำของเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่ได้ให้ถ้อยคำต่อคณะอนุกรรมการฯ ว่า นายสมชาย วงษ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้สั่งการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม จนเป็นเหตุให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัส และมีประชาชนเสียชีวิต **เห็นว่า** การใช้กำลังและอาวุธระเบิดแก๊สน้ำตา ซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงระดมยิงและขว้างใส่ประชาชนที่ปราศจากอาวุธร้ายแรงโดยตรง อีกทั้งเป็นการยิงและขว้างในระยะใกล้ จนเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต นับเป็นการปฏิบัติการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ **เป็นการใช้ความรุนแรงต่อเพื่อนมนุษย์ โดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ ซึ่งต้องได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และขัดต่อหลักการประพฤติปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย (Code of Conduct for Law Enforeement Officials (CCLEO, 1997)
ดังนั้น ในส่วนของรัฐบาลที่ได้สั่งให้มีการใช้กำลังและระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุม เพื่อเปิดช่องทางให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี สามารถเข้าไปในรัฐสภาเพื่อแถลงนโยบาย และเมื่อรู้แล้วว่าการสลายการชุมนุมในช่วงเช้าเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บและบาดเจ็บสาหัส นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล แทนที่จะออกคำสั่งห้ามการใช้ระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าสลายฝูงชน แต่หาได้กระทำเช่นนั้นไม่ ยังคงปล่อยให้มีการใช้กำลังและยิงระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุมอีกเพื่อเปิดทางให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีเดินทางออกจากรับสภาภายหลังเสร็จสิ้นการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว แม้การแถลงนโยบายฯ เสร็จสิ้นแล้ว ก็ยังคงปล่อยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจระดมยิงและขว้างระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าใส่ประชาชนที่กำลังเดินทางเข้าไปช่วยประชาชนที่ถูกล้อมอยู่ที่บริเวณรัฐสภา และประชาชนที่กำลังเดินทางกลับไปยังสะพานมัฆวาน จนเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก และเสียชีวิตด้วยที่บริเวณหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล
**ฉะนั้น นายสมชาย วงษ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้สั่งการให้มีการสลายการชุมนุมและสั่งการให้มีการสลายการชุมนุม รวมทั้งรัฐมนตรีที่อยู่ด้วยในการประชุมคณะรัฐมนตรี แต่มิได้คัดค้านการใช้กำลังและระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุม ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นในการสลายการชุมนุมในครั้งนี้**
ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในฐานะเป็นผู้ปฏิบัติการใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวม ประมวลข้อเท็จจริง เพื่อจัดทำรายงานการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในส่วนนี้ต่อไปโดยเร็ว
คณะอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 1
วันที่ 24 ตุลาคม 2551