ผู้จัดการรายวัน - กลบฝังดินเรื่องฉาวโฉ่แบงก์เอสเอ็มอี คลังจับควบ บสย. "ประดิษฐ" ชี้ไม่ต้องเพิ่มทุนซ้ำซาก นำเข้า ครม.วันนี้ มั่นใจหลังควบรวมแข็งแกร่งทำหน้าที่กระตุ้นเศรษฐกิจได้ ประเดิมสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ 3 หมื่นล้าน คลอดแพคเกจสู้ศึกวิกฤตการเงินโลก ทั้งสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำวงเงินหมื่นล้าน กองทุนร่วมทุนและค้ำประกันสินเชื่อผู้ประกอบการกรณีกู้แบงก์อื่น
นายประดิษฐ์ ภัทรประดิษฐ์ รมช.คลัง เปิดเผยภายหลังเปิดโครงการ “ช่วยเหลือเอสเอ็มอีให้ช่วยเหลือตัวเองได้” หรือ smePOWER ว่า คณะทำงานศึกษาปัญหาของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ได้ปฏิเสธคำขอเพิ่มทุนของสองสถาบันการเงิน จำนวน 2,100 ล้านบาท เพราะเห็นว่า ไม่ได้แก้ปัญหาอย่างแท้จริงในระยะยาว พร้อมกับเห็นชอบให้ควบรวมสถาบันการเงินทั้งสองเข้าด้วยกัน และให้มีการปรับโครงสร้างผู้บริหารใหม่ตามที่ประกาศไปแล้วด้วย
ทั้งนี้ การควบรวมสององค์กรดังกล่าว จะเกิดประโยชน์ช่วยสร้างองค์กรการเงินใหม่ที่มีงบดุลการเงินแข็งแกร่งขึ้น รวมเป็นเงินสินทรัพย์ ประมาณ 54,000 ล้านบาท โดยมาจากเอสเอ็มอีแบงก์ ราว 48,000 ล้าน และจาก บสย. ประมาณ 6,000 ล้านบาท หนี้สินรวมกว่า 46,000 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 8,800 ล้านบาท ซึ่งภายหลังการควบกิจการ เอสเอ็มอีแบงก์ จะมีเงินกองทุนกว่า 9,000 ล้านบาท สามารถขยายการให้สินเชื่อและออกหนังสือค้ำประกันเงินให้สินเชื่อวงเงินกว่า 30,000 ล้านบาท โดยไม่ต้องขอเงินเพิ่มทุนจากรัฐบาลแต่อย่างใด
“ปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต เกิดจากการใช้เงินอย่างไม่มีประสิทธิภาพของสถาบันการเงินทั้ง 2 แห่ง ก่อให้เกิดปัญหาหนี้เสียมูลค่าสูง และมีการขอเพิ่มทุน ผมจึงปฏิเสธไม่ให้มีการเพิ่มทุน พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เข้าไปทำงาน ซึ่งเชื่อได้ว่ามีความเชี่ยวชาญและโปร่งใสตรวจสอบได้ โดยการควบรวมกิจการจะทำให้ประสิทธิภาพขององค์กรดีขึ้น และการพิจารณาการปล่อยสินเชื่อใหม่จะพิจารณาถึงการปล่อยกู้ที่มีประสิทธิภาพ” รมช.คลังกล่าว
การควบกิจการยังลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนอนุมัติสินเชื่อ ซึ่งจะสามารถทำงานได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้ง ประหยัดค่าใช้จ่าย เช่น ค่าเช่าสำนักงาน ระบบไอที เงินเดือนพนักงาน เป็นต้น
ด้านปรับโครงสร้างองค์กรหลังควบรวมแล้ว บสย.จะเข้ามาเป็นหน่วยงานหนึ่งของเอสเอ็มอีแบงก์ ในส่วนพนักงานเบื้องต้นยังไม่มีแผนปรับลดแต่อย่างใด ส่วนผู้จะมาดำเนินตำแหน่งกรรมการผู้จัดการเอสเอ็มอีแบงก์คนใหม่นั้น ทางคณะกรรมการสรรหาซึ่งมีนายพิชิต อัคราทิตย์ เป็นประธานจะดำเนินการสรรหาต่อไป ทั้งนี้ จะเสนอแผนควบรวมให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบในวันนี้ (28 ต.ค.) หลังจากนั้น ส่งให้คณะกรรมการกฤษฏีกาตีความ พิจารณาแก้กฎหมาย คาดว่าจะแล้วเสร็จได้ในระยะเวลา 6-9 เดือนข้างหน้า
นายสมชาย สกุลสุรรัตน์ ในฐานะที่ปรึกษา รมช.คลัง อธิบายว่า เดิมการช่วยเหลือเอสเอ็มอีจะกระจัดกระจายอยู่ในหลายหน่วยงาน การรวบกิจการจะมาช่วยแก้ปัญหาให้เอสเอ็มอีอย่างครบวงจร รวมถึง แก้ปัญหาภายในของทั้งสององค์กรด้วย เพราะถ้าปล่อยให้ดำเนินการอย่างเดิมต่อไป รัฐบาลจะต้องเข้าไปช่วยเหลือเพิ่มทุนไปเรื่อยๆ แต่การมาควบรวม ช่วยเพิ่มศักยภาพให้เป็นสถาบันการเงินที่มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น
ส่วนการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอล ซึ่งปัจจุบัน เอสเอ็มอีแบงก์ สูงกว่าร้อยละ 46.85 ส่วน บสย. ประมาณร้อยละ 10 เมื่อรวมกันแล้วจะมีมูลค่ารวม 20,000 ล้านบาทหรือร้อยละกว่า 50 ทางคณะกรรมการเอสเอ็มอีแบงก์ชุดใหม่ ซึ่งมีนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ เป็นประธาน จะเข้ามาวางแผนสะสาง เช่น อาจจะขายเอ็นพีแอล หรือดำเนินการรูปแบบต่างๆ เป็นต้น ตั้งเป้าจะลดเอ็นพีแอลที่ไม่นำสินเชื่อใหม่มาเฉลี่ยรวม ให้เหลือร้อยละ 15 ภายใน 4 ปี
***คึกสู้วิกฤตการเงินโลก
นายประดิษฐ์เปิดเผยถึงความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ระยะเร่งด่วนซึ่งดำเนินการได้ทันที เพื่อรับมือวิกฤตการเงินโลก ภายใต้โครงการ smePOWER แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และด้านเสริมศักยภาพความรู้ และเทคโนโลยี ในด้านแหล่งเงินทุน ประการแรก จะมีเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อเอสเอ็มอี จำนวน 10,000 ล้านบาท โดยคิดอัตรา MLR หรือร้อยละ 7.25 ซึ่งถูกว่าอัตราสินเชื่อเพื่อเอสเอ็มอีของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ที่จะมีอัตราที่ MLR + 1 หรือ + 2 อีกทั้ง จะขยายระยะเวลาชำระหนี้คืน จาก 5 ปีเป็น 7 ปี และสำหรับเอสเอ็มอีขนาดเล็กที่มีปัญหาสภาพคล่อง ขาดเงินทุน แต่ธุรกิจยังพอดำเนินการต่อไปได้ จะมีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้ในวงเงินตั้งแต่ 3 แสนถึง 10 ล้านบาท
ประการที่สอง ให้บริการเงินร่วมลงทุนแก่เอสเอ็มอี โดยจัดสรรเงินจำนวน 500 ล้านบาท เพื่อร่วมลงทุนแก่เอสเอ็มอีในการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือกำลังขยายกิจการ ซึ่งต้องการเงินลงทุนเพิ่ม แต่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันไม่เพียงพอที่จะกู้ยืม ทั้งนี้ เอสเอ็มอีแบงก์จะเข้าถือหุ้นเป็นส่วนน้อยในกิจการเพื่อแลกกับการอัดฉีดเงินร่วมลงทุนเข้าไปในวิสาหกิจนั้นๆ หลังจากที่ธุรกิจประสบความสำเร็จแล้ว ธนาคารจะขายหุ้นและปล่อยให้ผู้ประกอบการเป็นเจ้าของธุรกิจอย่างเต็มตัว
ประการที่สาม คือ การค้ำประกันสินเชื่อให้แก่สถาบันการเงินอื่นๆ ที่พิจารณาปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอี โดยเอสเอ็มอีแบงก์จะค้ำประกันให้ผู้ประกอบการในส่วนที่หลักทรัพย์ค้ำประกันไม่เพียงพอ ซึ่งบริการนี้จะจูงใจให้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ปล่อยสินเชื่อให้แก่เอสเอ็มอีขนาดเล็กที่มีความเสี่ยงสูงมากยิ่งขึ้น และยังช่วยระดมทุนจากธนาคารพาณิชย์ต่างๆ มาช่วยเอสเอ็มอี ทั้งนี้ ได้จัดสรรเงินทุนสำหรับค้ำประกัน จำนวน 4,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะขยายวงเงินสินเชื่อสู่เอสเอ็มอีได้กว่า 12,000 ล้านบาท
นอกจากนั้น โครงการ smePOWER ในด้านเสริมศักยภาพความรู้ และเทคโนโลยี จะเน้นเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระยะยาว ผ่านการช่วยเหลือทางเทคโนโลยีแก่ผู้ประกอบการ โดยส่งผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ ไปเยี่ยมกิจการเอสเอ็มอี เพื่อให้คำแนะนำถึงเทคโนโลยี หรือกระบวนการทำงานเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มมูลค่าสินค้า หรือลดต้นทุนการผลิต เป็นต้น ทั้งนี้ จะให้หน่วยงานของรัฐอย่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มาเป็นกำลังขับเคลื่อน ซึ่งขณะนี้ สวทช. กำลังดำเนินโครงการยกระดับเทคโนโลยีและประสิทธิภาพของเอสเอ็มอีอยู่แล้ว ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง สามารถช่วยผู้ประกอบการได้ปีละแค่ 250 คน ดังนั้น จะยกระดับโครงการนี้ อีกสิบเท่าเป็น 2,500 คนต่อปี
สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีสิทธิ์ได้รับความช่วยเหลือในโครงการ smePOWER ดังกล่าว เบื้องต้นต้องเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีตามข้อกำหนดของกฎหมาย ส่วนรายละเอียด และเงื่อนไขต่างๆ นั้น ทางคณะกรรมการเอสเอ็มอีแบงก์ ซึ่งมีนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ เป็นประธาน จะประกาศภายในอีก 2-3 วันข้างหน้า
โครงการ smePOWER จะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาในวันนี้เช่นกัน และจะสามารถให้บริการแก่ผู้ประกอบการได้ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2551 เป็นต้นไป.
นายประดิษฐ์ ภัทรประดิษฐ์ รมช.คลัง เปิดเผยภายหลังเปิดโครงการ “ช่วยเหลือเอสเอ็มอีให้ช่วยเหลือตัวเองได้” หรือ smePOWER ว่า คณะทำงานศึกษาปัญหาของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ได้ปฏิเสธคำขอเพิ่มทุนของสองสถาบันการเงิน จำนวน 2,100 ล้านบาท เพราะเห็นว่า ไม่ได้แก้ปัญหาอย่างแท้จริงในระยะยาว พร้อมกับเห็นชอบให้ควบรวมสถาบันการเงินทั้งสองเข้าด้วยกัน และให้มีการปรับโครงสร้างผู้บริหารใหม่ตามที่ประกาศไปแล้วด้วย
ทั้งนี้ การควบรวมสององค์กรดังกล่าว จะเกิดประโยชน์ช่วยสร้างองค์กรการเงินใหม่ที่มีงบดุลการเงินแข็งแกร่งขึ้น รวมเป็นเงินสินทรัพย์ ประมาณ 54,000 ล้านบาท โดยมาจากเอสเอ็มอีแบงก์ ราว 48,000 ล้าน และจาก บสย. ประมาณ 6,000 ล้านบาท หนี้สินรวมกว่า 46,000 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 8,800 ล้านบาท ซึ่งภายหลังการควบกิจการ เอสเอ็มอีแบงก์ จะมีเงินกองทุนกว่า 9,000 ล้านบาท สามารถขยายการให้สินเชื่อและออกหนังสือค้ำประกันเงินให้สินเชื่อวงเงินกว่า 30,000 ล้านบาท โดยไม่ต้องขอเงินเพิ่มทุนจากรัฐบาลแต่อย่างใด
“ปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต เกิดจากการใช้เงินอย่างไม่มีประสิทธิภาพของสถาบันการเงินทั้ง 2 แห่ง ก่อให้เกิดปัญหาหนี้เสียมูลค่าสูง และมีการขอเพิ่มทุน ผมจึงปฏิเสธไม่ให้มีการเพิ่มทุน พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เข้าไปทำงาน ซึ่งเชื่อได้ว่ามีความเชี่ยวชาญและโปร่งใสตรวจสอบได้ โดยการควบรวมกิจการจะทำให้ประสิทธิภาพขององค์กรดีขึ้น และการพิจารณาการปล่อยสินเชื่อใหม่จะพิจารณาถึงการปล่อยกู้ที่มีประสิทธิภาพ” รมช.คลังกล่าว
การควบกิจการยังลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนอนุมัติสินเชื่อ ซึ่งจะสามารถทำงานได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้ง ประหยัดค่าใช้จ่าย เช่น ค่าเช่าสำนักงาน ระบบไอที เงินเดือนพนักงาน เป็นต้น
ด้านปรับโครงสร้างองค์กรหลังควบรวมแล้ว บสย.จะเข้ามาเป็นหน่วยงานหนึ่งของเอสเอ็มอีแบงก์ ในส่วนพนักงานเบื้องต้นยังไม่มีแผนปรับลดแต่อย่างใด ส่วนผู้จะมาดำเนินตำแหน่งกรรมการผู้จัดการเอสเอ็มอีแบงก์คนใหม่นั้น ทางคณะกรรมการสรรหาซึ่งมีนายพิชิต อัคราทิตย์ เป็นประธานจะดำเนินการสรรหาต่อไป ทั้งนี้ จะเสนอแผนควบรวมให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบในวันนี้ (28 ต.ค.) หลังจากนั้น ส่งให้คณะกรรมการกฤษฏีกาตีความ พิจารณาแก้กฎหมาย คาดว่าจะแล้วเสร็จได้ในระยะเวลา 6-9 เดือนข้างหน้า
นายสมชาย สกุลสุรรัตน์ ในฐานะที่ปรึกษา รมช.คลัง อธิบายว่า เดิมการช่วยเหลือเอสเอ็มอีจะกระจัดกระจายอยู่ในหลายหน่วยงาน การรวบกิจการจะมาช่วยแก้ปัญหาให้เอสเอ็มอีอย่างครบวงจร รวมถึง แก้ปัญหาภายในของทั้งสององค์กรด้วย เพราะถ้าปล่อยให้ดำเนินการอย่างเดิมต่อไป รัฐบาลจะต้องเข้าไปช่วยเหลือเพิ่มทุนไปเรื่อยๆ แต่การมาควบรวม ช่วยเพิ่มศักยภาพให้เป็นสถาบันการเงินที่มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น
ส่วนการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอล ซึ่งปัจจุบัน เอสเอ็มอีแบงก์ สูงกว่าร้อยละ 46.85 ส่วน บสย. ประมาณร้อยละ 10 เมื่อรวมกันแล้วจะมีมูลค่ารวม 20,000 ล้านบาทหรือร้อยละกว่า 50 ทางคณะกรรมการเอสเอ็มอีแบงก์ชุดใหม่ ซึ่งมีนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ เป็นประธาน จะเข้ามาวางแผนสะสาง เช่น อาจจะขายเอ็นพีแอล หรือดำเนินการรูปแบบต่างๆ เป็นต้น ตั้งเป้าจะลดเอ็นพีแอลที่ไม่นำสินเชื่อใหม่มาเฉลี่ยรวม ให้เหลือร้อยละ 15 ภายใน 4 ปี
***คึกสู้วิกฤตการเงินโลก
นายประดิษฐ์เปิดเผยถึงความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ระยะเร่งด่วนซึ่งดำเนินการได้ทันที เพื่อรับมือวิกฤตการเงินโลก ภายใต้โครงการ smePOWER แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และด้านเสริมศักยภาพความรู้ และเทคโนโลยี ในด้านแหล่งเงินทุน ประการแรก จะมีเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อเอสเอ็มอี จำนวน 10,000 ล้านบาท โดยคิดอัตรา MLR หรือร้อยละ 7.25 ซึ่งถูกว่าอัตราสินเชื่อเพื่อเอสเอ็มอีของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ที่จะมีอัตราที่ MLR + 1 หรือ + 2 อีกทั้ง จะขยายระยะเวลาชำระหนี้คืน จาก 5 ปีเป็น 7 ปี และสำหรับเอสเอ็มอีขนาดเล็กที่มีปัญหาสภาพคล่อง ขาดเงินทุน แต่ธุรกิจยังพอดำเนินการต่อไปได้ จะมีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้ในวงเงินตั้งแต่ 3 แสนถึง 10 ล้านบาท
ประการที่สอง ให้บริการเงินร่วมลงทุนแก่เอสเอ็มอี โดยจัดสรรเงินจำนวน 500 ล้านบาท เพื่อร่วมลงทุนแก่เอสเอ็มอีในการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือกำลังขยายกิจการ ซึ่งต้องการเงินลงทุนเพิ่ม แต่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันไม่เพียงพอที่จะกู้ยืม ทั้งนี้ เอสเอ็มอีแบงก์จะเข้าถือหุ้นเป็นส่วนน้อยในกิจการเพื่อแลกกับการอัดฉีดเงินร่วมลงทุนเข้าไปในวิสาหกิจนั้นๆ หลังจากที่ธุรกิจประสบความสำเร็จแล้ว ธนาคารจะขายหุ้นและปล่อยให้ผู้ประกอบการเป็นเจ้าของธุรกิจอย่างเต็มตัว
ประการที่สาม คือ การค้ำประกันสินเชื่อให้แก่สถาบันการเงินอื่นๆ ที่พิจารณาปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอี โดยเอสเอ็มอีแบงก์จะค้ำประกันให้ผู้ประกอบการในส่วนที่หลักทรัพย์ค้ำประกันไม่เพียงพอ ซึ่งบริการนี้จะจูงใจให้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ปล่อยสินเชื่อให้แก่เอสเอ็มอีขนาดเล็กที่มีความเสี่ยงสูงมากยิ่งขึ้น และยังช่วยระดมทุนจากธนาคารพาณิชย์ต่างๆ มาช่วยเอสเอ็มอี ทั้งนี้ ได้จัดสรรเงินทุนสำหรับค้ำประกัน จำนวน 4,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะขยายวงเงินสินเชื่อสู่เอสเอ็มอีได้กว่า 12,000 ล้านบาท
นอกจากนั้น โครงการ smePOWER ในด้านเสริมศักยภาพความรู้ และเทคโนโลยี จะเน้นเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระยะยาว ผ่านการช่วยเหลือทางเทคโนโลยีแก่ผู้ประกอบการ โดยส่งผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ ไปเยี่ยมกิจการเอสเอ็มอี เพื่อให้คำแนะนำถึงเทคโนโลยี หรือกระบวนการทำงานเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มมูลค่าสินค้า หรือลดต้นทุนการผลิต เป็นต้น ทั้งนี้ จะให้หน่วยงานของรัฐอย่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มาเป็นกำลังขับเคลื่อน ซึ่งขณะนี้ สวทช. กำลังดำเนินโครงการยกระดับเทคโนโลยีและประสิทธิภาพของเอสเอ็มอีอยู่แล้ว ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง สามารถช่วยผู้ประกอบการได้ปีละแค่ 250 คน ดังนั้น จะยกระดับโครงการนี้ อีกสิบเท่าเป็น 2,500 คนต่อปี
สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีสิทธิ์ได้รับความช่วยเหลือในโครงการ smePOWER ดังกล่าว เบื้องต้นต้องเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีตามข้อกำหนดของกฎหมาย ส่วนรายละเอียด และเงื่อนไขต่างๆ นั้น ทางคณะกรรมการเอสเอ็มอีแบงก์ ซึ่งมีนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ เป็นประธาน จะประกาศภายในอีก 2-3 วันข้างหน้า
โครงการ smePOWER จะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาในวันนี้เช่นกัน และจะสามารถให้บริการแก่ผู้ประกอบการได้ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2551 เป็นต้นไป.