เอเอฟพี - คาดเฟดเตรียมลดดอกเบี้ยอีกรอบในการประชุมวันอังคาร(28) - พุธ(29)นี้ หวังสร้างแรงกระตุ้นทางจิตวิทยาให้แก่ตลาดที่กำลังเสียขวัญกระเจิดกระเจิง
ก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้เป็นแกนนำธนาคารกลางแห่งอื่นๆ นำการลดดอกเบี้ยทั่วโลก โดยที่เฟดเองได้หั่นดอกเบี้ยนโยบาย เฟดฟันด์เรต อันเป็นเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมระหว่างธนาคารชั่วเวลาข้ามคืนของสหรัฐฯ ลง 0.5% มาอยู่ที่ 1.5% อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ต่างคาดหมายกันว่า เฟดยังจะลดดอกเบี้ยลงอีก 0.25-0.50%
ทั้งนี้ คาดว่าคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) ที่มีเบน เบอร์นันกี ประธานสภาผู้ว่าการเฟดเป็นประธาน จะประกาศการตัดสินใจในวันพุธ (29) (ตรงกับเวลาประมาณ 0.15 น.ตามเวลาประเทศไทย) หลังจากสิ้นสุดการประชุมเป็นเวลาสองวัน
นักวิเคราะห์มองว่า นี่เป็นความเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์ เนื่องจากเวลานี้อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคารที่แท้จริง อยู่ต่ำกว่าเป้าหมายของเฟดแล้ว สืบเนื่องจากความพยายามอย่างเป็นพิเศษของเฟดในการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการธนาคาร
จอห์น ไรดิง นักเศรษฐศาสตร์ของอาร์ดีคิว อิโคโนมิกส์ บอกว่าตลาดรับรู้แล้วเรื่องที่จะมีการลดดอกเบี้ยอีกครั้งหนึ่ง เพียงแต่ไม่แน่ใจเท่านั้นว่าจะลด 0.25% หรือ 0.50% เท่านั้น
อย่างไรก็ดี ไรดิงมองว่าอัตราดอกเบี้ยเป้าหมายของเฟดไม่สอดคล้องอย่างยิ่งระหว่างที่ตลาดผันผวนรุนแรงขณะนี้ โดยอัตราดอกเบี้ยของเงินกู้ระหว่างธนาคารชั่วข้ามคืนที่แท้จริงนับจากวันที่ 16 เดือนนี้ อยู่ที่ระหว่าง 0.60-0.93% เท่านั้น
เมื่อดูจากความเคลื่อนไหวของตลาดล่วงหน้าในวันศุกร์ที่ผ่านมา (24) ก็บ่งชี้ให้เห็นว่าพวกผู้เล่นในตลาดล่วงหน้าคาดหมายว่ามีโอกาสถึง 86% ที่เฟดจะลดดอกเบี้ยลง 0.50% อันจะทำให้เฟดฟันด์เรตอยู่ที่ 1% ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่มีโอกาส 14% ที่เฟดจะลดกันถึง 0.75% มาอยู่ที่ 0.75%
"ตลาดเชื่อว่าเฟดจะต้องทำอะไรสักอย่าง เราเชื่อว่าน่าจะมีการลดดอกเบี้ย 0.25% แต่ถ้าเฟดหั่นถึง 0.50% เราก็คงไม่แปลกใจ" แครี เลฮี นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของดีวิชัน อิโคโนมิกส์ กล่าว
นักวิเคราะห์บางคนชี้ว่า การลดดอกเบี้ยลงต่ำกว่า 1% อาจถูกมองเป็นสัญญาณความตื่นตระหนก และทำให้ตลาดนึกไปถึงเมื่อปี 2003 ที่อัตราดอกเบี้ยลดต่ำและไปกระตุ้นให้เกิดฟองสบู่ฟูฟ่องในตลาดที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำยังอาจกดดันกองทุนตลาดเงินของบริษัทการลงทุน ทำให้ไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยให้นักลงทุนหลังหักค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการได้
โจเซฟ ลาวอร์นนา นักเศรษฐศาสตร์ดอยช์ แบงก์ คาดว่าเฟดจะลดดอกเบี้ย 0.50% ซึ่งจะกระตุ้นให้นักลงทุนบางส่วนกล้าเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการเยียวยาตลาดที่กำลังอ่อนทรุดไปในตัว
เอเวอรี เชนเฟลด์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของซีไอบีซี เวิลด์ มาร์เก็ตส์ ก็มีความเห็นทำนองเดียวกัน โดยบอกว่าตลาดการเงินที่กำลังปั่นป่วน จะมองหาบางสิ่งจากเฟดเพื่อบรรเทาความผันผวนรุนแรงในตลาด
"เราเชื่อว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยลงถึง 0.50% มากกว่าที่จะลดเพียง 0.25% ถึงแม้ตลาดกังวลเช่นกันว่าเฟดกำลังจะหมดกระสุน"
เลฮีสำทับว่า เฟดจะต้องพยายามเตือนตลาดให้ตระหนักว่า พร้อมดำเนินมาตรการเพิ่มเติมถ้าจำเป็นเพื่อฟื้นเสถียรภาพตลาดให้ได้ และถ้ามาตรการลดดอกเบี้ยยังคงไม่มีประสิทธิภาพ เฟดก็อาจใช้มาตรการอื่นๆ อย่างเช่นรับซื้อพันธบัตรคลังระยะยาวเพื่อ 'บิดผันอัตราผลตอบแทน' และดึงดอกเบี้ยระยะยาวให้ต่ำลง อันจะส่งผลให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยมีอัตราดอกเบี้ยลดลงมาด้วย
เลฮีทิ้งท้ายว่า สมาชิกเอฟโอเอ็มซีน่าที่จะมองเห็นว่าการขับเคลื่อนนาวาเศรษฐกิจและการเงินให้กลับมาอยู่กับร่องกับรอยเป็นภารกิจอันดับแรก ดังนั้น พวกเขาจะต้องพยายามทำให้มั่นใจว่า ได้เตือนนักลงทุนว่าจะไม่ลดละความพยายามจนกว่าภารกิจจะลุล่วง
ก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้เป็นแกนนำธนาคารกลางแห่งอื่นๆ นำการลดดอกเบี้ยทั่วโลก โดยที่เฟดเองได้หั่นดอกเบี้ยนโยบาย เฟดฟันด์เรต อันเป็นเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมระหว่างธนาคารชั่วเวลาข้ามคืนของสหรัฐฯ ลง 0.5% มาอยู่ที่ 1.5% อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ต่างคาดหมายกันว่า เฟดยังจะลดดอกเบี้ยลงอีก 0.25-0.50%
ทั้งนี้ คาดว่าคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) ที่มีเบน เบอร์นันกี ประธานสภาผู้ว่าการเฟดเป็นประธาน จะประกาศการตัดสินใจในวันพุธ (29) (ตรงกับเวลาประมาณ 0.15 น.ตามเวลาประเทศไทย) หลังจากสิ้นสุดการประชุมเป็นเวลาสองวัน
นักวิเคราะห์มองว่า นี่เป็นความเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์ เนื่องจากเวลานี้อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคารที่แท้จริง อยู่ต่ำกว่าเป้าหมายของเฟดแล้ว สืบเนื่องจากความพยายามอย่างเป็นพิเศษของเฟดในการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการธนาคาร
จอห์น ไรดิง นักเศรษฐศาสตร์ของอาร์ดีคิว อิโคโนมิกส์ บอกว่าตลาดรับรู้แล้วเรื่องที่จะมีการลดดอกเบี้ยอีกครั้งหนึ่ง เพียงแต่ไม่แน่ใจเท่านั้นว่าจะลด 0.25% หรือ 0.50% เท่านั้น
อย่างไรก็ดี ไรดิงมองว่าอัตราดอกเบี้ยเป้าหมายของเฟดไม่สอดคล้องอย่างยิ่งระหว่างที่ตลาดผันผวนรุนแรงขณะนี้ โดยอัตราดอกเบี้ยของเงินกู้ระหว่างธนาคารชั่วข้ามคืนที่แท้จริงนับจากวันที่ 16 เดือนนี้ อยู่ที่ระหว่าง 0.60-0.93% เท่านั้น
เมื่อดูจากความเคลื่อนไหวของตลาดล่วงหน้าในวันศุกร์ที่ผ่านมา (24) ก็บ่งชี้ให้เห็นว่าพวกผู้เล่นในตลาดล่วงหน้าคาดหมายว่ามีโอกาสถึง 86% ที่เฟดจะลดดอกเบี้ยลง 0.50% อันจะทำให้เฟดฟันด์เรตอยู่ที่ 1% ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่มีโอกาส 14% ที่เฟดจะลดกันถึง 0.75% มาอยู่ที่ 0.75%
"ตลาดเชื่อว่าเฟดจะต้องทำอะไรสักอย่าง เราเชื่อว่าน่าจะมีการลดดอกเบี้ย 0.25% แต่ถ้าเฟดหั่นถึง 0.50% เราก็คงไม่แปลกใจ" แครี เลฮี นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของดีวิชัน อิโคโนมิกส์ กล่าว
นักวิเคราะห์บางคนชี้ว่า การลดดอกเบี้ยลงต่ำกว่า 1% อาจถูกมองเป็นสัญญาณความตื่นตระหนก และทำให้ตลาดนึกไปถึงเมื่อปี 2003 ที่อัตราดอกเบี้ยลดต่ำและไปกระตุ้นให้เกิดฟองสบู่ฟูฟ่องในตลาดที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำยังอาจกดดันกองทุนตลาดเงินของบริษัทการลงทุน ทำให้ไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยให้นักลงทุนหลังหักค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการได้
โจเซฟ ลาวอร์นนา นักเศรษฐศาสตร์ดอยช์ แบงก์ คาดว่าเฟดจะลดดอกเบี้ย 0.50% ซึ่งจะกระตุ้นให้นักลงทุนบางส่วนกล้าเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการเยียวยาตลาดที่กำลังอ่อนทรุดไปในตัว
เอเวอรี เชนเฟลด์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของซีไอบีซี เวิลด์ มาร์เก็ตส์ ก็มีความเห็นทำนองเดียวกัน โดยบอกว่าตลาดการเงินที่กำลังปั่นป่วน จะมองหาบางสิ่งจากเฟดเพื่อบรรเทาความผันผวนรุนแรงในตลาด
"เราเชื่อว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยลงถึง 0.50% มากกว่าที่จะลดเพียง 0.25% ถึงแม้ตลาดกังวลเช่นกันว่าเฟดกำลังจะหมดกระสุน"
เลฮีสำทับว่า เฟดจะต้องพยายามเตือนตลาดให้ตระหนักว่า พร้อมดำเนินมาตรการเพิ่มเติมถ้าจำเป็นเพื่อฟื้นเสถียรภาพตลาดให้ได้ และถ้ามาตรการลดดอกเบี้ยยังคงไม่มีประสิทธิภาพ เฟดก็อาจใช้มาตรการอื่นๆ อย่างเช่นรับซื้อพันธบัตรคลังระยะยาวเพื่อ 'บิดผันอัตราผลตอบแทน' และดึงดอกเบี้ยระยะยาวให้ต่ำลง อันจะส่งผลให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยมีอัตราดอกเบี้ยลดลงมาด้วย
เลฮีทิ้งท้ายว่า สมาชิกเอฟโอเอ็มซีน่าที่จะมองเห็นว่าการขับเคลื่อนนาวาเศรษฐกิจและการเงินให้กลับมาอยู่กับร่องกับรอยเป็นภารกิจอันดับแรก ดังนั้น พวกเขาจะต้องพยายามทำให้มั่นใจว่า ได้เตือนนักลงทุนว่าจะไม่ลดละความพยายามจนกว่าภารกิจจะลุล่วง