ผู้จัดการรายวัน - กรมที่ดินเดินหน้าโครงการจัดเก็บข้อมูลที่ผ่านด้วยระบบดิจิตอลแม้ถูกตัดงบจาก 1.2 หมื่นล้าน ระยะ 5 ปี เหลือแค่ 840 ล้านบาท แถมงบปี 52 ตั้งงบ 168 ล้านบาทถูกตัดอีก 10% ระบุโครงการสำเร็จประชาชนสามารถโอนบ้านได้ทั่วประเทศ
นายอนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ รักษาการอธิบดีกรมที่ดิน เปิดถึงการจัดทำฐานข้อมูลที่ดินด้วยระบบดิจิตอลว่า กรมจะผลักดันโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ดินต่อไป เพื่อจัดทำฐานข้อมูลที่ดินด้วยระบบดิจิตอลที่ถูกต้องครบถ้วนและทันสมัย รองรับความต้องการใช้บริการด้านภูมิศาสตร์สารสนเทศของภาครัฐและเอกชนได้ รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นในการถือครองที่ดินของประชาชน และการให้บริการด้านที่ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ หากการจัดทำข้อมูลที่ดินด้วยระบบดิจิตอลแล้ว ต่อไปการจดทะเบียนสิทธินิติกรรมต่างๆ เช่น การโอนบ้านจะนำระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันทั่วประเทศเข้ามาใช้ สามารถโอนที่สำนักงานที่ดินที่ใดในประเทศก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปสำนักงานที่ดินที่เป็นที่ตั้งของบ้านหลังนั้น โดยจะเริ่มโครงการนำร่องในกทม.ปริมณฑล และจังหวัดในกลุ่มภาคเหนือก่อน
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเริ่มต้นการจดทะเบียนสามารถทำผ่านระบบคอมพิวเตอร์ได้ แต่ในขั้นตอนเซ็นเอกสารยังไม่ทำได้ โดยจะต้องส่งเอกสารทางไปรษณีย์ และให้ผู้โอนกรรมสิทธิ์เซ็นชื่อในเอกสารเอง เพื่อป้องกันการทุจริตในการโอนที่ดิน แต่ต่อไประบบจะพัฒนาให้สามารถตรวจสอบการเซ็นเอกสารของผู้โอนได้
ทั้งนี้ในเบื้องต้นโครงการดังกล่าวกรมที่ดินได้ของบประมาณดำเนินการในระยะ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2552-2556 เป็นจำนวนเงิน 12,000 ล้านบาท แต่ถูกตัดทอนงบประมาณและระยะดำเนินการลงเพื่อไม่ให้เป็นภาระด้านงบประมาณมากเกินไปทำให้ต้องปรับการดำเนินระยะแรก เหลือ 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552-2554 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 840 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2552 จัดสรรงบประมาณให้ 168 ล้านบาทถูกตัดงบอีก 10% เหลือ 151 ล้านบาท และเป็นงบผูกผันปี 2553-2554 อีกจำนวน 672 ล้านบาท
ส่วนงบประมาณที่จะต้องใช้เพิ่มเติมให้กรมที่ดินไปประสานงานกับกระทรวงการคลังเพื่อขอใช้เงินกู้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการและจัดหาแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสมต่อไป
“การนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้จะทำให้ประชาชนได้รับความรวดเร็วในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมากขึ้น เช่น กรณีซื้อขายจากเวลามาตรฐานในการดำเนินการ 2.30 ชั่วโมง จะเหลือเพียง 1 ชั่วโมง หรือกรณีไถ่ถอนโฉนดที่ดินจะใช้เวลาเพียง 15 นาที โดยคาดว่าจะมีประชาชนใช้บริการในลักษณะดังกล่าวประมาณ 25% จากปริมาณงานต่อปีประมาณ 5.5 ล้านราย” นายอนุวัฒน์กล่าว
นายอนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ รักษาการอธิบดีกรมที่ดิน เปิดถึงการจัดทำฐานข้อมูลที่ดินด้วยระบบดิจิตอลว่า กรมจะผลักดันโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ดินต่อไป เพื่อจัดทำฐานข้อมูลที่ดินด้วยระบบดิจิตอลที่ถูกต้องครบถ้วนและทันสมัย รองรับความต้องการใช้บริการด้านภูมิศาสตร์สารสนเทศของภาครัฐและเอกชนได้ รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นในการถือครองที่ดินของประชาชน และการให้บริการด้านที่ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ หากการจัดทำข้อมูลที่ดินด้วยระบบดิจิตอลแล้ว ต่อไปการจดทะเบียนสิทธินิติกรรมต่างๆ เช่น การโอนบ้านจะนำระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันทั่วประเทศเข้ามาใช้ สามารถโอนที่สำนักงานที่ดินที่ใดในประเทศก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปสำนักงานที่ดินที่เป็นที่ตั้งของบ้านหลังนั้น โดยจะเริ่มโครงการนำร่องในกทม.ปริมณฑล และจังหวัดในกลุ่มภาคเหนือก่อน
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเริ่มต้นการจดทะเบียนสามารถทำผ่านระบบคอมพิวเตอร์ได้ แต่ในขั้นตอนเซ็นเอกสารยังไม่ทำได้ โดยจะต้องส่งเอกสารทางไปรษณีย์ และให้ผู้โอนกรรมสิทธิ์เซ็นชื่อในเอกสารเอง เพื่อป้องกันการทุจริตในการโอนที่ดิน แต่ต่อไประบบจะพัฒนาให้สามารถตรวจสอบการเซ็นเอกสารของผู้โอนได้
ทั้งนี้ในเบื้องต้นโครงการดังกล่าวกรมที่ดินได้ของบประมาณดำเนินการในระยะ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2552-2556 เป็นจำนวนเงิน 12,000 ล้านบาท แต่ถูกตัดทอนงบประมาณและระยะดำเนินการลงเพื่อไม่ให้เป็นภาระด้านงบประมาณมากเกินไปทำให้ต้องปรับการดำเนินระยะแรก เหลือ 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552-2554 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 840 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2552 จัดสรรงบประมาณให้ 168 ล้านบาทถูกตัดงบอีก 10% เหลือ 151 ล้านบาท และเป็นงบผูกผันปี 2553-2554 อีกจำนวน 672 ล้านบาท
ส่วนงบประมาณที่จะต้องใช้เพิ่มเติมให้กรมที่ดินไปประสานงานกับกระทรวงการคลังเพื่อขอใช้เงินกู้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการและจัดหาแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสมต่อไป
“การนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้จะทำให้ประชาชนได้รับความรวดเร็วในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมากขึ้น เช่น กรณีซื้อขายจากเวลามาตรฐานในการดำเนินการ 2.30 ชั่วโมง จะเหลือเพียง 1 ชั่วโมง หรือกรณีไถ่ถอนโฉนดที่ดินจะใช้เวลาเพียง 15 นาที โดยคาดว่าจะมีประชาชนใช้บริการในลักษณะดังกล่าวประมาณ 25% จากปริมาณงานต่อปีประมาณ 5.5 ล้านราย” นายอนุวัฒน์กล่าว