รอยเตอร์/เอเอฟพี – ญี่ปุ่นและฝรั่งเศสเสนอให้ความช่วยเหลือแก่ธนาคารพาณิชย์ที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ ก็เตรียมเข้าแทรกแซงให้ความช่วยเหลือแก้ไขวิกฤตการณ์ในหลายภูมิภาคทั่วโลก
แม้จะมีสัญญาณหลายอย่างบ่งชี้ว่า ความเชื่อมั่นของนักลงทุนจะเริ่มฟื้นคืนมาบ้างแล้ว แต่ไอเอ็มเอฟก็ยังคงเตรียมพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ปากีสถาน ซึ่งกล่าวกันว่าต้องการความช่วยเหลือเป็นยอดเงินสูงถึง 15,000 ล้านดอลลาร์ รวมทั้งไอซ์แลนด์ ยูเครน และอีกหลายประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบการเงินล้มครืนลงทั้งระบบ
ราคาหุ้นของธนาคารชั้นนำในฝรั่งเศสทะยานพรวดพราดขึ้นทันที หลังรัฐบาลประกาศอัดฉีดเงิน 10,500 ล้านยูโร หรือ 14,120 ล้านดอลลาร์ ให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืมไปใช้เป็นทุนสำรอง
รัฐมนตรีคลัง คริสทีน ลาการ์ด แถลงในวันจันทร์(20)ภายหลังพบหารือกับพวกผู้บริหารสูงสุดของแบงก์ใหญ่ๆ ของประเทศว่า รัฐบาลจะให้กู้เงินจำนวนดังกล่าว แก่ 6 ธนาคารใหญ่ที่สุด โดยแบงก์ใหญ่อันดับหนึ่ง เครดีต อากริโกล จะได้ 3,000 ล้านยูโร, บีเอ็นพี ปาริบาส์ 2,550 ล้านยูโร, โซซิเยเต เจเนราล 1,700 ล้านยูโร, เครดีต์ มือตืล 1,200 ล้านยูโร, แซส์ ดาปาร์ญ 1,100 ล้านยูโร, และ บัง โปปูแลร์ 950 ล้านยูโร
เงินก้อนนี้เป็นมาตรการหนึ่งของแพกเกจช่วยเหลือระบบธนาคารมูลค่า 360,000 ล้านยูโร ที่เสนอโดยรัฐบาลและผ่านรัฐสภาฝรั่งเศสเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยที่แพกเกจของแดนน้ำหอม ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามระหว่างประเทศ ในการให้ความช่วยเหลือแก่พวกธนาคารพาณิชย์ที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ท่ามกลางวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ หรือ เกรท ดีเพรสชั่น เมื่อเกือบ 80 ปีก่อน
ทางด้านญี่ปุ่น คาโอรุ โยซาโน รัฐมนตรีเศรษฐกิจแถลงวานนี้(21)ว่า รัฐบาลกำลังพิจารณาจะนำกฎหมายฉบับหนึ่งกลับมาบังคับใช้อีกครั้ง โดยกฎหมายดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อเพิ่มทุนให้แก่พวกสถาบันการเงินระดับภูมิภาค จะได้มีกำลังในการปล่อยสินเชื่อให้แก่ธุรกิจขนาดเล็กที่กำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม ธนาคารชั้นนำของประเทศก็จะได้รับความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องจากรัฐบาลด้วยในกรณีที่จำเป็น
โยซาโนกล่าวว่า เขามองไม่เห็นเหตุผลใด ๆ ที่จะไม่ช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ อันจะกลายเป็นเลือกปฏิบัติ
นอกเหนือจากฝรั่งเศสและญี่ปุ่นแล้ว รัฐบาลของหลายประเทศทั่วโลกต่างได้ประกาศมาตรการช่วยเหลือระบบแบงก์ โดยที่สำคัญที่สุดคือมาตรการด้านค้ำประกันเงินฝากและค้ำประกันสินเชื่อระหว่างธนาคาร รวมแล้วเป็นยอดเงินประมาณ 3.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนั้นในบางประเทศ ยังมีการเข้าซื้อหุ้นของธนาคารพาณิชย์ที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องด้วย
กระบวนการแก้ไขปัญหาดังกล่าวกำลังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง อาทิ ธนาคารกลางของอังกฤษได้จัดตั้งกองทุนให้ความช่วยเหลือแก่สถาบันการเงินมูลค่า 25,970 ล้านดอลลาร์เมื่อวันอังคาร เปิดให้สถาบันการเงินกู้ยืมได้โดยไม่จำกัดจำนวนเป็นระยะเวลา 1 เดือน ขณะที่ธนาคารกลางของซาอุดีอาระเบียได้อัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบธนาคารเป็นยอดเงิน 2,000-3,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งนับเป็นการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบธนาคารเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเหล่านี้เริ่มส่งสัญญาณในทางบวก
ต้นทุนการกู้ยืมระหว่างธนาคารในกรุงลอนดอนเริ่มลดต่ำลง อัตราดอกเบี้ยข้ามคืนลดต่ำลงจากระดับ 0.5 – 1.5 เปอร์เซ็นต์มาอยู่ที่ระดับ 0.3 – 1.4 เปอร์เซ็นต์ในตอนเช้าวันจันทร์ กระนั้น สถานการณ์ก็ยังไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ จนกว่าระบบการกู้ยืมระหว่างธนาคารจะกลับสู่ภาวะปกติได้อีกครั้งโดยไม่ต้องพึ่งอาศัยความช่วยเหลือจากรัฐบาลและธนาคารกลาง
อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่ง หลายๆ ประเทศกำลังเตรียมเข้ารับความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟ
ในปากีสถาน คาดหมายกันว่าระหว่างการประชุมที่ดูไบวานนี้ รัฐบาลปากีสถานอาจต้องขอความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟและสถาบันระหว่างประเทศอื่น ๆ เพื่อคลี่คลายปัญหาขาดดุลการชำระเงินที่กำลังรุนแรงเข้าขั้นวิกฤต
ชอกัต ทาริน ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรีปากีสถานแถลงผ่านโทรทัศน์ ดอว์น นิวส์ ว่า รัฐบาลปากีสถานต้องการความช่วยเหลือประมาณ 10,000 – 15,000 ล้านดอลลาร์
ทางด้านไอซ์แลนด์ ซึ่งยืนอยู่บนปากเหวของการล้มละลาย หลังสถาบันการเงินล้มครืนเป็นโดมิโน กำลังอยู่ระหว่างการตัดสินใจว่าจะร้องขอความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟหรือไม่ ขณะที่รายงานข่าวบางกระแสระบุว่า ไอซ์แลนด์จะได้รับความช่วยเหลือเป็นเงิน 6,000 ล้านดอลลาร์จากไอเอ็มเอฟในเร็ว ๆ นี้
ยูเครนกำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับไอเอ็มเอฟเพื่อขอความช่วยเหลือเป็นยอดเงินประมาณ 14,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ฮังการี ตุรกี และเซอร์เบีย ก็กำลังรอความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟเช่นเดียวกัน
บรรดาผู้นำทั่วโลกมีกำหนดจัดประชุมซัมมิตร่วมกัน หลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 4 พฤศจิกายน เพื่อร่วมกันกำหนด “หลักการในการปฏิรูป” มุ่งแก้ไขปัญหาในระบบการเงินโลก ทั้งนี้คาดกันว่าในที่ประชุมดังกล่าว จะมีการหารือกันถึงบทบาทของ ไอเอ็มเอฟ ในการกำกับดูแลระบบการเงินของโลกด้วย
แม้จะมีสัญญาณหลายอย่างบ่งชี้ว่า ความเชื่อมั่นของนักลงทุนจะเริ่มฟื้นคืนมาบ้างแล้ว แต่ไอเอ็มเอฟก็ยังคงเตรียมพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ปากีสถาน ซึ่งกล่าวกันว่าต้องการความช่วยเหลือเป็นยอดเงินสูงถึง 15,000 ล้านดอลลาร์ รวมทั้งไอซ์แลนด์ ยูเครน และอีกหลายประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบการเงินล้มครืนลงทั้งระบบ
ราคาหุ้นของธนาคารชั้นนำในฝรั่งเศสทะยานพรวดพราดขึ้นทันที หลังรัฐบาลประกาศอัดฉีดเงิน 10,500 ล้านยูโร หรือ 14,120 ล้านดอลลาร์ ให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืมไปใช้เป็นทุนสำรอง
รัฐมนตรีคลัง คริสทีน ลาการ์ด แถลงในวันจันทร์(20)ภายหลังพบหารือกับพวกผู้บริหารสูงสุดของแบงก์ใหญ่ๆ ของประเทศว่า รัฐบาลจะให้กู้เงินจำนวนดังกล่าว แก่ 6 ธนาคารใหญ่ที่สุด โดยแบงก์ใหญ่อันดับหนึ่ง เครดีต อากริโกล จะได้ 3,000 ล้านยูโร, บีเอ็นพี ปาริบาส์ 2,550 ล้านยูโร, โซซิเยเต เจเนราล 1,700 ล้านยูโร, เครดีต์ มือตืล 1,200 ล้านยูโร, แซส์ ดาปาร์ญ 1,100 ล้านยูโร, และ บัง โปปูแลร์ 950 ล้านยูโร
เงินก้อนนี้เป็นมาตรการหนึ่งของแพกเกจช่วยเหลือระบบธนาคารมูลค่า 360,000 ล้านยูโร ที่เสนอโดยรัฐบาลและผ่านรัฐสภาฝรั่งเศสเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยที่แพกเกจของแดนน้ำหอม ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามระหว่างประเทศ ในการให้ความช่วยเหลือแก่พวกธนาคารพาณิชย์ที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ท่ามกลางวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ หรือ เกรท ดีเพรสชั่น เมื่อเกือบ 80 ปีก่อน
ทางด้านญี่ปุ่น คาโอรุ โยซาโน รัฐมนตรีเศรษฐกิจแถลงวานนี้(21)ว่า รัฐบาลกำลังพิจารณาจะนำกฎหมายฉบับหนึ่งกลับมาบังคับใช้อีกครั้ง โดยกฎหมายดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อเพิ่มทุนให้แก่พวกสถาบันการเงินระดับภูมิภาค จะได้มีกำลังในการปล่อยสินเชื่อให้แก่ธุรกิจขนาดเล็กที่กำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม ธนาคารชั้นนำของประเทศก็จะได้รับความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องจากรัฐบาลด้วยในกรณีที่จำเป็น
โยซาโนกล่าวว่า เขามองไม่เห็นเหตุผลใด ๆ ที่จะไม่ช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ อันจะกลายเป็นเลือกปฏิบัติ
นอกเหนือจากฝรั่งเศสและญี่ปุ่นแล้ว รัฐบาลของหลายประเทศทั่วโลกต่างได้ประกาศมาตรการช่วยเหลือระบบแบงก์ โดยที่สำคัญที่สุดคือมาตรการด้านค้ำประกันเงินฝากและค้ำประกันสินเชื่อระหว่างธนาคาร รวมแล้วเป็นยอดเงินประมาณ 3.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนั้นในบางประเทศ ยังมีการเข้าซื้อหุ้นของธนาคารพาณิชย์ที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องด้วย
กระบวนการแก้ไขปัญหาดังกล่าวกำลังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง อาทิ ธนาคารกลางของอังกฤษได้จัดตั้งกองทุนให้ความช่วยเหลือแก่สถาบันการเงินมูลค่า 25,970 ล้านดอลลาร์เมื่อวันอังคาร เปิดให้สถาบันการเงินกู้ยืมได้โดยไม่จำกัดจำนวนเป็นระยะเวลา 1 เดือน ขณะที่ธนาคารกลางของซาอุดีอาระเบียได้อัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบธนาคารเป็นยอดเงิน 2,000-3,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งนับเป็นการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบธนาคารเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเหล่านี้เริ่มส่งสัญญาณในทางบวก
ต้นทุนการกู้ยืมระหว่างธนาคารในกรุงลอนดอนเริ่มลดต่ำลง อัตราดอกเบี้ยข้ามคืนลดต่ำลงจากระดับ 0.5 – 1.5 เปอร์เซ็นต์มาอยู่ที่ระดับ 0.3 – 1.4 เปอร์เซ็นต์ในตอนเช้าวันจันทร์ กระนั้น สถานการณ์ก็ยังไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ จนกว่าระบบการกู้ยืมระหว่างธนาคารจะกลับสู่ภาวะปกติได้อีกครั้งโดยไม่ต้องพึ่งอาศัยความช่วยเหลือจากรัฐบาลและธนาคารกลาง
อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่ง หลายๆ ประเทศกำลังเตรียมเข้ารับความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟ
ในปากีสถาน คาดหมายกันว่าระหว่างการประชุมที่ดูไบวานนี้ รัฐบาลปากีสถานอาจต้องขอความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟและสถาบันระหว่างประเทศอื่น ๆ เพื่อคลี่คลายปัญหาขาดดุลการชำระเงินที่กำลังรุนแรงเข้าขั้นวิกฤต
ชอกัต ทาริน ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรีปากีสถานแถลงผ่านโทรทัศน์ ดอว์น นิวส์ ว่า รัฐบาลปากีสถานต้องการความช่วยเหลือประมาณ 10,000 – 15,000 ล้านดอลลาร์
ทางด้านไอซ์แลนด์ ซึ่งยืนอยู่บนปากเหวของการล้มละลาย หลังสถาบันการเงินล้มครืนเป็นโดมิโน กำลังอยู่ระหว่างการตัดสินใจว่าจะร้องขอความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟหรือไม่ ขณะที่รายงานข่าวบางกระแสระบุว่า ไอซ์แลนด์จะได้รับความช่วยเหลือเป็นเงิน 6,000 ล้านดอลลาร์จากไอเอ็มเอฟในเร็ว ๆ นี้
ยูเครนกำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับไอเอ็มเอฟเพื่อขอความช่วยเหลือเป็นยอดเงินประมาณ 14,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ฮังการี ตุรกี และเซอร์เบีย ก็กำลังรอความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟเช่นเดียวกัน
บรรดาผู้นำทั่วโลกมีกำหนดจัดประชุมซัมมิตร่วมกัน หลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 4 พฤศจิกายน เพื่อร่วมกันกำหนด “หลักการในการปฏิรูป” มุ่งแก้ไขปัญหาในระบบการเงินโลก ทั้งนี้คาดกันว่าในที่ประชุมดังกล่าว จะมีการหารือกันถึงบทบาทของ ไอเอ็มเอฟ ในการกำกับดูแลระบบการเงินของโลกด้วย