เอเอฟพี/รอยเตอร์ – ผู้นำสหรัฐฯและยุโรปร่วมกันเสนอให้จัดการประชุมซัมมิตระหว่างผู้นำประเทศต่างๆ ของโลกหลายๆ ครั้งต่อเนื่องกันเป็นชุด เพื่อมุ่งปฏิรูประบบการเงินระหว่างประเทศ ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นและเป็นหลักประกันความมั่งคั่งรุ่งเรืองอย่างต่อเนื่องของโลก โดยประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช รับจะเป็นเจ้าภาพการพบปะหารือครั้งแรก ภายหลังผ่านพ้นการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกันต้นเดือนหน้า
บุช, ประธานาธิบดี นิโกลาส์ ซาร์โกซี ของฝรั่งเศส, และประธานคณะกรรมาธิการยุโรป โจเซ มานูเอล บาร์โรโซ ซึ่งไปประชุมหารือกันเป็นเวลา 3 ชั่วโมง ที่สถานพักผ่อนของประธานาธิบดีอเมริกัน ณ แคมป์เดวิด มลรัฐแมริแลนด์ เมื่อวันเสาร์(18)ที่ผ่านมา ได้ออกแถลงการณ์ร่วมระบุว่า จะหารือทาบทามผู้นำโลกคนอื่นๆ ในสัปดาห์หน้า ในเรื่องการประชุมระดับผู้นำต่อเนื่องเป็นชุดเช่นนี้ โดยการประชุมครั้งแรกจะจัดขึ้นในสหรัฐฯ “ไม่นานหลังการเลือกตั้งสหรัฐฯ” ในวันที่ 4 พฤศจิกายน
“ผมกำลังตั้งตารอคอยที่จะเป็นเจ้าภาพการพบปะกันครั้งนี้ซึ่งจะมีขึ้นในอนาคตอันใกล้” บุชกล่าวในการแถลงข่าวภายหลังการหารือที่แคมป์เดวิด พร้อมกับเสริมว่าเขาได้พูดคุยถึงแผนการต่างๆ สำหรับการประชุมระดับผู้นำเช่นนี้แล้ว กับนายกรัฐมนตรี ทาโร อาโซะ แห่งญี่ปุ่น ซึ่งมีฐานะเป็นประธานกลุ่ม 8 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (จี8) วาระปัจจุบัน
ขณะที่แถลงการณ์ร่วมของพวกเขากล่าวว่า ในการประชุมซัมมิตครั้งแรกที่จะจัดขึ้นนี้ บรรดาผู้นำโลก จะ “ทบทวนความก้าวหน้าที่กำลังเกิดขึ้นจากการเข้าแก้ไขรับมือกับวิกฤตในเวลานี้ และจะมุ่งหาทางตกลงกันให้ได้ในเรื่องหลักการต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการปฏิรูป เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงไม่เกิดการซ้ำรอยขึ้นมาอีก และสร้างหลักประกันให้แก่ความมั่งรุ่งรุ่งเรืองของทั่วโลกในอนาคต”
สำหรับการประชุมซัมมิตครั้งถัดๆ ไป “จะเป็นจัดเตรียมเพื่อการปฏิบัติตามข้อตกลงว่าด้วยขั้นตอนเฉพาะเจาะจงต่างๆ ที่จะต้องกระทำ เพื่อให้บรรลุตามหลักการเหล่านี้” แถลงการณ์ร่วมบอก
โฆษกทำเนียบขาว โทนี แฟรตโต อธิบายขยายความเพิ่มเติมว่า เหตุที่ต้องจัดการประชุมระดับผู้นำขึ้นมาหลายๆ ครั้ง เนื่องจากผู้นำของสหรัฐฯและยุโรปซึ่งไปหารือกันที่แคมป์เดวิดมองว่า จะเป็น “การทะเยอทะยานมากเกินไป” ที่จะจัดการกับประเด็นปัญหาต่างๆ ทุกๆ ประการภายในการประชุมซัมมิตเพียงครั้งเดียว
และแม้การประชุมระดับผู้นำครั้งแรกที่สหรัฐฯจะเป็นเจ้าภาพ น่าจะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน แต่แฟรตโตบอกว่ายังไม่มีการตกลงแน่นอนว่าจะจัดขึ้นวันไหน หรือผู้ชนะการเลือกตั้ง 4 พฤศจิกายน ได้เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ ไม่ว่าจะเป็น บารัค โอบามา หรือ จอห์น แมคเคน จะได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมด้วยหรือไม่
“แน่นอนว่าเราย่อมมีความสนใจในทัศนะต่างๆ และในอินพุตของว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ไม่ว่าเขาผู้นั้นจะเป็นใครก็ตาม และเราย่อมยินดีต้อนรับเรื่องนี้ ทว่าตัวผมเองไม่สามารถพูดเรื่องใครจะเข้าร่วมประชุมบ้างได้หรอก” เขาออกตัว
แต่ทั้งประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา ต่างก็จะมีตัวแทนเข้าร่วมการประชุมซัมมิตเช่นนี้ “และเราจะทำงานร่วมมือเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งและปรับปรุงระบบการเงินของชาติของพวกเราให้ทันสมัย เพื่อที่เราจะสามารถรับประกันได้ว่าวิกฤตเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นมาอีก” บุชกล่าว
ทว่าแม้จะเป็นที่ตกลงกันว่าจะจัดการประชุมผู้นำทั่วโลกมาช่วยกันแก้ไขปัญหา แต่ก็กลับปรากฏสัญญาณหลายๆ ประการออกมาแล้วว่า ฝ่ายสหรัฐฯกับฝ่ายยุโรปมีวิสัยทัศน์ที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการหารือเช่นนี้ โดยทางพวกผู้นำยุโรปต้องการผลักดันให้มีการปฏิรูปยกเครื่องสถาปัตยกรรมของระบบการเงินโลกกันทั้งหมดอย่างขนานใหญ่ ขณะที่บุชแสดงท่าทีว่าบรรดารากฐานเดิมๆ ที่มีอยู่ จะต้องพิทักษ์รักษาเอาไว้
“ขณะที่เราดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางด้านระเบียบกฎเกณฑ์และทางด้านสถาบันตามที่จำเป็น เพื่อไม่ให้เกิดวิกฤตเช่นนี้ซ้ำขึ้นมาอีก” บุชบอกกับซาร์โกซีและบาร์โรโซ “มันก็มีความจำเป็นที่เราจะต้องรักษาบรรดารากฐานต่างๆ ของระบบทุนนิยมอันเป็นประชาธิปไตย นั่นก็คือ ความมุ่งมั่นผูกพันที่มีอยู่กับตลาดเสรี, วิสาหกิจเสรี, และการค้าเสรี
“เราต้องต้านทานความโน้มเอียงอันเป็นอันตรายที่จะใช้ลัทธิอยู่อย่างโดดเดี่ยวทางเศรษฐกิจ และจะต้องดำเนินนโยบายต่างๆ แห่งการเปิดตลาด ซึ่งได้ยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ และช่วยเหลือประชาชนนับล้านๆ คนให้หลุดพ้นจากความยากจนในทั่วโลก”
ท่าทีของบุชในที่ประชุมแถลงข่าวหลังการหารือที่แคมป์เดวิดเช่นนี้ นับว่าแตกต่างอย่างชัดเจนกับท่าทีของซาร์โกซี ผู้กำลังรบเร้าให้ปฏิรูปเปลี่ยนแปลงครั้งรุนแรงต่อสิ่งที่เรียกกันว่า “ระบบเบรตตันวูด” อันหมายถึงการประชุมที่เมืองเบรตตันวูด ในสหรัฐฯระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งได้มีการตกลงจัดวางระบบการเงินและการค้าระหว่างประเทศ ที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน โดยที่มี 3 องค์การเสาหลัก ได้แก่ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ), ธนาคารโลก, และองค์การการค้าโลก(ดับเบิลยูทีโอ) คอยทำหน้าที่ประคับประคอง
“เราต้องทำให้ตลาดมีเสถียรภาพขึ้นมาโดยเร็วที่สุดที่จะเป็นไปได้ ด้วยการเสนอคำตอบต่างๆ ออกมาให้ปรากฎ” ซาร์โกซีบอก “ทันทีที่สามารถฟื้นฟูความสงบคืนมาแล้ว เราจะต้องหลีกเลี่ยงอย่างถึงที่สุด ไม่ปล่อยให้พวกที่นำเรามาถึงจุดที่เรากำลังอยู่ในปัจจุบันนี้ ได้รับอนุญาตให้กระทำเช่นนั้นได้อีกครั้งหนึ่ง”
ทั้งนี้พวกที่วิพากษ์วิจารณ์สถาบันอย่างไอเอ็มเอฟและธนาคารโลก ต่างชี้ว่าสถาบันเหล่านี้ล้าสมัยแล้ว และไม่มีความพรักพร้อมที่จะรับมือกับเศรษฐกิจปัจจุบันในยุคโลกาภิวัตน์ ตลอดจนระบบการเงินสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อนเป็นอย่างยิ่ง
บุช, ประธานาธิบดี นิโกลาส์ ซาร์โกซี ของฝรั่งเศส, และประธานคณะกรรมาธิการยุโรป โจเซ มานูเอล บาร์โรโซ ซึ่งไปประชุมหารือกันเป็นเวลา 3 ชั่วโมง ที่สถานพักผ่อนของประธานาธิบดีอเมริกัน ณ แคมป์เดวิด มลรัฐแมริแลนด์ เมื่อวันเสาร์(18)ที่ผ่านมา ได้ออกแถลงการณ์ร่วมระบุว่า จะหารือทาบทามผู้นำโลกคนอื่นๆ ในสัปดาห์หน้า ในเรื่องการประชุมระดับผู้นำต่อเนื่องเป็นชุดเช่นนี้ โดยการประชุมครั้งแรกจะจัดขึ้นในสหรัฐฯ “ไม่นานหลังการเลือกตั้งสหรัฐฯ” ในวันที่ 4 พฤศจิกายน
“ผมกำลังตั้งตารอคอยที่จะเป็นเจ้าภาพการพบปะกันครั้งนี้ซึ่งจะมีขึ้นในอนาคตอันใกล้” บุชกล่าวในการแถลงข่าวภายหลังการหารือที่แคมป์เดวิด พร้อมกับเสริมว่าเขาได้พูดคุยถึงแผนการต่างๆ สำหรับการประชุมระดับผู้นำเช่นนี้แล้ว กับนายกรัฐมนตรี ทาโร อาโซะ แห่งญี่ปุ่น ซึ่งมีฐานะเป็นประธานกลุ่ม 8 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (จี8) วาระปัจจุบัน
ขณะที่แถลงการณ์ร่วมของพวกเขากล่าวว่า ในการประชุมซัมมิตครั้งแรกที่จะจัดขึ้นนี้ บรรดาผู้นำโลก จะ “ทบทวนความก้าวหน้าที่กำลังเกิดขึ้นจากการเข้าแก้ไขรับมือกับวิกฤตในเวลานี้ และจะมุ่งหาทางตกลงกันให้ได้ในเรื่องหลักการต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการปฏิรูป เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงไม่เกิดการซ้ำรอยขึ้นมาอีก และสร้างหลักประกันให้แก่ความมั่งรุ่งรุ่งเรืองของทั่วโลกในอนาคต”
สำหรับการประชุมซัมมิตครั้งถัดๆ ไป “จะเป็นจัดเตรียมเพื่อการปฏิบัติตามข้อตกลงว่าด้วยขั้นตอนเฉพาะเจาะจงต่างๆ ที่จะต้องกระทำ เพื่อให้บรรลุตามหลักการเหล่านี้” แถลงการณ์ร่วมบอก
โฆษกทำเนียบขาว โทนี แฟรตโต อธิบายขยายความเพิ่มเติมว่า เหตุที่ต้องจัดการประชุมระดับผู้นำขึ้นมาหลายๆ ครั้ง เนื่องจากผู้นำของสหรัฐฯและยุโรปซึ่งไปหารือกันที่แคมป์เดวิดมองว่า จะเป็น “การทะเยอทะยานมากเกินไป” ที่จะจัดการกับประเด็นปัญหาต่างๆ ทุกๆ ประการภายในการประชุมซัมมิตเพียงครั้งเดียว
และแม้การประชุมระดับผู้นำครั้งแรกที่สหรัฐฯจะเป็นเจ้าภาพ น่าจะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน แต่แฟรตโตบอกว่ายังไม่มีการตกลงแน่นอนว่าจะจัดขึ้นวันไหน หรือผู้ชนะการเลือกตั้ง 4 พฤศจิกายน ได้เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ ไม่ว่าจะเป็น บารัค โอบามา หรือ จอห์น แมคเคน จะได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมด้วยหรือไม่
“แน่นอนว่าเราย่อมมีความสนใจในทัศนะต่างๆ และในอินพุตของว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ไม่ว่าเขาผู้นั้นจะเป็นใครก็ตาม และเราย่อมยินดีต้อนรับเรื่องนี้ ทว่าตัวผมเองไม่สามารถพูดเรื่องใครจะเข้าร่วมประชุมบ้างได้หรอก” เขาออกตัว
แต่ทั้งประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา ต่างก็จะมีตัวแทนเข้าร่วมการประชุมซัมมิตเช่นนี้ “และเราจะทำงานร่วมมือเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งและปรับปรุงระบบการเงินของชาติของพวกเราให้ทันสมัย เพื่อที่เราจะสามารถรับประกันได้ว่าวิกฤตเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นมาอีก” บุชกล่าว
ทว่าแม้จะเป็นที่ตกลงกันว่าจะจัดการประชุมผู้นำทั่วโลกมาช่วยกันแก้ไขปัญหา แต่ก็กลับปรากฏสัญญาณหลายๆ ประการออกมาแล้วว่า ฝ่ายสหรัฐฯกับฝ่ายยุโรปมีวิสัยทัศน์ที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการหารือเช่นนี้ โดยทางพวกผู้นำยุโรปต้องการผลักดันให้มีการปฏิรูปยกเครื่องสถาปัตยกรรมของระบบการเงินโลกกันทั้งหมดอย่างขนานใหญ่ ขณะที่บุชแสดงท่าทีว่าบรรดารากฐานเดิมๆ ที่มีอยู่ จะต้องพิทักษ์รักษาเอาไว้
“ขณะที่เราดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางด้านระเบียบกฎเกณฑ์และทางด้านสถาบันตามที่จำเป็น เพื่อไม่ให้เกิดวิกฤตเช่นนี้ซ้ำขึ้นมาอีก” บุชบอกกับซาร์โกซีและบาร์โรโซ “มันก็มีความจำเป็นที่เราจะต้องรักษาบรรดารากฐานต่างๆ ของระบบทุนนิยมอันเป็นประชาธิปไตย นั่นก็คือ ความมุ่งมั่นผูกพันที่มีอยู่กับตลาดเสรี, วิสาหกิจเสรี, และการค้าเสรี
“เราต้องต้านทานความโน้มเอียงอันเป็นอันตรายที่จะใช้ลัทธิอยู่อย่างโดดเดี่ยวทางเศรษฐกิจ และจะต้องดำเนินนโยบายต่างๆ แห่งการเปิดตลาด ซึ่งได้ยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ และช่วยเหลือประชาชนนับล้านๆ คนให้หลุดพ้นจากความยากจนในทั่วโลก”
ท่าทีของบุชในที่ประชุมแถลงข่าวหลังการหารือที่แคมป์เดวิดเช่นนี้ นับว่าแตกต่างอย่างชัดเจนกับท่าทีของซาร์โกซี ผู้กำลังรบเร้าให้ปฏิรูปเปลี่ยนแปลงครั้งรุนแรงต่อสิ่งที่เรียกกันว่า “ระบบเบรตตันวูด” อันหมายถึงการประชุมที่เมืองเบรตตันวูด ในสหรัฐฯระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งได้มีการตกลงจัดวางระบบการเงินและการค้าระหว่างประเทศ ที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน โดยที่มี 3 องค์การเสาหลัก ได้แก่ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ), ธนาคารโลก, และองค์การการค้าโลก(ดับเบิลยูทีโอ) คอยทำหน้าที่ประคับประคอง
“เราต้องทำให้ตลาดมีเสถียรภาพขึ้นมาโดยเร็วที่สุดที่จะเป็นไปได้ ด้วยการเสนอคำตอบต่างๆ ออกมาให้ปรากฎ” ซาร์โกซีบอก “ทันทีที่สามารถฟื้นฟูความสงบคืนมาแล้ว เราจะต้องหลีกเลี่ยงอย่างถึงที่สุด ไม่ปล่อยให้พวกที่นำเรามาถึงจุดที่เรากำลังอยู่ในปัจจุบันนี้ ได้รับอนุญาตให้กระทำเช่นนั้นได้อีกครั้งหนึ่ง”
ทั้งนี้พวกที่วิพากษ์วิจารณ์สถาบันอย่างไอเอ็มเอฟและธนาคารโลก ต่างชี้ว่าสถาบันเหล่านี้ล้าสมัยแล้ว และไม่มีความพรักพร้อมที่จะรับมือกับเศรษฐกิจปัจจุบันในยุคโลกาภิวัตน์ ตลอดจนระบบการเงินสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อนเป็นอย่างยิ่ง