เอเอฟพี – องค์การแรงงานระหว่างประเทศกล่าวเตือนในวันอังคาร (21) ว่าเศรษฐกิจของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะประสบปัญหาหนัก หากไม่แก้ไขภาวะการขาดแคลนแรงงานระดับผู้จัดการและผู้ประกอบวิชาชีพที่มีทักษะพิเศษ
ในรายงานเรื่อง “ทิศทางของแรงงานและสังคมในอาเซียนปี 2008” ที่จัดทำโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ระบุว่าการขาดแคลนแรงงานกลุ่มดังกล่าวเวลานี้ไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะกับบริษัทข้ามชาติเท่านั้นแล้ว แต่ยังกระทบต่อบริษัทภายในท้องถิ่นที่นับวันจะยิ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นและต้องการขยายกิจการออกสู่ต่างประเทศด้วย
ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวได้อ้างถึงการขาดแคลนแรงงานระดับผู้จัดการและแรงงานมีฝีมือในภาคธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและธุรกิจการเงิน และชี้ว่า “หากยังไม่มีการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานกลุ่มนี้ ก็จะกลายเป็นข้อจำกัดในการสร้างประสิทธิภาพในการแข่งขัน และการพัฒนาอนาคตของอาเซียน”
นอกจากนั้นไอแอลโอยังเผยด้วยว่าการขาดแคลนแรงงานมีฝีมือทำให้เกิดการตั้งคำถามต่อคุณภาพและความน่าเชื่อถือของการศึกษาขั้นอุดมศึกษาในอาเซียน อีกทั้งเสริมด้วยว่าปัญหาไม่ได้อยู่ตรงที่ไม่มีผู้สมัครงาน แต่อยู่ตรงที่ผู้สมัครเองมีความรู้ความสามารถในเกณฑ์ต่ำ
“หลายต่อหลายประเทศกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนพนักงานระดับผู้จัดการและพนักงานด้านเทคนิค รวมทั้งพนักงานในวิชาชีพเฉพาะทางต่างๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเกิดการจับคู่ผิดพลาดระหว่างปริมาณของแรงงานที่มีการศึกษาและทักษะที่ตรงกับงาน กับปริมาณความต้องการแรงงานประเภทนี้” ไอแอลโอระบุ
“การขาดแคลนแรงงานมีฝีมือจะบ่อนทำลายขีดความสามารถของกิจการธุรกิจในหลายรูปแบบด้วยกัน โดยอาจนำไปสู่การใช้ศักยภาพของแรงงานต่ำกว่าจริง การสูญเสียผลิตภาพ และทำให้มีการหมุนเวียนเข้าออกของแรงงานสูง อีกทั้งต้องเพิ่มค่าแรงให้สูงขึ้น และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรับสมัครและฝึกอบรมพนักงานใหม่มากขึ้น”
ไอแอลโอบอกด้วยว่าปัญหาการขาดแคลนแรงงานดังกล่าวเป็นปัญหาระยะยาวที่มีแนวโน้มยืดเยื้อยิ่งกว่าวิกฤตการณ์เศรษฐกิจซึ่งเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ และยังเสนอให้อาเซียนปรับปรุงนโยบายด้านการศึกษาและฝึกอบรมให้สอดคล้องกับการพัฒนาแรงงานและการเพิ่มผลิตภาพให้สูงขึ้น
ปัจจุบันกลุ่มอาเซียนมีประชากรรวมทั้งหมด 550 ล้านคน โดยตามตัวเลขของปี 2007 นั้น อาเซียนมีกำลังแรงงานจำนวนราว 285 ล้านคน และคาดว่าจะเพิ่มอีก 40 ล้านคนภายในปี 2015 อันเป็นปีที่กลุ่มอาเซียนตั้งเป้าหมายที่จะสร้างตลาดร่วมและใช้ฐานการผลิตร่วมกันเพื่อสร้างพลังที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นในตลาดโลก
ในรายงานเรื่อง “ทิศทางของแรงงานและสังคมในอาเซียนปี 2008” ที่จัดทำโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ระบุว่าการขาดแคลนแรงงานกลุ่มดังกล่าวเวลานี้ไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะกับบริษัทข้ามชาติเท่านั้นแล้ว แต่ยังกระทบต่อบริษัทภายในท้องถิ่นที่นับวันจะยิ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นและต้องการขยายกิจการออกสู่ต่างประเทศด้วย
ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวได้อ้างถึงการขาดแคลนแรงงานระดับผู้จัดการและแรงงานมีฝีมือในภาคธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและธุรกิจการเงิน และชี้ว่า “หากยังไม่มีการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานกลุ่มนี้ ก็จะกลายเป็นข้อจำกัดในการสร้างประสิทธิภาพในการแข่งขัน และการพัฒนาอนาคตของอาเซียน”
นอกจากนั้นไอแอลโอยังเผยด้วยว่าการขาดแคลนแรงงานมีฝีมือทำให้เกิดการตั้งคำถามต่อคุณภาพและความน่าเชื่อถือของการศึกษาขั้นอุดมศึกษาในอาเซียน อีกทั้งเสริมด้วยว่าปัญหาไม่ได้อยู่ตรงที่ไม่มีผู้สมัครงาน แต่อยู่ตรงที่ผู้สมัครเองมีความรู้ความสามารถในเกณฑ์ต่ำ
“หลายต่อหลายประเทศกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนพนักงานระดับผู้จัดการและพนักงานด้านเทคนิค รวมทั้งพนักงานในวิชาชีพเฉพาะทางต่างๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเกิดการจับคู่ผิดพลาดระหว่างปริมาณของแรงงานที่มีการศึกษาและทักษะที่ตรงกับงาน กับปริมาณความต้องการแรงงานประเภทนี้” ไอแอลโอระบุ
“การขาดแคลนแรงงานมีฝีมือจะบ่อนทำลายขีดความสามารถของกิจการธุรกิจในหลายรูปแบบด้วยกัน โดยอาจนำไปสู่การใช้ศักยภาพของแรงงานต่ำกว่าจริง การสูญเสียผลิตภาพ และทำให้มีการหมุนเวียนเข้าออกของแรงงานสูง อีกทั้งต้องเพิ่มค่าแรงให้สูงขึ้น และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรับสมัครและฝึกอบรมพนักงานใหม่มากขึ้น”
ไอแอลโอบอกด้วยว่าปัญหาการขาดแคลนแรงงานดังกล่าวเป็นปัญหาระยะยาวที่มีแนวโน้มยืดเยื้อยิ่งกว่าวิกฤตการณ์เศรษฐกิจซึ่งเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ และยังเสนอให้อาเซียนปรับปรุงนโยบายด้านการศึกษาและฝึกอบรมให้สอดคล้องกับการพัฒนาแรงงานและการเพิ่มผลิตภาพให้สูงขึ้น
ปัจจุบันกลุ่มอาเซียนมีประชากรรวมทั้งหมด 550 ล้านคน โดยตามตัวเลขของปี 2007 นั้น อาเซียนมีกำลังแรงงานจำนวนราว 285 ล้านคน และคาดว่าจะเพิ่มอีก 40 ล้านคนภายในปี 2015 อันเป็นปีที่กลุ่มอาเซียนตั้งเป้าหมายที่จะสร้างตลาดร่วมและใช้ฐานการผลิตร่วมกันเพื่อสร้างพลังที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นในตลาดโลก