ผู้จัดการรายวัน – “อภิสิทธิ์” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เผย 6 มาตรการรับมือวิกฤตการเงินโลกของรัฐบาลยังไม่เป็นรูปธรรม ยกเว้นมาตรการพยุงตลาดหุ้นเพียงอย่างเดียว เสนอให้กำหนดโครงการเมกะโปรเจกต์ให้ชัดเจนเป็นยุทธ์ศาสตร์แรกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พร้อมแนะรัฐบาลยุบสภาเพื่อผ่าทางตันฟื้นเศรษฐกิจในประเทศ ท่ามกลางวิกฤตการเงินโลกที่กำลังเกิดขึ้น
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เปิดเผย ภายในงานสัมมนาเรื่อง “การเตรียมรับมือแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจไทยในภาวะวิกฤต” จากวิกฤตการเงินสหรัฐอเมริกาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสถาบันการเงินต่างประเทศ ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในปีหน้า ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนจากกำลังซื้อของประชาชน, การส่งออก และภาคอุตสาหกรรม ที่เริ่มปรับตัวลดลง เว้นแต่ผู้ประกอบการของไทยจะสามารถหาตลาดใหม่ได้แทนที่ตลาดสหรัฐฯ และประเทศที่ประสบปัญหา
สำหรับยุทธศาสตร์อันดับแรกที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการ คือ การกำหนดแบบแผนของโครงการเมกะโปรเจ็กต์ให้มีความชัดเจน โดยเฉพาะประเด็นเรื่องของแหล่งเงินกู้ว่าจะมาจากในประเทศหรือต่างประเทศ รวมถึงประเมินในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันจะสามารถหาแหล่งเงินทุนได้จากที่ใด
ส่วนยุทธศาสตร์ที่สอง คือ การมีระบบติดตามสภาพคล่องในภาคธุรกิจ ซึ่งต้องประเมินว่าเอกชนจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐฯ ที่เกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด รวมทั้งรัฐบาลยังต้องพัฒนาโครงการพัฒนาดิน และแหล่งน้ำ เพื่อช่วยเหลือภาคเกษตรกรด้วย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากวิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐฯ ที่กำลังขยายวงสู่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกในขณะนี้ได้ส่งผลให้สภาพคล่องเริ่มหดตัว ทำให้นักลงทุนวิตกกังวลไม่กล้าลงทุน ส่งผลให้ธุรกิจบางอย่างต้องสูญเสียโอกาสที่ดีในการพัฒนา และคาดว่ากลไลการตลาดไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้
สำหรับ 6 มาตรการรับมือเศรษฐกิจโลกที่รัฐบาลประกาศใช้นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ทั้ง 6 มาตรการมีเพียงเรื่องของตลาดทุนเพียงอย่างเดียวที่มีความชัดเจน ส่วนมาตรการอื่นๆ เช่น มาตรการแก้ไขปัญหาเรื่องการส่งออก, การท่องเที่ยว และอื่นๆ ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องแบบแผนและแหล่งเงินทุนที่ชัดเจน
ส่วนสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ภายหลังจากเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ความรุนแรงเข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 จนทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต จะผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยวทำให้ยอดนักท่องเที่ยวลดลง เนื่องจากสำนักข่าวต่างประเทศได้นำเสนอภาพความรุนแรงต่างๆ ทำให้ต่างประเทศมองว่าประเทศไทยไม่มีความปลอดภัย จึงชะลอแผนที่จะเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย และหันไปเที่ยวประเทศอื่นๆ แทน
ขณะที่แนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น รัฐบาลควรออกมารับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยมองว่าการยุบสภาน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของทางที่ดี เพราะหากรัฐบาลพยายามดึงดันที่จะบริหารประเทศต่อไปอาจทำให้เกิดการปะทะที่รุนแรง หรือเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการปฏิวัติรัฐประหารได้ เนื่องปัจจุบันปัญหาดังกล่าวสร้างความแตกแยกฝังลึกไปยังจิตใจของคนไทย
“ปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดทั้งในเรื่องของวิกฤตการเงินสหรัฐฯ ปัญหาการเมือง ได้ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันแก้ไข ไม่ว่าจะเป็น รัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจอื่นๆ”
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เปิดเผย ภายในงานสัมมนาเรื่อง “การเตรียมรับมือแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจไทยในภาวะวิกฤต” จากวิกฤตการเงินสหรัฐอเมริกาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสถาบันการเงินต่างประเทศ ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในปีหน้า ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนจากกำลังซื้อของประชาชน, การส่งออก และภาคอุตสาหกรรม ที่เริ่มปรับตัวลดลง เว้นแต่ผู้ประกอบการของไทยจะสามารถหาตลาดใหม่ได้แทนที่ตลาดสหรัฐฯ และประเทศที่ประสบปัญหา
สำหรับยุทธศาสตร์อันดับแรกที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการ คือ การกำหนดแบบแผนของโครงการเมกะโปรเจ็กต์ให้มีความชัดเจน โดยเฉพาะประเด็นเรื่องของแหล่งเงินกู้ว่าจะมาจากในประเทศหรือต่างประเทศ รวมถึงประเมินในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันจะสามารถหาแหล่งเงินทุนได้จากที่ใด
ส่วนยุทธศาสตร์ที่สอง คือ การมีระบบติดตามสภาพคล่องในภาคธุรกิจ ซึ่งต้องประเมินว่าเอกชนจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐฯ ที่เกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด รวมทั้งรัฐบาลยังต้องพัฒนาโครงการพัฒนาดิน และแหล่งน้ำ เพื่อช่วยเหลือภาคเกษตรกรด้วย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากวิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐฯ ที่กำลังขยายวงสู่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกในขณะนี้ได้ส่งผลให้สภาพคล่องเริ่มหดตัว ทำให้นักลงทุนวิตกกังวลไม่กล้าลงทุน ส่งผลให้ธุรกิจบางอย่างต้องสูญเสียโอกาสที่ดีในการพัฒนา และคาดว่ากลไลการตลาดไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้
สำหรับ 6 มาตรการรับมือเศรษฐกิจโลกที่รัฐบาลประกาศใช้นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ทั้ง 6 มาตรการมีเพียงเรื่องของตลาดทุนเพียงอย่างเดียวที่มีความชัดเจน ส่วนมาตรการอื่นๆ เช่น มาตรการแก้ไขปัญหาเรื่องการส่งออก, การท่องเที่ยว และอื่นๆ ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องแบบแผนและแหล่งเงินทุนที่ชัดเจน
ส่วนสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ภายหลังจากเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ความรุนแรงเข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 จนทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต จะผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยวทำให้ยอดนักท่องเที่ยวลดลง เนื่องจากสำนักข่าวต่างประเทศได้นำเสนอภาพความรุนแรงต่างๆ ทำให้ต่างประเทศมองว่าประเทศไทยไม่มีความปลอดภัย จึงชะลอแผนที่จะเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย และหันไปเที่ยวประเทศอื่นๆ แทน
ขณะที่แนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น รัฐบาลควรออกมารับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยมองว่าการยุบสภาน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของทางที่ดี เพราะหากรัฐบาลพยายามดึงดันที่จะบริหารประเทศต่อไปอาจทำให้เกิดการปะทะที่รุนแรง หรือเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการปฏิวัติรัฐประหารได้ เนื่องปัจจุบันปัญหาดังกล่าวสร้างความแตกแยกฝังลึกไปยังจิตใจของคนไทย
“ปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดทั้งในเรื่องของวิกฤตการเงินสหรัฐฯ ปัญหาการเมือง ได้ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันแก้ไข ไม่ว่าจะเป็น รัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจอื่นๆ”