เอเอฟพี - กลุ่มโอเปกเรียกร้องให้มีการกำกับตรวจสอบอย่างเข้มงวดยิ่งขึ้น เพื่อลดผลกระทบจากการลงทุนเก็งกำไรในตลาดน้ำมัน ซึ่งโอเปคประณามว่า เป็นตัวการทำราคาน้ำมันปั่นป่วน
ราคาน้ำมันในตลาดโลกเคยทะยานขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์เหนือระดับ 147 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา แต่นับจากนั้นราคาน้ำมันกลับทรุดลงอย่างฮวบฮาบสู่ระดับต่ำกว่า 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลขณะที่วิกฤตการเงินเริ่มลุกลามทั่วโลก จนทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความต้องการน้ำมันชะลอตัว
ล่าสุดเมื่อวันศุกร์ (10) สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนพฤศจิกายน ร่วงกราวรูดถึง 8.89 ดอลลาร์ ปิดที่ 77.70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบเบรนต์ของลอนดอน ดิ่งลง 8.57 ดอลลาร์ ปิดที่ 74.09 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
"การที่ราคาน้ำมันผันผวนอย่างรุนแรงเมื่อเร็ว ๆ นี้ ชี้ให้เห็น ความจำเป็นในมาตรการความร่วมมือ เพื่อลดผลกระทบจากวิกฤตการเงิน ที่กำลังบ่อนทำลายอุตสาหกรรมน้ำมัน ตลอดจนเศรษฐกิจทั่วโลก" อาลีปูร เจดดี โฆษกโอเปค กล่าวในที่ประชุมกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี ของสหรัฐฯ เมื่อวันเสาร์ (11)
"กรอบการกำกับตรวจสอบที่ใช้อยู่ทุกวันนี้พิสูจน์แล้วว่า ด้อยประสิทธิภาพในการยับยั้งอย่างเหมาะสมต่อผลกระทบด้านลบจากกิจกรรมเก็งกำไร. . . ซึ่งเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องพิจารณามาตรการต่าง ๆ เพิ่มเติม"
พร้อมกันนี้ โฆษกโอเปคยังเรียกร้องให้มีการกำกับตรวจสอบอย่างรัดกุมยิ่งขึ้นในการซื้อขายเก็งกำไรและเพิ่มขยายการควบคุมดูแลในตลาดสหรัฐฯ
ราคาน้ำมันในตลาดโลกเคยทะยานขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์เหนือระดับ 147 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา แต่นับจากนั้นราคาน้ำมันกลับทรุดลงอย่างฮวบฮาบสู่ระดับต่ำกว่า 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลขณะที่วิกฤตการเงินเริ่มลุกลามทั่วโลก จนทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความต้องการน้ำมันชะลอตัว
ล่าสุดเมื่อวันศุกร์ (10) สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนพฤศจิกายน ร่วงกราวรูดถึง 8.89 ดอลลาร์ ปิดที่ 77.70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบเบรนต์ของลอนดอน ดิ่งลง 8.57 ดอลลาร์ ปิดที่ 74.09 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
"การที่ราคาน้ำมันผันผวนอย่างรุนแรงเมื่อเร็ว ๆ นี้ ชี้ให้เห็น ความจำเป็นในมาตรการความร่วมมือ เพื่อลดผลกระทบจากวิกฤตการเงิน ที่กำลังบ่อนทำลายอุตสาหกรรมน้ำมัน ตลอดจนเศรษฐกิจทั่วโลก" อาลีปูร เจดดี โฆษกโอเปค กล่าวในที่ประชุมกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี ของสหรัฐฯ เมื่อวันเสาร์ (11)
"กรอบการกำกับตรวจสอบที่ใช้อยู่ทุกวันนี้พิสูจน์แล้วว่า ด้อยประสิทธิภาพในการยับยั้งอย่างเหมาะสมต่อผลกระทบด้านลบจากกิจกรรมเก็งกำไร. . . ซึ่งเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องพิจารณามาตรการต่าง ๆ เพิ่มเติม"
พร้อมกันนี้ โฆษกโอเปคยังเรียกร้องให้มีการกำกับตรวจสอบอย่างรัดกุมยิ่งขึ้นในการซื้อขายเก็งกำไรและเพิ่มขยายการควบคุมดูแลในตลาดสหรัฐฯ