วานนี้ (9 ต.ค.) ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยสำรวจ เรื่อง อารมณ์ความรู้สึกของคนกรุงเทพฯ ต่อกรณีสลายม็อบพันธมิตรฯ โดยเก็บข้อมูล จากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพฯ 1,180 คน เมื่อวันที่ 8 ต.ค.2551 พบว่า ร้อยละ 55.1 ไม่เห็นด้วยที่ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาเข้าสลาย กลุ่มผู้ชุมนุมฝ่ายพันธมิตรฯ ที่บริเวณรัฐสภา โดยระบุว่าเป็นการกระทำที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ ขณะเดียวกันส่วนใหญ่ยังเห็นด้วยกับการลาออกจากตำแหน่งของรองนายกรัฐมนตรี ของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เพราะถือเป็นการแสดงความรับผิดชอบ
ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นที่มีต่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในการปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี หลังเกิดเหตุการณ์สลายกลุ่มผู้ชุมนุมพบว่า ร้อยละ 40.2 ไม่ค่อยเชื่อมั่น มีเพียงร้อยละ 6.6 ที่รู้สึกเชื่อมั่นมาก อย่างไรก็ตาม ทางออกที่เหมาะสมและเป็นไปได้มากที่สุดในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 46.8 เห็นว่า คือการยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่
วันเดียวกันมีการประชุมคณะรัฐมนตี (ครม.) นัดพิเศษ โดย นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตี และ รมว.กลาโหม เดินทางมายังทำเนียบชั่วคราว (ดอนเมือง) เมื่อเวลา 09.40 น. โดยได้โบกมือทักทายผู้สื่อข่าว แต่ไม่ให้สัมภาษณ์
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ แถลงภายหลังการประชุม ครม. ว่า จากเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นเมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมาก และยังมีกรณีที่สับสบวุ่นวาย จึงได้หารือกับ ครม.และมีมติว่าจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด ได่แก่1.คณะกรรมการตรวจสอบและสอบสวนหาข้อเท็จจริงเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมด ว่าสาเหตุเกิดจากอะไร และเป็นการทำงานของฝ่ายใด มีปัญหาตรงไหน ใครผิดใครถูก ใครทำความรุนแรง จะได้สรุปสถานการณ์ว่าเป็นอย่างไร เพื่อจะให้ประชาชนได้ทราบ
โดยคณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจเรียกใครมาสอบก็ได้ หรือร้องขอเอกสารอะไรมาก็ได้ เพื่อให้ประชาชนทราบข้อเท็จจริง โดยคณะกรรมการชุดนี้จะพยายามขอร้อง ให้ท่านผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่คนของรัฐบาล และเป็นคนกลางเข้ามาร่วมเป็นกรรมการ ซึ่งขณะนี้กำลังทาบทามอยู่คิดว่าภายใน 2 วันจะเสร็จ แต่ยอมรับว่าการเฟ้นหาบุคคลลำบากมาก
2 ตั้งคณะกรรมการเยี่ยวยาผู้ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ การสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม โดยจะดูแลทั้งฝ่ายตำรวจและผู้ชุมนุม โดยจะชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น หรือทรัพย์สินของราชการ ของเอกชน
รัฐบาลมุ่งหวังที่จะช่วยดูแลบุคคลทั่วไป ไม่ได้เจาะจงคนใดคนหนึ่ง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดไม่ได้เจตนาที่จะทำให้เกิดปัญหา หรือเดือดร้อน อันตรายแก่ผู้ใดทั้งสิ้น ดังนั้นคณะกรรมการ 2 ชุดนี้ เมื่อได้สอบสวนดำเนินการแล้วคิดว่า ความกระจ่างจะออกมาในระดับหนึ่ง ซึ่งมั่นในว่าจะทำให้ความคลางแคลงใจทั้งหลายจะหมดสิ้นไป
นายสมชาย กล่าวว่าคณะกรรมการทั้ง 2 ชุดนี้เมื่อตั้งขึ้นเสร็จจะสอบสวนทันที ขอให้พี่น้องประชาชนอดใจรอสักนิด เมื่อผลการสอบสวนออกมาก็จะเกิดความชัดเจนขึ้น ขอให้ใจเย็น ตนจะพยายามเร่งรัดคณะกรรมการทำงานให้เร็ว
ส่วนการหารือร่วมกัน 4 ฝ่าย และการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น นายสมชาย กล่าวว่ายังเดินหน้าต่อ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าบ่ายวันเดียวกัน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ได้เรียกประชุมรักษาการคณะกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคแถลงหลังการประชุมว่า ได้หารือถึงสถานการณ์ การเมือง โดยเฉพาะเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ปิดล้อมรัฐสภา ซึ่งที่ประชุมเห็นตรงกันว่าจำเป็นต้องชี้แจง เพราะฝ่ายการเมืองชี้แจงน้อยมาก โดยเฉพาะความจำเป็นที่จะต้องประชุมแถลงนโยบายรัฐบาล จึงไม่สามารถย้ายสถานที่การชุมนุมได้ แต่การกระทำของกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นการละเมิดสิทธิของฝ่ายนิติบัญญัติ จึงจำเป็นที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องเปิดทางให้ฝ่ายนิติบัญญัติเข้าไปทำหน้าที่และเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดคุณูปการ ต่อระบอบประชาธิปไตยมากมาย เพราะเป็นการรักษาระบอบประชาธิปไตย
รัฐบาลอ่านเกมกันแล้วว่าหากไม่มีการแถลงนโยบายในวันนั้น จะไม่มีการ แถลงนโยบายเกิดขึ้นอีกเลย ซึ่งรัฐบาลอาจจะพ้นสภาพ ซึ่งสุดท้าย ต้องถูกไล่เบี้ยอีกว่ารัฐบาลไม่มีความชอบธรรมในการบริหารงาน หากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่สลายกลุ่มผู้ชุมนุมเพื่อเปิดทางให้สมาชิกรัฐสภาเดินออกมาแล้ว มีการบุกรุกเข้าไป ทำร้ายสมาชิกรัฐสภา ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจจะมากกว่านี้
ร.ท.กุเทพ กล่าวถึงข้อเรียกร้องทางการเมืองที่จะทำให้นายกรัฐมนตรีตัดสินใจลาออกหรือยุบสภาจากฝ่ายต่างๆว่า นายกรัฐมนตรียืนยันว่าจะไม่ลาออก หรือยุบสภา จะอดทนปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งการลาออกหรือยุบสภาในสถานการณ์เช่นนี้นั้นไม่อยู่ในวิสัยที่สามารถจะทำได้ เพราะรัฐบาลเพิ่งผ่านการแถลงนโยบายมาได้เพียง 2 วันและไม่มีเหตุผลของการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาด จนต้องลาออกหรือยุบสภา นอกจากนี้รัฐบาลยังมีภารกิจสำคัญในช่วง 2-3 เดือนเพื่อถวายความจงรักภักดี เพราะมีพระราชพิธีสำคัญที่จำต้องดำเนินการให้สำเร็จ รวมทั้งกรณียุบสภาก็ไม่สามารถทำได้ เพราะเราไม่อาจรู้ได้เลยว่าสถานการณ์การเมืองเช่นนี้จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นได้หรือไม่ แต่ที่สำคัญคือการยุบสภาจะทำให้วุฒิสภากลายเป็นรัฐสภา ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้นเรายากจะคาดเดาว่าจะมีการเกิดหมากการเมืองรูปแบบใดขึ้นมาหรือไม่
ที่สำคัญคือหากมีการเลือกตั้งและพรรคพลังประชาชนได้รับเลือกตั้งเข้ามาอีก สถานการณ์ก็จะกลับมาเหมือนเดิมอีก แต่สิ่งที่นายกรัฐมนตรีพยายามประนีประนอม เพื่อให้เกิดการเจรจา รับฟังความคิดเห็น แล้วผลักดัน ส.ส.ร.เพื่อให้แก้ไขรัฐธรรมนูญยังเป็นทางออกที่ดีที่สุด และเมื่อสถานการณ์การเมืองดีขึ้นกว่านี้นายกรัฐมนตรีจะตัดสินใจในแนวทางการเมืองที่มีนัยสำคัญอีกครั้งหนึ่ง
ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นที่มีต่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในการปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี หลังเกิดเหตุการณ์สลายกลุ่มผู้ชุมนุมพบว่า ร้อยละ 40.2 ไม่ค่อยเชื่อมั่น มีเพียงร้อยละ 6.6 ที่รู้สึกเชื่อมั่นมาก อย่างไรก็ตาม ทางออกที่เหมาะสมและเป็นไปได้มากที่สุดในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 46.8 เห็นว่า คือการยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่
วันเดียวกันมีการประชุมคณะรัฐมนตี (ครม.) นัดพิเศษ โดย นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตี และ รมว.กลาโหม เดินทางมายังทำเนียบชั่วคราว (ดอนเมือง) เมื่อเวลา 09.40 น. โดยได้โบกมือทักทายผู้สื่อข่าว แต่ไม่ให้สัมภาษณ์
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ แถลงภายหลังการประชุม ครม. ว่า จากเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นเมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมาก และยังมีกรณีที่สับสบวุ่นวาย จึงได้หารือกับ ครม.และมีมติว่าจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด ได่แก่1.คณะกรรมการตรวจสอบและสอบสวนหาข้อเท็จจริงเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมด ว่าสาเหตุเกิดจากอะไร และเป็นการทำงานของฝ่ายใด มีปัญหาตรงไหน ใครผิดใครถูก ใครทำความรุนแรง จะได้สรุปสถานการณ์ว่าเป็นอย่างไร เพื่อจะให้ประชาชนได้ทราบ
โดยคณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจเรียกใครมาสอบก็ได้ หรือร้องขอเอกสารอะไรมาก็ได้ เพื่อให้ประชาชนทราบข้อเท็จจริง โดยคณะกรรมการชุดนี้จะพยายามขอร้อง ให้ท่านผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่คนของรัฐบาล และเป็นคนกลางเข้ามาร่วมเป็นกรรมการ ซึ่งขณะนี้กำลังทาบทามอยู่คิดว่าภายใน 2 วันจะเสร็จ แต่ยอมรับว่าการเฟ้นหาบุคคลลำบากมาก
2 ตั้งคณะกรรมการเยี่ยวยาผู้ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ การสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม โดยจะดูแลทั้งฝ่ายตำรวจและผู้ชุมนุม โดยจะชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น หรือทรัพย์สินของราชการ ของเอกชน
รัฐบาลมุ่งหวังที่จะช่วยดูแลบุคคลทั่วไป ไม่ได้เจาะจงคนใดคนหนึ่ง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดไม่ได้เจตนาที่จะทำให้เกิดปัญหา หรือเดือดร้อน อันตรายแก่ผู้ใดทั้งสิ้น ดังนั้นคณะกรรมการ 2 ชุดนี้ เมื่อได้สอบสวนดำเนินการแล้วคิดว่า ความกระจ่างจะออกมาในระดับหนึ่ง ซึ่งมั่นในว่าจะทำให้ความคลางแคลงใจทั้งหลายจะหมดสิ้นไป
นายสมชาย กล่าวว่าคณะกรรมการทั้ง 2 ชุดนี้เมื่อตั้งขึ้นเสร็จจะสอบสวนทันที ขอให้พี่น้องประชาชนอดใจรอสักนิด เมื่อผลการสอบสวนออกมาก็จะเกิดความชัดเจนขึ้น ขอให้ใจเย็น ตนจะพยายามเร่งรัดคณะกรรมการทำงานให้เร็ว
ส่วนการหารือร่วมกัน 4 ฝ่าย และการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น นายสมชาย กล่าวว่ายังเดินหน้าต่อ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าบ่ายวันเดียวกัน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ได้เรียกประชุมรักษาการคณะกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคแถลงหลังการประชุมว่า ได้หารือถึงสถานการณ์ การเมือง โดยเฉพาะเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ปิดล้อมรัฐสภา ซึ่งที่ประชุมเห็นตรงกันว่าจำเป็นต้องชี้แจง เพราะฝ่ายการเมืองชี้แจงน้อยมาก โดยเฉพาะความจำเป็นที่จะต้องประชุมแถลงนโยบายรัฐบาล จึงไม่สามารถย้ายสถานที่การชุมนุมได้ แต่การกระทำของกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นการละเมิดสิทธิของฝ่ายนิติบัญญัติ จึงจำเป็นที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องเปิดทางให้ฝ่ายนิติบัญญัติเข้าไปทำหน้าที่และเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดคุณูปการ ต่อระบอบประชาธิปไตยมากมาย เพราะเป็นการรักษาระบอบประชาธิปไตย
รัฐบาลอ่านเกมกันแล้วว่าหากไม่มีการแถลงนโยบายในวันนั้น จะไม่มีการ แถลงนโยบายเกิดขึ้นอีกเลย ซึ่งรัฐบาลอาจจะพ้นสภาพ ซึ่งสุดท้าย ต้องถูกไล่เบี้ยอีกว่ารัฐบาลไม่มีความชอบธรรมในการบริหารงาน หากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่สลายกลุ่มผู้ชุมนุมเพื่อเปิดทางให้สมาชิกรัฐสภาเดินออกมาแล้ว มีการบุกรุกเข้าไป ทำร้ายสมาชิกรัฐสภา ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจจะมากกว่านี้
ร.ท.กุเทพ กล่าวถึงข้อเรียกร้องทางการเมืองที่จะทำให้นายกรัฐมนตรีตัดสินใจลาออกหรือยุบสภาจากฝ่ายต่างๆว่า นายกรัฐมนตรียืนยันว่าจะไม่ลาออก หรือยุบสภา จะอดทนปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งการลาออกหรือยุบสภาในสถานการณ์เช่นนี้นั้นไม่อยู่ในวิสัยที่สามารถจะทำได้ เพราะรัฐบาลเพิ่งผ่านการแถลงนโยบายมาได้เพียง 2 วันและไม่มีเหตุผลของการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาด จนต้องลาออกหรือยุบสภา นอกจากนี้รัฐบาลยังมีภารกิจสำคัญในช่วง 2-3 เดือนเพื่อถวายความจงรักภักดี เพราะมีพระราชพิธีสำคัญที่จำต้องดำเนินการให้สำเร็จ รวมทั้งกรณียุบสภาก็ไม่สามารถทำได้ เพราะเราไม่อาจรู้ได้เลยว่าสถานการณ์การเมืองเช่นนี้จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นได้หรือไม่ แต่ที่สำคัญคือการยุบสภาจะทำให้วุฒิสภากลายเป็นรัฐสภา ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้นเรายากจะคาดเดาว่าจะมีการเกิดหมากการเมืองรูปแบบใดขึ้นมาหรือไม่
ที่สำคัญคือหากมีการเลือกตั้งและพรรคพลังประชาชนได้รับเลือกตั้งเข้ามาอีก สถานการณ์ก็จะกลับมาเหมือนเดิมอีก แต่สิ่งที่นายกรัฐมนตรีพยายามประนีประนอม เพื่อให้เกิดการเจรจา รับฟังความคิดเห็น แล้วผลักดัน ส.ส.ร.เพื่อให้แก้ไขรัฐธรรมนูญยังเป็นทางออกที่ดีที่สุด และเมื่อสถานการณ์การเมืองดีขึ้นกว่านี้นายกรัฐมนตรีจะตัดสินใจในแนวทางการเมืองที่มีนัยสำคัญอีกครั้งหนึ่ง