เนื่องในโอกาส วันที่ 20 กันยายนที่จะถึงนี้ เป็นวันเยาวชนแห่งชาติ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) สำรวจความคิดเห็นเรื่อง ความเชื่อมั่นของเยาวชนไทยต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน เพื่อสะท้อนความคิดเห็นและมุมมองของเยาวชนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ โดยเก็บข้อมูลจากเยาวชนไทยอายุ 15-24 ปี จากทุกภาคของประเทศ 1,143 คน ระหว่างวันที่ 9-15 กันายนที่ผ่านมา โดยประเมินความเชื่อมั่นในด้านต่างๆ 10 ด้านที่เป็นพื้นฐานสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของเยาวชน พบว่าเยาวชนไทยมีความเชื่อมั่นต่อการดำเนินชีวิตของตนเองในระดับปานกลาง โดยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 5.79 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
เมื่อพิจารณาความเชื่อมั่นในแต่ละด้าน พบว่าด้านที่เยาวชนมีความเชื่อมั่นสูงที่สุดคือ การได้รับความรักความอบอุ่นอย่างเพียงพอจากครอบครัว 7.62 คะแนน รองลงมาคือ มีวัฒนธรรมประจำชาติที่น่าภาคภูมิใจและน่ายึดถือปฏิบัติ 7.06 คะแนน ได้รับการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ 6.78 คะแนน มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ 6.46 คะแนน ฐานะการเงินของครอบครัวมีความมั่นคง 5.78 คะแนน และมีความปลอดภัยในการใช้ชีวิตในสังคม 5.48 คะแนน ส่วนด้านที่เยาวชนมีความเชื่อมั่นต่ำที่สุดคือ การมีนักการเมืองที่ดีมีคุณภาพ สามารถนำพาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้ 4.33 คะแนน
สิ่งที่คิดว่าเป็นอุปสรรคขัดขวางการมีชีวิตที่ดีมีคุณภาพของเยาวชนไทยมากที่สุด คือ พฤติกรรมการใช้ชีวิตของเยาวชนเอง (ไม่ตั้งใจเรียน เที่ยวเตร่ คบเพื่อนไม่ดี ติดอบายมุข) ร้อยละ 44.6 การอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว (พ่อแม่ไม่มีเวลา ครอบครัวแตกแยก) ร้อยละ 17.7 ระบบการศึกษาไทย (เนื้อหาหลักสูตร รูปแบบการสอน การวัดผล และการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย) ร้อยละ 13.3 ระบบการเมืองไทย (คุณภาพนักการเมือง ระบบการเลือกตั้ง การซื้อเสียง และรัฐธรรมนูญ) ร้อยละ 12.3
เมื่อพิจารณาความเชื่อมั่นในแต่ละด้าน พบว่าด้านที่เยาวชนมีความเชื่อมั่นสูงที่สุดคือ การได้รับความรักความอบอุ่นอย่างเพียงพอจากครอบครัว 7.62 คะแนน รองลงมาคือ มีวัฒนธรรมประจำชาติที่น่าภาคภูมิใจและน่ายึดถือปฏิบัติ 7.06 คะแนน ได้รับการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ 6.78 คะแนน มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ 6.46 คะแนน ฐานะการเงินของครอบครัวมีความมั่นคง 5.78 คะแนน และมีความปลอดภัยในการใช้ชีวิตในสังคม 5.48 คะแนน ส่วนด้านที่เยาวชนมีความเชื่อมั่นต่ำที่สุดคือ การมีนักการเมืองที่ดีมีคุณภาพ สามารถนำพาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้ 4.33 คะแนน
สิ่งที่คิดว่าเป็นอุปสรรคขัดขวางการมีชีวิตที่ดีมีคุณภาพของเยาวชนไทยมากที่สุด คือ พฤติกรรมการใช้ชีวิตของเยาวชนเอง (ไม่ตั้งใจเรียน เที่ยวเตร่ คบเพื่อนไม่ดี ติดอบายมุข) ร้อยละ 44.6 การอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว (พ่อแม่ไม่มีเวลา ครอบครัวแตกแยก) ร้อยละ 17.7 ระบบการศึกษาไทย (เนื้อหาหลักสูตร รูปแบบการสอน การวัดผล และการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย) ร้อยละ 13.3 ระบบการเมืองไทย (คุณภาพนักการเมือง ระบบการเลือกตั้ง การซื้อเสียง และรัฐธรรมนูญ) ร้อยละ 12.3