บอร์ดแบงก์ชาติชุดรักษาการประชุมด่วนแก้ปัญหาสุญญากาศ ถกตั้งบอร์ด กนง.เสร็จก่อนวันที่ 8 ต.ค. เปิดทางผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกที่เคยเป็นกรรมการ กนง.เดิมอาจกลับมาทำหน้าที่ใหม่ ระบุการทำหน้าที่ของบอร์ดแบงก์ชาติชุดรักษาการต้องตัดสินใจและชี้แจงความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ หากขั้นตอนใดมีความผิดพลาด รมว.คลังต้องรับผิดชอบ
นายอรรคบุษย์ ไกรฤกษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายช่วยงานบริหาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และในฐานะเลขาคณะกรรมการธปท.ชุดรักษาการ เปิดเผยว่า ในช่วงต้นสัปดาห์นี้ทางคณะกรรมการ ธปท. หรือบอร์ด ธปท.ชุดรักษาการจะมีการประชุมหารือเกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ชุดใหม่มาทำหน้าที่ เพื่อให้ทันการประชุมของ กนง.ในวันที่ 8 ต.ค.นี้
การแต่งตั้งบอร์ด กนง.มีโครงสร้างของคณะกรรมการ 7 คนนั้นจะมีผู้ว่าการ ธปท.ในฐานะประธาน และรองผู้ว่าการ 2 คน ในฐานะกรรมการ และที่เหลืออีก 4 คน เป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกเข้ามานั่งในตำแหน่งกรรมการ ซึ่งโอกาสที่รายชื่อบอร์ด กนง.ชุดเก่าจะมานั่งในบอร์ด กนง.ใหม่ได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติเป็นสำคัญ ส่วนการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) และคณะกรรมการระบบชำระเงิน (กรช.) ยังไม่มีความคืบหน้า
แหล่งข่าว ธปท.กล่าวว่า การตั้งบอร์ด กนง.ชุดใหม่ขึ้นมาด้วยการแต่งตั้งของ บอร์ดธปท.ชุดรักษาการนี้ เพื่อไม่ให้เกิดสุญญากาศในระบบการเงิน ซึ่งทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจและต้องมีการชี้แจงเหตุผลการทำปฏิบัติหน้าที่ของบอร์ด ธปท.ชุดรักษาการนี้ในกรณีที่หากไม่รีบดำเนินการ เช่น เหตุผลที่ว่าหากปล่อยไม่ให้มีการแต่งตั้งบอร์ด กนง.หรือไม่ได้ทำหน้าที่บางอย่างของบอร์ดชุดนี้อาจทำให้ประเทศชาติเสียหายได้ หรือหากมีเหตุจำเป็นแล้วไม่รีบดำเนินการอาจทำให้สังคมขัดแย้งอย่างไร
"การแต่งตั้งบอร์ดสรรหาที่กรรมการบางคนไปนั่งในบอร์ดธนาคารพาณิชย์ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับและดูแลของ ธปท. แต่กลับมีหน้าที่เข้าไปแต่งตั้งบุคคลภายนอกมานั่งในบอร์ด ธปท. รวมถึงประเด็นที่มีรายชื่อกรรมการบางคนในบอร์ด ธปท.มีความเกี่ยวข้องกับนักการเมืองและบางคนมีความรู้หรือความชำนาญด้านกฎหมายแต่กลับให้มาทำหน้าที่ดูแลเรื่องระบบการเงินนั้น ขึ้นอยู่กับ รมว.คลัง หากขั้นตอนการสรรหาจุดไหนผิดทาง รมว.คลังก็ต้องรับผิดชอบ" แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ นางพรทิพย์ จาละ กรรมการบอร์ด ธปท.ชุดรักษาการ กล่าวภายหลังจากบอร์ด ธปท.ชุดรักษาการหารือกันครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 ก.ย.ที่ผ่านมาว่า ยังรอดูสถานการณ์ก่อน เพราะอาจจะมีการแต่งตั้งบอร์ด ธปท.ชุดใหม่อย่างเป็นทางการจากสำนักราชเลขาธิการ
นายนนทพล นิ่มสมบุญ กรรมการบอร์ดธปท.ชุดรักษาการ กล่าวว่า การหารือกันครั้งนี้ในที่ประชุมมีการพูดคุยกันถึงอำนาจหน้าที่ของบอร์ด ธปท.ชุดรักษาการเป็นหลัก ซึ่งสรุปว่าบอร์ดชุดนี้มีอำนาจเต็มที่ตามกฎหมาย พ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่ แต่ก็ต้องมีมารยาทในการปฏิบัติหน้าที่ด้วย โดยเรื่องใดที่ขัดต่อกฎหมายก็ต้องรอให้บอร์ดธปท.ชุดใหม่เป็นผู้พิจารณา ขณะเดียวกันเรื่องใดที่มีความจำเป็นภายใต้ภาวะวิกฤตการเงินโลกมีปัญหาก็ต้องดูแลไม่ให้ระบบการเงินและสถาบันการเงินไทยเสียหาย
“แม้ในที่ประชุมครั้งแรกของบอร์ด ธปท.ชุดรักษาการยังไม่มีการแต่งตั้งบอร์ด กนง.ชุดใหม่ในทันที แต่ฝ่ายบริหารจาก ธปท.สามารถเรียกประชุมฉุกเฉินได้ หากมีเรื่องอะไรที่จำเป็น ส่วนการสรรหาบอร์ด กนง.ชุดใหม่ ในที่ประชุมมีการพูดคุยแค่ในหลักการ และไม่ได้วางตัวบุคคลใดหรือพูดถึงตัวบุคคลในบอร์ด กนง.ชุดเก่ามาทำหน้าที่ในบอร์ดชุดใหม่ได้หรือไม่”
สำหรับใน พ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่ระบุไว้ว่า อำนาจหน้าที่ของบอร์ด กนง.จะทำหน้าที่กำหนดเป้าหมายนโยบายการเงินของประเทศเป็นประจำในเดือน ธ.ค.ของทุกปี ซึ่งต้องทำความตกลงร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อเสนอต่อ ครม.ให้พิจารณาอนุมัติประกาศในราชกิจานุเบกษาต่อไป อีกทั้งกนง.ต้องมีการรายงานผลการดำเนินงานต่อ ครม.ทุก 6 เดือน นอกจากนี้ยังทำหน้าที่กำหนดนโยบายบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา กำหนดมาตราการที่จำเป็น เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายและนโยบายที่กำหนด รวมถึงติดตามการดำเนินมาตรการของ ธปท.ด้วย.
นายอรรคบุษย์ ไกรฤกษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายช่วยงานบริหาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และในฐานะเลขาคณะกรรมการธปท.ชุดรักษาการ เปิดเผยว่า ในช่วงต้นสัปดาห์นี้ทางคณะกรรมการ ธปท. หรือบอร์ด ธปท.ชุดรักษาการจะมีการประชุมหารือเกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ชุดใหม่มาทำหน้าที่ เพื่อให้ทันการประชุมของ กนง.ในวันที่ 8 ต.ค.นี้
การแต่งตั้งบอร์ด กนง.มีโครงสร้างของคณะกรรมการ 7 คนนั้นจะมีผู้ว่าการ ธปท.ในฐานะประธาน และรองผู้ว่าการ 2 คน ในฐานะกรรมการ และที่เหลืออีก 4 คน เป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกเข้ามานั่งในตำแหน่งกรรมการ ซึ่งโอกาสที่รายชื่อบอร์ด กนง.ชุดเก่าจะมานั่งในบอร์ด กนง.ใหม่ได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติเป็นสำคัญ ส่วนการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) และคณะกรรมการระบบชำระเงิน (กรช.) ยังไม่มีความคืบหน้า
แหล่งข่าว ธปท.กล่าวว่า การตั้งบอร์ด กนง.ชุดใหม่ขึ้นมาด้วยการแต่งตั้งของ บอร์ดธปท.ชุดรักษาการนี้ เพื่อไม่ให้เกิดสุญญากาศในระบบการเงิน ซึ่งทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจและต้องมีการชี้แจงเหตุผลการทำปฏิบัติหน้าที่ของบอร์ด ธปท.ชุดรักษาการนี้ในกรณีที่หากไม่รีบดำเนินการ เช่น เหตุผลที่ว่าหากปล่อยไม่ให้มีการแต่งตั้งบอร์ด กนง.หรือไม่ได้ทำหน้าที่บางอย่างของบอร์ดชุดนี้อาจทำให้ประเทศชาติเสียหายได้ หรือหากมีเหตุจำเป็นแล้วไม่รีบดำเนินการอาจทำให้สังคมขัดแย้งอย่างไร
"การแต่งตั้งบอร์ดสรรหาที่กรรมการบางคนไปนั่งในบอร์ดธนาคารพาณิชย์ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับและดูแลของ ธปท. แต่กลับมีหน้าที่เข้าไปแต่งตั้งบุคคลภายนอกมานั่งในบอร์ด ธปท. รวมถึงประเด็นที่มีรายชื่อกรรมการบางคนในบอร์ด ธปท.มีความเกี่ยวข้องกับนักการเมืองและบางคนมีความรู้หรือความชำนาญด้านกฎหมายแต่กลับให้มาทำหน้าที่ดูแลเรื่องระบบการเงินนั้น ขึ้นอยู่กับ รมว.คลัง หากขั้นตอนการสรรหาจุดไหนผิดทาง รมว.คลังก็ต้องรับผิดชอบ" แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ นางพรทิพย์ จาละ กรรมการบอร์ด ธปท.ชุดรักษาการ กล่าวภายหลังจากบอร์ด ธปท.ชุดรักษาการหารือกันครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 ก.ย.ที่ผ่านมาว่า ยังรอดูสถานการณ์ก่อน เพราะอาจจะมีการแต่งตั้งบอร์ด ธปท.ชุดใหม่อย่างเป็นทางการจากสำนักราชเลขาธิการ
นายนนทพล นิ่มสมบุญ กรรมการบอร์ดธปท.ชุดรักษาการ กล่าวว่า การหารือกันครั้งนี้ในที่ประชุมมีการพูดคุยกันถึงอำนาจหน้าที่ของบอร์ด ธปท.ชุดรักษาการเป็นหลัก ซึ่งสรุปว่าบอร์ดชุดนี้มีอำนาจเต็มที่ตามกฎหมาย พ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่ แต่ก็ต้องมีมารยาทในการปฏิบัติหน้าที่ด้วย โดยเรื่องใดที่ขัดต่อกฎหมายก็ต้องรอให้บอร์ดธปท.ชุดใหม่เป็นผู้พิจารณา ขณะเดียวกันเรื่องใดที่มีความจำเป็นภายใต้ภาวะวิกฤตการเงินโลกมีปัญหาก็ต้องดูแลไม่ให้ระบบการเงินและสถาบันการเงินไทยเสียหาย
“แม้ในที่ประชุมครั้งแรกของบอร์ด ธปท.ชุดรักษาการยังไม่มีการแต่งตั้งบอร์ด กนง.ชุดใหม่ในทันที แต่ฝ่ายบริหารจาก ธปท.สามารถเรียกประชุมฉุกเฉินได้ หากมีเรื่องอะไรที่จำเป็น ส่วนการสรรหาบอร์ด กนง.ชุดใหม่ ในที่ประชุมมีการพูดคุยแค่ในหลักการ และไม่ได้วางตัวบุคคลใดหรือพูดถึงตัวบุคคลในบอร์ด กนง.ชุดเก่ามาทำหน้าที่ในบอร์ดชุดใหม่ได้หรือไม่”
สำหรับใน พ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่ระบุไว้ว่า อำนาจหน้าที่ของบอร์ด กนง.จะทำหน้าที่กำหนดเป้าหมายนโยบายการเงินของประเทศเป็นประจำในเดือน ธ.ค.ของทุกปี ซึ่งต้องทำความตกลงร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อเสนอต่อ ครม.ให้พิจารณาอนุมัติประกาศในราชกิจานุเบกษาต่อไป อีกทั้งกนง.ต้องมีการรายงานผลการดำเนินงานต่อ ครม.ทุก 6 เดือน นอกจากนี้ยังทำหน้าที่กำหนดนโยบายบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา กำหนดมาตราการที่จำเป็น เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายและนโยบายที่กำหนด รวมถึงติดตามการดำเนินมาตรการของ ธปท.ด้วย.