ผู้จัดการรายวัน – ทรูคอฟฟี่ เลื่อนขั้น แยกตัวบริหารตัวเอง ภายใต้ “ทรูไลฟ์สไตล์รีเทล” เดินหน้ามุ่งทำธุรกิจอินเทอร์เน็ตคาเฟ่เต็มตัว ทั้งไทยและเทศ สิ้นปีรายได้โตพรวดอีก 20% จาก 100 กว่าล้านบาทในปีก่อน เหตุไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคเปลี่ยน ใช้เน็ตรับข่าวสารเพิ่มขึ้น เผยแผนขยายลงทุนจีนสะดุด
นายปพนธ์ รัตนชัยกานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่/ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรู ไลฟ์สไตล์ รีเทล จำกัด ดูแลธุรกิจร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ “ทรูคอฟฟี่” เปิดเผยว่า เดิมทรูคอฟฟี่ เปิดให้บริการขึ้นมาเพื่อสนับสนุนลูกค้าในร้านทรูชอป แต่หลังจาก 2 ปีที่ผ่านมา มีการทดลองให้บริการหลายรูปแบบ ล่าสุดปีนี้จึงได้มีการจัดตั้งบริษัทขึ้นมาดูแลธุรกิจ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ “ทรูคอฟฟี่” อย่างจริงจัง ภายใต้ชื่อ บริษัท ทรู ไลฟ์สไตล์ รีเทล จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียนกว่า 130 ล้านบาท ดูแลในส่วนร้านทรูคอฟฟี่ และรีเทลเกี่ยวกับสินค้าและบริการของทางทรูที่มีอยู่ เพื่อสะดวกในการดำเนินธุรกิจในอนาคต
สำหรับธุรกิจร้านทรูคอฟฟี่ตลอด 9 เดือนที่ผ่านมา พบว่าลูกค้ายังให้การตอบรับที่ดีอยู่ ล่าสุดยอดขายในช่วงเดือนส.ค.-ก.ย.เติบโตจากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนถึง 21%เชื่อว่าน่าจะมาจากลูกค้ามีไลฟ์สไตล์ในการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารต่างๆในภาวะที่บ้านเมืองกำลังเปลี่ยนแปลง ส่วนในอีก 3 เดือนที่เหลือ คาดว่าพฤติกรรมลูกค้าจะยังคงใกล้เคียงกับที่ผ่านมา หรือทั้งปี บริษัทฯจะมีรายได้เติบโตขึ้น 20% จาก 100 กว่าล้านบาทในปีก่อน
ทั้งนี้ในส่วนของแผนการขยายสาขา ปัจจุบันเปิดให้บริการ 34 สาขา แบ่งเป็นเปิดเอง 95% และขายแฟรนไชส์ 5% สิ้นปีจะเปิดให้ครบ 40 สาขา ทั้งในต่างจังหวัด คือ ขอนแก่น ภูเก็ต และเชียงใหม่ รวมถึง 3 สาขาที่เป็นแผนจะเปิดในสถาบันอุดมศึกษา คือ หอการค้า,เอแบค และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งแผนการเปิดร้านทรูคอฟฟี่ในมาหาวิทยาลัยนั้น วางไว้ถึง 8 สาขา จะเปิดให้ครบภายในเดือนพ.ย.ปีนี้ ซึ่งแต่ละสาขาลงทุนประมาณ 1.5 ล้านบาท พื้นที่เฉลี่ย 40 ตารางเมตร
สำหรับแผนการขยายสาขาไปต่างประเทศ จากเดิมในปีก่อนที่จะมีการขยายสาขาไปปักกิ่ง ประเทศจีน ล่าสุดได้ระงับแผนดังกล่าวไว้ก่อน เนื่องจากเจอผลกระทบในเรื่องราคานมและเศรษฐกิจโลก ทั้งที่มีการพูดคุยและเจรจาเรียบร้อยแล้ว ขณะเดียวกันบริษัทฯห่วงเรื่องการลงทุนครั้งนี้ด้วยว่า คนจีนหรือกลุ่มแรงงานค่อนข้างเซนซิทีฟเกี่ยวกับค่าแรง หากที่ใดให้มากกว่า เขาก็จะไปทันที ซึ่งเสี่ยงในการอบรมพนักงานที่เป็นคนจีนอย่างมาก ขณะที่การเปิดร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ในจีน อย่างน้อยต้องมีคอมพิวเตอร์ไม่ต่ำกว่า 200 เครื่อง ซึ่งถือเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ แต่การลงทุนไม่สูง เพียง 10 ล้านบาท อีกทั้งการขยายสาขาครั้งนี้เป็นรูปแบบการขายแฟรนไชส์
อย่างไรก็ตามถึงแม้จะชะลอแผนไปจีน แต่สำหรับประเทศเพื่อนบ้าน ล่าสุดเจรจาขายแฟรนไชส์ให้กับผู้ประกอบการในประเทศลาวไปแล้ว โดยในเดือนต.ค.นี้จะเปิดให้บริการได้ในจังหวัดเวียงจันทร์ นอกจากนี้ยังมีดูไบ ที่จะเข้าไปเปิดให้บริการด้วย คาดว่าหลังจากการก่อสร้างดูไบมอลล์เรียบร้อยจะเปิดให้บริการได้ โดยเป็นการขายแฟรนไชส์อีกเช่นเดียวกัน
นายปพนธ์ รัตนชัยกานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่/ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรู ไลฟ์สไตล์ รีเทล จำกัด ดูแลธุรกิจร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ “ทรูคอฟฟี่” เปิดเผยว่า เดิมทรูคอฟฟี่ เปิดให้บริการขึ้นมาเพื่อสนับสนุนลูกค้าในร้านทรูชอป แต่หลังจาก 2 ปีที่ผ่านมา มีการทดลองให้บริการหลายรูปแบบ ล่าสุดปีนี้จึงได้มีการจัดตั้งบริษัทขึ้นมาดูแลธุรกิจ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ “ทรูคอฟฟี่” อย่างจริงจัง ภายใต้ชื่อ บริษัท ทรู ไลฟ์สไตล์ รีเทล จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียนกว่า 130 ล้านบาท ดูแลในส่วนร้านทรูคอฟฟี่ และรีเทลเกี่ยวกับสินค้าและบริการของทางทรูที่มีอยู่ เพื่อสะดวกในการดำเนินธุรกิจในอนาคต
สำหรับธุรกิจร้านทรูคอฟฟี่ตลอด 9 เดือนที่ผ่านมา พบว่าลูกค้ายังให้การตอบรับที่ดีอยู่ ล่าสุดยอดขายในช่วงเดือนส.ค.-ก.ย.เติบโตจากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนถึง 21%เชื่อว่าน่าจะมาจากลูกค้ามีไลฟ์สไตล์ในการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารต่างๆในภาวะที่บ้านเมืองกำลังเปลี่ยนแปลง ส่วนในอีก 3 เดือนที่เหลือ คาดว่าพฤติกรรมลูกค้าจะยังคงใกล้เคียงกับที่ผ่านมา หรือทั้งปี บริษัทฯจะมีรายได้เติบโตขึ้น 20% จาก 100 กว่าล้านบาทในปีก่อน
ทั้งนี้ในส่วนของแผนการขยายสาขา ปัจจุบันเปิดให้บริการ 34 สาขา แบ่งเป็นเปิดเอง 95% และขายแฟรนไชส์ 5% สิ้นปีจะเปิดให้ครบ 40 สาขา ทั้งในต่างจังหวัด คือ ขอนแก่น ภูเก็ต และเชียงใหม่ รวมถึง 3 สาขาที่เป็นแผนจะเปิดในสถาบันอุดมศึกษา คือ หอการค้า,เอแบค และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งแผนการเปิดร้านทรูคอฟฟี่ในมาหาวิทยาลัยนั้น วางไว้ถึง 8 สาขา จะเปิดให้ครบภายในเดือนพ.ย.ปีนี้ ซึ่งแต่ละสาขาลงทุนประมาณ 1.5 ล้านบาท พื้นที่เฉลี่ย 40 ตารางเมตร
สำหรับแผนการขยายสาขาไปต่างประเทศ จากเดิมในปีก่อนที่จะมีการขยายสาขาไปปักกิ่ง ประเทศจีน ล่าสุดได้ระงับแผนดังกล่าวไว้ก่อน เนื่องจากเจอผลกระทบในเรื่องราคานมและเศรษฐกิจโลก ทั้งที่มีการพูดคุยและเจรจาเรียบร้อยแล้ว ขณะเดียวกันบริษัทฯห่วงเรื่องการลงทุนครั้งนี้ด้วยว่า คนจีนหรือกลุ่มแรงงานค่อนข้างเซนซิทีฟเกี่ยวกับค่าแรง หากที่ใดให้มากกว่า เขาก็จะไปทันที ซึ่งเสี่ยงในการอบรมพนักงานที่เป็นคนจีนอย่างมาก ขณะที่การเปิดร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ในจีน อย่างน้อยต้องมีคอมพิวเตอร์ไม่ต่ำกว่า 200 เครื่อง ซึ่งถือเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ แต่การลงทุนไม่สูง เพียง 10 ล้านบาท อีกทั้งการขยายสาขาครั้งนี้เป็นรูปแบบการขายแฟรนไชส์
อย่างไรก็ตามถึงแม้จะชะลอแผนไปจีน แต่สำหรับประเทศเพื่อนบ้าน ล่าสุดเจรจาขายแฟรนไชส์ให้กับผู้ประกอบการในประเทศลาวไปแล้ว โดยในเดือนต.ค.นี้จะเปิดให้บริการได้ในจังหวัดเวียงจันทร์ นอกจากนี้ยังมีดูไบ ที่จะเข้าไปเปิดให้บริการด้วย คาดว่าหลังจากการก่อสร้างดูไบมอลล์เรียบร้อยจะเปิดให้บริการได้ โดยเป็นการขายแฟรนไชส์อีกเช่นเดียวกัน