เอเอฟพี/ผู้จัดการรายวัน – บรรดาผู้นำรัสเซียออกมาตำหนิระบบการเงินของสหรัฐฯที่ไร้ความรับผิดชอบและทำให้เศรษฐกิจโลกต้องเผชิญกับวิกฤตอย่างรุนแรงในขณะนี้ โดยประธานาธิบดี ดมิตริ เมดเวเดฟ ถึงกับกล่าววานนี้(2)ว่า ยุคแห่งการครอบงำทางการเงินของสหรัฐฯได้สิ้นสุดลงแล้ว และถึงเวลาที่จะต้องสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ขึ้นมา
“วันเวลาแห่งการครอบงำโดยเศรษฐกิจหนึ่งเดียว และโดยเงินตราสกุลหนึ่งเดียวกำลังกลายเป็นอดีตไปแล้วตลอดกาล” เมดเวเดฟกล่าวระหว่างปราศรัยต่อเวทีประชุมเพื่อการพัฒนาระหว่างรัสเซีย-เยอรมนี ในนครเซนต์ปิเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย โดยมีนายกรัฐมนตรี อังเกลา แมร์เคิล เข้าร่วมด้วย
“เราต้องทำงานร่วมกันเพื่อมุ่งไปสู่การสร้างระบบเศรษฐกิจและการเงินในโลกอย่างใหม่และเป็นธรรมมากขึ้น โดยอิงอยู่กับหลักการแห่งการมีหลายขั้ว, การยึดหลักกฎหมายเป็นสิ่งสูงสุด, และการคำนึงถึงผลประโยชน์ของกันและกัน”
ทางด้านแมร์เคิลก็กล่าวว่า “เราจำเป็นต้องมีกลไกใหม่แห่งสถาปัตยกรรม (ทางการเงิน) ระหว่างประเทศ ดิฉันยืนยันเรื่องนี้มานานแล้ว ไม่ใช่เพียงแค่ระหว่างเกิดวิกฤตทางการเงินครั้งล่าสุดนี้เท่านั้น”
ก่อนหน้านี้ในวันพุธ(1) เมดเวเดฟก็ได้กล่าวหลังพบปะกับนายกรัฐมนตรีโฆเซ หลุยส์ ซาปาเตโร แห่งสเปนที่มาเยือนว่า “ไม่ว่าใครก็ตามที่ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี(อเมริกัน) เป้าหมายอย่างแรกก็คือจะต้องหาทางแก้ไขปัญหาให้กับเศรษฐกิจของสหรัฐฯให้ได้”
วันเดียวกันนั้น วลาดิมีร์ ปูติน นายกรัฐมนตรีทรงอิทธิพลของรัสเซีย ก็กล่าวตำหนิสหรัฐฯอย่างรุนแรง
“ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในเศรษฐกิจและภาคการเงินของโลกขณะนี้เริ่มต้นที่สหรัฐฯ” ปูตินกล่าวในการประชุมของรัฐบาลที่ถ่ายทอดทางโทรทัศน์รัสเซีย “และนี่ไม่ใช่การไร้ความรับผิดชอบของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หากแต่เป็นทั้งระบบของประเทศสหรัฐฯที่อ้างว่าเป็นผู้นำของโลก”
“สิ่งที่น่าเศร้าที่สุดก็คือเราเห็นความไร้ประสิทธิภาพในการตัดสินใจเพื่อแก้ไขปัญหา” ปูตินกล่าว ซึ่งดูจะพาดพิงถึงการพิจารณาร่างกฎหมายช่วยภาคการเงินในรัฐสภาสหรัฐฯที่เป็นไปอย่างยืดเยื้อ
ปูตินกล่าวด้วยว่ารัสเซียจำเป็นจะต้องสร้าง “ระบบการเงินและสินเชื่อสมัยใหม่ที่พึ่งพาเม็ดเงินภายใน และมีภูมิคุ้มกันแข็งแกร่งต่อไวรัสในวงการการเงินโลก” เพราะลำพังเงินตราต่างประเทศสำรองจำนวนมหาศาลที่มีอยู่นั้นไม่เพียงพอที่จะรับประกันได้ว่าเศรษฐกิจของประเทศจะยังคงมีสุขภาพดีท่ามกลางความปั่นป่วนที่เกิดขึ้นทั้งหลาย
อนึ่งในวันพุธเช่นกัน รัฐมนตรีคลังรัสเซีย อเล็กเซ คูดริน ก็ได้ออกมาพูดถึงร่างกฎหมายช่วยภาคการเงินของสหรัฐฯว่า เป็นสิ่งที่สหรัฐฯควรต้องผลักดันให้ออกมา โดยถือเป็นเป็นความรับผิดชอบของสหรัฐฯที่ต่อประเทศอื่น
อย่างไรก็ตาม ทางสหรัฐฯก็โต้ตอบข้อกล่าวหาฝ่ายรัสเซีย โดยบอกว่าเป็นการชี้นิ้วกล่าวโทษโดย “ไม่ยุติธรรม”
โทนี่ แฟรตโต โฆษกทำเนียบขาวกล่าวว่า “เรากำลังดำเนินการแก้ไขปัญหาซึ่งซับซ้อนและยากที่จะแก้ไขนี้ อยู่ในทุกวิถีทางเท่าที่จะทำได้” เขาบอก” “การที่จะมายืนกล่าวโทษว่าอุตสาหกรรมการเงินสหรัฐฯก่อให้เกิดวิกฤต ผมก็คิดว่าว่าเป็นการไม่ยุติธรรมอยู่สักหน่อย” พร้อมกับกล่าวเสริมว่า การที่นักลงทุนพากันนำเงินเข้าไปในระบบการเงินของสหรัฐฯนั้น เป็นไปตาม “การวินิจฉัยของพวกเขาเอง”
ทั้งนี้ในช่วงหลายวันที่ผ่านมา ผลกระทบกระเทือนอย่างชัดเจนที่สุดของรัสเซียจากวิกฤตคราวนี้ ก็คือภาวะของตลาดหุ้นซึ่งยังอ่อนวัย และปกติคาดหมายกันไม่ค่อยได้อยู่แล้ว ปรากฏว่าในไม่กี่สัปดาห์มานี้ ราคาหุ้นรัสเซียมีการเหวี่ยงขึ้นลงอย่างแรงมาก สืบเนื่องจากวิกฤตในสหรัฐฯ จนทำให้ทางหน่วยงานกำกับตรวจสอบต้องสั่งระงับการซื้อขายอยู่หลายระลอกภายหลังดัชนีหุ้นทรุดลงมาหรือทะยานขึ้นไปอย่างรุนแรง
“วันเวลาแห่งการครอบงำโดยเศรษฐกิจหนึ่งเดียว และโดยเงินตราสกุลหนึ่งเดียวกำลังกลายเป็นอดีตไปแล้วตลอดกาล” เมดเวเดฟกล่าวระหว่างปราศรัยต่อเวทีประชุมเพื่อการพัฒนาระหว่างรัสเซีย-เยอรมนี ในนครเซนต์ปิเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย โดยมีนายกรัฐมนตรี อังเกลา แมร์เคิล เข้าร่วมด้วย
“เราต้องทำงานร่วมกันเพื่อมุ่งไปสู่การสร้างระบบเศรษฐกิจและการเงินในโลกอย่างใหม่และเป็นธรรมมากขึ้น โดยอิงอยู่กับหลักการแห่งการมีหลายขั้ว, การยึดหลักกฎหมายเป็นสิ่งสูงสุด, และการคำนึงถึงผลประโยชน์ของกันและกัน”
ทางด้านแมร์เคิลก็กล่าวว่า “เราจำเป็นต้องมีกลไกใหม่แห่งสถาปัตยกรรม (ทางการเงิน) ระหว่างประเทศ ดิฉันยืนยันเรื่องนี้มานานแล้ว ไม่ใช่เพียงแค่ระหว่างเกิดวิกฤตทางการเงินครั้งล่าสุดนี้เท่านั้น”
ก่อนหน้านี้ในวันพุธ(1) เมดเวเดฟก็ได้กล่าวหลังพบปะกับนายกรัฐมนตรีโฆเซ หลุยส์ ซาปาเตโร แห่งสเปนที่มาเยือนว่า “ไม่ว่าใครก็ตามที่ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี(อเมริกัน) เป้าหมายอย่างแรกก็คือจะต้องหาทางแก้ไขปัญหาให้กับเศรษฐกิจของสหรัฐฯให้ได้”
วันเดียวกันนั้น วลาดิมีร์ ปูติน นายกรัฐมนตรีทรงอิทธิพลของรัสเซีย ก็กล่าวตำหนิสหรัฐฯอย่างรุนแรง
“ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในเศรษฐกิจและภาคการเงินของโลกขณะนี้เริ่มต้นที่สหรัฐฯ” ปูตินกล่าวในการประชุมของรัฐบาลที่ถ่ายทอดทางโทรทัศน์รัสเซีย “และนี่ไม่ใช่การไร้ความรับผิดชอบของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หากแต่เป็นทั้งระบบของประเทศสหรัฐฯที่อ้างว่าเป็นผู้นำของโลก”
“สิ่งที่น่าเศร้าที่สุดก็คือเราเห็นความไร้ประสิทธิภาพในการตัดสินใจเพื่อแก้ไขปัญหา” ปูตินกล่าว ซึ่งดูจะพาดพิงถึงการพิจารณาร่างกฎหมายช่วยภาคการเงินในรัฐสภาสหรัฐฯที่เป็นไปอย่างยืดเยื้อ
ปูตินกล่าวด้วยว่ารัสเซียจำเป็นจะต้องสร้าง “ระบบการเงินและสินเชื่อสมัยใหม่ที่พึ่งพาเม็ดเงินภายใน และมีภูมิคุ้มกันแข็งแกร่งต่อไวรัสในวงการการเงินโลก” เพราะลำพังเงินตราต่างประเทศสำรองจำนวนมหาศาลที่มีอยู่นั้นไม่เพียงพอที่จะรับประกันได้ว่าเศรษฐกิจของประเทศจะยังคงมีสุขภาพดีท่ามกลางความปั่นป่วนที่เกิดขึ้นทั้งหลาย
อนึ่งในวันพุธเช่นกัน รัฐมนตรีคลังรัสเซีย อเล็กเซ คูดริน ก็ได้ออกมาพูดถึงร่างกฎหมายช่วยภาคการเงินของสหรัฐฯว่า เป็นสิ่งที่สหรัฐฯควรต้องผลักดันให้ออกมา โดยถือเป็นเป็นความรับผิดชอบของสหรัฐฯที่ต่อประเทศอื่น
อย่างไรก็ตาม ทางสหรัฐฯก็โต้ตอบข้อกล่าวหาฝ่ายรัสเซีย โดยบอกว่าเป็นการชี้นิ้วกล่าวโทษโดย “ไม่ยุติธรรม”
โทนี่ แฟรตโต โฆษกทำเนียบขาวกล่าวว่า “เรากำลังดำเนินการแก้ไขปัญหาซึ่งซับซ้อนและยากที่จะแก้ไขนี้ อยู่ในทุกวิถีทางเท่าที่จะทำได้” เขาบอก” “การที่จะมายืนกล่าวโทษว่าอุตสาหกรรมการเงินสหรัฐฯก่อให้เกิดวิกฤต ผมก็คิดว่าว่าเป็นการไม่ยุติธรรมอยู่สักหน่อย” พร้อมกับกล่าวเสริมว่า การที่นักลงทุนพากันนำเงินเข้าไปในระบบการเงินของสหรัฐฯนั้น เป็นไปตาม “การวินิจฉัยของพวกเขาเอง”
ทั้งนี้ในช่วงหลายวันที่ผ่านมา ผลกระทบกระเทือนอย่างชัดเจนที่สุดของรัสเซียจากวิกฤตคราวนี้ ก็คือภาวะของตลาดหุ้นซึ่งยังอ่อนวัย และปกติคาดหมายกันไม่ค่อยได้อยู่แล้ว ปรากฏว่าในไม่กี่สัปดาห์มานี้ ราคาหุ้นรัสเซียมีการเหวี่ยงขึ้นลงอย่างแรงมาก สืบเนื่องจากวิกฤตในสหรัฐฯ จนทำให้ทางหน่วยงานกำกับตรวจสอบต้องสั่งระงับการซื้อขายอยู่หลายระลอกภายหลังดัชนีหุ้นทรุดลงมาหรือทะยานขึ้นไปอย่างรุนแรง