xs
xsm
sm
md
lg

การเมืองดีไม่มีขาย อยากได้ต้องร่วมกันสร้าง

เผยแพร่:   โดย: วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน

ผู้เขียนได้อ่านบทความของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี เรื่อง “การเมืองเก่าเน่าหนอนชอนไช การเมืองใหม่อารยะประชาธิปไตย” ใน นสพ. ผู้จัดการรายวัน (27-28 กันยายน 2551) ซึ่งจุดประกายทำให้ผู้เขียนอยากมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ “การเมืองเก่า” และ “การเมืองใหม่”

ตามความเข้าใจของผู้เขียน แนวคิดของ นพ. ประเวศ วะสี ในบทความดังกล่าวสรุปได้ว่าการสร้างระบอบประชาธิปไตยต้องคำนึงถึง 2 ขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้

ขั้นตอนแรก ประชาธิปไตยต้องมาก่อนรัฐธรรมนูญ ประชาชนเป็นฝ่ายสถาปนาระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นในขั้นตอนแรกต้องมีการเคลื่อนไหวสื่อสารทุกรูปแบบให้ประชาชนทุกหมู่เหล่ามีความตื่นตัวทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง ทั้งผู้ใช้แรงงาน เกษตรกร นิสิตนักศึกษา นักธุรกิจ ข้าราชการ ตำรวจ ทหาร สื่อมวลชน แม่บ้าน บุคลากรทางสาธารณะสุข และคนไทยอื่นๆ ต้องร่วมรณรงค์อารยะประชาธิปไตย ช่วยกันสะท้อนปัญหาและเสนอทางออก เป็นกระบวนการที่ใจกว้าง ไม่แยกข้างแยกขั้ว การเคลื่อนไหวในขั้นตอนแรกนี้ควรมีหลากหลายรูปแบบ หลายระดับ หลายกลุ่ม

ขั้นตอนที่สอง เมื่อเคลื่อนไหวไปๆ สิ่งที่เป็นสัจจะและความถูกต้องจะเข้ามาเชื่อมกันเอง สิ่งที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมจะตกหล่นไปตามทาง จากนั้นจึงนำสัจจะที่เป็นข้อยุติไปปรับปรุงแก้ไข รธน. และองค์กรอิสระการตรวจสอบ ต่อไป

ผู้เขียนมีความเห็นว่าที่ผ่านมาเรายังไม่เคยปฏิรูประบบการเมือง เคยแต่เขียนรัฐธรรมนูญ การเขียนก็มักมีเพียงขั้นตอนเดียว คือแต่งตั้งคนกลุ่มหนึ่งมานั่งคิดนั่งร่าง รธน.ในห้องแอร์ การร่าง รธน. ฉบับ พ.ศ. 2550 นับว่าพิเศษกว่าฉบับก่อนๆ เพราะมีขั้นตอนที่หนึ่งอยู่บ้าง แต่น่าเสียดายว่าขั้นตอนที่หนึ่งนั้นดำเนินไปท่ามกลางบรรยากาศที่ประชาชนรู้สึกผิดหวังกับการทำงานของ คมช. และนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ทำให้การรณรงค์ไม่ตื่นตัวกว้างขวางเท่าที่ควร

การออกแบบระบบการเมืองใหม่ที่แก้ปัญหาสังคมไทยได้ ต้องมาจากความคิดเห็นของคนไทยทุกภาคส่วน ทุกองค์กร ไม่ใช่เรื่องที่คนกลุ่มหนึ่งจะขบคิดกันเอง ยิ่งกว่านั้น จากสุภาษิตที่ว่างาช้างย่อมไม่มีวันงอกออกจากปากสุนัขฉันใด รัฐบาลย่อมไม่มีวันเป็นเจ้าภาพที่สุจริตใจแก้ไข รธน. เพื่อการเมืองใหม่ได้ฉันนั้น

จาก ตารางเปรียบเทียบตัวอย่างการเมืองเก่ากับการเมืองใหม่ จะเห็นได้ว่า “การเมืองใหม่” ไม่ใช่เพียงการแก้ไข รธน. เท่านั้น แต่ครอบคลุมมากกว่า รธน. การสร้างการเมืองใหม่จึงเป็นหน้าที่ของภาคประชาสังคม

การเมืองดีไม่มีขาย อยากได้ต้องช่วยกันสร้าง กลุ่มพลเมืองที่ออกมาแบกภาระกำลังกายและกำลังทรัพย์ต่อสู้ในนาม “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” เมื่อบรรลุผลแล้ว ใช่ว่าพวกเขาจะเก็บเกี่ยวประโยชน์โภชน์ผลไว้เฉพาะตนก็หาไม่ หากต้องแบ่งอานิสงฆ์ให้แก่ประชาชนทุกคนไม่ว่า “เงียบ” หรือ “โง่” หรือ “แกล้งโง่”

องค์ประกอบสังคม เศรษฐกิจและการเมืองการเมืองเก่าการเมืองใหม่
ผลลัพธ์  
ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นของรัฐบาลปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นของรัฐบาลหลวงตามหาบัวเคยกล่าวว่า “การเมืองไทยโกงกินถึงตับไตไส้พุง” ระบาดซึมลึกไปทุกวงการและทุกระดับรัฐบาลสุจริต โปร่งใส มีความรับผิดชอบต่อประชาชน ประชาชนมีส่วนร่วมในการสกัดนักเลือกตั้ง
ปัญหาความยากจนแก้ปัญหาความยากจนไม่ได้ สาเหตุหนึ่งเกิดจากกีดกันการรวมกลุ่มชาวนาชาวไร่ บอนไซสหกรณ์การเกษตร ไม่ให้มวลชนชาวนาชาวไร่เข้มแข็ง กดขี่หลอกลวงง่าย เกษตรกรมีหนี้สินรุงรัง-ปล่อยเสรีการรวมกลุ่มชาวนา ปล่อยเสรีสหกรณ์การเกษตร เมื่อสหกรณ์การเกษตรเข้มแข็ง มีอำนาจต่อรองสูงขึ้น ชาวนาขายข้าวได้ราคาดีขึ้น มีรายได้มากขึ้น การขายเสียงลดลง
-ทำให้การเลือกตั้งผ่านกลุ่มอาชีพเข้มแข็ง
การกระจายรายได้ความเหลื่อมล้ำทางรายได้เพิ่มขึ้นๆ ไม่มีภาษีมรดก เก็บภาษีทรัพย์สินในอัตราต่ำมีภาษีมรดก ภาษีทรัพย์สินที่เข้มข้น เก็บภาษีที่ดินในอัตราสูงสำหรับมูลค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นสืบเนื่องจากการลงทุนของรัฐ
ระบบครอบครัวปล่อยเสรีแหล่งอบายมุข หวย การพนัน และสิ่งเสพติดต่างๆ ทำให้ครอบครัวแตกแยกกำจัดและควบคุมแหล่งอบายมุขและสารเสพติด
ระบบการศึกษาภาคบังคับ-ไม่มีความรู้ในฐานะ “พลเมือง” ไม่รู้ไม่เข้าใจผลร้ายของการเมืองเลว
-ไม่ปลูกฝังศีลธรรมและคุณธรรม ลูกทิ้งพ่อแม่
มีความรู้ในฐานะ “พลบ้าน” และ “พลเมือง” มีความเข้าใจผลร้ายของการเมืองเลว มีส่วนร่วมสร้างการเมืองดี โดยเรียนรู้จากประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ระบบสื่อสารมวลชนระบบสื่อสารมวลชนขาดองค์ความรู้ ขาดจิตสำนึกทางการเมือง ขายจิตวิญญาณ มอมเมาประชาชน-เปิดเสรีสื่อทางเลือกที่ไม่ขัดต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
-มีส่วนร่วมในการสร้างการเมืองดี มีจิตสำนึกทางการเมือง ลดรายการมอมเมา เพิ่มรายการส่งเสริมปัญญาความรู้ด้านต่างๆ
การบริหารราชการ  
ระบบราชการส่วนกลางข้าราชการที่ขัดขวางการทุจริตคอร์รัปชั่นของนักการเมืองมักถูกปลดจากตำแหน่ง-เพิ่มบทบาทและอำนาจ ปปช. ปกป้องข้าราชการที่หลุดจากตำแหน่งเพราะขัดขวางการทุจริตคอร์รัปชั่นของนักการเมือง
-ยุติการเกษียณอายุก่อนกำหนด เพราะเป็นเครื่องมือที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ใช้กำจัดข้าราชการที่ “รู้มาก” ให้พ้นไปจากหน่วยงาน
ระบบการบริหารส่วนท้องถิ่นอบต. และ อบจ. ซื้อเสียง แล้วคอร์รัปชั่นถอนทุนเฉกเช่น ส.ส.อบต. และ อบจ. ซื้อเสียง แล้วคอร์รัปชั่นถอนทุนเฉกเช่น ส.ส. -ปรับปรุงการได้มาซึ่ง กกต. ส่วนกลาง และระดับท้องถิ่น
องค์กรตำรวจและอัยการองค์กรตำรวจเป็นแบบรวมศูนย์อำนาจ คดีการเมืองอยู่ใต้อำนาจรัฐบาลและนักการเมือง-องค์กรตำรวจเป็นแบบกระจายอำนาจ
-อัยการต้องเป็นอิสระทั้งทางนิตินัยและพฤ
สภาผู้แทน  
การก่อตั้งพรรคการเมืองก่อตั้งง่าย เป็นพรรคของครอบครัว เป็นคณาธิปไตย แก๊งการเมืองแสวงประโยชน์กฎเกณฑ์การก่อตั้งพรรคต้องเข้มงวด เป็นพรรคการเมืองที่แท้จริง เป็นองค์กรทำประโยชน์
การเข้ามาเป็น ส.ส.-ผู้สมัคร ส.ส. ผ่านพรรคการเมือง ซื้อสิทธิ์ขายเสียงผ่านหัวคะแนน และใช้นโยบายประชาสินบนสร้างคะแนนนิยม
-ส.ส. จำนวนมากมีอาชีพหากินกับงบประมาณของรัฐ เช่น ผู้รับเหมาก่อสร้าง และรับสัมปทานจากรัฐ เป็นต้น
-เกษตรกรซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่และบุคคลด้อยโอกาสรวมทั้งชนกลุ่มน้อย ไม่มีสิทธิมีเสียงในสภา
-ลดจำนวนรวมของ ส.ส. เพราะคุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ
-ตัวแทนสาขาอาชีพกับตัวแทนเขตพื้นที่ มีความสำคัญพอกัน
การเข้ามาเป็น ส.ว.ผู้สมัคร ส.ว. ส่วนหนึ่งมาจากการแต่งตั้ง อีกส่วนหนึ่งมาจากการเลือกตั้ง-ผู้สมัคร ส.ว. ผ่านการกลั่นกรองขององค์กรสาขาอาชีพ การกำหนดกลุ่มสาขาอาชีพอาจเป็นดังนี้ อาชีพที่มีจำนวนคนมากที่สุด 10 อาชีพ นอกนั้นรวมเป็นกลุ่มสาขาอาชีพอีกราว 10 กลุ่ม (ใช้ข้อมูล สนง. สถิติแห่งชาติ เทียบเคียง)
การดูแลการเลือกตั้งกกต. องค์กรเดียวทำหน้าที่ดูแลการเลือกตั้งทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น-ปรับปรุงการได้มาซึ่ง กกต. ส่วนกลาง และระดับท้องถิ่น
-ประชาชนเข้าชื่อจำนวนหนึ่งร้องศาลรัฐธรรมนูญถอดถอน กกต. และฟ้องร้องโทษทางอาญาได้
-การทุจริตเลือกตั้ง เพิ่มบทลงโทษทางอาญา ตัดสิทธิการลงสมัครนานขึ้น
-ประชาชนฟ้องร้องกรณีทุจริตการเลือกตั้งต่อศาล รธน.ได้
กฎหมายกฎหมายต่างๆ อาทิ พ.ร.บ.ฯ การป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ร.บ.ฯ วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ร.บ.ฯ การตรวจเงินแผ่นดิน ฯลฯ ไม่มีโทษทางอาญา หรือไม่มีโทษทางแพ่ง-แก้ไขกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวกับการปราบปรามการทุจริต โดยเพิ่มโทษทางอาญาและทางแพ่ง
-กรณีรัฐบาลดำเนินการขัดต่อ รธน.ให้มีบทลงโทษทางอาญาด้วย
-แก้ไขกฎหมายข้อมูลราชการ กรณีเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณและเงินกู้ ครม.ต้องเปิดเผยมติและเอกสารทั้งหมด
ระบบการตรวจสอบ
กับองค์กรอิสระภาครัฐ
 -ให้ ป.ป.ช. ฟ้องร้องคดีคอร์รัปชั่นต่อศาล รธน.ได้ และคดีคอร์รัปชั่นไม่มีอายุความ
-การสืบสวนสอบสวนรวดเร็ว โดยมีกำหนดเวลาที่แน่ชัดและทันการณ์
-มีสำนักงานตรวจสอบทรัพย์สินนักการเมือง สังกัด ป.ป.ช.
หมวดตุลาการ -การพิจารณาคดีรวดเร็ว โดยมีกำหนดเวลาที่แน่ชัดและทันการณ์
-ประชาชนฟ้องร้องกรณีนักการเมืองทุจริตคอร์รัปชั่นต่อศาลโดยตรงได้

กำลังโหลดความคิดเห็น