ผู้จัดการรายวัน-“ศิริพล”สั่งทูตพาณิชย์ทั่วโลกติดตามวิกฤตการเงินสหรัฐฯ ที่ส่อแววลุกลามทั่วโลก เพื่อเตรียมมาตรการรับมือให้ได้อย่างทันท่วงที จับตาแนวโน้มการกีดกันทางการค้ามีมากขึ้นแน่ หลังเศรษฐกิจคู่ค้าชะลอตัว
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการส่งออกสั่งการไปยังสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศของไทยที่ประจำอยู่ทั่วโลก ให้ประเมินสถานการณ์ทางการค้าในแต่ละประเทศที่ประจำอยู่ว่าได้รับผลกระทบอย่างไร หลังจากที่สภาคองเกรสไม่ผ่านแผนอัดฉีดสภาพคล่อง 7 แสนล้านเหรียญสหรัฐตามที่รัฐบาลสหรัฐฯ เสนอ และรายงานผลกลับมายังส่วนกลางเพื่อเตรียมแผนรับมือได้ทัน
อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวแล้วมองว่าปัญหาที่เกิดขึ้น อาจไม่รุนแรงอย่างที่คาดกันไว้ เพราะขณะนี้รัฐบาลของประเทศในยุโรปและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดหลักส่งออกของไทย เริ่มมีแผนอัดฉีดเงินเข้าระบบ เพื่อหยุดการลุกลามจากวิกฤตเศรษฐกิจจากสหรัฐฯ ซึ่งน่าจะลดแรงกดดันได้บ้าง และคงกระทบต่อการส่งออกของไทยไม่มากนัก
นายศิริพลกล่าวว่า สำหรับปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนที่เงินบาทไทยมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นนั้น เชื่อว่าผู้ส่งออกไทยรับมือได้ เพราะที่ผ่านมาค่าเงินบาทก็มีความผันผวนอยู่แล้ว หรือเคยขึ้นไปแข็งค่าสูงสุดที่ระดับ 30-31 บาท และอ่อนค่าลงถึงระดับ 38 บาท แต่สถานการณ์ขณะนี้คาดว่าค่าเงินบาทไม่น่าจะแกว่งตัวจากเดิมมากนัก ซึ่งกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธ.ป.ท.) จะเป็นผู้ดูแล ส่วนกระทรวงพาณิชย์ทำอย่างไรที่จะให้การส่งออกเป็นไปตามเป้าหมายเท่านั้น ซึ่งปีนี้ยืนยันว่าการส่งออกไทยยังขยายตัวในระดับ 15-20% แต่ปีหน้าต้องรอประเมินผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวอีกครั้ง
นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ที่ปรึกษาการพาณิชย์ กล่าวว่า ขณะนี้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศกำลังจับตามองสถานการณ์ทางการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วอย่างใกล้ชิด หลังเกิดวิกฤตทางการเงินในสหรัฐฯ เพราะจะส่งผลให้หลายประเทศต้องหามาตรการทางการค้าต่างๆ มาบังคับใช้ เพื่อปกป้องเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการค้าและการส่งออกของไทยในที่สุด
นายบัณฑูร วงศ์สีลโชติ รองประธานคณะอนุกรรมการติดตามผลกระทบจาการเปิดข้อตกลงการค้าเสรี หอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเนื่อง 1-2 ปีเป็นอย่างต่ำ ซึ่งจะทำให้การค้าระหว่างประเทศมีการแข่งขันรุนแรงมากขึ้น ดังนั้น ไทยควรจะนำกฎระเบียบและสิทธิประโยชน์ทางการค้าผ่านข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) มาใช้ ซึ่งจะช่วยให้ไทยมีแต้มต่อทางการค้ามากขึ้น เพราะเอฟทีเอจะทำให้การค้ามีการขยายตัวระหว่างไทยกับคู่เจรจามากขึ้น
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการส่งออกสั่งการไปยังสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศของไทยที่ประจำอยู่ทั่วโลก ให้ประเมินสถานการณ์ทางการค้าในแต่ละประเทศที่ประจำอยู่ว่าได้รับผลกระทบอย่างไร หลังจากที่สภาคองเกรสไม่ผ่านแผนอัดฉีดสภาพคล่อง 7 แสนล้านเหรียญสหรัฐตามที่รัฐบาลสหรัฐฯ เสนอ และรายงานผลกลับมายังส่วนกลางเพื่อเตรียมแผนรับมือได้ทัน
อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวแล้วมองว่าปัญหาที่เกิดขึ้น อาจไม่รุนแรงอย่างที่คาดกันไว้ เพราะขณะนี้รัฐบาลของประเทศในยุโรปและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดหลักส่งออกของไทย เริ่มมีแผนอัดฉีดเงินเข้าระบบ เพื่อหยุดการลุกลามจากวิกฤตเศรษฐกิจจากสหรัฐฯ ซึ่งน่าจะลดแรงกดดันได้บ้าง และคงกระทบต่อการส่งออกของไทยไม่มากนัก
นายศิริพลกล่าวว่า สำหรับปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนที่เงินบาทไทยมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นนั้น เชื่อว่าผู้ส่งออกไทยรับมือได้ เพราะที่ผ่านมาค่าเงินบาทก็มีความผันผวนอยู่แล้ว หรือเคยขึ้นไปแข็งค่าสูงสุดที่ระดับ 30-31 บาท และอ่อนค่าลงถึงระดับ 38 บาท แต่สถานการณ์ขณะนี้คาดว่าค่าเงินบาทไม่น่าจะแกว่งตัวจากเดิมมากนัก ซึ่งกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธ.ป.ท.) จะเป็นผู้ดูแล ส่วนกระทรวงพาณิชย์ทำอย่างไรที่จะให้การส่งออกเป็นไปตามเป้าหมายเท่านั้น ซึ่งปีนี้ยืนยันว่าการส่งออกไทยยังขยายตัวในระดับ 15-20% แต่ปีหน้าต้องรอประเมินผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวอีกครั้ง
นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ที่ปรึกษาการพาณิชย์ กล่าวว่า ขณะนี้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศกำลังจับตามองสถานการณ์ทางการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วอย่างใกล้ชิด หลังเกิดวิกฤตทางการเงินในสหรัฐฯ เพราะจะส่งผลให้หลายประเทศต้องหามาตรการทางการค้าต่างๆ มาบังคับใช้ เพื่อปกป้องเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการค้าและการส่งออกของไทยในที่สุด
นายบัณฑูร วงศ์สีลโชติ รองประธานคณะอนุกรรมการติดตามผลกระทบจาการเปิดข้อตกลงการค้าเสรี หอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเนื่อง 1-2 ปีเป็นอย่างต่ำ ซึ่งจะทำให้การค้าระหว่างประเทศมีการแข่งขันรุนแรงมากขึ้น ดังนั้น ไทยควรจะนำกฎระเบียบและสิทธิประโยชน์ทางการค้าผ่านข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) มาใช้ ซึ่งจะช่วยให้ไทยมีแต้มต่อทางการค้ามากขึ้น เพราะเอฟทีเอจะทำให้การค้ามีการขยายตัวระหว่างไทยกับคู่เจรจามากขึ้น