ผู้จัดการรายวัน-เอฟทีเออาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ใกล้งวดปิดการเจรจา คาดเจรจารอบสุดท้ายที่ฮานอย 2-7 มิ.ย. เคลียร์ทุกอย่างจบ และลงนามกันได้ในเดือนส.ค.ที่จะถึงนี้ เผยหากข้อตกลงบังคับใช้ สินค้าไทยทั้งสิ่งทอ รองเท้า ยานยนต์ ได้ประโยชน์จากการลดภาษีเร็วขึ้น
นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ หัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยในการเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ อาเซียน ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้มีการประชุมครั้งที่ 14 ที่นครบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย เพื่อผลักดันให้การเจรจาการค้าเสรีมีความคืบหน้า โดยทั้งสองฝ่ายคาดหวังว่าประเด็นที่เหลือจะสามารถหาข้อยุติกันได้ทุกเรื่องในการเจรจาครั้งที่ 15 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 2-7 มิ.ย. ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายมีการลงนามกันได้ในเดือนส.ค.นี้
ทั้งนี้ การเจรจาจัดทำเอฟทีเอสามารถหาข้อสรุปได้แล้วหลายเรื่อง ได้แก่ ข้อบทมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช มาตรฐานกฎระเบียบทางเทคนิค และขั้นตอนการประเมินความสอดคล้อง พิธีการศุลกากร ทรัพย์สินทางปัญญา และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
สำหรับในเรื่องการค้าสินค้า ทางฝ่ายออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ต้องการให้มีการลดภาษีเหลือ 0% คิดเป็น 96% ของรายการสินค้าทั้งหมด แต่ก็มีอาเซียนบางประเทศทำไม่ได้ โดยสามารถทำได้แค่ 90% ของรายการสินค้าทั้งหมด เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ส่วนไทยยืนยันว่าไม่มีปัญหา โดยได้ยึดกรอบเอฟทีเอที่ไทยได้ทำสองฝ่ายกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เป็นเกณฑ์ แต่ทั้งนี้ ไทยไม่ได้ให้ไปมากกว่ากรอบเอฟทีเอที่เคยทำไว้แล้ว
อย่างไรก็ตาม หากเอฟทีเออาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ มีผลบังคับใช้ ไทยจะได้ประโยชน์เพิ่มเติมจากกรอบเอฟทีเอเดิมที่ไทยทำไว้กับ 2 ประเทศ จากการที่ 2 ประเทศมีการลดภาษีเร็วกว่าเดิมในสินค้าบางรายการของกลุ่มสิ่งทอ รองเท้า และสินค้ารถยนต์ รวมทั้ง จะได้ประโยชน์จากการกำหนดแหล่งกำเนิดสินค้าที่ง่ายขึ้น โดยเฉพาะสินค้าสิ่งทอ
ในด้านการค้าบริการ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ อยากให้นำระบบการให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติโดยอัตโนมัติ (Automatic MFN) มาใช้ กล่าวคือ หากอาเซียนไปเจรจาเอฟทีเอกับประเทศอื่นๆ และให้สิทธิพิเศษต่างๆ มากกว่าข้อตกลงที่ทำกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ก็ต้องให้สิทธิ์นั้นกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์โดยอัตโนมัติ ซึ่งอาเซียนไม่ยอม เพราะเห็นว่าข้อตกลงการค้าเสรีแต่ละฉบับมีความสมดุลโดยตัวของมันเองอยู่แล้วระหว่างคู่เจรจาทั้ง 2 ฝ่าย
ส่วนประเด็นที่ยังเป็นปัญหา เช่น เรื่องแรงงานและสิ่งแวดล้อม ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้หยุดที่จะผลักดันให้มีการเจรจาในเรื่องนี้แล้ว แต่ในเรื่องการจัดซื้อโดยรัฐ ยังมีความพยายามให้มีการจัดทำเป็นเอกสารที่ไม่อยู่ในข้อตกลง ซึ่งทางฝ่ายอาเซียนยังไม่ยินยอม
นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ หัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยในการเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ อาเซียน ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้มีการประชุมครั้งที่ 14 ที่นครบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย เพื่อผลักดันให้การเจรจาการค้าเสรีมีความคืบหน้า โดยทั้งสองฝ่ายคาดหวังว่าประเด็นที่เหลือจะสามารถหาข้อยุติกันได้ทุกเรื่องในการเจรจาครั้งที่ 15 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 2-7 มิ.ย. ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายมีการลงนามกันได้ในเดือนส.ค.นี้
ทั้งนี้ การเจรจาจัดทำเอฟทีเอสามารถหาข้อสรุปได้แล้วหลายเรื่อง ได้แก่ ข้อบทมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช มาตรฐานกฎระเบียบทางเทคนิค และขั้นตอนการประเมินความสอดคล้อง พิธีการศุลกากร ทรัพย์สินทางปัญญา และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
สำหรับในเรื่องการค้าสินค้า ทางฝ่ายออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ต้องการให้มีการลดภาษีเหลือ 0% คิดเป็น 96% ของรายการสินค้าทั้งหมด แต่ก็มีอาเซียนบางประเทศทำไม่ได้ โดยสามารถทำได้แค่ 90% ของรายการสินค้าทั้งหมด เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ส่วนไทยยืนยันว่าไม่มีปัญหา โดยได้ยึดกรอบเอฟทีเอที่ไทยได้ทำสองฝ่ายกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เป็นเกณฑ์ แต่ทั้งนี้ ไทยไม่ได้ให้ไปมากกว่ากรอบเอฟทีเอที่เคยทำไว้แล้ว
อย่างไรก็ตาม หากเอฟทีเออาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ มีผลบังคับใช้ ไทยจะได้ประโยชน์เพิ่มเติมจากกรอบเอฟทีเอเดิมที่ไทยทำไว้กับ 2 ประเทศ จากการที่ 2 ประเทศมีการลดภาษีเร็วกว่าเดิมในสินค้าบางรายการของกลุ่มสิ่งทอ รองเท้า และสินค้ารถยนต์ รวมทั้ง จะได้ประโยชน์จากการกำหนดแหล่งกำเนิดสินค้าที่ง่ายขึ้น โดยเฉพาะสินค้าสิ่งทอ
ในด้านการค้าบริการ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ อยากให้นำระบบการให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติโดยอัตโนมัติ (Automatic MFN) มาใช้ กล่าวคือ หากอาเซียนไปเจรจาเอฟทีเอกับประเทศอื่นๆ และให้สิทธิพิเศษต่างๆ มากกว่าข้อตกลงที่ทำกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ก็ต้องให้สิทธิ์นั้นกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์โดยอัตโนมัติ ซึ่งอาเซียนไม่ยอม เพราะเห็นว่าข้อตกลงการค้าเสรีแต่ละฉบับมีความสมดุลโดยตัวของมันเองอยู่แล้วระหว่างคู่เจรจาทั้ง 2 ฝ่าย
ส่วนประเด็นที่ยังเป็นปัญหา เช่น เรื่องแรงงานและสิ่งแวดล้อม ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้หยุดที่จะผลักดันให้มีการเจรจาในเรื่องนี้แล้ว แต่ในเรื่องการจัดซื้อโดยรัฐ ยังมีความพยายามให้มีการจัดทำเป็นเอกสารที่ไม่อยู่ในข้อตกลง ซึ่งทางฝ่ายอาเซียนยังไม่ยินยอม