ผู้จัดการรายวัน - บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศเพิ่มอันดับเครดิตองค์กรและตราสารหนี้ของ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (TAC) เป็นระดับ “A+” จากเดิม “A” ด้วยแนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่” โดยอันดับเครดิตสะท้อนถึงความแข็งแกร่งในการแข่งขันของบริษัทในฐานะผู้ประกอบการธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่อันดับ 2 ของไทย และความสามารถของคณะผู้บริหารในการรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในช่วงที่การแข่งขันมีความรุนแรง นอกจากนี้ การประเมินอันดับเครดิตยังพิจารณาถึงฐานะทางการเงินของบริษัทที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ความแข็งแกร่งดังกล่าวมีข้อจำกัดบางประการจากการแข่งขันที่ยังคงรุนแรง ตลอดจนความต้องการเงินลงทุนจำนวนมากในอีก 2-3 ปีข้างหน้า และความไม่แน่นอนทางด้านกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนถึงความคาดหมายว่าบริษัทจะยังคงความสามารถในการแข่งขันและสร้างเงินทุนจากการดำเนินงานที่เพียงพอสำหรับการขยายโครงข่ายได้โดยไม่ส่งผลให้ระดับของเงินกู้ยืมสูงมากขึ้นจากปัจจุบัน แนวโน้มอันดับเครดิตยังสะท้อนถึงความคาดหมายว่ากฎระเบียบด้านสื่อสารโทรคมนาคมจะไม่ส่งผลกระทบในด้านลบต่อผลประกอบการและฐานะทางการเงินของบริษัท
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า อุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยมีลักษณะเป็นแบบผู้แข่งขันน้อยรายแต่มีการแข่งขันที่สูง ในครึ่งแรกของปี 2551 อัตราการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อจำนวนประชากรในประเทศไทยอยู่ที่ระดับ 90% แรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการเติบโตอยู่ที่กลยุทธ์การลดอัตราค่าโทร ซิมการ์ดราคาถูก และการขยายเครือข่ายสู่ต่างจังหวัด ขณะนี้ตลาดการให้บริการทางเสียง (Voice Service) น่าจะถึงจุดอิ่มตัวแล้ว ในขณะที่ตลาดการให้บริการทางด้านข้อมูล (Non-voice Service) ยังมีโอกาสในการเติบโตที่ดีอยู่ ในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือน่าจะเติบโตได้อีกประมาณ 8%-10% ต่อปี โดยรายได้ในอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้นประมาณ 4%-6% ต่อปี ส่วนตลาดบริการทางด้านข้อมูลซึ่งมีประมาณ 10% ของตลาดรวมจะมีบทบาทเพิ่มสูงขึ้นในระยะต่อไป ปัจจุบันกฎระเบียบด้านโทรคมนาคมยังคงเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบในด้านลบต่ออุตสาหกรรมเนื่องจากยังไม่มีความแน่นอน อีกทั้งยังมีคดีฟ้องร้องอีกเป็นจำนวนมากที่ค้างอยู่ในศาล
อย่างไรก็ตาม บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่นมีความแข็งแกร่งทางการเงินที่เพิ่มสูงขึ้นด้วยสาเหตุหลักจากการใช้ค่าเชื่อมต่อโครงข่าย (Interconnection Charge) มาแทนค่าเชื่อมโยงเครือข่าย (Access Charge) อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่อรายได้จากการขายในครึ่งแรกของปี 2551 อยู่ที่ 32.3% ในขณะที่อัตราส่วนดังกล่าวเมื่อไม่รวม Interconnection Charge แล้วอยู่ที่ 40.9% เปรียบเทียบกับ 41.8% ในปี 2550 และ 36.3% ในปี 2549 อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนปรับตัวดีขึ้นจากระดับที่เกินกว่า 50% ในปี 2548 เป็น 38.4% ณ เดือนมิถุนายน 2551 และอัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อเงินกู้รวมของบริษัทยังเพิ่มขึ้นเกือบเป็น 2 เท่าจากปี 2547 ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากผลประกอบการที่ดีขึ้นและเงินเพิ่มทุนจำนวน 3.1 พันล้านบาทที่ได้จากการเสนอขายหุ้น งบประมาณการลงทุนเพื่อรองรับเทคโนโลยี 3G คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตอันใกล้ และอาจส่งผลให้บริษัทไม่สามารถนำเงินจากการดำเนินงานมาใช้ลดภาระหนี้ไปสักระยะหนึ่ง
แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนถึงความคาดหมายว่าบริษัทจะยังคงความสามารถในการแข่งขันและสร้างเงินทุนจากการดำเนินงานที่เพียงพอสำหรับการขยายโครงข่ายได้โดยไม่ส่งผลให้ระดับของเงินกู้ยืมสูงมากขึ้นจากปัจจุบัน แนวโน้มอันดับเครดิตยังสะท้อนถึงความคาดหมายว่ากฎระเบียบด้านสื่อสารโทรคมนาคมจะไม่ส่งผลกระทบในด้านลบต่อผลประกอบการและฐานะทางการเงินของบริษัท
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า อุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยมีลักษณะเป็นแบบผู้แข่งขันน้อยรายแต่มีการแข่งขันที่สูง ในครึ่งแรกของปี 2551 อัตราการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อจำนวนประชากรในประเทศไทยอยู่ที่ระดับ 90% แรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการเติบโตอยู่ที่กลยุทธ์การลดอัตราค่าโทร ซิมการ์ดราคาถูก และการขยายเครือข่ายสู่ต่างจังหวัด ขณะนี้ตลาดการให้บริการทางเสียง (Voice Service) น่าจะถึงจุดอิ่มตัวแล้ว ในขณะที่ตลาดการให้บริการทางด้านข้อมูล (Non-voice Service) ยังมีโอกาสในการเติบโตที่ดีอยู่ ในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือน่าจะเติบโตได้อีกประมาณ 8%-10% ต่อปี โดยรายได้ในอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้นประมาณ 4%-6% ต่อปี ส่วนตลาดบริการทางด้านข้อมูลซึ่งมีประมาณ 10% ของตลาดรวมจะมีบทบาทเพิ่มสูงขึ้นในระยะต่อไป ปัจจุบันกฎระเบียบด้านโทรคมนาคมยังคงเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบในด้านลบต่ออุตสาหกรรมเนื่องจากยังไม่มีความแน่นอน อีกทั้งยังมีคดีฟ้องร้องอีกเป็นจำนวนมากที่ค้างอยู่ในศาล
อย่างไรก็ตาม บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่นมีความแข็งแกร่งทางการเงินที่เพิ่มสูงขึ้นด้วยสาเหตุหลักจากการใช้ค่าเชื่อมต่อโครงข่าย (Interconnection Charge) มาแทนค่าเชื่อมโยงเครือข่าย (Access Charge) อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่อรายได้จากการขายในครึ่งแรกของปี 2551 อยู่ที่ 32.3% ในขณะที่อัตราส่วนดังกล่าวเมื่อไม่รวม Interconnection Charge แล้วอยู่ที่ 40.9% เปรียบเทียบกับ 41.8% ในปี 2550 และ 36.3% ในปี 2549 อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนปรับตัวดีขึ้นจากระดับที่เกินกว่า 50% ในปี 2548 เป็น 38.4% ณ เดือนมิถุนายน 2551 และอัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อเงินกู้รวมของบริษัทยังเพิ่มขึ้นเกือบเป็น 2 เท่าจากปี 2547 ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากผลประกอบการที่ดีขึ้นและเงินเพิ่มทุนจำนวน 3.1 พันล้านบาทที่ได้จากการเสนอขายหุ้น งบประมาณการลงทุนเพื่อรองรับเทคโนโลยี 3G คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตอันใกล้ และอาจส่งผลให้บริษัทไม่สามารถนำเงินจากการดำเนินงานมาใช้ลดภาระหนี้ไปสักระยะหนึ่ง