ความจริงแท้สูงสุดคือสภาวะอสังขตธรรม (ธรรมที่ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง) อันเป็นศูนย์กลาง และรากฐานของสรรพสิ่งย่อมมาก่อนสภาวะสังขตธรรม (ธรรมที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง)
ดวงอาทิตย์ มาก่อนดาวเคราะห์
พระพุทธเจ้า ทรงประกาศพระธรรมก่อนพระวินัย
พระพุทธเจ้า มาก่อนพระอรหันตสาวก
ประมุขแห่งรัฐ มาก่อนนายกรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรี มาก่อนรัฐมนตรี
จุดมุ่งหมาย หรือเป้าหมายต้องมาก่อนมรรควิธี
ยุทธศาสตร์ ต้องมาก่อนยุทธวิธี
ธรรม ปรัชญา ต้องมาก่อนการเมือง
การเมือง ต้องมาก่อนรัฐศาสตร์
รัฐศาสตร์ ต้องมาก่อนนิติศาสตร์
หลักการปกครอง ต้องมาก่อนวิธีการปกครอง
นี่คือสัมพันธภาพที่ถูกต้องโดยธรรม ดังนี้แล้ว ฉันใด
หลักการปกครอง (ระบอบ) ต้องมาก่อนรัฐธรรมนูญ ฉันนั้น
ของกล้วยๆ แต่ผู้ปกครองไทยทำผิดมาตลอดระยะเวลาร่วม 76 ปีรัฐธรรมนูญไทย 18 ฉบับ อันมาจากรากฐานของขบวนการรัฐธรรมนูญ หรือลัทธิรัฐธรรมนูญ โดยมีความเชื่อพื้นฐานเป็นมิจฉาทิฐิมาแต่ดั้งเดิมนับแต่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นต้นมา คือ เชื่อว่ารัฐธรรมนูญคือระบอบประชาธิปไตย การร่างรัฐธรรมนูญนั่นก็คือการสร้างระบอบประชาธิปไตย แต่ปรากฏว่า 76 ปีแล้ว แนวคิดนี้ล้มเหลวมาตลอด เรายังวนเวียนขัดแย้งกันแต่เรื่องรัฐธรรมนูญอย่างไม่รู้จบสิ้น พอประเมินได้คือ
รัฐธรรมนูญ คือศูนย์กลางแห่งมิจฉาทิฐิ คือความเข้าใจผิด เห็นผิด คิดผิด พูดผิด ทำผิด ทางการเมืองมายาวนาน
รัฐธรรมนูญ คือศูนย์กลางของความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองกับผู้ปกครอง โดยมีประชาชนผู้รู้ไม่เท่าทันตกเป็นเครื่องมือมาตลอด
รัฐธรรมนูญ คือศูนย์กลางแห่งอำนาจมิจฉาทิฐิ ที่ได้ทำลายชาติของตนเองอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัวมายาวนานแสนนานอย่างน่าเสียดายที่สุด
รัฐธรรมนูญเป็นศูนย์กลาง เป็นเหตุให้ทำลายลายชาติของตนเองให้ตกต่ำ ให้ล้าหลังลงเรื่อยๆ จนกระทั่งประเทศเกิดใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สองก้าวหน้าไปหมดแล้ว แต่เรายังล้าหลัง จมปลัก ขัดแย้ง แตกความสามัคคี หมกมุ่นอยู่กับความเห็นผิดจากการร่างและแก้ไขรัฐธรรมนูญยังไม่เสร็จตลอดระยะเวลา 76 ปี
จำได้ว่าเมื่อต้น พ.ศ. 2538 เราผู้เขียนพร้อมด้วยกัลยาณมิตรสำคัญ 4 ท่าน ได้ไปพบ ท่านหมอประเวศ วะสี ที่โรงพยาบาลศิริราช ถึงห้องทำงานของท่านซึ่งมีหนังสือตำราเต็มไปหมด คณะของเราในขณะนั้นไปในนามขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ที่ถือในลัทธิประชาธิปไตยจริงๆ เราได้แลกเปลี่ยนและได้นำเสนอให้ คุณหมอประเวศ วะสี เพราะมีความเห็นร่วมกันว่าท่านเป็นผู้นำทางความคิดของสังคม จากการได้พูดคุยกันเมื่อสิบปีก่อน ท่านเชื่อมุ่งมั่นว่าการปฏิรูปการเมืองด้วยการยกร่างรัฐธรรมนูญบับใหม่จะแก้ไขเหตุวิกฤตชาติได้ แต่คณะของเราบอกว่าไม่สำเร็จหรอก ไม่มีทางที่จะเป็นไปได้ รัฐธรรมนูญคือกฎหมาย ไม่ใช่เครื่องมือที่จะสร้างระบอบอะไรได้ จะร่างรัฐธรรมนูญสักร้อยครั้ง พันฉบับก็ไม่ได้ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง การสร้างระบอบหรือหลักการปกครองโดยธรรม จะต้องสร้าง สถาปนาด้วยปัญญา นโยบายอันยิ่งยวด โดยมีธรรมและรากฐานแก่นแท้ของชาติ คือชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และธรรมอันเป็นสัมพันธภาพระหว่างบุคคล เช่น ความเสมอภาค เป็นต้น
หลังจากนั้นมาเมื่อมีเงื่อนไขผู้เขียนจะตอบโต้แนวคิดของ หมอประเวศ วะสี มาเป็นระยะ แต่วันนี้ ผู้เขียนขอแสดงความชื่นชมคุณหมอประเวศ วะสี ที่ท่านได้แสดงความเห็น ความคิดที่ถูกต้องแล้วในการคิดแก้ไขเหตุวิกฤตชาติเห็นว่ามีประโยชน์อย่างใหญ่หลวงสำหรับประเทศชาติของเรา ได้คัดจากจาก นสพ. มติชนออนไลน์ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2551 มีความย่อโดยส่วนหนึ่งว่า
“5. ประชาธิปไตยมาก่อนรัฐธรรมนูญ เมื่อผมเป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย (คพป.) เมื่อ พ.ศ. 2537 และ คพป.เสนอให้ยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่เพื่อปฏิรูปการเมืองนั้น มิตรที่เป็นนักทฤษฎีประชาธิปไตย เตือนผมว่า ลัทธิรัฐธรรมนูญไม่นำไปสู่ประชาธิปไตย ประชาธิปไตยต้องมาก่อนรัฐธรรมนูญ ผมเป็นหมอไม่มีความรู้ความชำนาญใดๆ ทางการเมือง แต่สังคมไทยได้เรียนรู้แล้วว่ารัฐธรรมนูญไม่มีพลังที่จะต้านอำนาจเผด็จการ เรามีรัฐธรรมนูญมาหลายฉบับแล้ว ไม่สามารถสร้างประชาธิปไตยที่แท้ได้ สมมติว่าลองคิดกลับกันเสียว่าประชาธิปไตยมาก่อนรัฐธรรมนูญ”
“6. ขบวนการมหาประชนเพื่อธรรมาธิปไตย-ประชาธิปไตยพธม.คงจะมีทำผิดบ้าง แต่ภาพรวมคือขบวนการประชาชนขนาดใหญ่ที่ตรวจสอบอำนาจทางการเมือง การเมืองภาคประชาชนถ้าทะนุบำรุงหล่อเลี้ยงให้เติบโตแข็งแรงมีความถูกต้องก็จะเป็นพลังทางศีลธรรมอันยิ่งใหญ่ที่จะกำกับตรวจสอบ และส่งเสริมให้เกิดความถูกต้องทุกด้าน ทั้งการเมือง สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม การศึกษา การพัฒนาจิตใจ และสันติวิธี”
“การเมืองภาคประชาชนต้องเป็นพลังทางจิตสำนึก พลังทางความรู้ พลังทางการสื่อสาร พลังทางสังคม ซึ่งถ้าทำได้ธรรมาธิปไตยกับประชาธิปไตย จะเข้ามาซ้อนทับกันประชาธิปไตยกับธรรมะจะต้องผนวกกัน ขบวนการมหาประชาชนเพื่อธรรมาธิปไตย-ประชาธิปไตย จะเป็นปราการอันแข็งแกร่งที่ทำให้การเมืองดีและขบวนการยุติธรรมแข็งแรง รวมทั้งสิ่งดีๆ อื่นๆ เกิดตามมา พธม.ควรจะอยู่กับจุดแข็งของ พธม. คือ สร้างขบวนการมหาประชาชนเพื่อธรรมาธิปไตย-ประชาธิปไตย มากกว่าเข้าไปสู่กลไกและรูปแบบทางการเมือง ซึ่งจะเปลืองตัวและทำให้ตัวเองอ่อนแอลง ขบวนการมหาประชาชนเพื่อธรรมาธิปไตย-ประชาธิปไตย จะไปทำให้เกิดกลไกและรูปแบบทางการเมืองต้องปรับตัวไปสู่ประชาธิปไตยเอง ซึ่งการกระจายอำนาจไปอย่างทั่วถึง และทุกส่วนของสังคม จะปฏิสัมพันธ์ด้วยการเรียนรู้และตรวจสอบซึ่งกันและกัน แทนที่การใช้อำนาจจากบนลงล่างแบบแยกส่วนตายตัวซึ่งเป็นการเมืองแบบเก่า ประชาธิปไตยจะกลายเป็นวัฒนธรรมที่เข้ามาอยู่เหนือกลไกทางการเมือง”
คุณหมอประเวศ วะสี ท่านได้เริ่มมีความเห็นถูกต้องแล้วในเบื้องต้น คือต้องสถาปนาหลักการปกครอง หรือระบอบโดยธรรม ก่อนร่างรัฐธรรมนูญ หรือแก้ไขรัฐธรรมนูญ นั่นเอง
ในสถานการณ์ปัจจุบัน ปัญญาชนของชาติจะต้องร่วมกันทุกฝ่าย อธิบายแนวทางที่ถูกต้องดังกล่าวนี้ ให้แพร่ขยายกว้างออกไปเสียก่อน เกรงว่าผู้ที่จะเข้ามาดำเนินการปฏิรูปการเมืองจะเขวไป และได้ทำผิดเหมือนเดิม เช่น แก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตรา แล้วหวังว่าจะเป็นระบอบประชาธิปไตย หรือจะให้เป็นระบอบประชาธิปไตย ก็จะกลับกลายมามิจฉาทิฐิเช่นเดิม ซึ่งตอนนี้อธิการบดี นักวิชาการทั้งหลาย จาก 24 มหาวิทยาลัย ก็เริ่มออกมาแสดงบทบาทนำสู่ขั้นตอนการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมอีกแล้ว ทำท่าจะเข้าสู่ประตูมิจฉาทิฐิซ้ำรอยเดิมกันอีกแล้ว เตือนกันไว้ก่อน
ทางออกของชาติ ต้องทำไปทีละขั้นทีละตอน ก่อนอื่นคือ จะต้องสถาปนาหลักการปกครองโดยธรรมหรือระบอบโดยธรรมเสียก่อน จะเป็นระบอบอะไรนั้น เขาดูกันที่ไหน เขาดูกันที่หลักการปกครอง ผู้เขียนได้นำเสนอหลักการปกครองโดยธรรม คือธรรมาธิปไตย 9 มาหลายปีแล้ว (รายละเอียดเสนอมาเป็นลำดับ หาได้จาก manager online) โดยหลักหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 มีลักษณะพิเศษซ้อนอยู่หลายมิติ คือ
1. ประยุกต์มาจากกฎธรรมชาติและขันธ์ 5 ประยุกต์เป็นหลักการปกครองที่เข้ากับลักษณะพิเศษของประเทศไทย และความถูกต้องมั่นคงในทุกระดับนับแต่บุคคล ครอบครัว องค์กรต่างๆ จนถึงระดับชาติและสากล
2. เป็นหลักการปกครองโดยธรรม เป็นศูนย์กลางของปวงชนในชาติ
3. เป็นกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติ ความมั่นคงแห่งชาติเป็นกฎหมายสูงสุดที่แท้จริง
4. เป็นรากฐานของหลักนิติธรรมอย่างสมบูรณ์ที่สุด
5. เป็นระบอบการเมืองที่ชัดเจนที่สุดของโลก ไม่หลอกลวงประชาชนดังที่เคยทำมาแล้ว
6. เป็นหลักการปกครองที่ได้จัดสัมพันธภาพเช่นเดียวกับกฎธรรมชาติ คือระหว่างความไม่เปลี่ยนแปลง (อสังขตธรรม) กับความเปลี่ยนแปลง (สังขตธรรม) หมายความว่า หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 ไม่เปลี่ยนแปลงกับรัฐธรรมนูญมาตราต่างๆ เปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลาและเงื่อนไขทางสังคม กลับมาร่วมมือกันสร้างหลักการปกครองโดยธรรมกันเถอะ
(p_ariya_@hotmail.com)
ดวงอาทิตย์ มาก่อนดาวเคราะห์
พระพุทธเจ้า ทรงประกาศพระธรรมก่อนพระวินัย
พระพุทธเจ้า มาก่อนพระอรหันตสาวก
ประมุขแห่งรัฐ มาก่อนนายกรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรี มาก่อนรัฐมนตรี
จุดมุ่งหมาย หรือเป้าหมายต้องมาก่อนมรรควิธี
ยุทธศาสตร์ ต้องมาก่อนยุทธวิธี
ธรรม ปรัชญา ต้องมาก่อนการเมือง
การเมือง ต้องมาก่อนรัฐศาสตร์
รัฐศาสตร์ ต้องมาก่อนนิติศาสตร์
หลักการปกครอง ต้องมาก่อนวิธีการปกครอง
นี่คือสัมพันธภาพที่ถูกต้องโดยธรรม ดังนี้แล้ว ฉันใด
หลักการปกครอง (ระบอบ) ต้องมาก่อนรัฐธรรมนูญ ฉันนั้น
ของกล้วยๆ แต่ผู้ปกครองไทยทำผิดมาตลอดระยะเวลาร่วม 76 ปีรัฐธรรมนูญไทย 18 ฉบับ อันมาจากรากฐานของขบวนการรัฐธรรมนูญ หรือลัทธิรัฐธรรมนูญ โดยมีความเชื่อพื้นฐานเป็นมิจฉาทิฐิมาแต่ดั้งเดิมนับแต่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นต้นมา คือ เชื่อว่ารัฐธรรมนูญคือระบอบประชาธิปไตย การร่างรัฐธรรมนูญนั่นก็คือการสร้างระบอบประชาธิปไตย แต่ปรากฏว่า 76 ปีแล้ว แนวคิดนี้ล้มเหลวมาตลอด เรายังวนเวียนขัดแย้งกันแต่เรื่องรัฐธรรมนูญอย่างไม่รู้จบสิ้น พอประเมินได้คือ
รัฐธรรมนูญ คือศูนย์กลางแห่งมิจฉาทิฐิ คือความเข้าใจผิด เห็นผิด คิดผิด พูดผิด ทำผิด ทางการเมืองมายาวนาน
รัฐธรรมนูญ คือศูนย์กลางของความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองกับผู้ปกครอง โดยมีประชาชนผู้รู้ไม่เท่าทันตกเป็นเครื่องมือมาตลอด
รัฐธรรมนูญ คือศูนย์กลางแห่งอำนาจมิจฉาทิฐิ ที่ได้ทำลายชาติของตนเองอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัวมายาวนานแสนนานอย่างน่าเสียดายที่สุด
รัฐธรรมนูญเป็นศูนย์กลาง เป็นเหตุให้ทำลายลายชาติของตนเองให้ตกต่ำ ให้ล้าหลังลงเรื่อยๆ จนกระทั่งประเทศเกิดใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สองก้าวหน้าไปหมดแล้ว แต่เรายังล้าหลัง จมปลัก ขัดแย้ง แตกความสามัคคี หมกมุ่นอยู่กับความเห็นผิดจากการร่างและแก้ไขรัฐธรรมนูญยังไม่เสร็จตลอดระยะเวลา 76 ปี
จำได้ว่าเมื่อต้น พ.ศ. 2538 เราผู้เขียนพร้อมด้วยกัลยาณมิตรสำคัญ 4 ท่าน ได้ไปพบ ท่านหมอประเวศ วะสี ที่โรงพยาบาลศิริราช ถึงห้องทำงานของท่านซึ่งมีหนังสือตำราเต็มไปหมด คณะของเราในขณะนั้นไปในนามขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ที่ถือในลัทธิประชาธิปไตยจริงๆ เราได้แลกเปลี่ยนและได้นำเสนอให้ คุณหมอประเวศ วะสี เพราะมีความเห็นร่วมกันว่าท่านเป็นผู้นำทางความคิดของสังคม จากการได้พูดคุยกันเมื่อสิบปีก่อน ท่านเชื่อมุ่งมั่นว่าการปฏิรูปการเมืองด้วยการยกร่างรัฐธรรมนูญบับใหม่จะแก้ไขเหตุวิกฤตชาติได้ แต่คณะของเราบอกว่าไม่สำเร็จหรอก ไม่มีทางที่จะเป็นไปได้ รัฐธรรมนูญคือกฎหมาย ไม่ใช่เครื่องมือที่จะสร้างระบอบอะไรได้ จะร่างรัฐธรรมนูญสักร้อยครั้ง พันฉบับก็ไม่ได้ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง การสร้างระบอบหรือหลักการปกครองโดยธรรม จะต้องสร้าง สถาปนาด้วยปัญญา นโยบายอันยิ่งยวด โดยมีธรรมและรากฐานแก่นแท้ของชาติ คือชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และธรรมอันเป็นสัมพันธภาพระหว่างบุคคล เช่น ความเสมอภาค เป็นต้น
หลังจากนั้นมาเมื่อมีเงื่อนไขผู้เขียนจะตอบโต้แนวคิดของ หมอประเวศ วะสี มาเป็นระยะ แต่วันนี้ ผู้เขียนขอแสดงความชื่นชมคุณหมอประเวศ วะสี ที่ท่านได้แสดงความเห็น ความคิดที่ถูกต้องแล้วในการคิดแก้ไขเหตุวิกฤตชาติเห็นว่ามีประโยชน์อย่างใหญ่หลวงสำหรับประเทศชาติของเรา ได้คัดจากจาก นสพ. มติชนออนไลน์ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2551 มีความย่อโดยส่วนหนึ่งว่า
“5. ประชาธิปไตยมาก่อนรัฐธรรมนูญ เมื่อผมเป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย (คพป.) เมื่อ พ.ศ. 2537 และ คพป.เสนอให้ยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่เพื่อปฏิรูปการเมืองนั้น มิตรที่เป็นนักทฤษฎีประชาธิปไตย เตือนผมว่า ลัทธิรัฐธรรมนูญไม่นำไปสู่ประชาธิปไตย ประชาธิปไตยต้องมาก่อนรัฐธรรมนูญ ผมเป็นหมอไม่มีความรู้ความชำนาญใดๆ ทางการเมือง แต่สังคมไทยได้เรียนรู้แล้วว่ารัฐธรรมนูญไม่มีพลังที่จะต้านอำนาจเผด็จการ เรามีรัฐธรรมนูญมาหลายฉบับแล้ว ไม่สามารถสร้างประชาธิปไตยที่แท้ได้ สมมติว่าลองคิดกลับกันเสียว่าประชาธิปไตยมาก่อนรัฐธรรมนูญ”
“6. ขบวนการมหาประชนเพื่อธรรมาธิปไตย-ประชาธิปไตยพธม.คงจะมีทำผิดบ้าง แต่ภาพรวมคือขบวนการประชาชนขนาดใหญ่ที่ตรวจสอบอำนาจทางการเมือง การเมืองภาคประชาชนถ้าทะนุบำรุงหล่อเลี้ยงให้เติบโตแข็งแรงมีความถูกต้องก็จะเป็นพลังทางศีลธรรมอันยิ่งใหญ่ที่จะกำกับตรวจสอบ และส่งเสริมให้เกิดความถูกต้องทุกด้าน ทั้งการเมือง สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม การศึกษา การพัฒนาจิตใจ และสันติวิธี”
“การเมืองภาคประชาชนต้องเป็นพลังทางจิตสำนึก พลังทางความรู้ พลังทางการสื่อสาร พลังทางสังคม ซึ่งถ้าทำได้ธรรมาธิปไตยกับประชาธิปไตย จะเข้ามาซ้อนทับกันประชาธิปไตยกับธรรมะจะต้องผนวกกัน ขบวนการมหาประชาชนเพื่อธรรมาธิปไตย-ประชาธิปไตย จะเป็นปราการอันแข็งแกร่งที่ทำให้การเมืองดีและขบวนการยุติธรรมแข็งแรง รวมทั้งสิ่งดีๆ อื่นๆ เกิดตามมา พธม.ควรจะอยู่กับจุดแข็งของ พธม. คือ สร้างขบวนการมหาประชาชนเพื่อธรรมาธิปไตย-ประชาธิปไตย มากกว่าเข้าไปสู่กลไกและรูปแบบทางการเมือง ซึ่งจะเปลืองตัวและทำให้ตัวเองอ่อนแอลง ขบวนการมหาประชาชนเพื่อธรรมาธิปไตย-ประชาธิปไตย จะไปทำให้เกิดกลไกและรูปแบบทางการเมืองต้องปรับตัวไปสู่ประชาธิปไตยเอง ซึ่งการกระจายอำนาจไปอย่างทั่วถึง และทุกส่วนของสังคม จะปฏิสัมพันธ์ด้วยการเรียนรู้และตรวจสอบซึ่งกันและกัน แทนที่การใช้อำนาจจากบนลงล่างแบบแยกส่วนตายตัวซึ่งเป็นการเมืองแบบเก่า ประชาธิปไตยจะกลายเป็นวัฒนธรรมที่เข้ามาอยู่เหนือกลไกทางการเมือง”
คุณหมอประเวศ วะสี ท่านได้เริ่มมีความเห็นถูกต้องแล้วในเบื้องต้น คือต้องสถาปนาหลักการปกครอง หรือระบอบโดยธรรม ก่อนร่างรัฐธรรมนูญ หรือแก้ไขรัฐธรรมนูญ นั่นเอง
ในสถานการณ์ปัจจุบัน ปัญญาชนของชาติจะต้องร่วมกันทุกฝ่าย อธิบายแนวทางที่ถูกต้องดังกล่าวนี้ ให้แพร่ขยายกว้างออกไปเสียก่อน เกรงว่าผู้ที่จะเข้ามาดำเนินการปฏิรูปการเมืองจะเขวไป และได้ทำผิดเหมือนเดิม เช่น แก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตรา แล้วหวังว่าจะเป็นระบอบประชาธิปไตย หรือจะให้เป็นระบอบประชาธิปไตย ก็จะกลับกลายมามิจฉาทิฐิเช่นเดิม ซึ่งตอนนี้อธิการบดี นักวิชาการทั้งหลาย จาก 24 มหาวิทยาลัย ก็เริ่มออกมาแสดงบทบาทนำสู่ขั้นตอนการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมอีกแล้ว ทำท่าจะเข้าสู่ประตูมิจฉาทิฐิซ้ำรอยเดิมกันอีกแล้ว เตือนกันไว้ก่อน
ทางออกของชาติ ต้องทำไปทีละขั้นทีละตอน ก่อนอื่นคือ จะต้องสถาปนาหลักการปกครองโดยธรรมหรือระบอบโดยธรรมเสียก่อน จะเป็นระบอบอะไรนั้น เขาดูกันที่ไหน เขาดูกันที่หลักการปกครอง ผู้เขียนได้นำเสนอหลักการปกครองโดยธรรม คือธรรมาธิปไตย 9 มาหลายปีแล้ว (รายละเอียดเสนอมาเป็นลำดับ หาได้จาก manager online) โดยหลักหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 มีลักษณะพิเศษซ้อนอยู่หลายมิติ คือ
1. ประยุกต์มาจากกฎธรรมชาติและขันธ์ 5 ประยุกต์เป็นหลักการปกครองที่เข้ากับลักษณะพิเศษของประเทศไทย และความถูกต้องมั่นคงในทุกระดับนับแต่บุคคล ครอบครัว องค์กรต่างๆ จนถึงระดับชาติและสากล
2. เป็นหลักการปกครองโดยธรรม เป็นศูนย์กลางของปวงชนในชาติ
3. เป็นกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติ ความมั่นคงแห่งชาติเป็นกฎหมายสูงสุดที่แท้จริง
4. เป็นรากฐานของหลักนิติธรรมอย่างสมบูรณ์ที่สุด
5. เป็นระบอบการเมืองที่ชัดเจนที่สุดของโลก ไม่หลอกลวงประชาชนดังที่เคยทำมาแล้ว
6. เป็นหลักการปกครองที่ได้จัดสัมพันธภาพเช่นเดียวกับกฎธรรมชาติ คือระหว่างความไม่เปลี่ยนแปลง (อสังขตธรรม) กับความเปลี่ยนแปลง (สังขตธรรม) หมายความว่า หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 ไม่เปลี่ยนแปลงกับรัฐธรรมนูญมาตราต่างๆ เปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลาและเงื่อนไขทางสังคม กลับมาร่วมมือกันสร้างหลักการปกครองโดยธรรมกันเถอะ
(p_ariya_@hotmail.com)