ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (23 ก.ย.) พนักงานและลูกจ้างชั่วคราว สถานีโทรทัศน์ NBT กรมประชาสัมพันธ์ นำโดย นายธิติ สร้อยเพ็ชร์ กว่า 100 คน พร้อมใจกันใส่เสื้อปักโลโก้ สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ได้มาร่วมตัวกันที่บริเวษห้องประชุมชั้นหนึ่ง ตึกสถานีโทรทัศน์ NBT ถนนวิภาวดีรังสิต โดยยืนข้อเสนอค้ออธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อเรียกร้องให้ผู้บริหารดำเนินการเกี่ยวกับสถานะของลูกจ้างชั่วคราวให้เป็นพนักงานราชการ และเพิ่มสวัสดิการ ค่าครองชีพของพนักงานเพื่อให้เป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน โดยระบุว่า ลูกจ้างชั่วคราวได้ปฏิบัตจิงานที่กรมประชาสัมพันธ์มายาวนาน บางคนมีอายุงานถึง 20 ปี แต่ได้รับค่าตอบแทนน้อยเมื่อเทียบกับพนักงานที่มาจากภายนอก ที่มีอัตราเงินเดือนสูงมาก
นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้กรมประชาสัมพันธ์เปลี่ยนโลโก้จากสถานโทรทัศน์ NBT เป็นช่อง 11 เหมือนเดิม เนื่องจากถูกมองว่าเป็นเครื่องมือทางการเมือง และขณะปฏิบัติงานโดยเฉพาะงานข่าวจะไม่ได้รับความปลอดภัยหากใช้โลโก้ NBT
ทั้งนี้หากข้อเสนอของลูกจ้างไม่ได้รับการตอบสนองกลุ่มลูกจ้างก้จะกระจายข่าวสารไปยังลูกจ้างชั่วคราวในเขตต่างๆ เพื่อขอความร่วมมือในการรวมตัวกันเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
นายธิติ สร้อยเพ็ชร์ กล่าวว่า ฐานเงินเดือนของพนักงานชั่วคราว สถานีโทรทัศน์ NBT ถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับสถานีโทรทัศน์ช่องอื่นๆ ถึงแม้ว่าจะปรับขึ้นมาแล้วในปีนี้ ซึ่งที่ผ่านมาเรื่องฐานเงินเดือน ช่วงที่นายจักภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เข้ามาดูแล NBT รับปากว่าจะพิจารณาเรื่องฐานเงินเดือนให้ แต่พอพ้นตำแหน่งไปก็ไม่มีใครมาสานต่อ
สำหรับฐานเงินเดือนพนักงานชั่วคราว สัญญาว่าจ้างปีต่อปี ปัจจุบัน ระดับ ปวช.5,760 บาทต่อเดือน ปวส.7,110 บาทต่อเดือน และปริญญาตรี 7,960 บาทต่อเดือน (ยังไม่หักค่าประกันสังคม) ส่วนเบี้ยเลี้ยงค่าล่วงเวลา วันธรรมดาได้ 100 บาทต่อชั่วโมง วันเสาร์-อาทิตย์ ได้ 200 บาท ต่อชั่วโมง
ต่อมาเวลา 11.00 น. นายกฤษณพร เสริมพานิช รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เป็นตัวแทนอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ มารับหนังสือจากตัวแทนลูกจ้าง พร้อมทั้งได้ให้ส่งตัวแทนลูกจ้างเข้าหารือ
โดยนายกฤษณพร กล่าวยืนยันระหว่างการหารือว่าจะดูแลสถานะของลูกจ้างชั่วคราวให้เป็นพนักงานราชการ รวมทั้งจะเพิ่มสวัสดิการและค่าครองชีพของพนักงาน ส่วนการผลักดันให้เข้าสู่การเป็นพนักงานราชการนั้น เป็นเรื่องใหญ่ เกิดความสามารถของกรม เพราะต้องผ่าน ก.พ.และนำเข้า ครม.พิจารณา ซึ่งการจะเพิ่มตำแหน่งข้าราชการขึ้นมานั้น ต้องขึ้นอยู่ใน 2 กรณี คือ 1.เป็นงานที่รัฐบาลมีนโยบายผ่านมติครม.สั่งให้ทำเรื่องนั้นเอง และ2.เป็นการตั้งส่วนราชการขึ้นมาใหม่ แต่ช่อง11ไม่เข้าข่ายทั้ง 2 เรื่อง
นายกฤษณพร กล่าวว่าแนวทางที่เราสามารถทำได้ขณะนี้ เช่น 1.อิงเรื่องของรัฐธรรมนูญ ประชาชนมีสิทธิ์รับรู้ข่าวสารของรัฐ และช่อง11 คือ สื่อกลางที่จะนำเสนอ 2.ชูแผน 4 ปีของกรมประชาสัมพันธ์ ที่เน้นการกระจายข่าวสารของรัฐสู่ประชาชน โดยผ่านทางช่อง11 ข้อ 3.เอากรอบอัตรากำลังคนในช่อง11มาคิด ว่าต้องใช้จำนวนพนักงานเท่าไร ไม่พอให้ดึงลูกจ้างชั่วคราวมาช่วย ซึ่งจะส่งผลไปยังข้อ 4. คือพิจารณาหน้าที่ของพนักงานชั่วคราวที่รับผิดชอบเกินหน้าที่ว่า มีจำนวนมากเท่าไร นำมาสู่ข้อที่5.ที่จะต้องพิจารณาค่าตอบแทนในส่วนที่เพิ่มขึ้นมา เพื่อความเป็นธรรม
นายสุริยงค์ หุณฑสาร รักษาการผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ NBT กล่าวเสริมว่า เอกสารที่ยื่นครั้งนี้ยังไม่เพียงพอ ยิ่งได้ฟังข้อเสนอแนะที่ท่านรองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ชี้แนะแล้ว เราต้องหาข้อมูลจัดทำเอกสารให้ดีกว่านี้ เพื่อดันเข้า ครม.ให้ผ่านให้ได้ เราจะต้องนำเสนอโครงสร้างช่อง11 ขึ้นมาใหม่ ชูเรื่องของงานและหน้าที่เป็นหลัก เพราะในภาวะปัจจุบันโครงสร้างดังกล่าวไม่เอื้อต่อการทำงานอีกแล้ว ขณะที่ช่อง11 มีข้าราชการระดับ ซี 8 เพียง 3 คน บริหารจัดงานสูงสุด ถือว่าน้อยมากและเอาไม่อยู่กับการทำงานของการเป็นสถานีโทรทัศน์ในปัจจุบัน
ดังนั้นขอเสนอให้มีการคัดเลือกตัวแทนพนักงานขึ้นมา 2 ชุด ชุดละไม่เกิน 9 คน ในการหาข้อมูลร่างแผนปรับโครงสร้างช่อง11ใหม่ เพื่อนำไปสู่ระบบข้าราชการ และชุดที่ 2 จะดูเรื่องแผนสวัสดิการเงินเดือน และการทำงานของทั้ง2ชุดจะเดินหน้าไป พร้อมๆ กัน โดยตนจะเข้ามาดูแลทั้ง 2 ชุดนี้ด้วย ให้เรียบร้อยก่อนวันที่ 4 ต.ค. เพื่อปรึกษาหารือหาแนวทางร่วมกับท่านรองอธิบดีฯต่อไป
นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้กรมประชาสัมพันธ์เปลี่ยนโลโก้จากสถานโทรทัศน์ NBT เป็นช่อง 11 เหมือนเดิม เนื่องจากถูกมองว่าเป็นเครื่องมือทางการเมือง และขณะปฏิบัติงานโดยเฉพาะงานข่าวจะไม่ได้รับความปลอดภัยหากใช้โลโก้ NBT
ทั้งนี้หากข้อเสนอของลูกจ้างไม่ได้รับการตอบสนองกลุ่มลูกจ้างก้จะกระจายข่าวสารไปยังลูกจ้างชั่วคราวในเขตต่างๆ เพื่อขอความร่วมมือในการรวมตัวกันเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
นายธิติ สร้อยเพ็ชร์ กล่าวว่า ฐานเงินเดือนของพนักงานชั่วคราว สถานีโทรทัศน์ NBT ถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับสถานีโทรทัศน์ช่องอื่นๆ ถึงแม้ว่าจะปรับขึ้นมาแล้วในปีนี้ ซึ่งที่ผ่านมาเรื่องฐานเงินเดือน ช่วงที่นายจักภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เข้ามาดูแล NBT รับปากว่าจะพิจารณาเรื่องฐานเงินเดือนให้ แต่พอพ้นตำแหน่งไปก็ไม่มีใครมาสานต่อ
สำหรับฐานเงินเดือนพนักงานชั่วคราว สัญญาว่าจ้างปีต่อปี ปัจจุบัน ระดับ ปวช.5,760 บาทต่อเดือน ปวส.7,110 บาทต่อเดือน และปริญญาตรี 7,960 บาทต่อเดือน (ยังไม่หักค่าประกันสังคม) ส่วนเบี้ยเลี้ยงค่าล่วงเวลา วันธรรมดาได้ 100 บาทต่อชั่วโมง วันเสาร์-อาทิตย์ ได้ 200 บาท ต่อชั่วโมง
ต่อมาเวลา 11.00 น. นายกฤษณพร เสริมพานิช รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เป็นตัวแทนอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ มารับหนังสือจากตัวแทนลูกจ้าง พร้อมทั้งได้ให้ส่งตัวแทนลูกจ้างเข้าหารือ
โดยนายกฤษณพร กล่าวยืนยันระหว่างการหารือว่าจะดูแลสถานะของลูกจ้างชั่วคราวให้เป็นพนักงานราชการ รวมทั้งจะเพิ่มสวัสดิการและค่าครองชีพของพนักงาน ส่วนการผลักดันให้เข้าสู่การเป็นพนักงานราชการนั้น เป็นเรื่องใหญ่ เกิดความสามารถของกรม เพราะต้องผ่าน ก.พ.และนำเข้า ครม.พิจารณา ซึ่งการจะเพิ่มตำแหน่งข้าราชการขึ้นมานั้น ต้องขึ้นอยู่ใน 2 กรณี คือ 1.เป็นงานที่รัฐบาลมีนโยบายผ่านมติครม.สั่งให้ทำเรื่องนั้นเอง และ2.เป็นการตั้งส่วนราชการขึ้นมาใหม่ แต่ช่อง11ไม่เข้าข่ายทั้ง 2 เรื่อง
นายกฤษณพร กล่าวว่าแนวทางที่เราสามารถทำได้ขณะนี้ เช่น 1.อิงเรื่องของรัฐธรรมนูญ ประชาชนมีสิทธิ์รับรู้ข่าวสารของรัฐ และช่อง11 คือ สื่อกลางที่จะนำเสนอ 2.ชูแผน 4 ปีของกรมประชาสัมพันธ์ ที่เน้นการกระจายข่าวสารของรัฐสู่ประชาชน โดยผ่านทางช่อง11 ข้อ 3.เอากรอบอัตรากำลังคนในช่อง11มาคิด ว่าต้องใช้จำนวนพนักงานเท่าไร ไม่พอให้ดึงลูกจ้างชั่วคราวมาช่วย ซึ่งจะส่งผลไปยังข้อ 4. คือพิจารณาหน้าที่ของพนักงานชั่วคราวที่รับผิดชอบเกินหน้าที่ว่า มีจำนวนมากเท่าไร นำมาสู่ข้อที่5.ที่จะต้องพิจารณาค่าตอบแทนในส่วนที่เพิ่มขึ้นมา เพื่อความเป็นธรรม
นายสุริยงค์ หุณฑสาร รักษาการผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ NBT กล่าวเสริมว่า เอกสารที่ยื่นครั้งนี้ยังไม่เพียงพอ ยิ่งได้ฟังข้อเสนอแนะที่ท่านรองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ชี้แนะแล้ว เราต้องหาข้อมูลจัดทำเอกสารให้ดีกว่านี้ เพื่อดันเข้า ครม.ให้ผ่านให้ได้ เราจะต้องนำเสนอโครงสร้างช่อง11 ขึ้นมาใหม่ ชูเรื่องของงานและหน้าที่เป็นหลัก เพราะในภาวะปัจจุบันโครงสร้างดังกล่าวไม่เอื้อต่อการทำงานอีกแล้ว ขณะที่ช่อง11 มีข้าราชการระดับ ซี 8 เพียง 3 คน บริหารจัดงานสูงสุด ถือว่าน้อยมากและเอาไม่อยู่กับการทำงานของการเป็นสถานีโทรทัศน์ในปัจจุบัน
ดังนั้นขอเสนอให้มีการคัดเลือกตัวแทนพนักงานขึ้นมา 2 ชุด ชุดละไม่เกิน 9 คน ในการหาข้อมูลร่างแผนปรับโครงสร้างช่อง11ใหม่ เพื่อนำไปสู่ระบบข้าราชการ และชุดที่ 2 จะดูเรื่องแผนสวัสดิการเงินเดือน และการทำงานของทั้ง2ชุดจะเดินหน้าไป พร้อมๆ กัน โดยตนจะเข้ามาดูแลทั้ง 2 ชุดนี้ด้วย ให้เรียบร้อยก่อนวันที่ 4 ต.ค. เพื่อปรึกษาหารือหาแนวทางร่วมกับท่านรองอธิบดีฯต่อไป