เอเจนซี - นักวิจัยแนะถ้าอยากรู้ว่าใครฝักใฝ่การเมืองสายไหน ไม่จำเป็นต้องชวนคุยเรื่องพันธมิตรหรือพลังประชาชน แค่แอบไปยืนข้างหลังและเจาะลูกโป่งให้แตก แล้วดูปฏิกิริยาตอบสนองของคนๆ นั้นก็รู้แล้ว
อาจฟังดูแปลกๆ แต่นักวิจัยยืนยันว่า พวกอนุรักษ์นิยมมีแนวโน้มตกใจกับเสียงดังมากกว่าพวกเสรีนิยม
การค้นพบของทีมนักวิจัยอเมริกันที่ตีพิมพ์ในวารสารไซนส์บ่งชี้ว่า ทัศนคติด้านการเมืองของคนเราเกี่ยวโยงใกล้ชิดกับชีววิทยา
คนที่สมองผูกโยงแน่นหนากับความกังวลเกี่ยวกับ ‘การคุกคามภายนอก’ เช่น เสียงดังๆ หรือภาพที่ไม่น่ามอง มีแนวโน้มให้การสนับสนุนนโยบายสายเหยี่ยว เช่น การเพิ่มงบกลาโหม และสงครามอิรัก
ในทางตรงข้าม คนที่ไม่ค่อยตกใจกับการคุกคามภายนอกมีแนวโน้มสนับสนุนการต่อต้านสงคราม และการควบคุมอาวุธปืน
เพื่อทดสอบทฤษฎีนี้ นักวิจัยคัดเลือกอาสาสมัครวัยผู้ใหญ่ 46 คนที่มีจุดยืนทางการเมืองชัดเจน อาสาสมัครแต่ละคนจะได้ดูรูปที่น่าตกใจสามรูปปะปนอยู่กับรูปต่างๆ อีก 33 รูป โดยสามรูปที่ว่า ได้แก่ รูปแมงมุมยักษ์เกาะอยู่บนหน้าคนที่ตกใจสุดขีด รูปใบหน้าเปื้อนเลือดที่อยู่ในอาการช็อก และรูปแผลเปิดที่มีหนอนไชยั้วเยี้ยะ
ระหว่างดูรูป นักวิจัยใช้อุปกรณ์เซนเซอร์ตรวจวัดว่าอาสาสมัครเหงื่อออกแค่ไหน ซึ่งพบว่าคนที่มีแนวทางอนุรักษ์นิยมมีปฏิกิริยาต่อรูปที่น่าตกใจมากกว่าคนที่ยึดถือแนวทางเสรีนิยม
นักวิจัยยังตรวจจับว่าอาสาสมัครกะพริบตาบ่อยแค่ไหนเมื่อมีเสียงดังขึ้นมาแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย ซึ่งได้ผลลัพธ์เช่นเดียวกันคือ คนที่มีแนวทางอนุรักษ์นิยมมีท่าทางตกใจมากกว่า
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเนบราสกา-ลินคอล์นยอมรับว่า ไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์นี้ได้ว่าเป็นเพราะคนที่อ่อนไหวต่อสิ่งคุกคามถูกดึงดูดด้วยนโยบายการเมืองปีกขวา หรือเป็นเพราะพวกอนุรักษ์นิยมมีแนวโน้มขวัญอ่อนกันแน่
ก่อนหน้านี้ นักสังคมวิทยาคิดว่าแนวโน้มทางการเมืองสร้างสมจากประสบการณ์ โดยคนส่วนใหญ่จะโน้มเอียงไปทางปีกขวาเมื่ออายุมากขึ้น แต่การวิจัยหลายชิ้นในระยะหลังกลับบ่งชี้ว่า ทัศนคติเชิงการเมืองของคนเราถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม
อาจฟังดูแปลกๆ แต่นักวิจัยยืนยันว่า พวกอนุรักษ์นิยมมีแนวโน้มตกใจกับเสียงดังมากกว่าพวกเสรีนิยม
การค้นพบของทีมนักวิจัยอเมริกันที่ตีพิมพ์ในวารสารไซนส์บ่งชี้ว่า ทัศนคติด้านการเมืองของคนเราเกี่ยวโยงใกล้ชิดกับชีววิทยา
คนที่สมองผูกโยงแน่นหนากับความกังวลเกี่ยวกับ ‘การคุกคามภายนอก’ เช่น เสียงดังๆ หรือภาพที่ไม่น่ามอง มีแนวโน้มให้การสนับสนุนนโยบายสายเหยี่ยว เช่น การเพิ่มงบกลาโหม และสงครามอิรัก
ในทางตรงข้าม คนที่ไม่ค่อยตกใจกับการคุกคามภายนอกมีแนวโน้มสนับสนุนการต่อต้านสงคราม และการควบคุมอาวุธปืน
เพื่อทดสอบทฤษฎีนี้ นักวิจัยคัดเลือกอาสาสมัครวัยผู้ใหญ่ 46 คนที่มีจุดยืนทางการเมืองชัดเจน อาสาสมัครแต่ละคนจะได้ดูรูปที่น่าตกใจสามรูปปะปนอยู่กับรูปต่างๆ อีก 33 รูป โดยสามรูปที่ว่า ได้แก่ รูปแมงมุมยักษ์เกาะอยู่บนหน้าคนที่ตกใจสุดขีด รูปใบหน้าเปื้อนเลือดที่อยู่ในอาการช็อก และรูปแผลเปิดที่มีหนอนไชยั้วเยี้ยะ
ระหว่างดูรูป นักวิจัยใช้อุปกรณ์เซนเซอร์ตรวจวัดว่าอาสาสมัครเหงื่อออกแค่ไหน ซึ่งพบว่าคนที่มีแนวทางอนุรักษ์นิยมมีปฏิกิริยาต่อรูปที่น่าตกใจมากกว่าคนที่ยึดถือแนวทางเสรีนิยม
นักวิจัยยังตรวจจับว่าอาสาสมัครกะพริบตาบ่อยแค่ไหนเมื่อมีเสียงดังขึ้นมาแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย ซึ่งได้ผลลัพธ์เช่นเดียวกันคือ คนที่มีแนวทางอนุรักษ์นิยมมีท่าทางตกใจมากกว่า
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเนบราสกา-ลินคอล์นยอมรับว่า ไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์นี้ได้ว่าเป็นเพราะคนที่อ่อนไหวต่อสิ่งคุกคามถูกดึงดูดด้วยนโยบายการเมืองปีกขวา หรือเป็นเพราะพวกอนุรักษ์นิยมมีแนวโน้มขวัญอ่อนกันแน่
ก่อนหน้านี้ นักสังคมวิทยาคิดว่าแนวโน้มทางการเมืองสร้างสมจากประสบการณ์ โดยคนส่วนใหญ่จะโน้มเอียงไปทางปีกขวาเมื่ออายุมากขึ้น แต่การวิจัยหลายชิ้นในระยะหลังกลับบ่งชี้ว่า ทัศนคติเชิงการเมืองของคนเราถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม