ผู้จัดการรายวัน – ประชุมร่วมผู้บริหารกับลูกจ้างชั่วคราวกรมประชาสัมพันธ์ 23 ก.ย.นี้ รับเงื่อนไขก่อนไปพิจารณา เผยลูกจ้างชั่วคราวซวยซ้ำ ถูกหักเบี้ยเลี้ยงอีก ยันต้องแก้ไขสัมปทานค่าตอบแทนของดิจิตอลมีเดียด้วย
แหล่งข่าวจากกรมประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า ในวันศุกร์นี้ทางผู้ที่เกี่ยวข้องที่เป็นตัวแทนของลูกจ้างชั่วคราวแต่ละส่วนซึ่งมีรวมประมาณ 90 คน จะรวบรวมรายชื่อที่ลูกจ้างชั่วคราวมาลงชื่อกัน ทั้งรายละเอียดการทำงาน หน้าที่การงาน เพื่อรวมรวมส่งให้กับทางกองการเจ้าหน้าที่เพื่อนำเสนอให้กับทางฝ่ายบริหารของกรมประชาสัมพันธ์อีกครั้ง
อย่างไรก็ตามล่าสุดผู้บริหารที่เกี่ยวข้องได้ประชุมร่วมกับตัวแทนของลูกจ้างชั่วคราว โดยสรุปที่จะมีการประชุมร่วมกันอีกครั้งวันที่ 23 กันยายนนี้ กับทางผู้บริหารของนำโดย นายสุริยงค์ หุณฑสาร รักษาการผู้อำนวยการสถานีเอ็นบีที และระดับรองอธิบดีกรมฯที่ได้รับมอบหมาย โดยให้เสนอความต้องการและเงื่อนไข เพื่อที่จะได้นำมาพิจารณากันให้รอบคอบ
“ลูกจ้างพวกนี้ทำงานมานาน เดิมมีอยู่ประมาณ 200 คน บางคนทำมานาน 10-20 ปีแล้ว เงินเดือนก็ยังแค่ 4,000 กว่าบาทเท่านั้น เทียบไม่ได้กับทางพนักงานใหม่ของเอ็นบีทีที่เข้ามามากถึง 20,000 กว่าบาทก็ยังมี มันไม่ยุติธรรม อีกทั้งความมั่นคงชีวิตการงานก็ไม่มี ต้องต่อสัญญาแบบปีต่อปีและต้องวางเงินค่าค้ำประกันด้วยมากถึงเกือบเท่าเงินเดือนด้วยซ้ำไป และล่าสุด เบี้ยเลี้ยงที่ได้รับเดือนละ 200 บาท ก็ยังมาถูกหักไปอีก 100 บาท ซึ่งก่อนหน้านี้ลูกจ้างชั่วคราวมากกว่า 100 คนก็ได้รับการทยอยปรับจากลูกจ้างชั่วคราวเป็นพนังกานข้าราชการไปแล้ว แต่ที่เหลือยังตกค้างกว่า 90 คนนี้ก็ยังไม่มีการปรับแต่อย่างใด”
สำหรับการที่จะปรับลูกจ้างชั่วคราวมาเป็นพนักงานข้าราชการน้น ซึ่งปัจจุบันนี้พนักงานข้าราชการมีประมาณ 200 กว่าคน ซึ่งตามขั้นตอนแล้วต้องเสนอต่อสำนักงานข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณ และคณะรัฐมนตรี ซึ่งคงต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ เงินที่จะต้องนำมาค้ำประกันสำหรับลูกจ้างชั่วคราวที่มีปัญหากันนั้น อันที่จริงแล้ว เป็นเงื่อนไขที่มีมาอยู่แล้ว ที่ลูกจ้างชั่วคราวจะต้องวางเงินค้ำประกันตามแต่ละระดับงาน และจะคืนให้เมื่อลาออก แต่เนื่องจากก่อนหน้านี้ไม่ได้นำมาปฎิบัติใช้อย่างจริงจัง แต่เมื่อมีการเข้าออกของลูกจ้างชั่วคราวกันบ่อยขึ้นทำให้เกิดผลกระทบกับการทำงาน ทางกรมฯจึงต้องการที่จะนำมาใช้อย่างจริงจังเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เข้าออกง่ายเกินไป ไม่ใช่เพิ่งจะมาเรียกเก็บแต่อย่างใด
แหล่งข่าวกล่าวว่า ส่วนกรณีที่บริษัท ดิจิตอล มีเดีย เข้ามารับผลิตงานข่าวและเช่าเวลาจากช่องเอ็นบีที โดยให้ค่าสัมปทานตอบแทนกับทางกรมฯประมาณปีละ 45 ล้านบาท ซึ่งแม้จะเพิ่มจากเดิมที่ต้องจ่ายแค่ 35 ล้านบาท นั้นเมื่อเทียบแล้วก็ยังต่ำอยู่ดี เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้กับพนักงานที่มาจากเอกชนนี้ต่อเดือนค่อนข้างสูงมาก รวมทั้งหมดกว่า 80 คน มันแตกต่างกันพอสมควร ตรงนี้สมควรที่จะต้องมีการแก้ไขกันด้วย.
แหล่งข่าวจากกรมประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า ในวันศุกร์นี้ทางผู้ที่เกี่ยวข้องที่เป็นตัวแทนของลูกจ้างชั่วคราวแต่ละส่วนซึ่งมีรวมประมาณ 90 คน จะรวบรวมรายชื่อที่ลูกจ้างชั่วคราวมาลงชื่อกัน ทั้งรายละเอียดการทำงาน หน้าที่การงาน เพื่อรวมรวมส่งให้กับทางกองการเจ้าหน้าที่เพื่อนำเสนอให้กับทางฝ่ายบริหารของกรมประชาสัมพันธ์อีกครั้ง
อย่างไรก็ตามล่าสุดผู้บริหารที่เกี่ยวข้องได้ประชุมร่วมกับตัวแทนของลูกจ้างชั่วคราว โดยสรุปที่จะมีการประชุมร่วมกันอีกครั้งวันที่ 23 กันยายนนี้ กับทางผู้บริหารของนำโดย นายสุริยงค์ หุณฑสาร รักษาการผู้อำนวยการสถานีเอ็นบีที และระดับรองอธิบดีกรมฯที่ได้รับมอบหมาย โดยให้เสนอความต้องการและเงื่อนไข เพื่อที่จะได้นำมาพิจารณากันให้รอบคอบ
“ลูกจ้างพวกนี้ทำงานมานาน เดิมมีอยู่ประมาณ 200 คน บางคนทำมานาน 10-20 ปีแล้ว เงินเดือนก็ยังแค่ 4,000 กว่าบาทเท่านั้น เทียบไม่ได้กับทางพนักงานใหม่ของเอ็นบีทีที่เข้ามามากถึง 20,000 กว่าบาทก็ยังมี มันไม่ยุติธรรม อีกทั้งความมั่นคงชีวิตการงานก็ไม่มี ต้องต่อสัญญาแบบปีต่อปีและต้องวางเงินค่าค้ำประกันด้วยมากถึงเกือบเท่าเงินเดือนด้วยซ้ำไป และล่าสุด เบี้ยเลี้ยงที่ได้รับเดือนละ 200 บาท ก็ยังมาถูกหักไปอีก 100 บาท ซึ่งก่อนหน้านี้ลูกจ้างชั่วคราวมากกว่า 100 คนก็ได้รับการทยอยปรับจากลูกจ้างชั่วคราวเป็นพนังกานข้าราชการไปแล้ว แต่ที่เหลือยังตกค้างกว่า 90 คนนี้ก็ยังไม่มีการปรับแต่อย่างใด”
สำหรับการที่จะปรับลูกจ้างชั่วคราวมาเป็นพนักงานข้าราชการน้น ซึ่งปัจจุบันนี้พนักงานข้าราชการมีประมาณ 200 กว่าคน ซึ่งตามขั้นตอนแล้วต้องเสนอต่อสำนักงานข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณ และคณะรัฐมนตรี ซึ่งคงต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ เงินที่จะต้องนำมาค้ำประกันสำหรับลูกจ้างชั่วคราวที่มีปัญหากันนั้น อันที่จริงแล้ว เป็นเงื่อนไขที่มีมาอยู่แล้ว ที่ลูกจ้างชั่วคราวจะต้องวางเงินค้ำประกันตามแต่ละระดับงาน และจะคืนให้เมื่อลาออก แต่เนื่องจากก่อนหน้านี้ไม่ได้นำมาปฎิบัติใช้อย่างจริงจัง แต่เมื่อมีการเข้าออกของลูกจ้างชั่วคราวกันบ่อยขึ้นทำให้เกิดผลกระทบกับการทำงาน ทางกรมฯจึงต้องการที่จะนำมาใช้อย่างจริงจังเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เข้าออกง่ายเกินไป ไม่ใช่เพิ่งจะมาเรียกเก็บแต่อย่างใด
แหล่งข่าวกล่าวว่า ส่วนกรณีที่บริษัท ดิจิตอล มีเดีย เข้ามารับผลิตงานข่าวและเช่าเวลาจากช่องเอ็นบีที โดยให้ค่าสัมปทานตอบแทนกับทางกรมฯประมาณปีละ 45 ล้านบาท ซึ่งแม้จะเพิ่มจากเดิมที่ต้องจ่ายแค่ 35 ล้านบาท นั้นเมื่อเทียบแล้วก็ยังต่ำอยู่ดี เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้กับพนักงานที่มาจากเอกชนนี้ต่อเดือนค่อนข้างสูงมาก รวมทั้งหมดกว่า 80 คน มันแตกต่างกันพอสมควร ตรงนี้สมควรที่จะต้องมีการแก้ไขกันด้วย.