เอกชนท่องเที่ยวเสียงแตกคิดต่าง สทท.มองโลกแง่ดี ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินทันเวลา ยังฝันดึงนักท่องเที่ยวไฮซีซั่นปีนี้ได้เหมือนเดิม เตรียมร่อนหนังสือถึงเอกชน 3 จังหวัดอันดามัน เบรคแคมเปญ ลด แจก แถม พร้อมเสนอ รมว.ท่องเที่ยว 4 ประเด็น ฟื้นวิกฤต ด้านอันดามันแจง
วานนี้(16 ก.ย.51) สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) ได้ประชุมหารือร่วมกับ 60 สมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เพื่อหาข้อสรุปผลกระทบแนวทางแก้ไขของผู้ประกอบการ สืบเนื่องมาจากผลกระทบของการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยนายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานสทท. กล่าวว่า ในช่วงที่รัฐบาลประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตั้งแต่วันที่ 2-14 ก.ย. ส่งผลให้นักท่องเที่ยวยกเลิกการเดินทาง ทำให้ประเมินว่าไฮซีซั่นปีนี้จำนวนนักท่องเที่ยวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลง 20% คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย ราว 5-7 หมื่นล้านบาท โดยภาคใต้รับผลกระทบมากสุด เพราะมีการปิดสนามบินและรถไฟหยุดวิ่ง
หลังยกเลิกประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน สนามบิน และ รถไฟ เปิดให้บริการเป็นปกติ มีรายงานจากสมาชิก สทท.แจ้งว่า ตัวเลขนักท่องเที่ยวที่ยกเลิกการเดินทางเริ่มลดลง มีการยื่นยันการเดินทางเพิ่มขึ้น และ มองว่าหากรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งทำงานเชิงรุก ในด้านการประชาสัมพันธ์ ก็จะสามารถ ดึงนักท่องเที่ยวได้ทันเวลา และ มั่นใจว่าจะไม่กระทบถึงเป้าหมายนักท่องเที่ยวปี 2552 โดยยังยืนยันตามเป้าหมายที่ ททท.ตั้งไว้ที่นักท่องเที่ยวต่างชาติ 16 ล้านคน ก่อเกิดรายได้เข้าประเทศ 6.3 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ สทท.เตรียมทำหนังสือถึงผู้ประกอบการ 3 จังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ได้พิจารณายกเลิก แคมเปญ ลด แจก แถม โรงแรมที่พัก เพราะนอกจากโครงสร้างราคาจะเสียหาย ยังกระทบถึงผู้ประกอบการระดับกลางและย่อยด้วย
เสนอ 4 ประเด็นเยียวยาท่องเที่ยว
นายกงกฤช กล่าวอีกว่า ยังเตรียมร่างหนังสือ เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ใน 4 ประเด็นหลัก เพื่อการเร่งเยียวยาภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวฟื้นในไฮซีซั่นปีนี้ ได้แก่ 1.ขอให้รัฐสภาเร่งพิจารณา พรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552 ให้ทันเบิกจ่ายได้ภายในวันที่ 1 ต.ค.51 2.ขอให้มีมาตรการเชิงรุกด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ในต่างประเทศ 3. จัดทำระดับความวิกฤต สำหรับใช้ประกาศต่อนานาประเทศ และ 4ให้รัฐบาลกระตุ้นการเดินทางของคนไทยภายในประเทศ
3 จ.อันดามันไม่สนเดินหน้าออกแคมเปญ
นายสรายุทธ มัลลัม อุปนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า โครงการที่เอกชน 3 จังหวัดอันดามันจะดำเนินการ คือ นำสินค้าทางการท่องเที่ยวมาจักแพกเกจเสนอให้แก่บริษัทนำเที่ยวในต่างประเทศ เนื่องจากบริษัททัวร์ในต่างประเทศ ได้เก็บโบว์ชัวร์ของไทยออกไปแล้ว และนำเสนอขายทัวร์ประเทศอื่นๆแทน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ผ่านมาแนวคิดสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย หรือเฟสต้า ได้คิดต่างจากประเด็นของ สทท.ข้างต้น โดยมองว่า ความเสียหายของวิกฤตครั้งนี้ จะทำให้ประเทศไทยสูญรายได้จากการท่องเที่ยวราว 1 แสนล้านบาท และจำนวนนักท่องเที่ยวต่ำกว่าเป้าหมายของททท.ในสิ้นปีนี้ถึง 1 ล้านคน โดยมองว่าไฮซีซั่นปีนี้ อาจดึงนักท่องเที่ยวกลับมาได้เพียง 50% ของช่วงเดียวกันของปีก่อน
วานนี้(16 ก.ย.51) สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) ได้ประชุมหารือร่วมกับ 60 สมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เพื่อหาข้อสรุปผลกระทบแนวทางแก้ไขของผู้ประกอบการ สืบเนื่องมาจากผลกระทบของการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยนายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานสทท. กล่าวว่า ในช่วงที่รัฐบาลประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตั้งแต่วันที่ 2-14 ก.ย. ส่งผลให้นักท่องเที่ยวยกเลิกการเดินทาง ทำให้ประเมินว่าไฮซีซั่นปีนี้จำนวนนักท่องเที่ยวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลง 20% คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย ราว 5-7 หมื่นล้านบาท โดยภาคใต้รับผลกระทบมากสุด เพราะมีการปิดสนามบินและรถไฟหยุดวิ่ง
หลังยกเลิกประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน สนามบิน และ รถไฟ เปิดให้บริการเป็นปกติ มีรายงานจากสมาชิก สทท.แจ้งว่า ตัวเลขนักท่องเที่ยวที่ยกเลิกการเดินทางเริ่มลดลง มีการยื่นยันการเดินทางเพิ่มขึ้น และ มองว่าหากรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งทำงานเชิงรุก ในด้านการประชาสัมพันธ์ ก็จะสามารถ ดึงนักท่องเที่ยวได้ทันเวลา และ มั่นใจว่าจะไม่กระทบถึงเป้าหมายนักท่องเที่ยวปี 2552 โดยยังยืนยันตามเป้าหมายที่ ททท.ตั้งไว้ที่นักท่องเที่ยวต่างชาติ 16 ล้านคน ก่อเกิดรายได้เข้าประเทศ 6.3 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ สทท.เตรียมทำหนังสือถึงผู้ประกอบการ 3 จังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ได้พิจารณายกเลิก แคมเปญ ลด แจก แถม โรงแรมที่พัก เพราะนอกจากโครงสร้างราคาจะเสียหาย ยังกระทบถึงผู้ประกอบการระดับกลางและย่อยด้วย
เสนอ 4 ประเด็นเยียวยาท่องเที่ยว
นายกงกฤช กล่าวอีกว่า ยังเตรียมร่างหนังสือ เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ใน 4 ประเด็นหลัก เพื่อการเร่งเยียวยาภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวฟื้นในไฮซีซั่นปีนี้ ได้แก่ 1.ขอให้รัฐสภาเร่งพิจารณา พรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552 ให้ทันเบิกจ่ายได้ภายในวันที่ 1 ต.ค.51 2.ขอให้มีมาตรการเชิงรุกด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ในต่างประเทศ 3. จัดทำระดับความวิกฤต สำหรับใช้ประกาศต่อนานาประเทศ และ 4ให้รัฐบาลกระตุ้นการเดินทางของคนไทยภายในประเทศ
3 จ.อันดามันไม่สนเดินหน้าออกแคมเปญ
นายสรายุทธ มัลลัม อุปนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า โครงการที่เอกชน 3 จังหวัดอันดามันจะดำเนินการ คือ นำสินค้าทางการท่องเที่ยวมาจักแพกเกจเสนอให้แก่บริษัทนำเที่ยวในต่างประเทศ เนื่องจากบริษัททัวร์ในต่างประเทศ ได้เก็บโบว์ชัวร์ของไทยออกไปแล้ว และนำเสนอขายทัวร์ประเทศอื่นๆแทน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ผ่านมาแนวคิดสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย หรือเฟสต้า ได้คิดต่างจากประเด็นของ สทท.ข้างต้น โดยมองว่า ความเสียหายของวิกฤตครั้งนี้ จะทำให้ประเทศไทยสูญรายได้จากการท่องเที่ยวราว 1 แสนล้านบาท และจำนวนนักท่องเที่ยวต่ำกว่าเป้าหมายของททท.ในสิ้นปีนี้ถึง 1 ล้านคน โดยมองว่าไฮซีซั่นปีนี้ อาจดึงนักท่องเที่ยวกลับมาได้เพียง 50% ของช่วงเดียวกันของปีก่อน