ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้ออกหนังสือเชิญสมาชิกวุฒิสภา ประชุมวุฒิสภานัดพิเศษในวันนี้ (16ก.ย.) เวลา 10.00 น. โดยมีวาระการประชุมที่สำคัญ คือ การพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2552 ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 6 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยเห็นชอบงบประมาณที่ตั้งไว้ 1,835,000,000,000 บาท หลังจากที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ สภาผู้แทนราษฎร ปรับลดลงจำนวน 45,009,585,700 บาท และปรับเพิ่ม จำนวน 45,009,585,700 บาท แบ่งเป็นประมาณ 2.9 หมื่นล้านบาท สำหรับโครงการของหน่วยราชการที่เพิ่มขึ้น และประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท สำหรับเงินอุดหนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ทั้งนี้ วุฒิสภาต้องพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 20 วัน ตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 168 วรรคสามบัญญัติไว้
สำหรับรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2552 วุฒิสภาได้ตั้งข้อสังเกตในการจัดสรรงบประมาณไว้ 3 ส่วน คือ
1.นโยบายและการบริหารจัดการงบประมาณปี 2552 ว่า จากสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน รัฐบาลต้องพึงระวังในการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังหลายประการ เช่น ราคาน้ำมัน ต้นทุนวัตถุดิบ ปัจจัยทางการเมือง การที่รัฐบาลคาดหมายว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 5.5 อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 3.5 จึงไม่อาจเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด เพราะอาจมีการชะลอตัวของการขยายตัวทางเศรษฐกิจและระดับเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น รัฐบาลจึงควรมีมาตรการเตรียมความพร้อมในกรณีที่ไม่สามารถจัดเก็บรายได้ได้ตามเป้าหมาย โดยควรกำหนดยุทธศาสตร์ในขั้นตอนการจัดทำงบประมาณที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความจำเป็นเร่งด่วน มีการบริหารงบประมาณด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการติดตามประเมินผลความสำเร็จ
2.ประเด็นสำคัญเร่งด่วนที่รัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินการกำหนดนโยบายในเชิงบูรณาการ ได้แก่ การกำหนดยุทธศาสตร์ และกระบวนการในการพัฒนาคนไทยและสังคมไทย โดยมุ่งเน้นที่เด็กและเยาวชนเป็นวาระแห่งชาติ การจัดสรรงบประมาณเพื่อดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ การกำหนดนโยบายและทิศทางการวิจัยของประเทศ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ
3. การจัดสรรงบประมาณตามภารกิจของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ คณะกรรมาธิการฯ มีข้อสังเกตที่สำคัญ อาทิ กระทรวงการคลัง ควรระมัดระวังการก่อหนี้สาธารณะ และพิจารณาความคุ้มค่าของโครงการ กรณีสถานการณ์เงินเฟ้อที่เกิดจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยและออกนโยบาย 6 มาตรการ เป็นการแก้ปัญหาไม่สอดคล้องกับต้นเหตุ ทั้งนี้ ในฐานะที่รัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทน้ำมัน และโรงกลั่น ย่อมสามารถกำหนดนโยบายลดค่าการกลั่นน้ำมัน เพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจภาคการผลิตและภาคครัวเรือนได้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควรดำเนินการปฏิรูป และดำเนินการวิจัยพัฒนาเชิงระบบในด้านการผลิต การใช้เทคโนโลยีหลักเก็บเกี่ยวและการแปรรูป และระบบเครือข่ายการขนส่ง พื้นที่ทำกินและการออกเอกสารสิทธิ กระทรวงพาณิชย์ ควรแก้ไขปัญหาการประกอบการธุรกิจของร้านค้าขนาดเล็ก ควรมีกฎหมายควบคุมการประกอบธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ เป็นต้น
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ในการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ ในวันนี้ จะเสนอให้ที่ประชุมชะลอการพิจารณาไว้ก่อน เพื่อให้มีนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ แถลงนโยบายต่อรัฐสภาก่อน เพื่อให้รัฐบาลชุดใหม่นำ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ไปปรับปรุง เนื่องจากวุฒิสภายังมีเวลาพิจารณาถึงวันที่ 26 ก.ย.
ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฉบับนี้ เป็นการจัดทำตามนโยบายของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช แต่เมื่อรัฐบาลชุดดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งไป ต้องให้รัฐบาลใหม่เข้ามาดำเนินการ เพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 174 กำหนดให้รัฐบาลใหม่ต้องมาแถลงนโยบายต่อสภาฯ การจัดงบประมาณจึงอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามนโยบายของรัฐบาลชุดนั้น ๆ
ขณะที่นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า การพิจารณาคงจะเป็นไปตามที่กำหนดไว้ และให้อภิปรายไปตามธรรมชาติ เพื่อให้รัฐมนตรีตอบข้อซักถาม ขณะนี้มี ส.ว.แสดงความจำนงในการอภิปราย 74 คน ดังนั้น การประชุมในวันนี้ (16 ก.ย.) อาจได้แค่ครึ่งหนึ่ง และคงจะต้องมีการพิจารณาต่อ อาจจะเป็นในวันที่ 19 ก.ย. แล้วค่อยลงมติในวันดังกล่าว ส่วนที่มี ส.ว.จะเสนอให้ชะลอการพิจารณาออกไปก่อน เป็นความคิดของ ส.ว.ส่วนหนึ่ง เพราะรัฐบาลคงเป็น 6 พรรคเหมือนเดิม ไม่ได้มีการเปลี่ยนขั้ว และอาจมีการตั้งรัฐมนตรีคนเดิมกลับเข้ามาทำหน้าที่
ทั้งนี้ วุฒิสภาต้องพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 20 วัน ตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 168 วรรคสามบัญญัติไว้
สำหรับรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2552 วุฒิสภาได้ตั้งข้อสังเกตในการจัดสรรงบประมาณไว้ 3 ส่วน คือ
1.นโยบายและการบริหารจัดการงบประมาณปี 2552 ว่า จากสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน รัฐบาลต้องพึงระวังในการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังหลายประการ เช่น ราคาน้ำมัน ต้นทุนวัตถุดิบ ปัจจัยทางการเมือง การที่รัฐบาลคาดหมายว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 5.5 อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 3.5 จึงไม่อาจเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด เพราะอาจมีการชะลอตัวของการขยายตัวทางเศรษฐกิจและระดับเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น รัฐบาลจึงควรมีมาตรการเตรียมความพร้อมในกรณีที่ไม่สามารถจัดเก็บรายได้ได้ตามเป้าหมาย โดยควรกำหนดยุทธศาสตร์ในขั้นตอนการจัดทำงบประมาณที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความจำเป็นเร่งด่วน มีการบริหารงบประมาณด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการติดตามประเมินผลความสำเร็จ
2.ประเด็นสำคัญเร่งด่วนที่รัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินการกำหนดนโยบายในเชิงบูรณาการ ได้แก่ การกำหนดยุทธศาสตร์ และกระบวนการในการพัฒนาคนไทยและสังคมไทย โดยมุ่งเน้นที่เด็กและเยาวชนเป็นวาระแห่งชาติ การจัดสรรงบประมาณเพื่อดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ การกำหนดนโยบายและทิศทางการวิจัยของประเทศ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ
3. การจัดสรรงบประมาณตามภารกิจของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ คณะกรรมาธิการฯ มีข้อสังเกตที่สำคัญ อาทิ กระทรวงการคลัง ควรระมัดระวังการก่อหนี้สาธารณะ และพิจารณาความคุ้มค่าของโครงการ กรณีสถานการณ์เงินเฟ้อที่เกิดจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยและออกนโยบาย 6 มาตรการ เป็นการแก้ปัญหาไม่สอดคล้องกับต้นเหตุ ทั้งนี้ ในฐานะที่รัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทน้ำมัน และโรงกลั่น ย่อมสามารถกำหนดนโยบายลดค่าการกลั่นน้ำมัน เพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจภาคการผลิตและภาคครัวเรือนได้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควรดำเนินการปฏิรูป และดำเนินการวิจัยพัฒนาเชิงระบบในด้านการผลิต การใช้เทคโนโลยีหลักเก็บเกี่ยวและการแปรรูป และระบบเครือข่ายการขนส่ง พื้นที่ทำกินและการออกเอกสารสิทธิ กระทรวงพาณิชย์ ควรแก้ไขปัญหาการประกอบการธุรกิจของร้านค้าขนาดเล็ก ควรมีกฎหมายควบคุมการประกอบธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ เป็นต้น
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ในการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ ในวันนี้ จะเสนอให้ที่ประชุมชะลอการพิจารณาไว้ก่อน เพื่อให้มีนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ แถลงนโยบายต่อรัฐสภาก่อน เพื่อให้รัฐบาลชุดใหม่นำ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ไปปรับปรุง เนื่องจากวุฒิสภายังมีเวลาพิจารณาถึงวันที่ 26 ก.ย.
ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฉบับนี้ เป็นการจัดทำตามนโยบายของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช แต่เมื่อรัฐบาลชุดดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งไป ต้องให้รัฐบาลใหม่เข้ามาดำเนินการ เพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 174 กำหนดให้รัฐบาลใหม่ต้องมาแถลงนโยบายต่อสภาฯ การจัดงบประมาณจึงอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามนโยบายของรัฐบาลชุดนั้น ๆ
ขณะที่นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า การพิจารณาคงจะเป็นไปตามที่กำหนดไว้ และให้อภิปรายไปตามธรรมชาติ เพื่อให้รัฐมนตรีตอบข้อซักถาม ขณะนี้มี ส.ว.แสดงความจำนงในการอภิปราย 74 คน ดังนั้น การประชุมในวันนี้ (16 ก.ย.) อาจได้แค่ครึ่งหนึ่ง และคงจะต้องมีการพิจารณาต่อ อาจจะเป็นในวันที่ 19 ก.ย. แล้วค่อยลงมติในวันดังกล่าว ส่วนที่มี ส.ว.จะเสนอให้ชะลอการพิจารณาออกไปก่อน เป็นความคิดของ ส.ว.ส่วนหนึ่ง เพราะรัฐบาลคงเป็น 6 พรรคเหมือนเดิม ไม่ได้มีการเปลี่ยนขั้ว และอาจมีการตั้งรัฐมนตรีคนเดิมกลับเข้ามาทำหน้าที่