เมื่อประธานคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำพิพากษาเป็นเอกฉันท์ 9:0 ให้ความเป็นนายกรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช สิ้นสุดลงเพราะกระทำความผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 ที่บัญญัติห้ามมิให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นลูกจ้างของบุคคลใด เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ของตนไปโดยชอบ และไม่ขัดผลประโยชน์กับสาธารณชน และไม่เป็นการผิดจริยธรรมของผู้มีอำนาจรัฐ จึงเป็นผลให้นายสมัครต้องยุติบทบาทนายกรัฐมนตรีทันที ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน ที่ผ่านมา แต่ให้ ครม.ยังคงรักษาการอยู่ต่อไปจนกว่าจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้คนที่สภาผู้แทนราษฎรมีมติเลือก ส.ส. คนหนึ่งในสภาผู้แทนราษฎรเป็นนายกรัฐมนตรี
บทเรียนนิติธรรมนี้จะเป็นบรรทัดฐานต่อไปในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่หลักตุลาการภิวัฒน์มีความศักดิ์สิทธิ์จริง ตามหลักการมี 3 ประการคือ การตรวจสอบการออกกฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ การใช้อำนาจตุลาการตรวจสอบเพื่อถ่วงดุลอำนาจกับอีกอำนาจรัฐ 2 อำนาจคือ อำนาจฝ่ายบริหาร และอำนาจนิติบัญญัติมิให้อำนาจใดมีอำนาจเหนืออีกอำนาจหนึ่ง และประการสำคัญคือ การตรวจสอบการใช้อำนาจของนักการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง หรือพรรคพวก หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ
แต่วันนี้ปัญญาชนคนไทยส่วนมากก็ต้องสลดใจที่บรรดานักการเมืองพรรคพลังประชาชนแสดงความชัดเจนว่า “อำนาจเหนือความชอบธรรมจากกรุงลอนดอน” อันเป็นคำสั่งของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เจ้าของพรรคการเมืองนี้บงการชัดเจนที่จะให้นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปอีกแม้ว่าต้องคำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญให้พ้นตำแหน่งไปแล้ว ทำให้บรรดา ส.ส.และแกนนำทั้งที่ถูกใบแดงก็ดี สอบตกก็ดี และพวกที่ถูกห้ามมิให้ยุ่งกับการเมืองก็ดี ต่างแห่กันลงมติให้ทุกคนในสภาผู้แทนราษฎรต้องสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช กลับไปเป็นนายกรัฐมนตรีอีก จึงดูเป็นการเป็นการท้าทายความรู้สึกของคนไทยต่อมาตรฐานคุณธรรมของนายสมัครเองว่าสูงต่ำแค่ไหนและท้าทายข้อวินิจฉัย และการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่ชี้ว่านายสมัครขาดคุณสมบัติเป็นหัวหน้ารัฐบาลแล้ว
ขณะที่พรรคร่วมรัฐบาลอีก 5 พรรคมิได้แสดงมาตรฐานความชอบธรรมตามธรรมเนียม และประเพณีที่ดีของระบอบการเมืองที่ต้องดำรงคุณธรรมไว้เป็นบรรทัดฐานแต่เข้าใจว่าเขาเหล่านั้นต้องการปรับมาตรฐานให้ต่ำไว้เพื่อตัวเองหากต้องคดีการเมืองจะได้ไม่ต้องรักษามารยาทลาออกตรงข้ามกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นจึงเกิดคำถามว่ามาตรฐานประชาธิปไตยของไทยอยู่ตรงไหน
เป็นเพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เรียนจบดุษฎีบัณฑิตในสาขาอาชญวิทยาที่หัวใจของศาสตร์นี้คือ จิตวิทยาอาชญากร หรือการอ่านจิตใจ หรือการวิเคราะห์จิตใจอาชญากร และแนวโน้มของอาชญากรว่าจะทำอะไรอย่างไรต่อไปที่จะดำรงความเป็นอาชญากรได้ต่อเนื่องโดยไม่ถูกจับ หรือสามารถท้าทายกับความสามารถของเจ้าหน้าที่ เช่น กรณีฆาตกรต่อเนื่องที่บางคดีฆาตกรไม่เคยถูกจับได้เลย
ดังนั้นพฤติกรรมและประสบการณ์ทางการเมืองของนายสมัคร สุนทรเวช เข้าแนวทางวิจัยของพ.ต.ท.ทักษิณ เพราะพฤติกรรมของนายสมัครนั้น มีความใฝ่สูง สูงกว่ามนุษย์ใดๆ จนแยกแยะความชอบธรรมไม่ได้ และมักจะทำทุกวิถีทางที่จะเอาชนะ เช่น กรณีที่ไม่สามารถเป็นใหญ่ในพรรคประชาธิปัตย์ได้ ก็แยกตัวออกมาต่อสู้กับพรรคประชาธิปัตย์แบบอาฆาตเคียดแค้นกันเลยหรือกรณีที่จะเอาชนะ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ในเขตเลือกตั้งดุสิตที่เป็นเขตทหารก็เอาใจเยินยอทหาร และเอาใจพวกฝ่ายขวาจัดในขณะนั้นจึงประสบชัยชนะเลือกตั้ง ใน พ.ศ. 2519
นอกจากนี้ นายสมัครจะไม่สนใจผลเสียที่เกิดขึ้นตามมา เช่น กรณี 6 ตุลาคม 2519 ปลุกระดมพวกนักเรียนช่างกลบางกลุ่มที่หมั่นไส้นิสิตนักศึกษาอยู่แล้ว เพราะมีปมด้อยเรื่องระดับการศึกษาและไม่มีโอกาสเรียนในมหาวิทยาลัยจนสามารถตั้งเป็นขบวนการต่อต้านนักศึกษาจนเกิดปะทะกัน และมีนิสิตคณะวิศวกรรมจุฬาฯ ผู้บริสุทธิ์ถูกฆ่าตายอย่างทารุณต่อหน้าฝูงชน และนายสมัครกล่าวอ้างเกินสถานการณ์จริง จนเจ้าหน้าที่ตำรวจระดมยิงนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพราะถูกชวนเชื่อว่าเป็นฐานปฏิบัติการของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เป็นผลให้มีนิสิตนักศึกษาจำนวนหนึ่งเสียชีวิตและบาดเจ็บจนต้องหนีการจับกุม และการปราบปรามอย่างรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐเข้าป่าเป็นผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์จริงๆ สร้างรอยแผลในครอบครัวคนไทยมาแล้ว ซึ่งขณะนี้บางคนที่ออกป่าก็ร่วมอยู่ในพรรคพลังประชาชนด้วย
ประการสุดท้าย หากนายสมัคร สุนทรเวช ไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี อำนาจการเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชนก็จะอ่อนลงทันที และจะเกิดการแข่งกันเองจนพรรคแตก ประกอบกับความอาวุโสทั้งวัย และประสบการณ์การเมืองของนายสมัครที่เสมอด้วยนักการเมือง พรรคร่วมรัฐบาล เช่น นายบรรหาร ศิลปอาชา พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ และนายเสนาะ เทียนทอง ทำให้การเจรจาต่อรองทางการเมืองทัดเทียมกัน
และเหตุผลเหล่านี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ยังต้องให้นายสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกหลังคำพิพากษา แต่หัวใจของความปรารถนาของพ.ต.ท.ทักษิณ คือ ความดื้อ ความด้าน และชั้นเชิงของนายสมัคร เป็นอาวุธสำคัญของยุทธศาสตร์การเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในการที่จะสร้างเงื่อนไขมิให้การเมืองไทยสงบสุขเพื่อพหุประโยชน์ส่วนตัว ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
โดยเฉพาะถ้าหากเกิดการรัฐประหารขึ้นหรือประเทศไทยอยู่ในภาวะฉุกเฉิน รัฐบาลอังกฤษย่อมมองว่าเรื่องของพ.ต.ท.ทักษิณเป็นเรื่องการเมืองมากกว่าการเป็นคนโกงปกติธรรมดา และยุทธศาสตร์ใหญ่คือความคาดหวังที่ให้มีการแตกแยกในประเทศไทย เพราะจะทำให้อำนาจการต่อรองของ พ.ต.ท.ทักษิณจะมีพลังมากขึ้นเพื่อกลยุทธ์ขู่กรรโชกประเทศชาติว่า “หากไม่เอาเรื่องเขาและครอบครัว เขาก็จะยุติป่วนชาติทุกมิติ”
ถึงแม้ว่าประชาภิวัฒน์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทยไปแล้วก็ตาม แต่ พ.ต.ท.ทักษิณก็สามารถที่ใช้ประชาชนออกมาต่อต้านกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้เช่นกัน เพราะว่ากลุ่มชนบางส่วนในภาคเหนือ และภาคอีสานกลายเป็นผู้หลงใหลไร้สติความคิดไปแล้ว
ดังเห็นได้จากหน้าหนังสือพิมพ์บางฉบับในวันที่ 11 มีคนใส่เสื้อแดงหมิ่นศาลรัฐธรรมนูญอันเป็นแผนเพื่อแสดงให้ชาวโลกเห็นว่า ระบบศาลไทยไม่ศักดิ์สิทธิ์ และขาดความยุติธรรมตามที่ พ.ต.ท.ทักษิณแถลงให้โลกฟังในวันที่หนีออกจากประเทศไทย โดยใช้สำนวนว่า “ลูกไม้พิษเกิดจากต้นไม้พิษ” แต่ความจริงแล้ว แม้กระทั่งลมหายใจของ พ.ต.ท.ทักษิณก็เป็นพิษ จึงต้องจับตาการเดินหมากตามแนวยุทธศาสตร์เกลือจิ้มเกลือของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อย่าได้คลาดสายตา เพราะความคิดของพลพรรคบางกลุ่มของเขาไร้ความเป็นเวไนยสัตว์ไปแล้ว
บทเรียนนิติธรรมนี้จะเป็นบรรทัดฐานต่อไปในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่หลักตุลาการภิวัฒน์มีความศักดิ์สิทธิ์จริง ตามหลักการมี 3 ประการคือ การตรวจสอบการออกกฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ การใช้อำนาจตุลาการตรวจสอบเพื่อถ่วงดุลอำนาจกับอีกอำนาจรัฐ 2 อำนาจคือ อำนาจฝ่ายบริหาร และอำนาจนิติบัญญัติมิให้อำนาจใดมีอำนาจเหนืออีกอำนาจหนึ่ง และประการสำคัญคือ การตรวจสอบการใช้อำนาจของนักการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง หรือพรรคพวก หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ
แต่วันนี้ปัญญาชนคนไทยส่วนมากก็ต้องสลดใจที่บรรดานักการเมืองพรรคพลังประชาชนแสดงความชัดเจนว่า “อำนาจเหนือความชอบธรรมจากกรุงลอนดอน” อันเป็นคำสั่งของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เจ้าของพรรคการเมืองนี้บงการชัดเจนที่จะให้นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปอีกแม้ว่าต้องคำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญให้พ้นตำแหน่งไปแล้ว ทำให้บรรดา ส.ส.และแกนนำทั้งที่ถูกใบแดงก็ดี สอบตกก็ดี และพวกที่ถูกห้ามมิให้ยุ่งกับการเมืองก็ดี ต่างแห่กันลงมติให้ทุกคนในสภาผู้แทนราษฎรต้องสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช กลับไปเป็นนายกรัฐมนตรีอีก จึงดูเป็นการเป็นการท้าทายความรู้สึกของคนไทยต่อมาตรฐานคุณธรรมของนายสมัครเองว่าสูงต่ำแค่ไหนและท้าทายข้อวินิจฉัย และการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่ชี้ว่านายสมัครขาดคุณสมบัติเป็นหัวหน้ารัฐบาลแล้ว
ขณะที่พรรคร่วมรัฐบาลอีก 5 พรรคมิได้แสดงมาตรฐานความชอบธรรมตามธรรมเนียม และประเพณีที่ดีของระบอบการเมืองที่ต้องดำรงคุณธรรมไว้เป็นบรรทัดฐานแต่เข้าใจว่าเขาเหล่านั้นต้องการปรับมาตรฐานให้ต่ำไว้เพื่อตัวเองหากต้องคดีการเมืองจะได้ไม่ต้องรักษามารยาทลาออกตรงข้ามกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นจึงเกิดคำถามว่ามาตรฐานประชาธิปไตยของไทยอยู่ตรงไหน
เป็นเพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เรียนจบดุษฎีบัณฑิตในสาขาอาชญวิทยาที่หัวใจของศาสตร์นี้คือ จิตวิทยาอาชญากร หรือการอ่านจิตใจ หรือการวิเคราะห์จิตใจอาชญากร และแนวโน้มของอาชญากรว่าจะทำอะไรอย่างไรต่อไปที่จะดำรงความเป็นอาชญากรได้ต่อเนื่องโดยไม่ถูกจับ หรือสามารถท้าทายกับความสามารถของเจ้าหน้าที่ เช่น กรณีฆาตกรต่อเนื่องที่บางคดีฆาตกรไม่เคยถูกจับได้เลย
ดังนั้นพฤติกรรมและประสบการณ์ทางการเมืองของนายสมัคร สุนทรเวช เข้าแนวทางวิจัยของพ.ต.ท.ทักษิณ เพราะพฤติกรรมของนายสมัครนั้น มีความใฝ่สูง สูงกว่ามนุษย์ใดๆ จนแยกแยะความชอบธรรมไม่ได้ และมักจะทำทุกวิถีทางที่จะเอาชนะ เช่น กรณีที่ไม่สามารถเป็นใหญ่ในพรรคประชาธิปัตย์ได้ ก็แยกตัวออกมาต่อสู้กับพรรคประชาธิปัตย์แบบอาฆาตเคียดแค้นกันเลยหรือกรณีที่จะเอาชนะ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ในเขตเลือกตั้งดุสิตที่เป็นเขตทหารก็เอาใจเยินยอทหาร และเอาใจพวกฝ่ายขวาจัดในขณะนั้นจึงประสบชัยชนะเลือกตั้ง ใน พ.ศ. 2519
นอกจากนี้ นายสมัครจะไม่สนใจผลเสียที่เกิดขึ้นตามมา เช่น กรณี 6 ตุลาคม 2519 ปลุกระดมพวกนักเรียนช่างกลบางกลุ่มที่หมั่นไส้นิสิตนักศึกษาอยู่แล้ว เพราะมีปมด้อยเรื่องระดับการศึกษาและไม่มีโอกาสเรียนในมหาวิทยาลัยจนสามารถตั้งเป็นขบวนการต่อต้านนักศึกษาจนเกิดปะทะกัน และมีนิสิตคณะวิศวกรรมจุฬาฯ ผู้บริสุทธิ์ถูกฆ่าตายอย่างทารุณต่อหน้าฝูงชน และนายสมัครกล่าวอ้างเกินสถานการณ์จริง จนเจ้าหน้าที่ตำรวจระดมยิงนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพราะถูกชวนเชื่อว่าเป็นฐานปฏิบัติการของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เป็นผลให้มีนิสิตนักศึกษาจำนวนหนึ่งเสียชีวิตและบาดเจ็บจนต้องหนีการจับกุม และการปราบปรามอย่างรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐเข้าป่าเป็นผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์จริงๆ สร้างรอยแผลในครอบครัวคนไทยมาแล้ว ซึ่งขณะนี้บางคนที่ออกป่าก็ร่วมอยู่ในพรรคพลังประชาชนด้วย
ประการสุดท้าย หากนายสมัคร สุนทรเวช ไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี อำนาจการเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชนก็จะอ่อนลงทันที และจะเกิดการแข่งกันเองจนพรรคแตก ประกอบกับความอาวุโสทั้งวัย และประสบการณ์การเมืองของนายสมัครที่เสมอด้วยนักการเมือง พรรคร่วมรัฐบาล เช่น นายบรรหาร ศิลปอาชา พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ และนายเสนาะ เทียนทอง ทำให้การเจรจาต่อรองทางการเมืองทัดเทียมกัน
และเหตุผลเหล่านี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ยังต้องให้นายสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกหลังคำพิพากษา แต่หัวใจของความปรารถนาของพ.ต.ท.ทักษิณ คือ ความดื้อ ความด้าน และชั้นเชิงของนายสมัคร เป็นอาวุธสำคัญของยุทธศาสตร์การเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในการที่จะสร้างเงื่อนไขมิให้การเมืองไทยสงบสุขเพื่อพหุประโยชน์ส่วนตัว ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
โดยเฉพาะถ้าหากเกิดการรัฐประหารขึ้นหรือประเทศไทยอยู่ในภาวะฉุกเฉิน รัฐบาลอังกฤษย่อมมองว่าเรื่องของพ.ต.ท.ทักษิณเป็นเรื่องการเมืองมากกว่าการเป็นคนโกงปกติธรรมดา และยุทธศาสตร์ใหญ่คือความคาดหวังที่ให้มีการแตกแยกในประเทศไทย เพราะจะทำให้อำนาจการต่อรองของ พ.ต.ท.ทักษิณจะมีพลังมากขึ้นเพื่อกลยุทธ์ขู่กรรโชกประเทศชาติว่า “หากไม่เอาเรื่องเขาและครอบครัว เขาก็จะยุติป่วนชาติทุกมิติ”
ถึงแม้ว่าประชาภิวัฒน์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทยไปแล้วก็ตาม แต่ พ.ต.ท.ทักษิณก็สามารถที่ใช้ประชาชนออกมาต่อต้านกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้เช่นกัน เพราะว่ากลุ่มชนบางส่วนในภาคเหนือ และภาคอีสานกลายเป็นผู้หลงใหลไร้สติความคิดไปแล้ว
ดังเห็นได้จากหน้าหนังสือพิมพ์บางฉบับในวันที่ 11 มีคนใส่เสื้อแดงหมิ่นศาลรัฐธรรมนูญอันเป็นแผนเพื่อแสดงให้ชาวโลกเห็นว่า ระบบศาลไทยไม่ศักดิ์สิทธิ์ และขาดความยุติธรรมตามที่ พ.ต.ท.ทักษิณแถลงให้โลกฟังในวันที่หนีออกจากประเทศไทย โดยใช้สำนวนว่า “ลูกไม้พิษเกิดจากต้นไม้พิษ” แต่ความจริงแล้ว แม้กระทั่งลมหายใจของ พ.ต.ท.ทักษิณก็เป็นพิษ จึงต้องจับตาการเดินหมากตามแนวยุทธศาสตร์เกลือจิ้มเกลือของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อย่าได้คลาดสายตา เพราะความคิดของพลพรรคบางกลุ่มของเขาไร้ความเป็นเวไนยสัตว์ไปแล้ว