ผมได้มีโอกาสร่วมอภิปรายในหัวข้อความเป็นอิสระของธนาคารแห่งประเทศไทยกับนักวิชาการหลายท่าน ซึ่งผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ จึงนำเอาความคิดเห็นของผมมาถ่ายทอดให้คุณผู้อ่านได้ฟัง ซึ่งอาจจะต้องแบ่งเป็น 3 ตอนนะครับ
ประเด็นคำถามที่ว่ามีความจำเป็นหรือไม่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องเป็นอิสระ เป็นประเด็นที่ได้รับการถกเถียงมาเป็นเวลานานและกว้างขวาง และในทางวิชาการก็ยังมีการเสนอแนวคิดแง่มุมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เหตุผลซึ่งมีทั้งสนับสนุน และขัดแย้งกับการให้อิสระเต็มที่กับธนาคารกลาง ซึ่งปัจจุบันยังหาข้อยุติที่เป็นเอกฉันท์ไม่ได้
ประเด็นที่ถกเถียงกันมาก ได้แก่ ระดับความเป็นอิสระของธนาคารกลางควรมีมากเพียงใด ความเป็นอิสระจำเป็นต้องแตกต่างกันหรือไม่อย่างไรในประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา ความเป็นอิสระจำเป็นต้องมีเงื่อนไขหรือไม่อย่างไร แบงก์ชาติควรเป็นอิสระทางทฤษฎี แต่ควรต้องประนีประนอมกับความเป็นอิสระในทางปฏิบัติ ที่ต้องยอมรับสภาพแวดล้อม โลกแห่งความเป็นจริงและเงื่อนไขทางการเมืองได้อย่างไร ความเป็นอิสระควรมาพร้อมกับความรับผิดชอบทั้งต่อการกระทำของตนเอง ต่อสังคมและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนหรือไม่อย่างไร
เหตุผลสนับสนุนและไม่สนับสนุนความเป็นอิสระของแบงก์ชาติมีดังนี้
เหตุผลสนับสนุน
นักการเมืองมีแนวโน้มที่จะทำให้เศรษฐกิจร้อนแรงและหวังผลระยะสั้น โดยอาจไม่คำนึงถึงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจระยะยาว เพราะต้องการสร้างผลงานเพื่อผลการเลือกตั้ง
ลักษณะของนโยบายการเงินที่มีความล่าช้า (Lag) ในการดำเนินนโยบายยาวนาน ทำให้ต้องใช้การคาดการณ์ที่แม่นยำในอนาคต และ Take action now แล้วรอคอยผลลัพธ์อย่างอดทน
แบงก์ชาติ จะรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้ดีกว่าหากกำหนดและดำเนินนโยบายการเงินโดยลำพัง เนื่องจากนโยบายการเงินมีความซับซ้อน จึงควรให้เป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญ
เหตุผลคัดค้าน
แบงก์ชาติมักไม่คำนึงถึงเป้าหมายของคนอื่น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมายของรัฐบาล)
แบงก์ชาติพะวง แต่เรื่องที่ตัวเองตั้งเป้าหมายไว้คือ เงินเฟ้อและเสถียรภาพระบบการเงิน แบงก์ชาติมีภาพพจน์ที่ไม่ค่อยคำนึงถึงปัญหาปากท้องของประชาชน หรืออาจคำนึง แต่ให้น้ำหนักความสำคัญน้อยกว่าเป้าหมายของตน
ความเป็นอิสระของแบงก์ชาติมากับอำนาจที่ให้มากเกินไป ที่ให้กับคนที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง หรือองค์กรที่ไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชน
ดังนั้นความเป็นอิสระของแบงก์ชาติจะแยกขาดกับการเมืองหรือรัฐบาลที่ต้องรับผิดชอบกับประชาชนอย่างเด็ดขาดเสียทีเดียวไม่ได้
ประเด็นคำถามที่ว่ามีความจำเป็นหรือไม่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องเป็นอิสระ เป็นประเด็นที่ได้รับการถกเถียงมาเป็นเวลานานและกว้างขวาง และในทางวิชาการก็ยังมีการเสนอแนวคิดแง่มุมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เหตุผลซึ่งมีทั้งสนับสนุน และขัดแย้งกับการให้อิสระเต็มที่กับธนาคารกลาง ซึ่งปัจจุบันยังหาข้อยุติที่เป็นเอกฉันท์ไม่ได้
ประเด็นที่ถกเถียงกันมาก ได้แก่ ระดับความเป็นอิสระของธนาคารกลางควรมีมากเพียงใด ความเป็นอิสระจำเป็นต้องแตกต่างกันหรือไม่อย่างไรในประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา ความเป็นอิสระจำเป็นต้องมีเงื่อนไขหรือไม่อย่างไร แบงก์ชาติควรเป็นอิสระทางทฤษฎี แต่ควรต้องประนีประนอมกับความเป็นอิสระในทางปฏิบัติ ที่ต้องยอมรับสภาพแวดล้อม โลกแห่งความเป็นจริงและเงื่อนไขทางการเมืองได้อย่างไร ความเป็นอิสระควรมาพร้อมกับความรับผิดชอบทั้งต่อการกระทำของตนเอง ต่อสังคมและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนหรือไม่อย่างไร
เหตุผลสนับสนุนและไม่สนับสนุนความเป็นอิสระของแบงก์ชาติมีดังนี้
เหตุผลสนับสนุน
นักการเมืองมีแนวโน้มที่จะทำให้เศรษฐกิจร้อนแรงและหวังผลระยะสั้น โดยอาจไม่คำนึงถึงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจระยะยาว เพราะต้องการสร้างผลงานเพื่อผลการเลือกตั้ง
ลักษณะของนโยบายการเงินที่มีความล่าช้า (Lag) ในการดำเนินนโยบายยาวนาน ทำให้ต้องใช้การคาดการณ์ที่แม่นยำในอนาคต และ Take action now แล้วรอคอยผลลัพธ์อย่างอดทน
แบงก์ชาติ จะรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้ดีกว่าหากกำหนดและดำเนินนโยบายการเงินโดยลำพัง เนื่องจากนโยบายการเงินมีความซับซ้อน จึงควรให้เป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญ
เหตุผลคัดค้าน
แบงก์ชาติมักไม่คำนึงถึงเป้าหมายของคนอื่น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมายของรัฐบาล)
แบงก์ชาติพะวง แต่เรื่องที่ตัวเองตั้งเป้าหมายไว้คือ เงินเฟ้อและเสถียรภาพระบบการเงิน แบงก์ชาติมีภาพพจน์ที่ไม่ค่อยคำนึงถึงปัญหาปากท้องของประชาชน หรืออาจคำนึง แต่ให้น้ำหนักความสำคัญน้อยกว่าเป้าหมายของตน
ความเป็นอิสระของแบงก์ชาติมากับอำนาจที่ให้มากเกินไป ที่ให้กับคนที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง หรือองค์กรที่ไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชน
ดังนั้นความเป็นอิสระของแบงก์ชาติจะแยกขาดกับการเมืองหรือรัฐบาลที่ต้องรับผิดชอบกับประชาชนอย่างเด็ดขาดเสียทีเดียวไม่ได้