เอเอฟพี – อินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศที่มีผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดนกเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งของผู้เสียชีวิตด้วยไวรัสนี้ทั่วโลก ปฏิเสธที่จะส่งตัวอย่างไวรัสให้องค์การอนามัยโลกเพื่อการศึกษาวิจัยร่วมกัน ด้วยเหตุผลเกรงว่าพวกบริษัทยาจะนำไปใช้ผลิตวัคซีนที่มีราคาแพงลิ่วจนประเทศยากจนซื้อไม่ไหว ล่าสุดรัฐมนตรีสาธารณสุขออกโรงประณามกร้าวว่ามี “การสมรู้ร่วมคิดระดับโลก” ในเรื่องนี้
รัฐมนตรีสาธารณสุขอินโดนีเซีย สีตี ฟาดีละห์ สุปารี วิจารณ์ระบบสาธารณสุขโลกแบบ “ลัทธิอาณานิคมยุคใหม่ที่ไร้ความเป็นธรรม” โดยเขียนไว้ในหนังสือของเธอที่ชื่อ It's Time for the World to Change: Divine Hands Behind Avian Influenza (ถึงเวลาแล้วที่โลกต้องเปลี่ยนแปลง: พระหัตถ์ของพระเจ้าที่อยู่เบื้องหลังไข้หวัดนก)กล่าวถึงความเป็นไปได้ที่ก่อนหน้านี้สหรัฐฯ จะใช้ตัวอย่างไวรัสไข้หวัดนกที่ได้รับผ่านทางองค์การอนามัยโลก เพื่อพัฒนาอาวุธชีวภาพ
เธอกล่าวในระหว่างการเสวนาหนังสือเล่มนี้ของเธอเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ประเทศร่ำรวยนั้นกำลังสร้าง “ไวรัสตัวใหม่” และส่งไปยังประเทศกำลังพัฒนาเพื่อสร้างตลาดให้กับบริษ้ทยาเพื่อจำหน่ายวัคซีนเหล่านั้น
“พออินโดนีเซียส่งตัวอย่างไวรัสไปให้องค์การอนามัยโลก มันก็จะตกไปอยู่กับรัฐบาลสหรัฐฯ ทันที แล้วรัฐบาลสหรัฐฯ ก็เอาไวรัสไปหาเงิน โดยที่เราไม่รู้เลยว่าเขาทำวิจัยเรื่องอะไร” สุปารีกล่าว
“จากนั้นเขาก็เอาไวรัสไปผลิตเป็นวัคซีน แล้วอินโดนีเซียก็ต้องซื้อ ถ้าไม่ซื้อ ไวรัสก็จะเปลี่ยนไปอีกเรื่อยๆ ในที่สุด ประเทศพัฒนาแล้วก็จะสร้างไวรัสตัวใหม่แล้วส่งมายังประเทศกำลังพัฒนา” เธอกล่าวอีกว่า “การสมรู้ร่วมคิดกันในหมู่ประเทศมหาอำนาจและองค์การระหว่างประเทศไม่ได้เป็นแค่ทฤษฎี ไม่ใช่เรื่องสำนวนโวหาร แต่มันเป็นเรื่องที่ดิฉันได้ประสบพบเห็นมาด้วยตัวเอง”
อย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์ด้านไข้หวัดนกชาวต่างชาติที่อยู่ในอินโดนีเซียแสดงความวิตกว่า ในขณะที่สุปารีมัวมุ่งหาวิธีจัดระเบียบโลกใหม่ ก็จะเสียเวลาในการศึกษาทำความเข้าใจไวรัสที่อาจคร่าชีวิตผู้คนเรือนล้านได้หากเกิดการกลายพันธุ์ไปเป็นไวรัสชนิดที่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้
อินโดนีเซียประกาศเมื่อเดือนสิงหาคมว่า มีผู้เสียชีวิตจากไวรัสไข้หวัดนก 112 ราย จากจำนวนผู้เสียชีวิตมากกว่า 240 รายทั่วโลกนับตั้งแต่ปลายปี 2003 โดยมีตัวอย่างไวรัสและเซลพันธุกรรมเพียงบางส่วนที่ส่งไปแบ่งให้องค์การอนามัยโลกและพวกนักวิจัยใช้ศึกษาร่วมกัน
นอกจากนั้น ก่อนหน้านี้กระทรวงสาธารณสุขยังได้หยุดประกาศจำนวนผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดนกต่อสาธารณชน โดยมีเพียงการให้ข้อมูลดังกล่าวหลังจากที่มีผู้เสียชีวิตลงเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือนๆ
“ผมค่อนข้างสงสัยว่าสิ่งที่เธอกำลังทำอยู่นั้นเป็นเรื่องการเมืองเสียมากกว่า และไม่ใช่ทำเพื่อระบบสาธารณสุขโลกอย่างแท้จริง” งูราห์ มหาระติกา ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสจากมหาวิทยาลัยอุทยานะในเกาะบาหลีกล่าว
“นี่จะเป็นการลดทอนความแข็งแกร่ง และพลังในการเตรียมพร้อมรับมือของระบบโลก ... (การระงับการส่งตัวอย่างไวรัสหมายความว่า) ตอนนี้ เราไม่มีสัญญาณเตือนเรื่องการระบาดและไม่รู้ว่าไวรัสนี้มีหน้าตาอย่างไร จึงเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดมากขึ้น” มหาระติกากล่าว
แม้สุปารียืนกรานว่าอินโดนีเซียและประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ สามารถทำวิจัยเกี่ยวกับไวรัสดังกล่าวได้ด้วยตนเอง แต่อามิน สุบันตริโอ ประธานกรรมการคณะผู้เชี่ยวชาญด้านไข้หวัดนกแห่งชาติระบุว่า “รัฐมนตรีสาธารณสุขเก็บตัวอย่างไวรัสไว้ในห้องทดลอง และยังไม่ให้นักวิทยาศาสตร์อินโดนีเซียเข้าไปศึกษา”
ทว่า ขณะนักวิทยาศาสตร์และหน่วยงานสาธารณสุขระดับโลกต่างวิตกกับเรื่องนี้ หนังสือของสุปารีกลับได้รับการตีพิมพ์ซ้ำทั้งในฉบับภาษาอินโดนีเซียและภาษาอังกฤษ อีกทั้งยังมีข่าวว่าจะดัดแปลงนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์อีกด้วย นักวิชาการกระแสหลักเองก็สนับสนุนว่าเธอเป็นนักการเมืองที่มีจุดยืนชัดเจน ส่วนประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยุโธโยโน แม้จะวางตัวอยู่ห่างๆ ทว่าก็ไม่มีทีท่าว่าจะปลดเธอออกจากตำแหน่งแต่อย่างใด
รัฐมนตรีสาธารณสุขอินโดนีเซีย สีตี ฟาดีละห์ สุปารี วิจารณ์ระบบสาธารณสุขโลกแบบ “ลัทธิอาณานิคมยุคใหม่ที่ไร้ความเป็นธรรม” โดยเขียนไว้ในหนังสือของเธอที่ชื่อ It's Time for the World to Change: Divine Hands Behind Avian Influenza (ถึงเวลาแล้วที่โลกต้องเปลี่ยนแปลง: พระหัตถ์ของพระเจ้าที่อยู่เบื้องหลังไข้หวัดนก)กล่าวถึงความเป็นไปได้ที่ก่อนหน้านี้สหรัฐฯ จะใช้ตัวอย่างไวรัสไข้หวัดนกที่ได้รับผ่านทางองค์การอนามัยโลก เพื่อพัฒนาอาวุธชีวภาพ
เธอกล่าวในระหว่างการเสวนาหนังสือเล่มนี้ของเธอเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ประเทศร่ำรวยนั้นกำลังสร้าง “ไวรัสตัวใหม่” และส่งไปยังประเทศกำลังพัฒนาเพื่อสร้างตลาดให้กับบริษ้ทยาเพื่อจำหน่ายวัคซีนเหล่านั้น
“พออินโดนีเซียส่งตัวอย่างไวรัสไปให้องค์การอนามัยโลก มันก็จะตกไปอยู่กับรัฐบาลสหรัฐฯ ทันที แล้วรัฐบาลสหรัฐฯ ก็เอาไวรัสไปหาเงิน โดยที่เราไม่รู้เลยว่าเขาทำวิจัยเรื่องอะไร” สุปารีกล่าว
“จากนั้นเขาก็เอาไวรัสไปผลิตเป็นวัคซีน แล้วอินโดนีเซียก็ต้องซื้อ ถ้าไม่ซื้อ ไวรัสก็จะเปลี่ยนไปอีกเรื่อยๆ ในที่สุด ประเทศพัฒนาแล้วก็จะสร้างไวรัสตัวใหม่แล้วส่งมายังประเทศกำลังพัฒนา” เธอกล่าวอีกว่า “การสมรู้ร่วมคิดกันในหมู่ประเทศมหาอำนาจและองค์การระหว่างประเทศไม่ได้เป็นแค่ทฤษฎี ไม่ใช่เรื่องสำนวนโวหาร แต่มันเป็นเรื่องที่ดิฉันได้ประสบพบเห็นมาด้วยตัวเอง”
อย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์ด้านไข้หวัดนกชาวต่างชาติที่อยู่ในอินโดนีเซียแสดงความวิตกว่า ในขณะที่สุปารีมัวมุ่งหาวิธีจัดระเบียบโลกใหม่ ก็จะเสียเวลาในการศึกษาทำความเข้าใจไวรัสที่อาจคร่าชีวิตผู้คนเรือนล้านได้หากเกิดการกลายพันธุ์ไปเป็นไวรัสชนิดที่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้
อินโดนีเซียประกาศเมื่อเดือนสิงหาคมว่า มีผู้เสียชีวิตจากไวรัสไข้หวัดนก 112 ราย จากจำนวนผู้เสียชีวิตมากกว่า 240 รายทั่วโลกนับตั้งแต่ปลายปี 2003 โดยมีตัวอย่างไวรัสและเซลพันธุกรรมเพียงบางส่วนที่ส่งไปแบ่งให้องค์การอนามัยโลกและพวกนักวิจัยใช้ศึกษาร่วมกัน
นอกจากนั้น ก่อนหน้านี้กระทรวงสาธารณสุขยังได้หยุดประกาศจำนวนผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดนกต่อสาธารณชน โดยมีเพียงการให้ข้อมูลดังกล่าวหลังจากที่มีผู้เสียชีวิตลงเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือนๆ
“ผมค่อนข้างสงสัยว่าสิ่งที่เธอกำลังทำอยู่นั้นเป็นเรื่องการเมืองเสียมากกว่า และไม่ใช่ทำเพื่อระบบสาธารณสุขโลกอย่างแท้จริง” งูราห์ มหาระติกา ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสจากมหาวิทยาลัยอุทยานะในเกาะบาหลีกล่าว
“นี่จะเป็นการลดทอนความแข็งแกร่ง และพลังในการเตรียมพร้อมรับมือของระบบโลก ... (การระงับการส่งตัวอย่างไวรัสหมายความว่า) ตอนนี้ เราไม่มีสัญญาณเตือนเรื่องการระบาดและไม่รู้ว่าไวรัสนี้มีหน้าตาอย่างไร จึงเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดมากขึ้น” มหาระติกากล่าว
แม้สุปารียืนกรานว่าอินโดนีเซียและประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ สามารถทำวิจัยเกี่ยวกับไวรัสดังกล่าวได้ด้วยตนเอง แต่อามิน สุบันตริโอ ประธานกรรมการคณะผู้เชี่ยวชาญด้านไข้หวัดนกแห่งชาติระบุว่า “รัฐมนตรีสาธารณสุขเก็บตัวอย่างไวรัสไว้ในห้องทดลอง และยังไม่ให้นักวิทยาศาสตร์อินโดนีเซียเข้าไปศึกษา”
ทว่า ขณะนักวิทยาศาสตร์และหน่วยงานสาธารณสุขระดับโลกต่างวิตกกับเรื่องนี้ หนังสือของสุปารีกลับได้รับการตีพิมพ์ซ้ำทั้งในฉบับภาษาอินโดนีเซียและภาษาอังกฤษ อีกทั้งยังมีข่าวว่าจะดัดแปลงนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์อีกด้วย นักวิชาการกระแสหลักเองก็สนับสนุนว่าเธอเป็นนักการเมืองที่มีจุดยืนชัดเจน ส่วนประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยุโธโยโน แม้จะวางตัวอยู่ห่างๆ ทว่าก็ไม่มีทีท่าว่าจะปลดเธอออกจากตำแหน่งแต่อย่างใด