พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รอง ผบ.ตร. รักษาการ ผบช.น. กล่าวถึงกรณีคนร้ายยิงใส่กลุ่มนักศึกษา ม.รามคำแหง เป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บ 2 คน ที่แฟลตคลองจั่น 11 ขณะเดินทางไปประท้วงและขับไล่ ให้นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ลาออก ที่หมู่บ้านโอฬาร เมื่อค่ำวันที่ 4 ก.ย.ที่ผ่านมาว่า น่าจะเป็นผู้ไม่พอใจที่มีการเดินขบวน หรืออาจเป็นมือที่ 3 ส่วนรายละเอียดเรื่องปูมหลังของนักศึกษา ว่าเป็นใครมาจากไหนยังไม่ทราบ แต่จะพยายามดูแลเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เรื่องการเมือง เบื้องหลังอย่างไร ก็คงยากที่จะไปดู เวลานี้เดือดร้อนมากมาย การที่ตำรวจจะจับคนสักคนไปดำเนินคดี ไม่ใช่เรื่องง่าย มันวุ่นวายมากขึ้น
ด้าน พล.ต.ต.วิมล เปาอินทร์ ผบก.น.4 ใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง เรียกประชุมนายตำรวจที่เกี่ยวข้อง โดยกล่าวภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมว่า ได้ประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์ และสรุปความคืบหน้า โดยในเบื้องต้นทางฝ่ายสืบสวน สน.ลาดพร้าว ได้ตั้งประเด็นการก่อเหตุไว้ 4 ประเด็น คือประเด็นแรก อาจเป็นเรื่อง ความขัดแย้งกันเองของแกนนำกลุ่มแต่ละกลุ่มภายในมหาวิทยาลัย ประเด็นที่ 2 เกิดความขัดแย้งกันเองภายในขบวน เพราะได้ระดมพลมาจาก ม.รามคำแหง แล้วมีการเดินขบวนจนมาจนถึงแฟลตคลองจั่น จากนั้นก็มีการระดมพลเพิ่มอีก ซึ่งอาจจะเป็นตรงจุดนี้ก็เป็นได้ ที่เกิดความขัดแย้งกันเกิดขึ้นภายในขบวน
ประเด็นที่ 3 อาจจะเป็นไปได้ว่า ชาวบ้านที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงได้รับผลกระทบจากการเดินขบวนของกลุ่มนักศึกษา ทำให้เกิดความเดือดร้อน เพราะขณะที่มีการเดินขบวนไป ก็มีการใช้เครื่องขยายเสียงส่งเสียงดัง จนชาวบ้านใกล้เคียงเกิดความรำคาญ ก่อนก่อเหตุดังกล่าว สำหรับประเด็นสุดท้าย อาจจะเป็นประเด็นทางการเมือง เพื่อสร้างสถานการณ์
**นศ.ยัน 2 คนร้ายยิงใส่ 3 นัด
พล.ต.ต.วิมล กล่าวว่า ขณะนี้ทางพนักงานสอบสวนก็ได้เรียกตัวกลุ่มนักศึกษามาสอบปากคำแล้ว 4 คน โดยทั้งหมดได้ให้การว่า คนร้ายขับรถจักรยานยนต์ แบบผู้หญิง ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน มาด้วยกัน 2 คน แล้วใช้อาวุธปืน .22 ยิงใส่เข้ามาในกลุ่มจำนวน 3 นัด จนมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 คน คือ นายอนุศักดิ์ เศียรอุ่น อายุ 22 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง ถูกยิงเข้าที่ขาขวา 2 นัด และนายอภิชาติ นาคฤทธิ์ อายุ 22 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง ถูกยิงเข้าที่ข้อศอกอีก 1 นัด ซึ่งหลังจากนี้จะได้ให้เจ้าหน้าที่ทำการสอบปากคำพยานในที่เกิดเหตุ และพยานแวดล้อม เพื่อจับกุมคนร้ายรายนี้มาเดินการตามกฎหมายต่อไป
**ตร.ชูพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ขู่จับกลุ่มชุมนุม
วันเดียวกัน ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต.วิบูลย์ บางท่าไม้ รอง ผบช.น.ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานนครบาลประสานงานหน่วยงานทหารกองทัพภาคที่ 1 เรียกประชุมนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ พร้อมพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย และผู้เกี่ยวข้องหารือข้อกฎหมายขอบเขต และการกระทำที่เข้าข่ายความผิดหลังมีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตามที่ได้รับมอบหมายจากทหารที่มอบหมายให้ตำรวจเป็นผู้ดำเนินการ ไปแจ้งความเอาผิดกับผู้ที่กระทำผิดข้อห้ามที่มีอยู่ตามประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อแบ่งแยกการกระทำความผิดชัดเจน ในข้อหาใดบ้าง
มีรายงานว่า ในการประชุมมีการพูดคุยถึงการทำงานระหว่างตำรวจและทหาร ที่ผ่านมานั้น เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ยังไม่พบอุปสรรคปัญหาแต่อย่างใด นอกจากนี้ ในที่ประชุม จะนำข้อสรุปการประชุมหารือเสนอต่อคณะทำงานหน่วยงานทหารรับทราบ เพื่อสั่งการว่า ตำรวจจะต้องดำเนินการในส่วนนี้อย่างไร โดยเฉพาะกรณีนักศึกษารวมตัวกันเดินขบวนไปประท้วงหน้าบ้านนายกฯ แต่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้นก่อน เมื่อกลางดึกที่ผ่านมา
**ส่ง ตร. 7 โรงพักดูแลบ้าน"หมัก"
รายงานข่าวแจ้งอีกว่าหลังเกิดเหตุ พล.ต.ต.สุชาติ เหมือนแก้ว รอง ผบช.น.ในฐานะผู้บัญชาการเหตุการณ์ดูแลความสงบเรียบร้อยรักษาความปลอดภัยพื้นที่ กทม. ได้สั่งการไปยัง พล.ต.ต.วิมล เปาอินทร์ ผบก.น.4 ให้จัดกำลังตำรวจสังกัด บก.น.4 หมุนเวียนกันไปดูแลความปลอดภัยบ้านพักนายกรัฐมนตรี ภายในหมู่บ้านโอฬาร ซอยนวมินทร์ 81 ประกอบด้วย ตำรวจจาก สน.ลาดพร้าว สน.บึงกุ่ม สน.อุดมสุข สน.ประเวศ สน.วังทองหลาง สน.บางชัน สน.โชคชัย ผลัดเปลี่ยนกำลังกันดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป พร้อมตรึงกำลัง ตั้งด่านตรวจความเรียบร้อยบริเวณเส้นทางโดยรอบ รวมถึงแยกต่างๆ ด้วย
**นิสิต-นักศึกษาแสดงพลังบุก สตช.
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) กลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา จากหลายสถาบันในนาม โรงเรียนสาธิตมัฆวานฯ แห่งมหาวิทยาลัยราชดำเนิน และเครือข่าย กว่า 300 คน เดินทางมารวมตัวด้านหน้า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งการเคลื่อนขบวนในครั้งนี้ มีนักเรียนนักศึกษาจากสถาบันต่างๆ เช่น สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทเวศร์ ร.ร.เตรียมอุดมศึกษา ม.รังสิต ม.ธรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ม.กรุงเทพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฯลฯ โดยทั้งหมดเคลื่อนขบวนมาจากห้างสรรพสินค้า สยามพารากอน มีการใช้รถเคลื่อนที่มีแกนนำขึ้นกล่าวปราศรัย โดยมีนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทเวศร์ เป็นการ์ด ดูแลความปลอดภัย ทั้งหมดมาในชุดนักศึกษา มีผ้าพันคอ ผ้าโพกหัวสีเหลือง เขียนอักษรกู้ชาติ มีธง ป้ายผ้าเขียนข้อความโจมตีการทำงานของตำรวจ
**ตั้ง 10 คำถามจี้ใจดำตำรวจ
จากนั้นได้มีแกนนำขึ้นอ่านแถลงการณ์ ฉบับที่ 5/2551 เรื่อง คำถามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในฐานะผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ต้องตอบประชาชน โดยตั้งข้อสงสัยอันเกี่ยวเนื่องกับการทำหน้าที่ของตำรวจ 10 ข้อดังต่อไปนี้
1. กรณีนักศึกษา ม.รามคำแหง ถูกดักยิงขณะเดินทางไปบ้านพักนายกรัฐมนตรี จะใช้เวลาเท่าใดในการสืบสวนสอบสวน หาคนผิดมาดำเนินคดี
2. เหตุใดขณะที่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในหลายจังหวัด ทั้งที่ อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ทั้งกรณีกลุ่มคนรักอุดร รุมทำร้ายพันธมิตรฯ และกรณี นปช.บุกเข้ามาทำร้ายประชาชนที่สะพานมัฆวานฯ ทำไมเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงทำได้เพียงยืนมองอย่างแน่นิ่ง ราวไร้วิญญาณ เหตุใดตำรวจจึงไม่รีบเร่งดำเนินคดีกับมวลชนที่บ้าคลั่ง ทำร้ายทำลายประชาชน
3. ผู้รับผิดชอบในเหตุการณ์ตำรวจทำหน้าที่เกินขอบเขต ทำร้ายประชาชน และขโมยทรัพย์สินของประชาชน บริเวณสะพานมัฆวานฯ คือใคร จะมีการดำเนินการลงโทษตำรวจทำหน้าที่เกินขอบเขตหรือไม่
4. เหตุการณ์วางระเบิดก่อกวนการชุมนุมบริเวณสะพานมัฆวานฯ และย้อนไปถึงเหตุระเบิดในกรุงเทพฯ เมื่อช่วงปีใหม่ปี 50 มีเบาะแสบ้างหรือยัง
5. ทำไมจึงปล่อยให้กลุ่มที่ก่อความรุนแรงที่หน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ เมื่อวันที่ 22 ก.ค.50 ลอยนวลออกมาก่อความรุนแรงครั้งแล้ว ครั้งเล่า
6. เหตุใดคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของนายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จึงมีความล่าช้าผิดสังเกต
7. ทนายสมชาย นีละไพจิตร หายไปไหน
8. ตำรวจจะทำอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงอย่างเช่น เหตุการณ์เดือน ตุลาคม 2516 และ 2519 เกิดขึ้นอีก
9. ระหว่างรัฐบาลที่มีพฤติกรรมนิยมความรุนแรง กับประชาชนผู้บริสุทธิ์ ท่านจะเลือกปกป้องสวัสดิภาพ และรักษาผลประโยชน์ของฝ่ายใด
10. เกียรติตำรวจของไทย ปัจจุบันอยู่ที่ไหน และท่านตระหนักในหน้าที่ ดังเพลงมาร์ชพิทักษ์สันติราษฎร์ ได้กล่าวไว้มากน้อยเพียงใด
จากนั้น บรรดานิสิตนักศึกษาได้เดินทางไปยังหน้าห้างสยามพารากอน ซึ่งเป็นไปอย่างคึกคัก และเป็นที่ได้รับความสนใจจาก นิสิต นักศึกษา รวมไปถึงประชาชนในบริเวณนั้น ขณะเดียวกันก็ได้มีล่ารายชื่อเพื่อกดดันให้กระทรวงศึกษาธิการ ออกกฎลงโทษผู้บริหารสถาบันการศึกษาที่ปิดกั้นการแสดงออกทางการเมืองของเยาวชน โรงเรียนสาธิตมัฆวานฯ และเครือข่ายด้วย
**"บุญลือ"เตือนระวังผิดกม.ฉุกเฉิน
นายบุญลือ ประเสริฐโสภา รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ขณะนี้ได้ให้ทางมหาวิทยาลัยตรวจสอบว่า นักศึกษาที่ถูกยิงอยู่คณะอะไร และขอให้มหาวิทยาลัย ช่วยควบคุมดูแลด้วย อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เป็นสิทธิส่วนตัวที่นักศึกษาจะแสดงความคิดเห็น แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงภาพรวมด้วยว่า ความพอดีอยู่ตรงไหน และที่สำคัญนักศึกษาต้องคำนึงถึง พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่รัฐบาลได้ประกาศออกมา โดยมีผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เป็นผู้อำนวยการควบคุมความสงบในเขตพื้นที่ กทม. ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายสูงสุด จึงอยากฝากถึงนิสิต นักศึกษา ที่ออกมาเคลื่อนไหวด้วยความเป็นห่วง ว่าขอให้ใช้วิจารณญาณในการออกมาเคลื่อนไหว แม้ว่าการออกมาถือว่าเป็นสิทธิส่วนบุคคล แต่ขอให้คำนึงถึง พ.ร.ก.ดังกล่าว ที่มีผลบังคับใช้ไปแล้วด้วย
**อธิการฯมธ.ไม่ปิดกั้นนศ.เคลื่อนไหว
นายสุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของนักศึกษาที่ออกมาแสดงความเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกันว่า เป็นสิทธิของนักศึกษาซึ่งเป็นผู้ใหญ่ และมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งที่จะแสดงความคิดเห็นทางการเมืองโดยสนับสนุน หรือเห็นพ้องกับกลุ่มการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยทุกแห่งควรให้การสนับสนุนความคิด การแสดงออก รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ ของนิสิตนักศึกษา แต่ก็ต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย โดยไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น ส่วนกรอบนั้นจะเป็นอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับวิจารญาณของนักศึกษาแต่ละคน และการแสดงความเห็นของนักศึกษาถือเป็นปัจเจก เหมือนการแสดงความเห็นของอาจารย์มหาวิทยาลัย ซึ่งไม่ใช่ความเห็นของสถาบันการศึกษา
ผู้สื่อข่าวถามว่า ความเห็นที่แตกต่างกันของนิสิตนักศึกษาแต่ละกลุ่ม จะนำไปสู่ความรุนแรง หรือขัดแย้งกันในสถาบันการศึกษาหรือไม่ นายสุรพล กล่าวว่า เรื่องนี้อธิการบดีมหาวิทยาลัยทุกแห่งดูแลอยู่ และเท่าที่เห็นก็ไม่มีปัญหาอะไร สำหรับ มธ.เปิดพื้นที่ให้ทุกขั้วการเมืองมาแสดงความเห็น และก็มีนักศึกษาที่เห็นด้วยไปร่วมกิจกรรม ก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ส่วนภายนอกมหาวิทยาลัย ไม่สามารถตอบได้
นายสุรพล กล่าวถึงกรณีที่เกิดความรุนแรงขึ้นกับนักศึกษา ม.รามฯ ว่า เมื่อนักศึกษาออกนอกสถาบันการศึกษา ก็ถือเป็นสมาชิกคนหนึ่งในสังคม เมื่อเกิดเรื่องขึ้น ก็เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะต้องดูแล
**อธิการรามฯ เตือนอย่าทำเลยเถิด
นายคิม ไชยแสนสุข อธิการบดี ม.รามคำแหง กล่าวว่า ได้ส่งเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยเข้าไปดูแลแล้ว ซึ่งตนเห็นว่าการแสดงออกทางการเมืองของนักศึกษาราม เป็นสิทธิส่วนบุคคล ทางมหาวิทยาลัยไม่ห้ามปราม แต่การเคลื่อนไหวต่างๆนั้น ได้เตือนตลอดเวลาว่า สามารถเคลื่อนไหวได้ แต่ห้ามใช้ความรุนแรงเด็ดขาด ขอให้รักษาภาพลักษณ์ของปัญญาชนไว้ ไม่ควรทำอะไรเลยเถิด
ทั้งนี้ไม่ว่านักศึกษารามจะขึ้นเวทีพันธมิตรฯ หรือเวที นปช. ก็ได้ทั้งนั้น เพราะนักศึกษาจะต้องฝึกฝนให้มีความคิดทางการเมือง ไม่เช่นนั้น ความคิด และสมองจะทื่อไปหมด ส่วนกรณีการเดินทางไปบ้านนายกฯ เพื่อเรียกร้องให้ลาออกนั้น เป็นการกระทำของนักศึกษาเอง ก็ไม่ได้มาขออนุญาตมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสิทธิ แต่ต้องไม่ใช้ความรุนแรง
**นิสิต-นศ.ร่วมเวทีพันธมิตรฯคึกคัก
สำหรับการขึ้นเวทีพันธมิตรฯ ที่ทำเนียบรัฐบาลของบรรดานิสิต นักศึกษานั้น วานนี้ (5 ก.ย.) มีนิสิตนักศึกษาจากหลายสถาบัน เดินทางมาประกาศจุดยืนเพื่อให้นายสมัคร สุนทรเวช ลาออกเป็นจำนวนมาก ได้แก่ กลุ่มนักศึกษาคณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี ปี 1 จาก ม.ธรรมศาสตร์ คณะครุศาสตร์วิศวกรรม ทร. พระนคร วิทยาเขตเทเวศร์ นักศึกษาจาก มรภ.เพชรบุรี เป็นต้น
ด้าน ศ.นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงค์ อาจารย์จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า อาจารย์ นักศึกษา และบุคลากร จากทุกคณะทุกหน่วยงาน ของจุฬาฯ ได้รวมตัวกันในนาม กลุ่ม “จามจุรีรักชาติ” เพื่อร่วมผนึกกำลังต่อต้านรัฐบาลทรราช และต่อต้านการใช้ความรุนแรงกับประชาชน โดยทางกลุ่มได้นัดรวมพลังกันที่บริเวณลานหน้าวัดเบญจมบพิตร เวลา 15.00 น.วันที่ 6 ก.ย.นี้ หลังจากนั้น จะเริ่มตั้งขบวนในเวลา 15.45 น. และเคลื่อนขบวนมายังทำเนียบรัฐบาล ในเวลา 16.00 น. จึงขอเชิญชวนให้ชาวจุฬาฯ ทั้งศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบัน สวมเสื้อสีชมพูไปรวมตัวกันในเวลาดังกล่าว โดยพร้อมเพรียงกัน
**นิสิตม.นเรศวรร่วมเวทีพันธมิตร
นายจักร์ พันธุ์ชูเพชร อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร (มน.) กล่าวว่า แนวคิดการจัดทำประชามติของรัฐบาล 2 พันล้านบาท เป็นการซื้อเวลาของรัฐบาล เพราะนายกรัฐมนตรี ต้องการยื้อเวลาในผ่านพ้นเดือนตุลาคม หวังให้เงินงบประมาณปี 52 ผ่าน เพื่อรับโครงการเมกะโปรเจกต์ ทั้งหลาย ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นก็จะเข้าสู่ขบวนการคอร์รัปชันอีกหลายโครงการ จึงไม่สมควรที่ให้งบปี 52 บริหารโดยรัฐบาลสมัคร เพราะไม่มีความชอบธรรมเหลืออยู่แล้ว
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า นิสิตภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร ได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 4 ก.ย. ประมาณ 1 รถตู้ เพื่อขึ้นเวทีกับพันธมิตรฯ ที่ทำเนียบฯ
**ภาคีนศ.โคราชประณามยิงนศ.ราม
ที่อาคารโปรแกรมวิชาศิลปะ มรภ.นครราชสีมา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ภาคีนักศึกษา มรภ.นครราชสีมา จำนวน 20 คน นำโดย นายนพรัตน์ วงวัฒนะ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะรัฐประศาสนศาสตร์ และนายสำรวม พัดเกาะ นักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ร่วมกับกลุ่มคณาจารย์โปรแกรมวิชาทัศนศิลป์ , เทคโนโลยีการจัดการ และรัฐประศาสนศาสตร์ นำโดย ผศ.ดร.สามารถ จับโจร ประธานโปรแกรมวิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรม และนายนิติธร ปักษา อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ร่วมกันแถลงการณ์ประณาม คณะรัฐบาล ภายใต้การนำของนายสมัคร สุนทรเวช ที่ไร้ประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยให้กับนักศึกษา และประชาชน ที่ชุมนุมโดยสันติปราศจากอาวุธ ที่บริเวณทำเนียบรัฐบาล สะพานมัฆวานฯ จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก รวมทั้งล่าสุดมีนักศึกษา ม.รามคำแหง ถูกคนร้ายขับขี่จักรยานยนต์ ประกบยิงได้รับบาดเจ็บ 2 คน
ดังนั้น จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดการกระทำชำเรากฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ประชาชนให้การรับรอง จนกว่าผู้กระทำผิดทั้งคดียุบพรรค และคดีผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ และคดีโกงประเทศชาติ จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และภาคีนักศึกษา มรภ.นครราชสีมา ขอให้กำลังใจการชุมนุมของพันธมิตรฯ ที่ทำเนียบรัฐบาล และในต่างจังหวัด รวมทั้งขอเรียกร้องให้นายสมัคร แสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในขณะนี้ อันแสดงถึงความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาของชาติ ด้วยการลาออก และยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความรุนแรงตามมา โดยกลุ่มภาคีนักศึกษา มรภ.นครราชสีมา จะยืนอยู่เคียงข้างและร่วมขับไล่รัฐบาลกับพันธมิตรฯในทุกรูปแบบ ให้ถึงที่สุดจนกว่าจะได้รับชัยชนะ
**"หมัก"อย่าทำหน้าจริงจังขณะโกหก
วันเดียวกันกลุ่มนักศึกษาปริญญาโท คณะวิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่ ประกอบด้วย นายปณิธาน ประมูล และนายอภิรักษ์ บรรพตทอง อายุ 27 ปี ได้ร่วมกันแสดงผลงานศิลปะ ที่มีชื่อผลงานว่า “Don’t make a real face to me!!!” หรือ “อย่าทำหน้าจริงจังขณะพูดโกหก”
ทั้งสองคนได้สวมหน้ากากรูปหน้า นายสมัคร พร้อมดัดเสียงให้คล้าย และนำเอาคำพูดของนายสมัคร ที่เคยกล่าวไว้ในโอกาสต่างๆ มาล้อเลียน รวมทั้งมีการถือกล่องรับความคิดเห็นที่ติดรูปนายสมัคร เดินไปทั่ว ม.เชียงใหม่ เพื่อให้นักศึกษาคณะต่างๆ และประชาชนทั่วไปเขียนแสดงความคิดเห็น ต่อสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นอยู่ในเวลานี้ และนำไปรวบรวมสรุป ซึ่งการแสดงผลงานศิลปะในครั้งนี้ ได้รับความสนใจจากนักศึกษาเป็นอย่างดี
นายปณิธาน กล่าวว่า ผลงานที่มีชื่อว่า "อย่าทำหน้าจริงจังขณะพูดโกหก" ในครั้งนี้ ต้องการที่จะสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรม และท่าทีของนายสมัคร ที่มักจะพูดจาโกหก หรือพูดกลับไปกลับมาตลอดเวลา เพื่อให้นักศึกษาและประชาชนทั่วไป ได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นต่อท่าทีของตัวนายสมัคร ที่เป็นผู้นำของประเทศ ว่าควรจะมีความรับผิดชอบอย่างไร
ด้าน พล.ต.ต.วิมล เปาอินทร์ ผบก.น.4 ใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง เรียกประชุมนายตำรวจที่เกี่ยวข้อง โดยกล่าวภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมว่า ได้ประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์ และสรุปความคืบหน้า โดยในเบื้องต้นทางฝ่ายสืบสวน สน.ลาดพร้าว ได้ตั้งประเด็นการก่อเหตุไว้ 4 ประเด็น คือประเด็นแรก อาจเป็นเรื่อง ความขัดแย้งกันเองของแกนนำกลุ่มแต่ละกลุ่มภายในมหาวิทยาลัย ประเด็นที่ 2 เกิดความขัดแย้งกันเองภายในขบวน เพราะได้ระดมพลมาจาก ม.รามคำแหง แล้วมีการเดินขบวนจนมาจนถึงแฟลตคลองจั่น จากนั้นก็มีการระดมพลเพิ่มอีก ซึ่งอาจจะเป็นตรงจุดนี้ก็เป็นได้ ที่เกิดความขัดแย้งกันเกิดขึ้นภายในขบวน
ประเด็นที่ 3 อาจจะเป็นไปได้ว่า ชาวบ้านที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงได้รับผลกระทบจากการเดินขบวนของกลุ่มนักศึกษา ทำให้เกิดความเดือดร้อน เพราะขณะที่มีการเดินขบวนไป ก็มีการใช้เครื่องขยายเสียงส่งเสียงดัง จนชาวบ้านใกล้เคียงเกิดความรำคาญ ก่อนก่อเหตุดังกล่าว สำหรับประเด็นสุดท้าย อาจจะเป็นประเด็นทางการเมือง เพื่อสร้างสถานการณ์
**นศ.ยัน 2 คนร้ายยิงใส่ 3 นัด
พล.ต.ต.วิมล กล่าวว่า ขณะนี้ทางพนักงานสอบสวนก็ได้เรียกตัวกลุ่มนักศึกษามาสอบปากคำแล้ว 4 คน โดยทั้งหมดได้ให้การว่า คนร้ายขับรถจักรยานยนต์ แบบผู้หญิง ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน มาด้วยกัน 2 คน แล้วใช้อาวุธปืน .22 ยิงใส่เข้ามาในกลุ่มจำนวน 3 นัด จนมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 คน คือ นายอนุศักดิ์ เศียรอุ่น อายุ 22 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง ถูกยิงเข้าที่ขาขวา 2 นัด และนายอภิชาติ นาคฤทธิ์ อายุ 22 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง ถูกยิงเข้าที่ข้อศอกอีก 1 นัด ซึ่งหลังจากนี้จะได้ให้เจ้าหน้าที่ทำการสอบปากคำพยานในที่เกิดเหตุ และพยานแวดล้อม เพื่อจับกุมคนร้ายรายนี้มาเดินการตามกฎหมายต่อไป
**ตร.ชูพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ขู่จับกลุ่มชุมนุม
วันเดียวกัน ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต.วิบูลย์ บางท่าไม้ รอง ผบช.น.ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานนครบาลประสานงานหน่วยงานทหารกองทัพภาคที่ 1 เรียกประชุมนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ พร้อมพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย และผู้เกี่ยวข้องหารือข้อกฎหมายขอบเขต และการกระทำที่เข้าข่ายความผิดหลังมีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตามที่ได้รับมอบหมายจากทหารที่มอบหมายให้ตำรวจเป็นผู้ดำเนินการ ไปแจ้งความเอาผิดกับผู้ที่กระทำผิดข้อห้ามที่มีอยู่ตามประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อแบ่งแยกการกระทำความผิดชัดเจน ในข้อหาใดบ้าง
มีรายงานว่า ในการประชุมมีการพูดคุยถึงการทำงานระหว่างตำรวจและทหาร ที่ผ่านมานั้น เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ยังไม่พบอุปสรรคปัญหาแต่อย่างใด นอกจากนี้ ในที่ประชุม จะนำข้อสรุปการประชุมหารือเสนอต่อคณะทำงานหน่วยงานทหารรับทราบ เพื่อสั่งการว่า ตำรวจจะต้องดำเนินการในส่วนนี้อย่างไร โดยเฉพาะกรณีนักศึกษารวมตัวกันเดินขบวนไปประท้วงหน้าบ้านนายกฯ แต่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้นก่อน เมื่อกลางดึกที่ผ่านมา
**ส่ง ตร. 7 โรงพักดูแลบ้าน"หมัก"
รายงานข่าวแจ้งอีกว่าหลังเกิดเหตุ พล.ต.ต.สุชาติ เหมือนแก้ว รอง ผบช.น.ในฐานะผู้บัญชาการเหตุการณ์ดูแลความสงบเรียบร้อยรักษาความปลอดภัยพื้นที่ กทม. ได้สั่งการไปยัง พล.ต.ต.วิมล เปาอินทร์ ผบก.น.4 ให้จัดกำลังตำรวจสังกัด บก.น.4 หมุนเวียนกันไปดูแลความปลอดภัยบ้านพักนายกรัฐมนตรี ภายในหมู่บ้านโอฬาร ซอยนวมินทร์ 81 ประกอบด้วย ตำรวจจาก สน.ลาดพร้าว สน.บึงกุ่ม สน.อุดมสุข สน.ประเวศ สน.วังทองหลาง สน.บางชัน สน.โชคชัย ผลัดเปลี่ยนกำลังกันดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป พร้อมตรึงกำลัง ตั้งด่านตรวจความเรียบร้อยบริเวณเส้นทางโดยรอบ รวมถึงแยกต่างๆ ด้วย
**นิสิต-นักศึกษาแสดงพลังบุก สตช.
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) กลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา จากหลายสถาบันในนาม โรงเรียนสาธิตมัฆวานฯ แห่งมหาวิทยาลัยราชดำเนิน และเครือข่าย กว่า 300 คน เดินทางมารวมตัวด้านหน้า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งการเคลื่อนขบวนในครั้งนี้ มีนักเรียนนักศึกษาจากสถาบันต่างๆ เช่น สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทเวศร์ ร.ร.เตรียมอุดมศึกษา ม.รังสิต ม.ธรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ม.กรุงเทพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฯลฯ โดยทั้งหมดเคลื่อนขบวนมาจากห้างสรรพสินค้า สยามพารากอน มีการใช้รถเคลื่อนที่มีแกนนำขึ้นกล่าวปราศรัย โดยมีนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทเวศร์ เป็นการ์ด ดูแลความปลอดภัย ทั้งหมดมาในชุดนักศึกษา มีผ้าพันคอ ผ้าโพกหัวสีเหลือง เขียนอักษรกู้ชาติ มีธง ป้ายผ้าเขียนข้อความโจมตีการทำงานของตำรวจ
**ตั้ง 10 คำถามจี้ใจดำตำรวจ
จากนั้นได้มีแกนนำขึ้นอ่านแถลงการณ์ ฉบับที่ 5/2551 เรื่อง คำถามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในฐานะผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ต้องตอบประชาชน โดยตั้งข้อสงสัยอันเกี่ยวเนื่องกับการทำหน้าที่ของตำรวจ 10 ข้อดังต่อไปนี้
1. กรณีนักศึกษา ม.รามคำแหง ถูกดักยิงขณะเดินทางไปบ้านพักนายกรัฐมนตรี จะใช้เวลาเท่าใดในการสืบสวนสอบสวน หาคนผิดมาดำเนินคดี
2. เหตุใดขณะที่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในหลายจังหวัด ทั้งที่ อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ทั้งกรณีกลุ่มคนรักอุดร รุมทำร้ายพันธมิตรฯ และกรณี นปช.บุกเข้ามาทำร้ายประชาชนที่สะพานมัฆวานฯ ทำไมเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงทำได้เพียงยืนมองอย่างแน่นิ่ง ราวไร้วิญญาณ เหตุใดตำรวจจึงไม่รีบเร่งดำเนินคดีกับมวลชนที่บ้าคลั่ง ทำร้ายทำลายประชาชน
3. ผู้รับผิดชอบในเหตุการณ์ตำรวจทำหน้าที่เกินขอบเขต ทำร้ายประชาชน และขโมยทรัพย์สินของประชาชน บริเวณสะพานมัฆวานฯ คือใคร จะมีการดำเนินการลงโทษตำรวจทำหน้าที่เกินขอบเขตหรือไม่
4. เหตุการณ์วางระเบิดก่อกวนการชุมนุมบริเวณสะพานมัฆวานฯ และย้อนไปถึงเหตุระเบิดในกรุงเทพฯ เมื่อช่วงปีใหม่ปี 50 มีเบาะแสบ้างหรือยัง
5. ทำไมจึงปล่อยให้กลุ่มที่ก่อความรุนแรงที่หน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ เมื่อวันที่ 22 ก.ค.50 ลอยนวลออกมาก่อความรุนแรงครั้งแล้ว ครั้งเล่า
6. เหตุใดคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของนายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จึงมีความล่าช้าผิดสังเกต
7. ทนายสมชาย นีละไพจิตร หายไปไหน
8. ตำรวจจะทำอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงอย่างเช่น เหตุการณ์เดือน ตุลาคม 2516 และ 2519 เกิดขึ้นอีก
9. ระหว่างรัฐบาลที่มีพฤติกรรมนิยมความรุนแรง กับประชาชนผู้บริสุทธิ์ ท่านจะเลือกปกป้องสวัสดิภาพ และรักษาผลประโยชน์ของฝ่ายใด
10. เกียรติตำรวจของไทย ปัจจุบันอยู่ที่ไหน และท่านตระหนักในหน้าที่ ดังเพลงมาร์ชพิทักษ์สันติราษฎร์ ได้กล่าวไว้มากน้อยเพียงใด
จากนั้น บรรดานิสิตนักศึกษาได้เดินทางไปยังหน้าห้างสยามพารากอน ซึ่งเป็นไปอย่างคึกคัก และเป็นที่ได้รับความสนใจจาก นิสิต นักศึกษา รวมไปถึงประชาชนในบริเวณนั้น ขณะเดียวกันก็ได้มีล่ารายชื่อเพื่อกดดันให้กระทรวงศึกษาธิการ ออกกฎลงโทษผู้บริหารสถาบันการศึกษาที่ปิดกั้นการแสดงออกทางการเมืองของเยาวชน โรงเรียนสาธิตมัฆวานฯ และเครือข่ายด้วย
**"บุญลือ"เตือนระวังผิดกม.ฉุกเฉิน
นายบุญลือ ประเสริฐโสภา รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ขณะนี้ได้ให้ทางมหาวิทยาลัยตรวจสอบว่า นักศึกษาที่ถูกยิงอยู่คณะอะไร และขอให้มหาวิทยาลัย ช่วยควบคุมดูแลด้วย อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เป็นสิทธิส่วนตัวที่นักศึกษาจะแสดงความคิดเห็น แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงภาพรวมด้วยว่า ความพอดีอยู่ตรงไหน และที่สำคัญนักศึกษาต้องคำนึงถึง พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่รัฐบาลได้ประกาศออกมา โดยมีผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เป็นผู้อำนวยการควบคุมความสงบในเขตพื้นที่ กทม. ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายสูงสุด จึงอยากฝากถึงนิสิต นักศึกษา ที่ออกมาเคลื่อนไหวด้วยความเป็นห่วง ว่าขอให้ใช้วิจารณญาณในการออกมาเคลื่อนไหว แม้ว่าการออกมาถือว่าเป็นสิทธิส่วนบุคคล แต่ขอให้คำนึงถึง พ.ร.ก.ดังกล่าว ที่มีผลบังคับใช้ไปแล้วด้วย
**อธิการฯมธ.ไม่ปิดกั้นนศ.เคลื่อนไหว
นายสุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของนักศึกษาที่ออกมาแสดงความเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกันว่า เป็นสิทธิของนักศึกษาซึ่งเป็นผู้ใหญ่ และมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งที่จะแสดงความคิดเห็นทางการเมืองโดยสนับสนุน หรือเห็นพ้องกับกลุ่มการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยทุกแห่งควรให้การสนับสนุนความคิด การแสดงออก รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ ของนิสิตนักศึกษา แต่ก็ต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย โดยไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น ส่วนกรอบนั้นจะเป็นอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับวิจารญาณของนักศึกษาแต่ละคน และการแสดงความเห็นของนักศึกษาถือเป็นปัจเจก เหมือนการแสดงความเห็นของอาจารย์มหาวิทยาลัย ซึ่งไม่ใช่ความเห็นของสถาบันการศึกษา
ผู้สื่อข่าวถามว่า ความเห็นที่แตกต่างกันของนิสิตนักศึกษาแต่ละกลุ่ม จะนำไปสู่ความรุนแรง หรือขัดแย้งกันในสถาบันการศึกษาหรือไม่ นายสุรพล กล่าวว่า เรื่องนี้อธิการบดีมหาวิทยาลัยทุกแห่งดูแลอยู่ และเท่าที่เห็นก็ไม่มีปัญหาอะไร สำหรับ มธ.เปิดพื้นที่ให้ทุกขั้วการเมืองมาแสดงความเห็น และก็มีนักศึกษาที่เห็นด้วยไปร่วมกิจกรรม ก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ส่วนภายนอกมหาวิทยาลัย ไม่สามารถตอบได้
นายสุรพล กล่าวถึงกรณีที่เกิดความรุนแรงขึ้นกับนักศึกษา ม.รามฯ ว่า เมื่อนักศึกษาออกนอกสถาบันการศึกษา ก็ถือเป็นสมาชิกคนหนึ่งในสังคม เมื่อเกิดเรื่องขึ้น ก็เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะต้องดูแล
**อธิการรามฯ เตือนอย่าทำเลยเถิด
นายคิม ไชยแสนสุข อธิการบดี ม.รามคำแหง กล่าวว่า ได้ส่งเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยเข้าไปดูแลแล้ว ซึ่งตนเห็นว่าการแสดงออกทางการเมืองของนักศึกษาราม เป็นสิทธิส่วนบุคคล ทางมหาวิทยาลัยไม่ห้ามปราม แต่การเคลื่อนไหวต่างๆนั้น ได้เตือนตลอดเวลาว่า สามารถเคลื่อนไหวได้ แต่ห้ามใช้ความรุนแรงเด็ดขาด ขอให้รักษาภาพลักษณ์ของปัญญาชนไว้ ไม่ควรทำอะไรเลยเถิด
ทั้งนี้ไม่ว่านักศึกษารามจะขึ้นเวทีพันธมิตรฯ หรือเวที นปช. ก็ได้ทั้งนั้น เพราะนักศึกษาจะต้องฝึกฝนให้มีความคิดทางการเมือง ไม่เช่นนั้น ความคิด และสมองจะทื่อไปหมด ส่วนกรณีการเดินทางไปบ้านนายกฯ เพื่อเรียกร้องให้ลาออกนั้น เป็นการกระทำของนักศึกษาเอง ก็ไม่ได้มาขออนุญาตมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสิทธิ แต่ต้องไม่ใช้ความรุนแรง
**นิสิต-นศ.ร่วมเวทีพันธมิตรฯคึกคัก
สำหรับการขึ้นเวทีพันธมิตรฯ ที่ทำเนียบรัฐบาลของบรรดานิสิต นักศึกษานั้น วานนี้ (5 ก.ย.) มีนิสิตนักศึกษาจากหลายสถาบัน เดินทางมาประกาศจุดยืนเพื่อให้นายสมัคร สุนทรเวช ลาออกเป็นจำนวนมาก ได้แก่ กลุ่มนักศึกษาคณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี ปี 1 จาก ม.ธรรมศาสตร์ คณะครุศาสตร์วิศวกรรม ทร. พระนคร วิทยาเขตเทเวศร์ นักศึกษาจาก มรภ.เพชรบุรี เป็นต้น
ด้าน ศ.นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงค์ อาจารย์จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า อาจารย์ นักศึกษา และบุคลากร จากทุกคณะทุกหน่วยงาน ของจุฬาฯ ได้รวมตัวกันในนาม กลุ่ม “จามจุรีรักชาติ” เพื่อร่วมผนึกกำลังต่อต้านรัฐบาลทรราช และต่อต้านการใช้ความรุนแรงกับประชาชน โดยทางกลุ่มได้นัดรวมพลังกันที่บริเวณลานหน้าวัดเบญจมบพิตร เวลา 15.00 น.วันที่ 6 ก.ย.นี้ หลังจากนั้น จะเริ่มตั้งขบวนในเวลา 15.45 น. และเคลื่อนขบวนมายังทำเนียบรัฐบาล ในเวลา 16.00 น. จึงขอเชิญชวนให้ชาวจุฬาฯ ทั้งศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบัน สวมเสื้อสีชมพูไปรวมตัวกันในเวลาดังกล่าว โดยพร้อมเพรียงกัน
**นิสิตม.นเรศวรร่วมเวทีพันธมิตร
นายจักร์ พันธุ์ชูเพชร อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร (มน.) กล่าวว่า แนวคิดการจัดทำประชามติของรัฐบาล 2 พันล้านบาท เป็นการซื้อเวลาของรัฐบาล เพราะนายกรัฐมนตรี ต้องการยื้อเวลาในผ่านพ้นเดือนตุลาคม หวังให้เงินงบประมาณปี 52 ผ่าน เพื่อรับโครงการเมกะโปรเจกต์ ทั้งหลาย ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นก็จะเข้าสู่ขบวนการคอร์รัปชันอีกหลายโครงการ จึงไม่สมควรที่ให้งบปี 52 บริหารโดยรัฐบาลสมัคร เพราะไม่มีความชอบธรรมเหลืออยู่แล้ว
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า นิสิตภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร ได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 4 ก.ย. ประมาณ 1 รถตู้ เพื่อขึ้นเวทีกับพันธมิตรฯ ที่ทำเนียบฯ
**ภาคีนศ.โคราชประณามยิงนศ.ราม
ที่อาคารโปรแกรมวิชาศิลปะ มรภ.นครราชสีมา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ภาคีนักศึกษา มรภ.นครราชสีมา จำนวน 20 คน นำโดย นายนพรัตน์ วงวัฒนะ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะรัฐประศาสนศาสตร์ และนายสำรวม พัดเกาะ นักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ร่วมกับกลุ่มคณาจารย์โปรแกรมวิชาทัศนศิลป์ , เทคโนโลยีการจัดการ และรัฐประศาสนศาสตร์ นำโดย ผศ.ดร.สามารถ จับโจร ประธานโปรแกรมวิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรม และนายนิติธร ปักษา อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ร่วมกันแถลงการณ์ประณาม คณะรัฐบาล ภายใต้การนำของนายสมัคร สุนทรเวช ที่ไร้ประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยให้กับนักศึกษา และประชาชน ที่ชุมนุมโดยสันติปราศจากอาวุธ ที่บริเวณทำเนียบรัฐบาล สะพานมัฆวานฯ จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก รวมทั้งล่าสุดมีนักศึกษา ม.รามคำแหง ถูกคนร้ายขับขี่จักรยานยนต์ ประกบยิงได้รับบาดเจ็บ 2 คน
ดังนั้น จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดการกระทำชำเรากฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ประชาชนให้การรับรอง จนกว่าผู้กระทำผิดทั้งคดียุบพรรค และคดีผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ และคดีโกงประเทศชาติ จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และภาคีนักศึกษา มรภ.นครราชสีมา ขอให้กำลังใจการชุมนุมของพันธมิตรฯ ที่ทำเนียบรัฐบาล และในต่างจังหวัด รวมทั้งขอเรียกร้องให้นายสมัคร แสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในขณะนี้ อันแสดงถึงความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาของชาติ ด้วยการลาออก และยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความรุนแรงตามมา โดยกลุ่มภาคีนักศึกษา มรภ.นครราชสีมา จะยืนอยู่เคียงข้างและร่วมขับไล่รัฐบาลกับพันธมิตรฯในทุกรูปแบบ ให้ถึงที่สุดจนกว่าจะได้รับชัยชนะ
**"หมัก"อย่าทำหน้าจริงจังขณะโกหก
วันเดียวกันกลุ่มนักศึกษาปริญญาโท คณะวิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่ ประกอบด้วย นายปณิธาน ประมูล และนายอภิรักษ์ บรรพตทอง อายุ 27 ปี ได้ร่วมกันแสดงผลงานศิลปะ ที่มีชื่อผลงานว่า “Don’t make a real face to me!!!” หรือ “อย่าทำหน้าจริงจังขณะพูดโกหก”
ทั้งสองคนได้สวมหน้ากากรูปหน้า นายสมัคร พร้อมดัดเสียงให้คล้าย และนำเอาคำพูดของนายสมัคร ที่เคยกล่าวไว้ในโอกาสต่างๆ มาล้อเลียน รวมทั้งมีการถือกล่องรับความคิดเห็นที่ติดรูปนายสมัคร เดินไปทั่ว ม.เชียงใหม่ เพื่อให้นักศึกษาคณะต่างๆ และประชาชนทั่วไปเขียนแสดงความคิดเห็น ต่อสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นอยู่ในเวลานี้ และนำไปรวบรวมสรุป ซึ่งการแสดงผลงานศิลปะในครั้งนี้ ได้รับความสนใจจากนักศึกษาเป็นอย่างดี
นายปณิธาน กล่าวว่า ผลงานที่มีชื่อว่า "อย่าทำหน้าจริงจังขณะพูดโกหก" ในครั้งนี้ ต้องการที่จะสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรม และท่าทีของนายสมัคร ที่มักจะพูดจาโกหก หรือพูดกลับไปกลับมาตลอดเวลา เพื่อให้นักศึกษาและประชาชนทั่วไป ได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นต่อท่าทีของตัวนายสมัคร ที่เป็นผู้นำของประเทศ ว่าควรจะมีความรับผิดชอบอย่างไร