ผู้จัดการรายวัน-"อนุพงษ์"สั่งชี้แจงสถานการณ์ หลังมีกระกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต่อคณะผู้ช่วยทูตทหารจาก 20 ประเทศ ยันจะไม่ใช้ความรุนแรง แต่จะเน้นการเจรจา ป้องกันไม่ให้ทั้งสองฝ่ายปะทะกันอีก และจะเจรจาไม่ให้ตัดน้ำ ตัดไฟ "ประยุทธ์" ย้ำต้องหาทางลดเงื่อนไขของทั้งสองฝ่าย ไม่ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กับคนทั่วไปอย่างเข้มงวด และจะเร่งแจ้งข้อหาให้ผู้ที่ทำผิดรับทราบแทนการกดดันด้วยกำลัง
เมื่อเวลา 13.00 น.วานนี้ (4 ก.ย.) ที่ห้อง 202 กองบัญชาการกองทัพบก พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ได้มอบหมายให้พล.ท. ศิริชัย ดิษฐกุล ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายข่าว ชี้แจงสถานการณ์บ้านเมือง ให้แก่คณะผู้ช่วยทูตทหารต่างประเทศประจำประเทศไทย และผู้แทนด้านการทหาร จำนวน 20 ประเทศ รวม 30 คน อาทิ ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมัน สวีเดน เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์ของประเทศไทย ภายหลังจากที่รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รวมถึงได้รับทราบถึงบทบาท และจุดยืนของผบ.ทบ. ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ทั้งนี้ ผู้ช่วยทูตทหารที่เข้าร่วมรับฟังสอบถามว่า ทหาร ตำรวจ ทำไมถึงได้อดทน และไม่ดำเนินการตามกฎหมาย ปล่อยให้ฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล กระทำฝ่าฝืนกฎหมาย พล.ท.ศิริชัย กล่าวว่า ทหาร ตำรวจ เฝ้าระวังสถานการณ์ตลอดเวลา โดยเฉพาะด้านการข่าว แต่ผู้บังคับบัญชา มีนโยบายชัดเจนว่า จะไม่ใช้ความรุนแรง แต่จะใช้การเจรจาเป็นหลัก เมื่อประชาชนสองฝ่ายมาปะทะกัน เป็นเรื่องยากที่เราจะดำเนินการ เพราะทหาร ตำรวจ มีข้อกำจัดในการดำเนินการ ซึ่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีข้อกำหนดที่จำกัดสิทธิเสรีภาพ เราพยายามพิจารณาอย่างละเอียดในการใช้ ทั้งเรื่องการชุมนุม หรือการควบคุมสื่อ เพื่อไม่ให้ไปสู่ความรุนแรง เจ้าหน้าที่จะไม่ใช้อาวุธแก้ปัญหา อย่างมากจะเป็นแก๊สน้ำตา โล่กำบัง และที่ฉีดน้ำเท่านั้น
ผู้ช่วยทูตทหาร ถามย้ำว่า ผบ.ทบ. ไม่ต้องการใช้ความรุนแรงกับกลุ่มพันธมิตรฯ แต่นายกรัฐมนตรี มีท่าทีจะใช้กำลัง พล.ท.ศิริชัย กล่าวว่า ตนไม่มีความเห็น แต่การประกาศ พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว สาเหตุเกิดจากมีคน 2 กลุ่ม มาปะทะกัน ขณะนี้ทหาร ตำรวจ และ คณะทำงานที่จัดตั้งขึ้นมา พยายามแก้ไขปัญหา ซึ่ง ผบ.ทบ.ชี้แจงว่า หากนอกเหนือขอบเขตการทำงานของกองทัพ ขึ้นอยู่กระบวนการทางการเมือง หรือรัฐสภา เป็นผู้แก้ไข
ส่วนที่รัฐบาลได้ฟ้องร้องกลุ่มพันธมิตรฯ ที่บุกรุกเข้าไปยึดทำเนียบฯนั้น พล.ท.ศิริชัย กล่าวว่า อยู่ในขั้นตอนของกฎหมาย ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล กองทัพคงไม่เข้าไปก้าวล่วง ส่วนจะเจรจาใต้โต๊ะ เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายยุติปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น อยู่ในขั้นตอนรวมรวบข้อมูลที่จะมีการเจรจา บทบาทกองทัพบกในขณะนี้ คือ ควบคุมไม่ให้มีการปะทะกัน
ผู้ช่วยทูตทหารถามว่า ทหารจะเข้าไปมีบทบาทคลี่คลายความขัดแย้ง ระหว่างกลุ่มพันธมิตรฯ กับรัฐบาลอย่างไร พล.ท.ศิริชัย กล่าวว่า มีมาตรการไม่ให้ทั้งสองกลุ่มปะทะกัน โดยใช้การข่าวเป็นหลัก เมื่อการข่าวชัดเจน ก็เจรจาทั้งสองกลุ่มให้เข้าใจว่า การดำเนินการไม่ควรจะให้เกิดความรุนแรง ส่วนสหภาพแรงงานฯ ก็จะเชิญผู้แทนของสหภาพ มาพูดคุย หากทำอะไรเสียหายจะส่งผลกระทบถึงประเทศ หากปล่อยไปจะเป็นเหตุหนึ่งที่เกิดการปะทะกันได้เช่นกัน
เมื่อถามว่า ทำไมกองทัพไม่ใช้อำนาจของโครงสร้างของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน มาดำเนินการ พล.ท.ศิริชัย กล่าวว่า เราใช้ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ติดตามสถานการณ์ ขณะนี้ กอ.รมน.โครงการยังไม่สมบูรณ์
ส่วนการดูแลสถานที่ราชการ โดยเฉพาะสนามบินสุวรรณภูมิ หรือสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ พล.ท.ศิริชัย กล่าวว่า ได้เตรียมการตลอด และมีหน่วยที่รับผิดชอบโดยตรง โดยทหารเข้าไปช่วยเหลือตำรวจ ในฐานะผู้ช่วยเจ้าพนักงาน
หากสถานการณ์บานปลายออกไป ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ และจะดำเนินการอะไรต่อไป พล.ท.ศิริชัย กล่าวว่า ภารกิจช่วงนี้ คือไม่ให้ 2 ฝ่ายปะทะกัน โดยใช้วิธีการเจรจาให้ทั้ง 2 ฝ่าย แต่หากไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ คิดว่ารัฐบาลคงมีมาตรการออกมาอีก
เมื่อถามถึงความแตกแยกในหมู่ทหารด้วยกันเอง เพราะอาจมีคนไม่เห็นด้วยกับผบ.ทบ. พล.ท.ศิริชัย กล่าวว่า ไม่มีความเห็น เพราะกำลังพลในกองทัพบก มีความเชื่อมั่นต่อตัวผบ.ทบ. ยืนยันว่ากองทัพบกไม่มีความขัดแย้ง
เมื่อถามว่า ลำดับขั้นใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นอย่างไร หากไม่ได้ผลจะทำอย่างไร พล.ท.ศิริชัย กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ประกาศใช้ในห้วงเวลา 3 เดือน หากเหตุการณ์ยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ อาจเข้า ครม. เพื่อขอบังคับใช้ต่อไป แต่หาก 3 เดือนนี้ ภาวะเข้าสู่ปกติ ก็สามารถยกเลิกได้
หากสถานการณ์ลุกลามไปถึงสนามบิน ระบบไฟฟ้า ประปา ขัดข้อง คณะกรรมการที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย จะรับผิดชอบ การไฟฟ้าและประปา ได้สั่งการให้รัฐวิสาหกิจ ดำเนินการ เพื่อไม่ให้ปิดวงจร เห็นได้ว่ามีการประกาศจากหลายหน่วยงานว่าจะไม่มีการปิดไฟฟ้าและประปา
ส่วนการปิดสนามบิน จ.ภูเก็ต และ หาดใหญ่ ขณะนี้ในระดับท้องที่ทำความเข้าใจ ปัจจุบันสนามบินเปิดทำการปกติ ทั้งนี้ กองทัพบกมีกำลังส่วนหนึ่งทั้งทหาร และตำรวจ ซึ่งการเจรจาเป็นมาตรการแรก แต่หากเกิดอะไรขึ้นมาคงดำเนินการต่อไป
เมื่อถามว่า การที่นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหว จะก่อให้เกิดความรุนแรงหรือไม่ พล.ท. ศิริชัย กล่าว่า ประเมินว่าคงไม่รุนแรง เพราะขณะนี้ทุกหน่วยงานพยายามทำความเข้าใจกับองค์กรต่างๆ รวมถึงสถาบันการศึกษาด้วย
สรส.เมินถก "อนุพงษ์"
จากนั้น เวลา 14.00 น. พล.อ. อนุพงษ์ ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบแก้ไขปัญหา สถานการณ์ฉุกเฉิน ได้เรียกประชุมคณะทำงาน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานด้านความมั่นคง และส่วนราชการต่างๆ เข้าร่วมหารือรวม 20 องค์กร รวมทั้ง พล.ต.อ.พัชราวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. พล.ท.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 1 ในฐานะรองหัวหน้ารับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์
รายงานข่าวแจ้งว่า ในเวลา 15.00 น. พล.อ.อนุพงษ์ ได้เชิญแกนนำสมาพันธ์รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ มาร่วมหารือ เพื่อหาทางคลี่คลายสถานการณ์ หลังจากที่สมาพันธ์รัฐวิสาหกิจได้นัดหยุดงาน และขู่ตัดน้ำ ตัดไฟ ของสถานที่ราชการสำคัญหลายแห่ง แต่ภายหลังแกนนำสมาพันธ์ได้ยกเลิกกำหนดการที่จะเข้าหารือกับ พล.อ.อนุพงษ์ โดยอ้างว่า สมาพันธ์รัฐวิสาหกิจไม่พร้อม เนื่องมาจากแกนนำยังมีความเห็นที่แตกต่างกัน
ผบ.สส.ยอมรับยังคิดอะไรไม่ออก
ด้าน พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผบ.สส. ให้สัมภาษณ์ ถึงสถานการณ์บ้านเมือง หลังจากนายสมัคร ยืนยันไม่ยุบสภา และไม่ลาออก ว่า ต้องอดทนและสงบ เพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรง เดี๋ยวคงคิดอะไรกันออก บ้านเมืองมีคน 60 กว่าล้านคน เมื่อมีปัญหายากต้องแก้ไขได้ ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง ตอนนี้ยังคิดไม่ออก ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร เวลาอาจจะทำให้ปัญหาคลี่คลายไปเอง แต่ยิ่งเวลาผ่านไปผลกระทบกับประเทศชาติจะมากขึ้น
หาทางลดเงื่อนไขของ 2 ฝ่าย
ด้าน พล.ท.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 1 กล่าวว่า พล.อ.อนุพงษ์ กังวลว่าจะทำอย่างไร เพื่อทำให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อยโดยเร็ว โดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ และเจ้าหน้าที่ไม่ต้องถูกมองว่าใช้ความรุนแรง เพราะจไม่เกิดผลดี เนื่องจากทั้งสองฝ่ายเป็นคนไทย ต่างมีเงื่อนไขของตัวเอง ถ้าไม่ลดราวาศอกกัน ไม่ว่าจะมีกฎหมายใดก็แก้ไขไม่ได้
"ถามว่า หากเกิดความรุนแรงจะได้อะไรขึ้นมา ได้ชัยชนะจากตรงไหน เจ้าหน้าที่หนักใจ การกระทำใดก็ตามที่กดดันการทำงานเจ้าหน้าที่ ยั่วยุ ทำให้เกิดความรุนแรงขึ้น อย่าลืมว่าเจ้าหน้าที่เป็นมนุษย์ พยายามอดทนทุกสิ่งทุกอย่าง ขณะนี้ถูกสั่งการชัดเจนว่า จะต้องไม่ใช้มาตรการรุนแรง เพื่อทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยมากที่สุด ทั้งสองฝ่ายมีเงื่อนไข เราจะต้องพยายามหาวิธีลดเงื่อนไขของแต่ละฝ่าย"
ยังไม่ใช้ พ.ร.ก.อย่างเข้มงวดกับคนทั่วไป
พล.ท.ประยุทธ์ กล่าวถึงความเข้มงวดในการใช้พ.ร.ก.ว่า ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก ข้อห้ามหลายประการ เรายังไม่มีความจำเป็นต้องใช้อย่างเด็ดขาด เช่น การชุมนุม หรือ มั่วสุม เกิน 5 คน ถ้าเป็นการดำเนินการตามชีวิตประจำวัน ไม่ได้ไปมั่วสุมทำให้เกิดการแตกแยก เราคงไม่ไปรบกวน
"ไม่ใช่ว่าเจ้าหน้าที่ไม่ได้ทำอะไรเลย หลังจากที่มีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ผ่านมาเราประชุมทั้งเจ้าหน้าที่พลเรือน ตำรวจ ทหาร ว่าจะทำอย่างไร จึงเอามาตรการมาใช้ในเวลาที่เหมาะสม ไม่ได้หมายความว่า กฎหมายทั้งหมดที่มีอยู่จะนำมาใช้ทั้งหมด เพราะจะทำให้เกิดความสับสนวุ่นวายในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งไม่เกิดผลดี ตอนนี้เกิดพื้นที่วุ่นวายอยู่ 2 แห่ง เราคาดหวังว่าที่อื่นจะไม่มี วิธีแก้ปัญหา คือไม่ใช้การไล่ปราบปราม ให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองทำความเข้าใจกับประชาชนว่า อย่ามาชุมนุมเพิ่มขึ้นอีก เราพยายามทำด้วยวิธีละมุนละม่อม" พล.ท.ประยุทธ์กล่าว และว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดเพียง 2-3 วัน แต่เกิดมา 3 เดือนกว่า เงื่อนไขสะสมมาเรื่อย ๆ เราต้องเอาเงื่อนไขต่างๆ มาวิเคราะห์ว่าจะแก้อย่างไร ซึ่งต้องหาวิธีการให้ทั้งสองฝ่ายเข้ามาพูดจากันให้ได้"
เมื่อถามว่า กองทัพเตรียมกำลังทหาร ตำรวจ เข้าไปดูแลสถานการณ์ยามค่ำคืนไม่ให้ 2 ฝ่าย ปะทะกัน พล.ท.ประยุทธ์ กล่าวว่า เราประสานการทำงานกัน มีกำลังดูแลหลายพันนาย ถือว่าพอเพียง เราเตรียมพร้อมตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ เมื่อคืนวันที่ 2 ก.ย. ที่ผ่านมา เมื่อประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ออกมา ทหาร ก็สามารถทำได้ แต่ถ้าไม่ประกาศทหารก็ทำอะไรไม่ได้
เร่งแจ้งข้อหาให้ผู้ทำผิดรับทราบ
ต่อมา พล.ท.ประยุทธ์ ได้ให้สัมภาษณ์ หลังการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ว่า ได้หารือเพื่อกำหนดแนวทางการทำงาน โดยที่ประชุมยังยืนยันที่จะไม่ใช้ความรุนแรง แต่จะเน้นการเจรจาเป็นหลัก โดยมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้ดำเนินการ ที่จะแจ้งกับผู้ที่กระทำผิดข้อห้ามที่มีอยู่ตามประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อให้ทราบว่ามีการดำเนินการผิดกฎหมายข้อใดบ้าง ส่วนการใช้กำลังเข้าดำเนินการเวลานี้ยังไม่เหมาะสม ซึ่งต้องหารือกันอีกครั้ง คณะกรรมการเห้นว่า ควรแจ้งให้ทราบความผิดให้ทราบก่อนในเวลานี้
เมื่อถามว่า นายกรัฐมนตรี พอใจการทำงานของคณะกรรมการฯ หรือไม่ พล.ท.ประยุทธ์ กล่าวว่า นายกฯเข้าใจ และพูดคุยกับ พล.อ.อนุพงษ์ ตลอด ทั้งนี้ การทำงานของเจ้าหน้าที่ต้องใช้ความสุขุม เพื่อไม่ให้เกิดความุรนแรง อย่าสร้างความกดดันกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งขอระยะเวลาดำเนินการตามขั้นตอน ขอความร่วมมือทุกฝ่ายทั้งพันธมิตรฯ ฝ่ายตรงข้าม หรือฝ่ายที่อยู่ตรงกลาง ต้องช่วยกัน เพราะเป็นคนไทยด้วยกัน เพื่อประโยชน์ของชาติเป็นหลัก
ไม่ตอบเรื่องความชอบธรรมของนายกฯ
เมื่อถามว่า นายกฯ ยังมีความชอบธรรมในการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ พล.ท.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ทราบ แต่นายกฯ ทำหน้าที่ของท่าน และใช้อำนาจท่านไป ซึ่งได้มอบอำนาจให้เราดูแล เราก็ทำ แต่ไม่ให้รุนแรงเท่านั้น แต่การบังคับใช้กฎหมาย คนไม่ปฏิบัติ เมื่อเอาไปใช้ก็เกิดปัญหา อย่างไรก็ตาม คนที่ทำผิดอยู่เวลานี้ ยังคงมีความผิดตามกฎหมายทั้งสิ้น ไม่ว่าจะจบอย่างไร คนที่มีความผิด ต้องถูกดำเนินคดี
เมื่อถามว่า สถานการณ์ยังไม่มั่นคง เกรงว่าทหารจะก่อรัฐประหารอีกครั้ง พล.ท.ประยุทธ์ กล่าวว่า
"ไม่มี อย่าถามเรื่องปฏิวัติ ควรถามว่าบ้านเมืองจะไปอย่างไร เราจะช่วยกันอย่างไร ขณะนี้ทหารมีเพียงเตรียมกำลังอยู่ในหน่วยที่ตั้ง เพื่อดูแลสถานการณ์ หากมีการเคลื่อนมวลชนมาปะทะกัน ทหาร ก็จะเข้าห้ามปราม" พล.ท.ประยุทธ์ กล่าว
เมื่อเวลา 13.00 น.วานนี้ (4 ก.ย.) ที่ห้อง 202 กองบัญชาการกองทัพบก พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ได้มอบหมายให้พล.ท. ศิริชัย ดิษฐกุล ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายข่าว ชี้แจงสถานการณ์บ้านเมือง ให้แก่คณะผู้ช่วยทูตทหารต่างประเทศประจำประเทศไทย และผู้แทนด้านการทหาร จำนวน 20 ประเทศ รวม 30 คน อาทิ ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมัน สวีเดน เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์ของประเทศไทย ภายหลังจากที่รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รวมถึงได้รับทราบถึงบทบาท และจุดยืนของผบ.ทบ. ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ทั้งนี้ ผู้ช่วยทูตทหารที่เข้าร่วมรับฟังสอบถามว่า ทหาร ตำรวจ ทำไมถึงได้อดทน และไม่ดำเนินการตามกฎหมาย ปล่อยให้ฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล กระทำฝ่าฝืนกฎหมาย พล.ท.ศิริชัย กล่าวว่า ทหาร ตำรวจ เฝ้าระวังสถานการณ์ตลอดเวลา โดยเฉพาะด้านการข่าว แต่ผู้บังคับบัญชา มีนโยบายชัดเจนว่า จะไม่ใช้ความรุนแรง แต่จะใช้การเจรจาเป็นหลัก เมื่อประชาชนสองฝ่ายมาปะทะกัน เป็นเรื่องยากที่เราจะดำเนินการ เพราะทหาร ตำรวจ มีข้อกำจัดในการดำเนินการ ซึ่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีข้อกำหนดที่จำกัดสิทธิเสรีภาพ เราพยายามพิจารณาอย่างละเอียดในการใช้ ทั้งเรื่องการชุมนุม หรือการควบคุมสื่อ เพื่อไม่ให้ไปสู่ความรุนแรง เจ้าหน้าที่จะไม่ใช้อาวุธแก้ปัญหา อย่างมากจะเป็นแก๊สน้ำตา โล่กำบัง และที่ฉีดน้ำเท่านั้น
ผู้ช่วยทูตทหาร ถามย้ำว่า ผบ.ทบ. ไม่ต้องการใช้ความรุนแรงกับกลุ่มพันธมิตรฯ แต่นายกรัฐมนตรี มีท่าทีจะใช้กำลัง พล.ท.ศิริชัย กล่าวว่า ตนไม่มีความเห็น แต่การประกาศ พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว สาเหตุเกิดจากมีคน 2 กลุ่ม มาปะทะกัน ขณะนี้ทหาร ตำรวจ และ คณะทำงานที่จัดตั้งขึ้นมา พยายามแก้ไขปัญหา ซึ่ง ผบ.ทบ.ชี้แจงว่า หากนอกเหนือขอบเขตการทำงานของกองทัพ ขึ้นอยู่กระบวนการทางการเมือง หรือรัฐสภา เป็นผู้แก้ไข
ส่วนที่รัฐบาลได้ฟ้องร้องกลุ่มพันธมิตรฯ ที่บุกรุกเข้าไปยึดทำเนียบฯนั้น พล.ท.ศิริชัย กล่าวว่า อยู่ในขั้นตอนของกฎหมาย ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล กองทัพคงไม่เข้าไปก้าวล่วง ส่วนจะเจรจาใต้โต๊ะ เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายยุติปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น อยู่ในขั้นตอนรวมรวบข้อมูลที่จะมีการเจรจา บทบาทกองทัพบกในขณะนี้ คือ ควบคุมไม่ให้มีการปะทะกัน
ผู้ช่วยทูตทหารถามว่า ทหารจะเข้าไปมีบทบาทคลี่คลายความขัดแย้ง ระหว่างกลุ่มพันธมิตรฯ กับรัฐบาลอย่างไร พล.ท.ศิริชัย กล่าวว่า มีมาตรการไม่ให้ทั้งสองกลุ่มปะทะกัน โดยใช้การข่าวเป็นหลัก เมื่อการข่าวชัดเจน ก็เจรจาทั้งสองกลุ่มให้เข้าใจว่า การดำเนินการไม่ควรจะให้เกิดความรุนแรง ส่วนสหภาพแรงงานฯ ก็จะเชิญผู้แทนของสหภาพ มาพูดคุย หากทำอะไรเสียหายจะส่งผลกระทบถึงประเทศ หากปล่อยไปจะเป็นเหตุหนึ่งที่เกิดการปะทะกันได้เช่นกัน
เมื่อถามว่า ทำไมกองทัพไม่ใช้อำนาจของโครงสร้างของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน มาดำเนินการ พล.ท.ศิริชัย กล่าวว่า เราใช้ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ติดตามสถานการณ์ ขณะนี้ กอ.รมน.โครงการยังไม่สมบูรณ์
ส่วนการดูแลสถานที่ราชการ โดยเฉพาะสนามบินสุวรรณภูมิ หรือสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ พล.ท.ศิริชัย กล่าวว่า ได้เตรียมการตลอด และมีหน่วยที่รับผิดชอบโดยตรง โดยทหารเข้าไปช่วยเหลือตำรวจ ในฐานะผู้ช่วยเจ้าพนักงาน
หากสถานการณ์บานปลายออกไป ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ และจะดำเนินการอะไรต่อไป พล.ท.ศิริชัย กล่าวว่า ภารกิจช่วงนี้ คือไม่ให้ 2 ฝ่ายปะทะกัน โดยใช้วิธีการเจรจาให้ทั้ง 2 ฝ่าย แต่หากไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ คิดว่ารัฐบาลคงมีมาตรการออกมาอีก
เมื่อถามถึงความแตกแยกในหมู่ทหารด้วยกันเอง เพราะอาจมีคนไม่เห็นด้วยกับผบ.ทบ. พล.ท.ศิริชัย กล่าวว่า ไม่มีความเห็น เพราะกำลังพลในกองทัพบก มีความเชื่อมั่นต่อตัวผบ.ทบ. ยืนยันว่ากองทัพบกไม่มีความขัดแย้ง
เมื่อถามว่า ลำดับขั้นใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นอย่างไร หากไม่ได้ผลจะทำอย่างไร พล.ท.ศิริชัย กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ประกาศใช้ในห้วงเวลา 3 เดือน หากเหตุการณ์ยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ อาจเข้า ครม. เพื่อขอบังคับใช้ต่อไป แต่หาก 3 เดือนนี้ ภาวะเข้าสู่ปกติ ก็สามารถยกเลิกได้
หากสถานการณ์ลุกลามไปถึงสนามบิน ระบบไฟฟ้า ประปา ขัดข้อง คณะกรรมการที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย จะรับผิดชอบ การไฟฟ้าและประปา ได้สั่งการให้รัฐวิสาหกิจ ดำเนินการ เพื่อไม่ให้ปิดวงจร เห็นได้ว่ามีการประกาศจากหลายหน่วยงานว่าจะไม่มีการปิดไฟฟ้าและประปา
ส่วนการปิดสนามบิน จ.ภูเก็ต และ หาดใหญ่ ขณะนี้ในระดับท้องที่ทำความเข้าใจ ปัจจุบันสนามบินเปิดทำการปกติ ทั้งนี้ กองทัพบกมีกำลังส่วนหนึ่งทั้งทหาร และตำรวจ ซึ่งการเจรจาเป็นมาตรการแรก แต่หากเกิดอะไรขึ้นมาคงดำเนินการต่อไป
เมื่อถามว่า การที่นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหว จะก่อให้เกิดความรุนแรงหรือไม่ พล.ท. ศิริชัย กล่าว่า ประเมินว่าคงไม่รุนแรง เพราะขณะนี้ทุกหน่วยงานพยายามทำความเข้าใจกับองค์กรต่างๆ รวมถึงสถาบันการศึกษาด้วย
สรส.เมินถก "อนุพงษ์"
จากนั้น เวลา 14.00 น. พล.อ. อนุพงษ์ ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบแก้ไขปัญหา สถานการณ์ฉุกเฉิน ได้เรียกประชุมคณะทำงาน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานด้านความมั่นคง และส่วนราชการต่างๆ เข้าร่วมหารือรวม 20 องค์กร รวมทั้ง พล.ต.อ.พัชราวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. พล.ท.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 1 ในฐานะรองหัวหน้ารับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์
รายงานข่าวแจ้งว่า ในเวลา 15.00 น. พล.อ.อนุพงษ์ ได้เชิญแกนนำสมาพันธ์รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ มาร่วมหารือ เพื่อหาทางคลี่คลายสถานการณ์ หลังจากที่สมาพันธ์รัฐวิสาหกิจได้นัดหยุดงาน และขู่ตัดน้ำ ตัดไฟ ของสถานที่ราชการสำคัญหลายแห่ง แต่ภายหลังแกนนำสมาพันธ์ได้ยกเลิกกำหนดการที่จะเข้าหารือกับ พล.อ.อนุพงษ์ โดยอ้างว่า สมาพันธ์รัฐวิสาหกิจไม่พร้อม เนื่องมาจากแกนนำยังมีความเห็นที่แตกต่างกัน
ผบ.สส.ยอมรับยังคิดอะไรไม่ออก
ด้าน พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผบ.สส. ให้สัมภาษณ์ ถึงสถานการณ์บ้านเมือง หลังจากนายสมัคร ยืนยันไม่ยุบสภา และไม่ลาออก ว่า ต้องอดทนและสงบ เพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรง เดี๋ยวคงคิดอะไรกันออก บ้านเมืองมีคน 60 กว่าล้านคน เมื่อมีปัญหายากต้องแก้ไขได้ ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง ตอนนี้ยังคิดไม่ออก ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร เวลาอาจจะทำให้ปัญหาคลี่คลายไปเอง แต่ยิ่งเวลาผ่านไปผลกระทบกับประเทศชาติจะมากขึ้น
หาทางลดเงื่อนไขของ 2 ฝ่าย
ด้าน พล.ท.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 1 กล่าวว่า พล.อ.อนุพงษ์ กังวลว่าจะทำอย่างไร เพื่อทำให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อยโดยเร็ว โดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ และเจ้าหน้าที่ไม่ต้องถูกมองว่าใช้ความรุนแรง เพราะจไม่เกิดผลดี เนื่องจากทั้งสองฝ่ายเป็นคนไทย ต่างมีเงื่อนไขของตัวเอง ถ้าไม่ลดราวาศอกกัน ไม่ว่าจะมีกฎหมายใดก็แก้ไขไม่ได้
"ถามว่า หากเกิดความรุนแรงจะได้อะไรขึ้นมา ได้ชัยชนะจากตรงไหน เจ้าหน้าที่หนักใจ การกระทำใดก็ตามที่กดดันการทำงานเจ้าหน้าที่ ยั่วยุ ทำให้เกิดความรุนแรงขึ้น อย่าลืมว่าเจ้าหน้าที่เป็นมนุษย์ พยายามอดทนทุกสิ่งทุกอย่าง ขณะนี้ถูกสั่งการชัดเจนว่า จะต้องไม่ใช้มาตรการรุนแรง เพื่อทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยมากที่สุด ทั้งสองฝ่ายมีเงื่อนไข เราจะต้องพยายามหาวิธีลดเงื่อนไขของแต่ละฝ่าย"
ยังไม่ใช้ พ.ร.ก.อย่างเข้มงวดกับคนทั่วไป
พล.ท.ประยุทธ์ กล่าวถึงความเข้มงวดในการใช้พ.ร.ก.ว่า ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก ข้อห้ามหลายประการ เรายังไม่มีความจำเป็นต้องใช้อย่างเด็ดขาด เช่น การชุมนุม หรือ มั่วสุม เกิน 5 คน ถ้าเป็นการดำเนินการตามชีวิตประจำวัน ไม่ได้ไปมั่วสุมทำให้เกิดการแตกแยก เราคงไม่ไปรบกวน
"ไม่ใช่ว่าเจ้าหน้าที่ไม่ได้ทำอะไรเลย หลังจากที่มีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ผ่านมาเราประชุมทั้งเจ้าหน้าที่พลเรือน ตำรวจ ทหาร ว่าจะทำอย่างไร จึงเอามาตรการมาใช้ในเวลาที่เหมาะสม ไม่ได้หมายความว่า กฎหมายทั้งหมดที่มีอยู่จะนำมาใช้ทั้งหมด เพราะจะทำให้เกิดความสับสนวุ่นวายในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งไม่เกิดผลดี ตอนนี้เกิดพื้นที่วุ่นวายอยู่ 2 แห่ง เราคาดหวังว่าที่อื่นจะไม่มี วิธีแก้ปัญหา คือไม่ใช้การไล่ปราบปราม ให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองทำความเข้าใจกับประชาชนว่า อย่ามาชุมนุมเพิ่มขึ้นอีก เราพยายามทำด้วยวิธีละมุนละม่อม" พล.ท.ประยุทธ์กล่าว และว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดเพียง 2-3 วัน แต่เกิดมา 3 เดือนกว่า เงื่อนไขสะสมมาเรื่อย ๆ เราต้องเอาเงื่อนไขต่างๆ มาวิเคราะห์ว่าจะแก้อย่างไร ซึ่งต้องหาวิธีการให้ทั้งสองฝ่ายเข้ามาพูดจากันให้ได้"
เมื่อถามว่า กองทัพเตรียมกำลังทหาร ตำรวจ เข้าไปดูแลสถานการณ์ยามค่ำคืนไม่ให้ 2 ฝ่าย ปะทะกัน พล.ท.ประยุทธ์ กล่าวว่า เราประสานการทำงานกัน มีกำลังดูแลหลายพันนาย ถือว่าพอเพียง เราเตรียมพร้อมตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ เมื่อคืนวันที่ 2 ก.ย. ที่ผ่านมา เมื่อประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ออกมา ทหาร ก็สามารถทำได้ แต่ถ้าไม่ประกาศทหารก็ทำอะไรไม่ได้
เร่งแจ้งข้อหาให้ผู้ทำผิดรับทราบ
ต่อมา พล.ท.ประยุทธ์ ได้ให้สัมภาษณ์ หลังการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ว่า ได้หารือเพื่อกำหนดแนวทางการทำงาน โดยที่ประชุมยังยืนยันที่จะไม่ใช้ความรุนแรง แต่จะเน้นการเจรจาเป็นหลัก โดยมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้ดำเนินการ ที่จะแจ้งกับผู้ที่กระทำผิดข้อห้ามที่มีอยู่ตามประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อให้ทราบว่ามีการดำเนินการผิดกฎหมายข้อใดบ้าง ส่วนการใช้กำลังเข้าดำเนินการเวลานี้ยังไม่เหมาะสม ซึ่งต้องหารือกันอีกครั้ง คณะกรรมการเห้นว่า ควรแจ้งให้ทราบความผิดให้ทราบก่อนในเวลานี้
เมื่อถามว่า นายกรัฐมนตรี พอใจการทำงานของคณะกรรมการฯ หรือไม่ พล.ท.ประยุทธ์ กล่าวว่า นายกฯเข้าใจ และพูดคุยกับ พล.อ.อนุพงษ์ ตลอด ทั้งนี้ การทำงานของเจ้าหน้าที่ต้องใช้ความสุขุม เพื่อไม่ให้เกิดความุรนแรง อย่าสร้างความกดดันกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งขอระยะเวลาดำเนินการตามขั้นตอน ขอความร่วมมือทุกฝ่ายทั้งพันธมิตรฯ ฝ่ายตรงข้าม หรือฝ่ายที่อยู่ตรงกลาง ต้องช่วยกัน เพราะเป็นคนไทยด้วยกัน เพื่อประโยชน์ของชาติเป็นหลัก
ไม่ตอบเรื่องความชอบธรรมของนายกฯ
เมื่อถามว่า นายกฯ ยังมีความชอบธรรมในการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ พล.ท.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ทราบ แต่นายกฯ ทำหน้าที่ของท่าน และใช้อำนาจท่านไป ซึ่งได้มอบอำนาจให้เราดูแล เราก็ทำ แต่ไม่ให้รุนแรงเท่านั้น แต่การบังคับใช้กฎหมาย คนไม่ปฏิบัติ เมื่อเอาไปใช้ก็เกิดปัญหา อย่างไรก็ตาม คนที่ทำผิดอยู่เวลานี้ ยังคงมีความผิดตามกฎหมายทั้งสิ้น ไม่ว่าจะจบอย่างไร คนที่มีความผิด ต้องถูกดำเนินคดี
เมื่อถามว่า สถานการณ์ยังไม่มั่นคง เกรงว่าทหารจะก่อรัฐประหารอีกครั้ง พล.ท.ประยุทธ์ กล่าวว่า
"ไม่มี อย่าถามเรื่องปฏิวัติ ควรถามว่าบ้านเมืองจะไปอย่างไร เราจะช่วยกันอย่างไร ขณะนี้ทหารมีเพียงเตรียมกำลังอยู่ในหน่วยที่ตั้ง เพื่อดูแลสถานการณ์ หากมีการเคลื่อนมวลชนมาปะทะกัน ทหาร ก็จะเข้าห้ามปราม" พล.ท.ประยุทธ์ กล่าว