เอเยนซีส์/ผู้จัดการรายวัน – “รอยเตอร์”ประมวลสถานการณ์การเมืองไทยที่อาจเป็นไปได้รวม 7 ประการ มีทั้ง “สมัคร” ยุบสภาจัดการเลือกตั้งใหม่ ไปจนถึงลาออก หรือใช้กำลังตำรวจปราบผู้ชุมนุมและกลายเป็นจลาจล ตลอดจนทหารทำรัฐประหารยึดอำนาจ
สำนักข่าวรอยเตอร์วานนี้(31ส.ค.) เสนอรายงานข่าวซึ่งมุ่งตอบคำถามว่า จากการที่ประเทศไทยกำลังประสบวิกฤตการณ์ทางการเมืองในเวลานี้ เหตุการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไปในอนาคต โดยไปประมวลภาพสถานการณ์ที่อาจเป็นไปได้รวมทั้งสิ้น 7 ประการ แต่ก็เตือนด้วยว่า ความเป็นไปได้เหล่านี้ยังไม่มีทางไหนเลยที่จะสามารถเยียวยาความแตกแยกที่ร้าวลึกในสังคมไทย ระหว่างคนยากจนในชนบทและในเมืองซึ่งสนับสนุน “ทักษิณ” กับชนชั้นกลางในกรุงเทพฯที่ต่อต้าน “ทักษิณ
ความเป็นไปได้ทั้ง 7 ประการที่รอยเตอร์เสนอไว้ มีดังนี้
** สมัครยุบสภาและจัดการเลือกตั้งใหม่**
นายกฯสมัครตัดสินใจยุบสภาและจัดการเลือกตั้งใหม่ ด้วยความหวังที่จะลดกระแสแรงกดดันจากฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ทว่าที่สุดแล้วแน่นอนว่า พรรคพลังประชาชนต้องได้รับเลือกและเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่อีกครั้ง ดังนั้นทางเลือกนี้จะไม่อาจทำให้ฝ่ายพันธมิตรยุติการเคลื่อนไหว
ในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ รัฐสภามีกำหนดจะจัดอภิปรายและลงมติร่างงบประมาณแผ่นดินฉบับใหม่ อันจะเป็นการเพิ่มเงินในกระเป๋าของรัฐบาลสำหรับการหาเสียงที่จะมีขึ้น
** สมัครประกาศภาวะฉุกเฉิน**
นายกฯสมัครอาจเลือกประกาศภาวะฉุกเฉิน เพื่อขอความสนับสนุนจากทหารในการสลายฝูงผู้ชุมนุมที่บุกยึดทำเนียบรัฐบาล
ทว่าบทเรียนนองเลือดเมื่อครั้งสลายผู้ชุมนุมจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬที่ยังคงหลอกหลอนจนถึงทุกวันนี้ จึงยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าทหารจะปฎิบัติตามคำสั่งดังกล่าว
**ทหารก่อรัฐประหาร**
ในขณะที่การรัฐประหาร 19 กันยายนกำลังเวียนใกล้จะครบรอบ 2 ปี ผู้บัญชาการทหารบก พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดายังคงย้ำชัดว่า การยึดอำนาจอีกครั้งจะไม่ช่วยคลี่คลายวิกฤตการเมืองของประเทศ
แต่หาก สถานการณ์เริ่มตึงเครียดยิ่งขึ้นและมีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ทหารอาจรู้สึกมีความชอบธรรมในการแทรกแซง โดยอ้างเหตุผลเพื่อความสมานฉันท์ภายในชาติและบีบบังคับให้รัฐบาลลงจากตำแหน่ง
หากเป็นไปตามนี้ ก็ยากที่จะหยั่งรู้ได้ว่า รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่นี้จะออกมาในรูปแบบไหน
**สมัคร หมดความอดทน สั่งตำรวจสลายฝูงชน**
ถึงแม้เขาจะขึ้นชื่อ ในฐานะเป็นหนึ่งในผู้ยั่วยุให้เกิดการปราบปรามนักศึกษาอย่างนองเลือดในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 แต่ครั้งนี้สมัครได้แสดงความอดทนอดกลั้นต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จนหลายคนอดสงสัยไม่ได้ว่า เขาจะสามารถอดทนอีกนานสักเพียงใด
หากมีการสลายฝูงชนจริง จะต้องมีผู้เสียชีวิตมากมาย และการนองเลือดที่เกิดขึ้นนั้น จะสร้างความไม่พอใจจากสาธารณชน จนบีบให้นายกฯ สมัคร ต้องออกจากตำแหน่ง
**สมัครยอมลงจากเก้าอี้**
นายกฯสมัครยอมจำนนและลาออกจากตำแหน่งพร้อมกับคณะรัฐบาล เมื่อนั้นก็จะเป็นโอกาสสำหรับพรรคประชาธิปัตย์ในการจัดตั้งรัฐบาลผสมชุดใหม่ร่วมกับพรรคการเมืองอื่น ๆ แต่หากที่สุดแล้วพรรคประชาธิปัตย์ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ก็ต้องคืนอำนาจให้ประชาชนและจัดการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง
**ฝ่ายพันธมิตรเงินหมดและพ่ายแพ้เอง**
ไม่มีใครรู้ว่าจริง ๆ แล้วใครเป็นผู้สนับสนุนพันธมิตรฯ นักวิเคราะห์ส่วนมากมองว่า ฝ่ายพันธมิตรฯ มีเงินสนับสนุนอย่างล้นเหลือและเครือข่ายความสัมพันธ์ที่ดีเยี่ยม ดังนั้นขณะนี้ พันธมิตรคงไม่ยอมแพ้ง่าย ๆ อย่างแน่นอน
**พระเจ้าอยู่หัวทรงคลี่คลายความขัดแย้ง**
ชาวไทยเคารพรักพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ดังหนึ่งสมมุติเทพ และในช่วง 60 ปีแห่งการครองราชย์ พระองค์การก็ได้ทรงคลี่คลายความขัดแย้งอยู่หลายครั้ง
****หลายชาติเตือนคนประเทศตนระวังตัวเมื่ออยู่ในไทย****
รัฐบาลของหลายประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย, อังกฤษ, และสหรัฐฯ ต่างออกคำแนะนำถึงคนในชาติของตนว่าถ้าหากไม่มีความจำเป็น ก็อย่าได้มาประเทศไทย และถ้ามาก็ขอให้ระมัดระวังตัว ขณะที่เกาหลีใต้ก็เรียกร้องให้พวกที่วางแผนมาเที่ยวไทย ชะลอการเดินทางไปก่อน
กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษกล่าวในเว็บไซต์ของตนว่า ได้เกิดความรุนแรงระหว่างตำรวจกับผู้ประท้วง รวมทั้งมีการใช้แก๊สน้ำตา และยังมีความเป็นไปได้ที่อาจเกิดการปะทะรุนแรงต่อไปอีก จึงขอให้คนอังกฤษที่อยู่ในไทยระมัดระวัง หลีกเลี่ยงไม่ไปยังที่มีการเดินขบวนหรือการชุมนุมใหญ่ๆ
ส่วนทางออสเตรเลีย รัฐมนตรีต่างประเทศแดนจิงโจ้ นายสตีเฟน สมิธ กล่าวว่า นักท่องเที่ยวชาวออสเตรเลียที่เข้ามาในไทยในช่วงหนึ่งๆ อาจจะมีถึง 20,000 คน โดยที่มีประมาณ 300 คนซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากการประท้วงต่อต้านรัฐบาลในไทย ที่มีการปิดสนามบินทางภาคใต้ ทำให้ไม่ได้รับความสะดวกและต้องหงุดหงิดผิดหวังกัน ทว่าเชื่อว่าไม่มีชาวออสเตรเลียคนไหนได้รับอันตรายอะไร
ทางด้านมาเลเซีย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกลาโหม นาจิบ ราซัค กล่าวว่า มาเลเซียมีความห่วงใยต่อสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย และหวังว่าจะมีทางออกแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้นเป็นเรื่องภายในซึ่งคนไทยจะต้องแก้ไขกันเอง อีกทั้งสถานการณ์ยังไม่ได้ถึงขั้นจลาจล หรือคุกคามผู้ไปเยือนและนักท่องเที่ยว
สำนักข่าวรอยเตอร์วานนี้(31ส.ค.) เสนอรายงานข่าวซึ่งมุ่งตอบคำถามว่า จากการที่ประเทศไทยกำลังประสบวิกฤตการณ์ทางการเมืองในเวลานี้ เหตุการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไปในอนาคต โดยไปประมวลภาพสถานการณ์ที่อาจเป็นไปได้รวมทั้งสิ้น 7 ประการ แต่ก็เตือนด้วยว่า ความเป็นไปได้เหล่านี้ยังไม่มีทางไหนเลยที่จะสามารถเยียวยาความแตกแยกที่ร้าวลึกในสังคมไทย ระหว่างคนยากจนในชนบทและในเมืองซึ่งสนับสนุน “ทักษิณ” กับชนชั้นกลางในกรุงเทพฯที่ต่อต้าน “ทักษิณ
ความเป็นไปได้ทั้ง 7 ประการที่รอยเตอร์เสนอไว้ มีดังนี้
** สมัครยุบสภาและจัดการเลือกตั้งใหม่**
นายกฯสมัครตัดสินใจยุบสภาและจัดการเลือกตั้งใหม่ ด้วยความหวังที่จะลดกระแสแรงกดดันจากฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ทว่าที่สุดแล้วแน่นอนว่า พรรคพลังประชาชนต้องได้รับเลือกและเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่อีกครั้ง ดังนั้นทางเลือกนี้จะไม่อาจทำให้ฝ่ายพันธมิตรยุติการเคลื่อนไหว
ในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ รัฐสภามีกำหนดจะจัดอภิปรายและลงมติร่างงบประมาณแผ่นดินฉบับใหม่ อันจะเป็นการเพิ่มเงินในกระเป๋าของรัฐบาลสำหรับการหาเสียงที่จะมีขึ้น
** สมัครประกาศภาวะฉุกเฉิน**
นายกฯสมัครอาจเลือกประกาศภาวะฉุกเฉิน เพื่อขอความสนับสนุนจากทหารในการสลายฝูงผู้ชุมนุมที่บุกยึดทำเนียบรัฐบาล
ทว่าบทเรียนนองเลือดเมื่อครั้งสลายผู้ชุมนุมจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬที่ยังคงหลอกหลอนจนถึงทุกวันนี้ จึงยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าทหารจะปฎิบัติตามคำสั่งดังกล่าว
**ทหารก่อรัฐประหาร**
ในขณะที่การรัฐประหาร 19 กันยายนกำลังเวียนใกล้จะครบรอบ 2 ปี ผู้บัญชาการทหารบก พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดายังคงย้ำชัดว่า การยึดอำนาจอีกครั้งจะไม่ช่วยคลี่คลายวิกฤตการเมืองของประเทศ
แต่หาก สถานการณ์เริ่มตึงเครียดยิ่งขึ้นและมีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ทหารอาจรู้สึกมีความชอบธรรมในการแทรกแซง โดยอ้างเหตุผลเพื่อความสมานฉันท์ภายในชาติและบีบบังคับให้รัฐบาลลงจากตำแหน่ง
หากเป็นไปตามนี้ ก็ยากที่จะหยั่งรู้ได้ว่า รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่นี้จะออกมาในรูปแบบไหน
**สมัคร หมดความอดทน สั่งตำรวจสลายฝูงชน**
ถึงแม้เขาจะขึ้นชื่อ ในฐานะเป็นหนึ่งในผู้ยั่วยุให้เกิดการปราบปรามนักศึกษาอย่างนองเลือดในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 แต่ครั้งนี้สมัครได้แสดงความอดทนอดกลั้นต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จนหลายคนอดสงสัยไม่ได้ว่า เขาจะสามารถอดทนอีกนานสักเพียงใด
หากมีการสลายฝูงชนจริง จะต้องมีผู้เสียชีวิตมากมาย และการนองเลือดที่เกิดขึ้นนั้น จะสร้างความไม่พอใจจากสาธารณชน จนบีบให้นายกฯ สมัคร ต้องออกจากตำแหน่ง
**สมัครยอมลงจากเก้าอี้**
นายกฯสมัครยอมจำนนและลาออกจากตำแหน่งพร้อมกับคณะรัฐบาล เมื่อนั้นก็จะเป็นโอกาสสำหรับพรรคประชาธิปัตย์ในการจัดตั้งรัฐบาลผสมชุดใหม่ร่วมกับพรรคการเมืองอื่น ๆ แต่หากที่สุดแล้วพรรคประชาธิปัตย์ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ก็ต้องคืนอำนาจให้ประชาชนและจัดการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง
**ฝ่ายพันธมิตรเงินหมดและพ่ายแพ้เอง**
ไม่มีใครรู้ว่าจริง ๆ แล้วใครเป็นผู้สนับสนุนพันธมิตรฯ นักวิเคราะห์ส่วนมากมองว่า ฝ่ายพันธมิตรฯ มีเงินสนับสนุนอย่างล้นเหลือและเครือข่ายความสัมพันธ์ที่ดีเยี่ยม ดังนั้นขณะนี้ พันธมิตรคงไม่ยอมแพ้ง่าย ๆ อย่างแน่นอน
**พระเจ้าอยู่หัวทรงคลี่คลายความขัดแย้ง**
ชาวไทยเคารพรักพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ดังหนึ่งสมมุติเทพ และในช่วง 60 ปีแห่งการครองราชย์ พระองค์การก็ได้ทรงคลี่คลายความขัดแย้งอยู่หลายครั้ง
****หลายชาติเตือนคนประเทศตนระวังตัวเมื่ออยู่ในไทย****
รัฐบาลของหลายประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย, อังกฤษ, และสหรัฐฯ ต่างออกคำแนะนำถึงคนในชาติของตนว่าถ้าหากไม่มีความจำเป็น ก็อย่าได้มาประเทศไทย และถ้ามาก็ขอให้ระมัดระวังตัว ขณะที่เกาหลีใต้ก็เรียกร้องให้พวกที่วางแผนมาเที่ยวไทย ชะลอการเดินทางไปก่อน
กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษกล่าวในเว็บไซต์ของตนว่า ได้เกิดความรุนแรงระหว่างตำรวจกับผู้ประท้วง รวมทั้งมีการใช้แก๊สน้ำตา และยังมีความเป็นไปได้ที่อาจเกิดการปะทะรุนแรงต่อไปอีก จึงขอให้คนอังกฤษที่อยู่ในไทยระมัดระวัง หลีกเลี่ยงไม่ไปยังที่มีการเดินขบวนหรือการชุมนุมใหญ่ๆ
ส่วนทางออสเตรเลีย รัฐมนตรีต่างประเทศแดนจิงโจ้ นายสตีเฟน สมิธ กล่าวว่า นักท่องเที่ยวชาวออสเตรเลียที่เข้ามาในไทยในช่วงหนึ่งๆ อาจจะมีถึง 20,000 คน โดยที่มีประมาณ 300 คนซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากการประท้วงต่อต้านรัฐบาลในไทย ที่มีการปิดสนามบินทางภาคใต้ ทำให้ไม่ได้รับความสะดวกและต้องหงุดหงิดผิดหวังกัน ทว่าเชื่อว่าไม่มีชาวออสเตรเลียคนไหนได้รับอันตรายอะไร
ทางด้านมาเลเซีย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกลาโหม นาจิบ ราซัค กล่าวว่า มาเลเซียมีความห่วงใยต่อสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย และหวังว่าจะมีทางออกแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้นเป็นเรื่องภายในซึ่งคนไทยจะต้องแก้ไขกันเอง อีกทั้งสถานการณ์ยังไม่ได้ถึงขั้นจลาจล หรือคุกคามผู้ไปเยือนและนักท่องเที่ยว