วานนี้ (18 ส.ค.) เมื่อเวลา 10.30 น.ที่พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา ผศ. ดร.เศาวนิต เศาณานนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา พร้อมด้วย ผศ.ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา พร้อมด้วยตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจังหวัดชัยภูมิ ร่วมกันแถลงข่าว การค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์อายุประมาณ 210 ล้านปีก่อน ซึ่งเป็นรอยเท้าเก่าที่สุดในโลกที่ บ้านโนนตูม ต.วังชมภู อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ
ผศ.ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ หัวหน้าคณะสำรวจไดโนเสาร์ เปิดเผยว่า คณะสำรวจไดโนเสาร์จากสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้เดินทางไปศึกษาสำรวจรอยเท้าไดโนเสาร์ บริเวณลานหินริมตลิ่งลำชี เขต บ้านโนนตูม ต.วังชมภู อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ เมื่อเดือน ก.ค. 2551 ที่ผ่านมา ตามคำบอกเล่าของ นายศุภโชค หาญกุดเลาะ ชาวบ้านบ้านโนนตูม พร้อมนำคณะสำรวจลงพื้นที่ดูรอยเท้าที่พบจริง
ทั้งนี้ จากการสำรวจ พบรอยเท้าไดโนเสาร์จำนวนมากกว่า 80 รอย บนลานหินทราย พื้นที่ประมาณ 50 ตารางเมตร ทางคณะได้นำผลการสำรวจไปปรึกษา ดร.โยอิชิ อะซูมา ผู้เชี่ยวชาญไดโนเสาร์ จากพิพิธภัณฑ์ฟูกุอิ ประเทศญี่ปุ่น และ ศาสตราจารย์ ต่ง จือหมิง จากพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ลูเฟง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สามารถจำแนกรอยเท้าที่ปรากฏได้ 3 ลักษณะ คือ ลักษณะแรกเป็นแนวทางเดินของรอยเท้าทรงกลมมนคล้ายรอยเท้าของช้าง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 44 เซนติเมตร จำนวนไม่ต่ำกว่า 17 รอย คาดว่าเป็นรอยเท้าของไดโนเสาร์ซอโรพอด หรือ ไดโนเสาร์สี่เท้าขนาดใหญ่กินพืช
ลักษณะที่ 2 เป็นแนวทางเดินของรอยเท้า 3 นิ้ว คล้ายเท้านก ขนาดกว้าง x ยาว เท่ากับ 28 x 30 เซนติเมตร จำนวนไม่ต่ำกว่า 15 รอย คาดว่าเป็นรอยเท้าของไดโนเสาร์ คาร์โนซอร์ หรือ ไดโนเสาร์สองเท้าขนาดใหญ่กินเนื้อ
ส่วนลักษณะที่ 3 เป็นแนวทางเดินของรอยเท้า 2 กีบคล้ายเท้าควาย รอยเท้าหลังมีขนาด 18 x 20 เซนติเมตร จำนวนไม่ต่ำกว่า 29 รอย รอยเท้าหน้า ขนาด 10 x 20 เซนติเมตร จำนวน 19 รอย ลักษณะที่ 3 นี้ ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นรอยไดโนเสาร์ หรือสัตว์เลื้อยคลานประเภทใด แต่คาดว่าเป็นรอยเท้าพวกใหม่ที่น่าจะยังไม่เคยพบมาก่อน
ผศ.ดร.ประเทือง กล่าวอีกว่า รอยเท้าทั้งหมดพบอยู่บนหินที่นักธรณีวิทยาเรียกว่า "หมวดหินน้ำพอง" ซึ่งกรมทรัพยากรธรณี ให้อายุอยู่ในยุคไทรแอสซิกตอนปลาย หรือประมาณ 210 ล้านปีก่อน ความสำคัญของรอยเท้าที่พบครั้งนี้ จึงคาดว่าเป็นรอยเท้าไดโนเสาร์ซอโรพอด และคาร์โนซอร์ที่มีอายุเก่าที่สุดในโลก เพราะรอยเท้าดังกล่าวในแหล่งอื่นที่อายุเก่า จะพบในหินยุคจูแรสซิก (ประมาณ 200 - 146 ล้านปีก่อน) และเป็นการสนับสนุน การค้นพบซากดึกดำบรรพ์กระดูกไดโนเสาร์ซอโรพอดเป็นชนิดกินพืช ของกรมทรัพยากรธรณี ที่ให้ชื่อว่า "อิสานโนชอรัส อรรถวิภิชน์ชิ" ซึ่งถือว่าเก่าที่สุดในโลกอายุประมาณ 210 ล้านปีก่อนเช่นกัน จากแหล่งตำบลถ้ำวัวแดง จ.เลย ซึ่งเป็นตำบลติดต่อกันกับตำบลวังชมภู ที่เป็นแหล่งพบรอยเท้าไดโนเสาร์ครั้งนี้ และคาดว่ารอยเท้าส่วนใหญ่ที่มีลักษณะคล้ายกีบเท้าสัตว์ 2 กีบนั้นน่า จะเป็นรอยเท้าไดโนเสาร์หรือสัตว์เลื้อยคลานพันธุ์ใหม่ที่ยังไม่พบในทวีปใดมาก่อน
"การค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์อายุเก่าที่สุดในโลกครั้งนี้ถือเป็นการค้นพบครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่ง เพราะที่ผ่านมาไม่เคยปรากฏพบรอยเท้าของไดโนเสาร์ชนิดที่กินพืชกับกินเนื้ออยู่ด้วยกันและมีอายุมากขนาดนี้มาก่อน แต่มาพบที่ จ.ชัยภูมิ เป็นแห่งแรก และอาจจะบอกได้ว่านี่คือแหล่งกำเนิดของไดโนเสาร์ของโลก และยังมีรอยเท้าที่จำแนกไม่ได้อีกในขณะนี้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศจะลงมาศึกษาเพื่อหารายละเอียดของรายเท้าดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง ฉะนั้นแหล่งค้นพบครั้งนี้ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก และนับเป็นโอกาสที่ดีที่จะสนับสนุนให้มีพิพิธภัณฑ์แสดงรอยเท้าไดโนเสาร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกให้เกิดขึ้นในท้องถิ่น" ผศ.ดร.ประเทือง กล่าว
ผศ.ดร.ประเทือง กล่าวอีกว่า สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ซึ่งมีพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์อยู่แล้ว จะนำรอยเท้าจำลองมาจัดแสดงนิทรรศการรอยเท้าไดโนเสาร์ชัยภูมิที่ "อาคารสิรินธร" ภายในสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหิน ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา ซึ่งจะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 29 ต.ค. 2551 ที่จะถึงนี้ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จมาเป็นองค์ประธานเปิดอาคารดังกล่าว
ผศ.ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ หัวหน้าคณะสำรวจไดโนเสาร์ เปิดเผยว่า คณะสำรวจไดโนเสาร์จากสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้เดินทางไปศึกษาสำรวจรอยเท้าไดโนเสาร์ บริเวณลานหินริมตลิ่งลำชี เขต บ้านโนนตูม ต.วังชมภู อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ เมื่อเดือน ก.ค. 2551 ที่ผ่านมา ตามคำบอกเล่าของ นายศุภโชค หาญกุดเลาะ ชาวบ้านบ้านโนนตูม พร้อมนำคณะสำรวจลงพื้นที่ดูรอยเท้าที่พบจริง
ทั้งนี้ จากการสำรวจ พบรอยเท้าไดโนเสาร์จำนวนมากกว่า 80 รอย บนลานหินทราย พื้นที่ประมาณ 50 ตารางเมตร ทางคณะได้นำผลการสำรวจไปปรึกษา ดร.โยอิชิ อะซูมา ผู้เชี่ยวชาญไดโนเสาร์ จากพิพิธภัณฑ์ฟูกุอิ ประเทศญี่ปุ่น และ ศาสตราจารย์ ต่ง จือหมิง จากพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ลูเฟง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สามารถจำแนกรอยเท้าที่ปรากฏได้ 3 ลักษณะ คือ ลักษณะแรกเป็นแนวทางเดินของรอยเท้าทรงกลมมนคล้ายรอยเท้าของช้าง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 44 เซนติเมตร จำนวนไม่ต่ำกว่า 17 รอย คาดว่าเป็นรอยเท้าของไดโนเสาร์ซอโรพอด หรือ ไดโนเสาร์สี่เท้าขนาดใหญ่กินพืช
ลักษณะที่ 2 เป็นแนวทางเดินของรอยเท้า 3 นิ้ว คล้ายเท้านก ขนาดกว้าง x ยาว เท่ากับ 28 x 30 เซนติเมตร จำนวนไม่ต่ำกว่า 15 รอย คาดว่าเป็นรอยเท้าของไดโนเสาร์ คาร์โนซอร์ หรือ ไดโนเสาร์สองเท้าขนาดใหญ่กินเนื้อ
ส่วนลักษณะที่ 3 เป็นแนวทางเดินของรอยเท้า 2 กีบคล้ายเท้าควาย รอยเท้าหลังมีขนาด 18 x 20 เซนติเมตร จำนวนไม่ต่ำกว่า 29 รอย รอยเท้าหน้า ขนาด 10 x 20 เซนติเมตร จำนวน 19 รอย ลักษณะที่ 3 นี้ ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นรอยไดโนเสาร์ หรือสัตว์เลื้อยคลานประเภทใด แต่คาดว่าเป็นรอยเท้าพวกใหม่ที่น่าจะยังไม่เคยพบมาก่อน
ผศ.ดร.ประเทือง กล่าวอีกว่า รอยเท้าทั้งหมดพบอยู่บนหินที่นักธรณีวิทยาเรียกว่า "หมวดหินน้ำพอง" ซึ่งกรมทรัพยากรธรณี ให้อายุอยู่ในยุคไทรแอสซิกตอนปลาย หรือประมาณ 210 ล้านปีก่อน ความสำคัญของรอยเท้าที่พบครั้งนี้ จึงคาดว่าเป็นรอยเท้าไดโนเสาร์ซอโรพอด และคาร์โนซอร์ที่มีอายุเก่าที่สุดในโลก เพราะรอยเท้าดังกล่าวในแหล่งอื่นที่อายุเก่า จะพบในหินยุคจูแรสซิก (ประมาณ 200 - 146 ล้านปีก่อน) และเป็นการสนับสนุน การค้นพบซากดึกดำบรรพ์กระดูกไดโนเสาร์ซอโรพอดเป็นชนิดกินพืช ของกรมทรัพยากรธรณี ที่ให้ชื่อว่า "อิสานโนชอรัส อรรถวิภิชน์ชิ" ซึ่งถือว่าเก่าที่สุดในโลกอายุประมาณ 210 ล้านปีก่อนเช่นกัน จากแหล่งตำบลถ้ำวัวแดง จ.เลย ซึ่งเป็นตำบลติดต่อกันกับตำบลวังชมภู ที่เป็นแหล่งพบรอยเท้าไดโนเสาร์ครั้งนี้ และคาดว่ารอยเท้าส่วนใหญ่ที่มีลักษณะคล้ายกีบเท้าสัตว์ 2 กีบนั้นน่า จะเป็นรอยเท้าไดโนเสาร์หรือสัตว์เลื้อยคลานพันธุ์ใหม่ที่ยังไม่พบในทวีปใดมาก่อน
"การค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์อายุเก่าที่สุดในโลกครั้งนี้ถือเป็นการค้นพบครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่ง เพราะที่ผ่านมาไม่เคยปรากฏพบรอยเท้าของไดโนเสาร์ชนิดที่กินพืชกับกินเนื้ออยู่ด้วยกันและมีอายุมากขนาดนี้มาก่อน แต่มาพบที่ จ.ชัยภูมิ เป็นแห่งแรก และอาจจะบอกได้ว่านี่คือแหล่งกำเนิดของไดโนเสาร์ของโลก และยังมีรอยเท้าที่จำแนกไม่ได้อีกในขณะนี้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศจะลงมาศึกษาเพื่อหารายละเอียดของรายเท้าดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง ฉะนั้นแหล่งค้นพบครั้งนี้ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก และนับเป็นโอกาสที่ดีที่จะสนับสนุนให้มีพิพิธภัณฑ์แสดงรอยเท้าไดโนเสาร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกให้เกิดขึ้นในท้องถิ่น" ผศ.ดร.ประเทือง กล่าว
ผศ.ดร.ประเทือง กล่าวอีกว่า สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ซึ่งมีพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์อยู่แล้ว จะนำรอยเท้าจำลองมาจัดแสดงนิทรรศการรอยเท้าไดโนเสาร์ชัยภูมิที่ "อาคารสิรินธร" ภายในสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหิน ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา ซึ่งจะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 29 ต.ค. 2551 ที่จะถึงนี้ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จมาเป็นองค์ประธานเปิดอาคารดังกล่าว