“ปิดอบาย เบิกฟ้า พลิกฟื้นใจเมือง” ข้อความตอนหนึ่งจากศิลาจารึกสมัยสุโขทัย และน่าจะถือได้ว่าเป็นนโยบายปกครองทางด้านสังคมของพระมหากษัตริย์ผู้ครองแผ่นดินในยุคนั้นได้
โดยนัยแห่งวลีที่ยกมา ได้รับคำอธิบายขยายความจากท่านผู้รู้ว่า หมายถึง การป้องกันการกระทำชั่ว อันเป็นเหตุให้ผู้กระทำตกนรก และในขณะเดียวกันส่งเสริมให้คนทำความดีอันเป็นเหตุให้ผู้กระทำขึ้นสวรรค์ โดยการฟื้นฟูจิตใจพลเมืองให้ฝักใฝ่คุณธรรม
น่าจะด้วยเหตุนี้เองที่คนไทยสมัยสุโขทัยมีความอยู่ดีกินดี ไม่เดือดร้อน และที่สำคัญเมื่อคนส่วนใหญ่เป็นคนดีมีศีลธรรม สังคมไทยก็ไม่เดือดร้อน ทรัพยากรธรรมชาติก็ไม่ถูกทำลาย เป็นผลให้ความสมบูรณ์ปรากฏให้เห็นทั้งในน้ำ และบนบก จะเห็นได้จากข้อความในจารึกที่ว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว
แต่เมืองไทยวันนี้ และเวลานี้ความสมบูรณ์ต่างๆ ที่ว่านี้มีเหลือให้เห็นน้อยเต็มที เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรผู้บริโภคแล้วพูดได้เลยว่าไม่เพียงพอหรือถึงขั้นขาดแคลนด้วยซ้ำ และที่เป็นเช่นนี้เพราะคนไทยกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่มีอำนาจแต่ขาดศีลธรรมได้แสวงหาสิ่งที่ควรจะคงไว้เพื่อส่วนรวม เช่น ป่าไม้ เป็นต้นมา เป็นของตนโดยการเข้ายึดครองป่าสงวน และทำลายป่าโดยการตัดไม้ไปขาย เผาทำลายเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจแทนที่ จึงทำให้คนส่วนใหญ่ของประเทศที่ควรจะได้รับประโยชน์จากการคงอยู่ของทรัพยากรธรรมชาติที่ว่านี้ต้องเดือดร้อน ทั้งโดยทางตรงคือไม่มีไม้ใช้ และในทางอ้อมคือ เมื่อไม่มีป่าฝนก็ไม่ตก และเมื่อถึงคราตกก็ทำให้เกิดน้ำท่วม
นี่แค่ป่าเรื่องเดียว เรื่องอื่น เช่น แหล่งน้ำ เป็นต้น ก็ทำนองเดียวกับถูกทำลายโดยคนกลุ่มเดียว และทำให้คนส่วนใหญ่เดือดร้อนเช่นกัน และการที่สังคมไทยเดือดร้อนเช่นนี้ ก็น่าจะเกิดจากนโยบายทางสังคมที่อาจพูดได้กลับหัวกลับหางกับข้อความที่ยกมาข้างต้น ในทำนองว่า เปิดนรก ปิดฟ้า ครอบงำประชาด้วยอกุศลกรรม ของกลุ่มคนที่มีอำนาจรัฐดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
อะไรคือเหตุแห่งความเสื่อมทางด้านศีลธรรม และผลอันเกิดจากความเสื่อมเช่นนี้จะเป็นอย่างไร?
เพื่อให้ท่านผู้อ่านมองเห็นประเด็นแห่งปัญหาได้ง่ายขึ้น และสามารถอนุมานถึงผลที่จะเกิดตามมาได้อย่างเป็นรูปธรรม ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านมองย้อนไปดูความเป็นมาของการศึกษา อันถือได้ว่าเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมทุกด้าน ไม่ว่าเศรษฐกิจ สังคม หรือแม้กระทั่งการเมือง ก็พอจะอนุมานได้ดังต่อไปนี้
1. ในอดีตก่อนที่ประเทศไทยจะได้รับอิทธิพลทางด้านการศึกษาจากโลกตะวันตก การศึกษาของไทยขึ้นอยู่กับศาสนา ครูคนแรกที่สอนเด็กนอกเหนือจากพ่อแม่ก็คือ พระสงฆ์
ดังนั้น เด็กชายจะมีโอกาสได้รับการศึกษาเพราะสามารถนำไปฝากไว้กับพระสงฆ์ในวัด เป็นทั้งเด็กรับใช้พระสงฆ์ และได้รับการศึกษาอบรมไปพร้อมกัน ด้วยเหตุนี้จึงได้รับอิทธิพลจากคำสอนของพุทธศาสนาค่อนข้างมาก
ในขณะที่เรียนความรู้เรื่องศีลธรรมเด็กจะได้รับการสอนวิชาอื่นๆ ประกอบ เช่น ภาษาไทย ภาษาบาลี และวิชาช่างบางแขนงจากพระสงฆ์ด้วย
เมื่อเด็กโตขึ้นผ่านการบวชแล้วส่วนใหญ่ก็จะออกมามีครอบครัวประกอบอาชีพตามความรู้ ความสามารถที่ได้รับการสอนมา ที่เรียนดีมีความแตกฉาน และการอ่าน การเขียนคล่องแคล่วก็จะรับราชการ ส่วนที่อ่อนด้อยในเรื่องของความรู้ก็ทำไร่ทำนา
แต่ทุกคนที่ได้รับการสอนจากวัดจะใช้ชีวิตตามครรลองคลองธรรม ตามนัยแห่งคำสอนของพระพุทธศาสนา จึงทำให้สังคมโดยรวมไม่เดือดร้อนจากการกระทำของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
2. ในยุคจากที่ผู้คนในสังคมไทยได้รับอิทธิพลจากการศึกษาของโลกตะวันตกก็เริ่มหันเหไปทางวัตถุมากขึ้นเรื่อยๆ และในขณะเดียวกันก็ต่างจากวัด เมื่อโรงเรียนอยู่นอกวัด ครูที่สอนมิใช่พระสงฆ์ แต่กลายเป็นคนสอนเพื่อแลกกับตำแหน่งและเงินเดือน จึงทำให้การอบรมทางด้านจิตใจซึ่งควบคู่กับการศึกษาตลอดในยุคที่เด็กอยู่ใกล้พระสงฆ์ ก็ลดลงถึงขั้นที่เรียกได้ว่าเหลือน้อยหรือในบางสถานศึกษาไม่เหลือเลย จะเห็นได้จากการที่ครูกระทำผิดด้วยการมีเพศสัมพันธ์กับศิษย์ ทั้งที่ได้รับการยินยอมพร้อมใจ และการข่มขืน รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนกับคะแนนดังที่เคยปรากฏมาแล้ว ถือเป็นตัวอย่างที่ให้การศึกษา แต่ไม่ให้การอบรมได้เป็นอย่างดี
3. ในอดีตการบริหารจัดการของฝ่ายปกครองมิได้มุ่งจัดการด้านความเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก แต่มุ่งเน้นให้เกิดความสุขทางใจอยู่ไปได้ไม่เดือดร้อน และให้ความเป็นธรรมอย่างทั่วถึง
แต่ในปัจจุบันทุกรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศได้มุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ถึงกับวัดความเจริญของประเทศโดยการนับเป็นตัวเลขหรือถือจำนวนเป็นตัววัด โดยไม่ดูว่าวัตถุที่ได้มานั้นทำให้เกิดการสูญเสียอะไรบ้าง เช่น การสร้างโรงงานอุตสาหกรรม และมีการทำลายสิ่งแวดล้อมให้เสียไป จะเห็นได้จากแหล่งน้ำสายหลัก เช่น เจ้าพระยา เป็นต้น ถึงแม้จะมีน้ำแต่ก็มีปลาน้อยลงจากที่เคยมีอยู่มากมายหลายชนิดคงเหลือเพียงไม่กี่ชนิด และนี่คือผลของความก้าวหน้าทางวัตถุ แต่ไม่สนใจเรื่องศีลธรรม
ยิ่งกว่านี้ เมื่อการศึกษามุ่งเน้นความเจริญทางด้านวัตถุ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแน่นอนว่าคนที่ได้รับเลือกก็คือคนที่เพียบพร้อมด้วยวัตถุ
ดังนั้น การซื้อเสียงและการขายสิทธิเลือกตั้งที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ก็คือผลของการศึกษาในระบบนี้ และถ้าไม่มีการแก้ไขระบบการศึกษาให้แตกต่างไปจากที่เป็นอยู่ ไม่ว่าปัญหาเศรษฐกิจ สังคม หรือการเมืองที่มีปัญหาเพราะบุคลากรในวงการนั้นทำไม่ดีเนื่องจากขาดคุณธรรมก็จะไม่มีการแก้ไขได้
ไม่ต้องพูดถึงว่าจะให้มีการเมืองใหม่หรือแก้ไขการเมืองเก่าให้ดีขึ้นว่าจะทำได้หรือไม่ และปัญหาที่เกิดทั้งหมดในขณะนี้มิได้เกิดจากกฎหมายที่บังคับใช้ไม่ดี หรือระบบไม่ดี แต่เกิดจากคนที่ไม่ดี
ดังนั้น ถ้าจะแก้ปัญหาก็จะต้องแก้ที่คนอันเป็นตอแห่งปัญหา เพราะคนเป็นผู้ออกกฎหมาย เป็นผู้ใช้กฎหมาย และสุดท้ายคนคือผู้สร้างระบบ และควบคุมระบบ ถ้าคนไม่ดีแล้วต่อให้กฎหมายดี และระบบดีก็ไม่มีทางที่ดีไปได้ สุดท้ายขอฝากให้คิด “ตัวอย่างที่ดี ดีกว่าคำสอนที่ดี จงทำให้ดู อย่าเพียงพูดให้ฟัง”
โดยนัยแห่งวลีที่ยกมา ได้รับคำอธิบายขยายความจากท่านผู้รู้ว่า หมายถึง การป้องกันการกระทำชั่ว อันเป็นเหตุให้ผู้กระทำตกนรก และในขณะเดียวกันส่งเสริมให้คนทำความดีอันเป็นเหตุให้ผู้กระทำขึ้นสวรรค์ โดยการฟื้นฟูจิตใจพลเมืองให้ฝักใฝ่คุณธรรม
น่าจะด้วยเหตุนี้เองที่คนไทยสมัยสุโขทัยมีความอยู่ดีกินดี ไม่เดือดร้อน และที่สำคัญเมื่อคนส่วนใหญ่เป็นคนดีมีศีลธรรม สังคมไทยก็ไม่เดือดร้อน ทรัพยากรธรรมชาติก็ไม่ถูกทำลาย เป็นผลให้ความสมบูรณ์ปรากฏให้เห็นทั้งในน้ำ และบนบก จะเห็นได้จากข้อความในจารึกที่ว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว
แต่เมืองไทยวันนี้ และเวลานี้ความสมบูรณ์ต่างๆ ที่ว่านี้มีเหลือให้เห็นน้อยเต็มที เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรผู้บริโภคแล้วพูดได้เลยว่าไม่เพียงพอหรือถึงขั้นขาดแคลนด้วยซ้ำ และที่เป็นเช่นนี้เพราะคนไทยกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่มีอำนาจแต่ขาดศีลธรรมได้แสวงหาสิ่งที่ควรจะคงไว้เพื่อส่วนรวม เช่น ป่าไม้ เป็นต้นมา เป็นของตนโดยการเข้ายึดครองป่าสงวน และทำลายป่าโดยการตัดไม้ไปขาย เผาทำลายเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจแทนที่ จึงทำให้คนส่วนใหญ่ของประเทศที่ควรจะได้รับประโยชน์จากการคงอยู่ของทรัพยากรธรรมชาติที่ว่านี้ต้องเดือดร้อน ทั้งโดยทางตรงคือไม่มีไม้ใช้ และในทางอ้อมคือ เมื่อไม่มีป่าฝนก็ไม่ตก และเมื่อถึงคราตกก็ทำให้เกิดน้ำท่วม
นี่แค่ป่าเรื่องเดียว เรื่องอื่น เช่น แหล่งน้ำ เป็นต้น ก็ทำนองเดียวกับถูกทำลายโดยคนกลุ่มเดียว และทำให้คนส่วนใหญ่เดือดร้อนเช่นกัน และการที่สังคมไทยเดือดร้อนเช่นนี้ ก็น่าจะเกิดจากนโยบายทางสังคมที่อาจพูดได้กลับหัวกลับหางกับข้อความที่ยกมาข้างต้น ในทำนองว่า เปิดนรก ปิดฟ้า ครอบงำประชาด้วยอกุศลกรรม ของกลุ่มคนที่มีอำนาจรัฐดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
อะไรคือเหตุแห่งความเสื่อมทางด้านศีลธรรม และผลอันเกิดจากความเสื่อมเช่นนี้จะเป็นอย่างไร?
เพื่อให้ท่านผู้อ่านมองเห็นประเด็นแห่งปัญหาได้ง่ายขึ้น และสามารถอนุมานถึงผลที่จะเกิดตามมาได้อย่างเป็นรูปธรรม ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านมองย้อนไปดูความเป็นมาของการศึกษา อันถือได้ว่าเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมทุกด้าน ไม่ว่าเศรษฐกิจ สังคม หรือแม้กระทั่งการเมือง ก็พอจะอนุมานได้ดังต่อไปนี้
1. ในอดีตก่อนที่ประเทศไทยจะได้รับอิทธิพลทางด้านการศึกษาจากโลกตะวันตก การศึกษาของไทยขึ้นอยู่กับศาสนา ครูคนแรกที่สอนเด็กนอกเหนือจากพ่อแม่ก็คือ พระสงฆ์
ดังนั้น เด็กชายจะมีโอกาสได้รับการศึกษาเพราะสามารถนำไปฝากไว้กับพระสงฆ์ในวัด เป็นทั้งเด็กรับใช้พระสงฆ์ และได้รับการศึกษาอบรมไปพร้อมกัน ด้วยเหตุนี้จึงได้รับอิทธิพลจากคำสอนของพุทธศาสนาค่อนข้างมาก
ในขณะที่เรียนความรู้เรื่องศีลธรรมเด็กจะได้รับการสอนวิชาอื่นๆ ประกอบ เช่น ภาษาไทย ภาษาบาลี และวิชาช่างบางแขนงจากพระสงฆ์ด้วย
เมื่อเด็กโตขึ้นผ่านการบวชแล้วส่วนใหญ่ก็จะออกมามีครอบครัวประกอบอาชีพตามความรู้ ความสามารถที่ได้รับการสอนมา ที่เรียนดีมีความแตกฉาน และการอ่าน การเขียนคล่องแคล่วก็จะรับราชการ ส่วนที่อ่อนด้อยในเรื่องของความรู้ก็ทำไร่ทำนา
แต่ทุกคนที่ได้รับการสอนจากวัดจะใช้ชีวิตตามครรลองคลองธรรม ตามนัยแห่งคำสอนของพระพุทธศาสนา จึงทำให้สังคมโดยรวมไม่เดือดร้อนจากการกระทำของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
2. ในยุคจากที่ผู้คนในสังคมไทยได้รับอิทธิพลจากการศึกษาของโลกตะวันตกก็เริ่มหันเหไปทางวัตถุมากขึ้นเรื่อยๆ และในขณะเดียวกันก็ต่างจากวัด เมื่อโรงเรียนอยู่นอกวัด ครูที่สอนมิใช่พระสงฆ์ แต่กลายเป็นคนสอนเพื่อแลกกับตำแหน่งและเงินเดือน จึงทำให้การอบรมทางด้านจิตใจซึ่งควบคู่กับการศึกษาตลอดในยุคที่เด็กอยู่ใกล้พระสงฆ์ ก็ลดลงถึงขั้นที่เรียกได้ว่าเหลือน้อยหรือในบางสถานศึกษาไม่เหลือเลย จะเห็นได้จากการที่ครูกระทำผิดด้วยการมีเพศสัมพันธ์กับศิษย์ ทั้งที่ได้รับการยินยอมพร้อมใจ และการข่มขืน รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนกับคะแนนดังที่เคยปรากฏมาแล้ว ถือเป็นตัวอย่างที่ให้การศึกษา แต่ไม่ให้การอบรมได้เป็นอย่างดี
3. ในอดีตการบริหารจัดการของฝ่ายปกครองมิได้มุ่งจัดการด้านความเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก แต่มุ่งเน้นให้เกิดความสุขทางใจอยู่ไปได้ไม่เดือดร้อน และให้ความเป็นธรรมอย่างทั่วถึง
แต่ในปัจจุบันทุกรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศได้มุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ถึงกับวัดความเจริญของประเทศโดยการนับเป็นตัวเลขหรือถือจำนวนเป็นตัววัด โดยไม่ดูว่าวัตถุที่ได้มานั้นทำให้เกิดการสูญเสียอะไรบ้าง เช่น การสร้างโรงงานอุตสาหกรรม และมีการทำลายสิ่งแวดล้อมให้เสียไป จะเห็นได้จากแหล่งน้ำสายหลัก เช่น เจ้าพระยา เป็นต้น ถึงแม้จะมีน้ำแต่ก็มีปลาน้อยลงจากที่เคยมีอยู่มากมายหลายชนิดคงเหลือเพียงไม่กี่ชนิด และนี่คือผลของความก้าวหน้าทางวัตถุ แต่ไม่สนใจเรื่องศีลธรรม
ยิ่งกว่านี้ เมื่อการศึกษามุ่งเน้นความเจริญทางด้านวัตถุ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแน่นอนว่าคนที่ได้รับเลือกก็คือคนที่เพียบพร้อมด้วยวัตถุ
ดังนั้น การซื้อเสียงและการขายสิทธิเลือกตั้งที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ก็คือผลของการศึกษาในระบบนี้ และถ้าไม่มีการแก้ไขระบบการศึกษาให้แตกต่างไปจากที่เป็นอยู่ ไม่ว่าปัญหาเศรษฐกิจ สังคม หรือการเมืองที่มีปัญหาเพราะบุคลากรในวงการนั้นทำไม่ดีเนื่องจากขาดคุณธรรมก็จะไม่มีการแก้ไขได้
ไม่ต้องพูดถึงว่าจะให้มีการเมืองใหม่หรือแก้ไขการเมืองเก่าให้ดีขึ้นว่าจะทำได้หรือไม่ และปัญหาที่เกิดทั้งหมดในขณะนี้มิได้เกิดจากกฎหมายที่บังคับใช้ไม่ดี หรือระบบไม่ดี แต่เกิดจากคนที่ไม่ดี
ดังนั้น ถ้าจะแก้ปัญหาก็จะต้องแก้ที่คนอันเป็นตอแห่งปัญหา เพราะคนเป็นผู้ออกกฎหมาย เป็นผู้ใช้กฎหมาย และสุดท้ายคนคือผู้สร้างระบบ และควบคุมระบบ ถ้าคนไม่ดีแล้วต่อให้กฎหมายดี และระบบดีก็ไม่มีทางที่ดีไปได้ สุดท้ายขอฝากให้คิด “ตัวอย่างที่ดี ดีกว่าคำสอนที่ดี จงทำให้ดู อย่าเพียงพูดให้ฟัง”