เอเจนซี - นักวิจัยระบุเด็กที่มีปัญหาในการควบคุมและใช้งานอวัยวะส่วนต่างๆ ร่วมกัน มีแนวโน้มสูงกว่าเด็กอื่นๆ ที่จะเป็นโรคอ้วนเมื่อโตขึ้น
การค้นพบนี้เท่ากับเป็นการตอกย้ำความเชื่อมโยงระหว่างความบกพร่องของสมรรถภาพสมองในวัยเด็กกับโรคอ้วนและโรคเบาหวานประเภท 2 ในวัยผู้ใหญ่
การศึกษาเด็กอังกฤษนับหมื่นคนพบว่า เด็กที่มีปัญหาสมรรถภาพสมองและร่างกายช่วงระหว่างอายุ 7-11 ขวบ มีแนวโน้มมากขึ้นที่จะโตขึ้นเป็นโรคอ้วน
“ไม่ใช่ปัญหาที่ว่าคนที่น้ำหนักเกินอยู่แล้วจะกลายเป็นคนงุ่มง่ามเงอะงะ เนื่องจากเด็กเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่ได้อ้วนกว่าเพื่อนๆ เลย
“ที่เคยสันนิษฐานกันว่า อาการแทรกซ้อนในระบบประสาทที่เกี่ยวพันกับโรคอ้วนเป็นผลมาจากโรคอ้วนเองนั้นเป็นเรื่องที่ผิด” สก็อตต์ มองต์โกเมอรี หนึ่งในผู้ทำการวิจัยนี้อธิบาย
มองต์โกเมอร์รียังตั้งข้อสังเกตว่า ผลการค้นพบนี้ถูกต้อง แม้เมื่อพิจารณาปัจจัยที่อาจมีอิทธิพลอื่นๆ เช่น ดัชนีมวลกายในวัยเด็ก ชนชั้นทางสังคมของครอบครัวประกอบด้วยก็ตาม
สิ่งที่อยู่เบื้องหลังความเชื่อมโยงนี้อาจยังไม่ชัดเจน แต่มองต์โกเมอรีเชื่อว่า อาจเป็นปัจจัย อาทิ การที่แม่สูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์ หรือการที่ตัวเด็กเองไม่ค่อยออกกำลังกาย ซึ่งประเด็นหลังนั้นมีความสำคัญต่อพัฒนาการในการเคลื่อนไหว
ผลวิจัยชิ้นใหม่จากผู้เชี่ยวชาญของสถาบันคาโรลินสกาของสวีเดน และอิมพีเรียล คอลเลจแห่งลอนดอน มาจากข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างกว่า 11,000 คนที่เข้าร่วมในโครงการศึกษาพัฒนาการเด็กแห่งชาติของอังกฤษ ซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 1958 และยังดำเนินการต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
ในจำนวนนี้มี 8,000 คนที่ถูกคุณครูประเมินเมื่ออายุ 7 ขวบเกี่ยวกับสมรรถภาพในการควบคุมมือ และมีแค่ 7,000 คนที่ได้รับการทดสอบสมรรถภาพการควบคุมมือและการใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ประสานกันเมื่ออายุ 11 ขวบ
ผลศึกษาที่ตีพิมพ์ในบริติช เมดิคัล เจอร์นัลบ่งชี้ว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างปัญหาในระบบประสาทกับโรคอ้วนอย่างมากจนน่าประหลาดใจ อนึ่ง เมื่อเร็วๆ นี้ นักวิจัยอเมริกันรายงานว่า การวิ่งไม่เพียงช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ แต่ยังรวมถึงโรคเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น อัลไซเมอร์ รวมไปถึงมะเร็ง
การค้นพบนี้เท่ากับเป็นการตอกย้ำความเชื่อมโยงระหว่างความบกพร่องของสมรรถภาพสมองในวัยเด็กกับโรคอ้วนและโรคเบาหวานประเภท 2 ในวัยผู้ใหญ่
การศึกษาเด็กอังกฤษนับหมื่นคนพบว่า เด็กที่มีปัญหาสมรรถภาพสมองและร่างกายช่วงระหว่างอายุ 7-11 ขวบ มีแนวโน้มมากขึ้นที่จะโตขึ้นเป็นโรคอ้วน
“ไม่ใช่ปัญหาที่ว่าคนที่น้ำหนักเกินอยู่แล้วจะกลายเป็นคนงุ่มง่ามเงอะงะ เนื่องจากเด็กเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่ได้อ้วนกว่าเพื่อนๆ เลย
“ที่เคยสันนิษฐานกันว่า อาการแทรกซ้อนในระบบประสาทที่เกี่ยวพันกับโรคอ้วนเป็นผลมาจากโรคอ้วนเองนั้นเป็นเรื่องที่ผิด” สก็อตต์ มองต์โกเมอรี หนึ่งในผู้ทำการวิจัยนี้อธิบาย
มองต์โกเมอร์รียังตั้งข้อสังเกตว่า ผลการค้นพบนี้ถูกต้อง แม้เมื่อพิจารณาปัจจัยที่อาจมีอิทธิพลอื่นๆ เช่น ดัชนีมวลกายในวัยเด็ก ชนชั้นทางสังคมของครอบครัวประกอบด้วยก็ตาม
สิ่งที่อยู่เบื้องหลังความเชื่อมโยงนี้อาจยังไม่ชัดเจน แต่มองต์โกเมอรีเชื่อว่า อาจเป็นปัจจัย อาทิ การที่แม่สูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์ หรือการที่ตัวเด็กเองไม่ค่อยออกกำลังกาย ซึ่งประเด็นหลังนั้นมีความสำคัญต่อพัฒนาการในการเคลื่อนไหว
ผลวิจัยชิ้นใหม่จากผู้เชี่ยวชาญของสถาบันคาโรลินสกาของสวีเดน และอิมพีเรียล คอลเลจแห่งลอนดอน มาจากข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างกว่า 11,000 คนที่เข้าร่วมในโครงการศึกษาพัฒนาการเด็กแห่งชาติของอังกฤษ ซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 1958 และยังดำเนินการต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
ในจำนวนนี้มี 8,000 คนที่ถูกคุณครูประเมินเมื่ออายุ 7 ขวบเกี่ยวกับสมรรถภาพในการควบคุมมือ และมีแค่ 7,000 คนที่ได้รับการทดสอบสมรรถภาพการควบคุมมือและการใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ประสานกันเมื่ออายุ 11 ขวบ
ผลศึกษาที่ตีพิมพ์ในบริติช เมดิคัล เจอร์นัลบ่งชี้ว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างปัญหาในระบบประสาทกับโรคอ้วนอย่างมากจนน่าประหลาดใจ อนึ่ง เมื่อเร็วๆ นี้ นักวิจัยอเมริกันรายงานว่า การวิ่งไม่เพียงช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ แต่ยังรวมถึงโรคเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น อัลไซเมอร์ รวมไปถึงมะเร็ง