ปชป.อัด "แม้ว" สั่งเอ็กซิมแบงก์ปล่อยกู้พม่าชนิดไม่เคยทำมาตั้งแต่ก่อตั้ง ด้านรมช.คลัง แจง เสียส่วนต่าง 600 ล้าน อย่างคิดมาก อ้างไทยได้ขายวัสดุอุปกรณ์ ขณะที่เอ็มดีเอ็กซิมแบงก์ รับลำบากใจแต่ต้องทำตามนโยบายรัฐบาล
วานนี้ (13 ส.ค.) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยมีนาย ชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม ได้พิจารณาวาระรับทราบรายงานกิจการประจำปี งบดุล งบกำไร และขาดทุนของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(เอ็กซิมแบงก์) สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค.2550
โดยนายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายถึงโครงการให้เงินกู้พม่าจำนวน 4 พันล้านบาทว่า ตั้งแต่ก่อตั้งธนาคารมาเมื่อปี 2536 ไม่เคยมีการปล่อยเงินกู้ในกรณีพิเศษอย่างนี้มาก่อนอย่างไรก็ดี เรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว โดยจำเลยหนีคดีอาญาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งการให้เงินกู้จำนวนดังกล่าว การอนุมัติเงินกู้เพิ่มเติมอีก 3 พันล้าน และการฉ้อฉลและความไม่โปร่งใสของอดีตนายกฯ จึงมีการเจรจาเพิ่มวงเงินให้พม่าอีก 1 พันล้านบาท เป็นการเฉพาะเจาะจงให้กับโครงการพัฒนาระบบโทรคมนาคมของพม่า ด้วยการออกมติครม. 8 มิถุนายน 47 ซึ่งโครงการนี้บริษัทคู่สัญญาเป็นลูกอดีตนายกฯ ไทย คือนายพานทองแท้ ชินวัตร และลูกอดีตนายกฯ พม่า ที่ถูกรัฐประหารและถูกตัดสินจำคุก
ดังนั้นผลประโยชน์ของเงินกู้นี้ตกอยู่กับบริษัทของลูกชายพ.ต.ท.ทักษิณและลูกอดีตนายกฯพม่า ถือเป็นการคอร์รัปชั่นเชิงนโยบายที่ชัดที่สุด วันนี้จึงปรากฏผลกรรมกับพ.ต.ท.ทักษิณ ที่ต้องหนีไปต่างแดน ไม่ใช่เรื่องกระบวนการยุติธรรมไม่เป็นกลาง หรือโดนปองร้ายเอาชีวิต
“การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ระบุในเหตุผลขอลี้ภัยว่าเพราะไม่มั่นใจในกระบวนการยุติธรรมของไทย และความปลอดภัยในชีวิตนั้นเป็นคำพูดที่ทำลายประเทศ ซึ่งผมมั่นใจว่าคดีต่างๆ ต้องถึงคุก และจากเอกสาร หลักฐานต่างๆ ไม่มีใครสร้างหลักฐานเท็จหรือปลอมแปลงเอกสารต่างๆ ได้ ว่าเมื่อปี 2547 คนที่นั่งเป็นประธานการประชุมครม.และมีมติออกมาเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 47 คือ พ.ต.ท.ทักษิณ”
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า ตนอภิปรายไปตามสิ่งที่ปรากฏในรายงานของเอ็กซิมแบงก์ทุกอย่าง และจากการแถลงของพ.ต.ท. ทักษิณ นั้น เป็นการหนีคดีอาญาจริงๆ ไม่มีสารบบการลี้ภัย ส่วนการอ้างว่าไม่มีความปลอดภัยนั้น ขอถามว่าตั้งแต่พ.ต.ท.ทักษิณกลับมาประเทศไทยเมื่อวันที่ 28 กพ.2551 และไปเปิดงานในที่ต่างๆ ก็มีความปลอดภัยดี ส่วนการกล่าวหากระบวนการยุติธรรมถูกแทรกแซงนั้น เป็นการพูดของคนไม่รักชาติ ต้องการทำลายชาติ และจะส่งผลกระทบต่อนักลงทุนเพราะถือว่ากระบวนการยุติธรรมและระบบกฎหมายมีความสำคัญในการตัดสินใจเข้ามาลงทุนมาก ใครๆ ก็รู้ว่าการปล่อยเงินกู้ให้โครงการนี้ไม่ปกติ ตนไม่ได้กล่าวเกินเลย และถ้าเป็นคนโกงชาติกินเมือง ตนจะเหยียบย่ำ ไม่ใช่แค่ซ้ำเติม
ด้าน นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธ์ รมช.คลัง ชี้แจงว่า กรณีเงินกู้ให้พม่ารัฐบาลไม่ได้ขาดทุนหรือสูญเสีย อย่าคิดในแง่ร้ายทั้งหมด เพราะมีส่วนดี โดยวัสดุอุปกรณ์ต่างๆต้องใช้ของไทย และยังได้เรื่องความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านเช่น พื้นที่ประมงทางทะเล การปราบปรามยาเสพติด อย่าไปคิดเรื่องส่วนต่างของดอกเบี้ยจำนวน 600 ล้านบาทที่ไทยสูญเสียไปเพราะต้นทุนทางเศรษฐกิจไทยสูงกว่าพม่า ทั้งนี้ตนไม่ได้มาบอกว่า ต่อไปจะสนับสนุนการปล่อยเงินกู้แบบนี้อีก หรือชี้นิ้วสั่ง เพราะตนไม่มีแนวคิดแบบนี้ และยืนยันว่า ต่อไปการบริหารเอ็กซิมแบงก์จะทำแบบมืออาชีพ มีธรรมาภิบาล สภาตรวจสอบได้
ขณะที่นายอภิชัย บุญธีรวร กรรมการผู้จัดการเอ็กซิมแบงก์ ชี้แจงว่า กรณีปล่อยเงินกู้ให้พม่า 4,000 ล้านบาท เป็นไปตามมติครม.ในตอนนั้น และที่ต้องขอความคุ้มครองจากรัฐบาลในแง่ส่วนต่างดอกเบี้ย เพราะ กู้จำนวนมาก ความเสี่ยงสูง และดอกเบี้ย 3 เปอร์เซ็นต์ ต่ำกว่าต้นทุนของเอ็กซิมแบงก์ จะส่งผลถึงการขาดทุนของธนาคาร การจัดสรรเงินกู้ให้ซื้อสินค้าและบริการของผู้ส่งออกไทย เป็นขั้นตอนภายในของรัฐบาลพม่า ว่าจะซื้อจากใคร ซึ่งมี 19 บริษัท ประเภทธุรกิจกระจัดกระจายกันออกไป
ปัจจุบันรัฐบาลพม่าได้ชำระดอกเบี้ยมาแล้ว 8 งวด เป็นไปตามสัญญาทุกประการ ยังไม่มีการผิดนัด ส่วนที่กล่าวอ้างว่าไปบริษัทชินคอร์ปฯ 1 พันล้าน ขอชี้แจงว่า ไปอยู่ที่ชินคอร์ปฯ 374 ล้านบาท และฮาตาริ 249 ล้านบาท ซึ่งบริษัทนี้เป็นของต่างชาติที่จดทะเบียนในไทย จึงถือเป็นผู้ส่งออกและนำเข้าของเอ็กซิมแบงก์ ส่วนเอ็นพีแอล แก้ปัญหาหนี้รายใหญ่ โดยจัดตั้งวาณิชธนกิจ แก้ไป 1,800 ล้าน ส่วนหนี้เอ็นพีแอล มีมาประมูล 10 ราย แล้วจึงขายสูงกว่าที่ปรึกษาการเงินประเมินไว้คือ 8,100 ล้านบาท แบ่งเป็น ในบัญชี 6,100 ล้านบาท นอกบัญชี 1,300 ล้านบาท ขาดทุนประมาณ 700 ล้านบาท
“ถ้าในอนาคตเกิดเหตุการณ์การขอให้อนุมัติเงินกู้ 4 พันล้านบาทแบบพม่าอีก ผมยอมรับว่าลำบากใจมากในฐานะผู้ปฏิบัติที่ต้องทำตามนโยบายของรัฐบาล หากมีมติครม.ให้เอ็กซิมแบงก์ต้องทำอย่างไรก็ต้องปฏิบัติตาม และต้องตรวจดูว่าเป็นไปตามพ.ร.บ.เอ็กซิมแบงก์ด้วยหรือไม่ และถ้าเห็นชัดว่าเป็นนโยบายที่ผิดกฎหมาย ผมไม่ทำก็จะมีความผิด หรือทำก็จะมีความผิด”
วานนี้ (13 ส.ค.) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยมีนาย ชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม ได้พิจารณาวาระรับทราบรายงานกิจการประจำปี งบดุล งบกำไร และขาดทุนของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(เอ็กซิมแบงก์) สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค.2550
โดยนายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายถึงโครงการให้เงินกู้พม่าจำนวน 4 พันล้านบาทว่า ตั้งแต่ก่อตั้งธนาคารมาเมื่อปี 2536 ไม่เคยมีการปล่อยเงินกู้ในกรณีพิเศษอย่างนี้มาก่อนอย่างไรก็ดี เรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว โดยจำเลยหนีคดีอาญาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งการให้เงินกู้จำนวนดังกล่าว การอนุมัติเงินกู้เพิ่มเติมอีก 3 พันล้าน และการฉ้อฉลและความไม่โปร่งใสของอดีตนายกฯ จึงมีการเจรจาเพิ่มวงเงินให้พม่าอีก 1 พันล้านบาท เป็นการเฉพาะเจาะจงให้กับโครงการพัฒนาระบบโทรคมนาคมของพม่า ด้วยการออกมติครม. 8 มิถุนายน 47 ซึ่งโครงการนี้บริษัทคู่สัญญาเป็นลูกอดีตนายกฯ ไทย คือนายพานทองแท้ ชินวัตร และลูกอดีตนายกฯ พม่า ที่ถูกรัฐประหารและถูกตัดสินจำคุก
ดังนั้นผลประโยชน์ของเงินกู้นี้ตกอยู่กับบริษัทของลูกชายพ.ต.ท.ทักษิณและลูกอดีตนายกฯพม่า ถือเป็นการคอร์รัปชั่นเชิงนโยบายที่ชัดที่สุด วันนี้จึงปรากฏผลกรรมกับพ.ต.ท.ทักษิณ ที่ต้องหนีไปต่างแดน ไม่ใช่เรื่องกระบวนการยุติธรรมไม่เป็นกลาง หรือโดนปองร้ายเอาชีวิต
“การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ระบุในเหตุผลขอลี้ภัยว่าเพราะไม่มั่นใจในกระบวนการยุติธรรมของไทย และความปลอดภัยในชีวิตนั้นเป็นคำพูดที่ทำลายประเทศ ซึ่งผมมั่นใจว่าคดีต่างๆ ต้องถึงคุก และจากเอกสาร หลักฐานต่างๆ ไม่มีใครสร้างหลักฐานเท็จหรือปลอมแปลงเอกสารต่างๆ ได้ ว่าเมื่อปี 2547 คนที่นั่งเป็นประธานการประชุมครม.และมีมติออกมาเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 47 คือ พ.ต.ท.ทักษิณ”
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า ตนอภิปรายไปตามสิ่งที่ปรากฏในรายงานของเอ็กซิมแบงก์ทุกอย่าง และจากการแถลงของพ.ต.ท. ทักษิณ นั้น เป็นการหนีคดีอาญาจริงๆ ไม่มีสารบบการลี้ภัย ส่วนการอ้างว่าไม่มีความปลอดภัยนั้น ขอถามว่าตั้งแต่พ.ต.ท.ทักษิณกลับมาประเทศไทยเมื่อวันที่ 28 กพ.2551 และไปเปิดงานในที่ต่างๆ ก็มีความปลอดภัยดี ส่วนการกล่าวหากระบวนการยุติธรรมถูกแทรกแซงนั้น เป็นการพูดของคนไม่รักชาติ ต้องการทำลายชาติ และจะส่งผลกระทบต่อนักลงทุนเพราะถือว่ากระบวนการยุติธรรมและระบบกฎหมายมีความสำคัญในการตัดสินใจเข้ามาลงทุนมาก ใครๆ ก็รู้ว่าการปล่อยเงินกู้ให้โครงการนี้ไม่ปกติ ตนไม่ได้กล่าวเกินเลย และถ้าเป็นคนโกงชาติกินเมือง ตนจะเหยียบย่ำ ไม่ใช่แค่ซ้ำเติม
ด้าน นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธ์ รมช.คลัง ชี้แจงว่า กรณีเงินกู้ให้พม่ารัฐบาลไม่ได้ขาดทุนหรือสูญเสีย อย่าคิดในแง่ร้ายทั้งหมด เพราะมีส่วนดี โดยวัสดุอุปกรณ์ต่างๆต้องใช้ของไทย และยังได้เรื่องความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านเช่น พื้นที่ประมงทางทะเล การปราบปรามยาเสพติด อย่าไปคิดเรื่องส่วนต่างของดอกเบี้ยจำนวน 600 ล้านบาทที่ไทยสูญเสียไปเพราะต้นทุนทางเศรษฐกิจไทยสูงกว่าพม่า ทั้งนี้ตนไม่ได้มาบอกว่า ต่อไปจะสนับสนุนการปล่อยเงินกู้แบบนี้อีก หรือชี้นิ้วสั่ง เพราะตนไม่มีแนวคิดแบบนี้ และยืนยันว่า ต่อไปการบริหารเอ็กซิมแบงก์จะทำแบบมืออาชีพ มีธรรมาภิบาล สภาตรวจสอบได้
ขณะที่นายอภิชัย บุญธีรวร กรรมการผู้จัดการเอ็กซิมแบงก์ ชี้แจงว่า กรณีปล่อยเงินกู้ให้พม่า 4,000 ล้านบาท เป็นไปตามมติครม.ในตอนนั้น และที่ต้องขอความคุ้มครองจากรัฐบาลในแง่ส่วนต่างดอกเบี้ย เพราะ กู้จำนวนมาก ความเสี่ยงสูง และดอกเบี้ย 3 เปอร์เซ็นต์ ต่ำกว่าต้นทุนของเอ็กซิมแบงก์ จะส่งผลถึงการขาดทุนของธนาคาร การจัดสรรเงินกู้ให้ซื้อสินค้าและบริการของผู้ส่งออกไทย เป็นขั้นตอนภายในของรัฐบาลพม่า ว่าจะซื้อจากใคร ซึ่งมี 19 บริษัท ประเภทธุรกิจกระจัดกระจายกันออกไป
ปัจจุบันรัฐบาลพม่าได้ชำระดอกเบี้ยมาแล้ว 8 งวด เป็นไปตามสัญญาทุกประการ ยังไม่มีการผิดนัด ส่วนที่กล่าวอ้างว่าไปบริษัทชินคอร์ปฯ 1 พันล้าน ขอชี้แจงว่า ไปอยู่ที่ชินคอร์ปฯ 374 ล้านบาท และฮาตาริ 249 ล้านบาท ซึ่งบริษัทนี้เป็นของต่างชาติที่จดทะเบียนในไทย จึงถือเป็นผู้ส่งออกและนำเข้าของเอ็กซิมแบงก์ ส่วนเอ็นพีแอล แก้ปัญหาหนี้รายใหญ่ โดยจัดตั้งวาณิชธนกิจ แก้ไป 1,800 ล้าน ส่วนหนี้เอ็นพีแอล มีมาประมูล 10 ราย แล้วจึงขายสูงกว่าที่ปรึกษาการเงินประเมินไว้คือ 8,100 ล้านบาท แบ่งเป็น ในบัญชี 6,100 ล้านบาท นอกบัญชี 1,300 ล้านบาท ขาดทุนประมาณ 700 ล้านบาท
“ถ้าในอนาคตเกิดเหตุการณ์การขอให้อนุมัติเงินกู้ 4 พันล้านบาทแบบพม่าอีก ผมยอมรับว่าลำบากใจมากในฐานะผู้ปฏิบัติที่ต้องทำตามนโยบายของรัฐบาล หากมีมติครม.ให้เอ็กซิมแบงก์ต้องทำอย่างไรก็ต้องปฏิบัติตาม และต้องตรวจดูว่าเป็นไปตามพ.ร.บ.เอ็กซิมแบงก์ด้วยหรือไม่ และถ้าเห็นชัดว่าเป็นนโยบายที่ผิดกฎหมาย ผมไม่ทำก็จะมีความผิด หรือทำก็จะมีความผิด”