เอเจนซี - ครูเมืองผู้ดีเตือนเด็กนักเรียนกำลังตกอยู่ใต้อิทธิพลแบรนด์ชนิดไม่ลืมหูลืมตา กระทั่งรังแก ล้อ และกีดกันเพื่อนร่วมชั้นที่ไม่วิ่งตามแฟชั่นหรือโลโก้แบบตัวเอง
เด็กที่สวมเสื้อผ้าราคาถูกจะถูกตราหน้าว่าเป็น ‘ไอ้ทึ่ม’ และถูกตั้งชื่อล้อเลียนอย่างเจ็บปวด
ผลสำรวจความคิดเห็นของครูในอังกฤษพบว่า 3 ใน 4 คิดว่าการที่เด็กตื่นตัวกับการตลาดสร้างความกดดันมากขึ้นให้กับพ่อแม่ที่ต้องทำตามความต้องการที่มากเกินความจำเป็นของลูก
ครูกว่า 90% บอกว่าแบรนด์มีอิทธพลสูงสุดต่อสิ่งที่เด็กเลือกซื้อ และครูเกือบทุกคนที่เข้าร่วมในการสำรวจความคิดเห็นที่จัดทำโดยสมาคมครูและผู้บรรยาย (เอทีแอล) เชื่อว่าโฆษณามากมายมีเป้าหมายที่เด็กและวัยรุ่นโดยตรง
ผลสำรวจความคิดเห็นครู 380 คนเกี่ยวกับการตื่นตัวต่อแบรนด์ของเด็กๆ ที่พบเห็นได้ในสนามเด็กเล่น ยังบ่งชี้ว่า เด็กให้ความสนใจกับประเด็นสิ่งแวดล้อมและคุณค่าทางจริยธรรมของผลิตภัณฑ์น้อยมาก ในทางตรงข้าม แบรนด์มีความสำคัญต่อเด็กมากกว่าเพื่อน
ดร.แมรี บัสเต็ด เลขาธิการใหญ่เอทีแอล กล่าวว่าผลสำรวจนี้ตอกย้ำความกดดันมหาศาลที่มีต่อเด็กในการทำตัวให้สอดคล้องกับเพื่อนๆ
“เป็นเรื่องน่าเสียใจมากๆ ที่ได้รู้ว่ามีเด็กมากมายถูกรังแกหรือถูกโดดเดี่ยวเพียงเพราะไม่มีเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับแบบเดียวกับเพื่อนร่วมชั้น
“การโฆษณาและการตลาดทำให้สังคมของเรากลายเป็นสังคมที่ให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์อย่างมาก และผลเสียตกอยู่กับเยาวชน
“เราเป็นห่วงว่าความกดดันเหล่านี้จะรุนแรงขึ้น ในภาวะที่โรงเรียนหลายแห่งกำลังมองหาความช่วยเหลือจากสปอนเซอร์ธุรกิจในการจัดหาอุปกรณ์ไอที กีฬา วิทยาศาสตร์ วัสดุการสอน และอาหารให้”
แอนดี้ แครนแฮม ครูจากซิตี้ ออฟ บริสตอล คอลเลจ สำทับว่า “ความต้องการในการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเป็นสิ่งสำคัญสุดยอดสำหรับเด็ก ในทางกลับกัน การถูกขับออกจากกลุ่มหมายถึงวันโลกแตก”
ชีลา เบลล์ ครูในคัมเบรีย รับลูกว่า “เด็กต้องอัพเดตแฟชั่นตลอดเวลา เพราะไม่เช่นนั้นจะถูกเพื่อนๆ อัปเปหิ และกลายเป็นคนมีความเคารพตัวเองต่ำ”
แทมซิน บักกิงแฮม ครูโรงเรียนมัธยมจากเซอร์เรย์ ขานรับว่านักเรียนทุกคน แม้แต่เด็กที่มาจากครอบครัวมีอันจะกิน กำลังตกเป็นเหยื่อการถูกรังแกที่มีสาเหตุมาจากแบรนด์
เด็กที่สวมเสื้อผ้าราคาถูกจะถูกตราหน้าว่าเป็น ‘ไอ้ทึ่ม’ และถูกตั้งชื่อล้อเลียนอย่างเจ็บปวด
ผลสำรวจความคิดเห็นของครูในอังกฤษพบว่า 3 ใน 4 คิดว่าการที่เด็กตื่นตัวกับการตลาดสร้างความกดดันมากขึ้นให้กับพ่อแม่ที่ต้องทำตามความต้องการที่มากเกินความจำเป็นของลูก
ครูกว่า 90% บอกว่าแบรนด์มีอิทธพลสูงสุดต่อสิ่งที่เด็กเลือกซื้อ และครูเกือบทุกคนที่เข้าร่วมในการสำรวจความคิดเห็นที่จัดทำโดยสมาคมครูและผู้บรรยาย (เอทีแอล) เชื่อว่าโฆษณามากมายมีเป้าหมายที่เด็กและวัยรุ่นโดยตรง
ผลสำรวจความคิดเห็นครู 380 คนเกี่ยวกับการตื่นตัวต่อแบรนด์ของเด็กๆ ที่พบเห็นได้ในสนามเด็กเล่น ยังบ่งชี้ว่า เด็กให้ความสนใจกับประเด็นสิ่งแวดล้อมและคุณค่าทางจริยธรรมของผลิตภัณฑ์น้อยมาก ในทางตรงข้าม แบรนด์มีความสำคัญต่อเด็กมากกว่าเพื่อน
ดร.แมรี บัสเต็ด เลขาธิการใหญ่เอทีแอล กล่าวว่าผลสำรวจนี้ตอกย้ำความกดดันมหาศาลที่มีต่อเด็กในการทำตัวให้สอดคล้องกับเพื่อนๆ
“เป็นเรื่องน่าเสียใจมากๆ ที่ได้รู้ว่ามีเด็กมากมายถูกรังแกหรือถูกโดดเดี่ยวเพียงเพราะไม่มีเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับแบบเดียวกับเพื่อนร่วมชั้น
“การโฆษณาและการตลาดทำให้สังคมของเรากลายเป็นสังคมที่ให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์อย่างมาก และผลเสียตกอยู่กับเยาวชน
“เราเป็นห่วงว่าความกดดันเหล่านี้จะรุนแรงขึ้น ในภาวะที่โรงเรียนหลายแห่งกำลังมองหาความช่วยเหลือจากสปอนเซอร์ธุรกิจในการจัดหาอุปกรณ์ไอที กีฬา วิทยาศาสตร์ วัสดุการสอน และอาหารให้”
แอนดี้ แครนแฮม ครูจากซิตี้ ออฟ บริสตอล คอลเลจ สำทับว่า “ความต้องการในการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเป็นสิ่งสำคัญสุดยอดสำหรับเด็ก ในทางกลับกัน การถูกขับออกจากกลุ่มหมายถึงวันโลกแตก”
ชีลา เบลล์ ครูในคัมเบรีย รับลูกว่า “เด็กต้องอัพเดตแฟชั่นตลอดเวลา เพราะไม่เช่นนั้นจะถูกเพื่อนๆ อัปเปหิ และกลายเป็นคนมีความเคารพตัวเองต่ำ”
แทมซิน บักกิงแฮม ครูโรงเรียนมัธยมจากเซอร์เรย์ ขานรับว่านักเรียนทุกคน แม้แต่เด็กที่มาจากครอบครัวมีอันจะกิน กำลังตกเป็นเหยื่อการถูกรังแกที่มีสาเหตุมาจากแบรนด์