ไฟแนนเชียลไทมส์ – องค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) มีรายได้ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เท่ากับที่ทำได้เมื่อปีที่แล้วทั้งปี อันเนื่องมาจากราคาน้ำมันที่แพงเป็นประวัติการณ์และปริมาณการผลิตที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ด้วยเช่นกัน และก็กำลังทำให้ประเทศเหล่านี้ใช้จ่ายเงินงบประมาณเพิ่มขึ้นมหาศาลตามไปด้วย
ข้อมูลจากกระทรวงพลังงานของสหรัฐฯรายงานว่า รายได้จากการส่งออกน้ำมันของกลุ่มประเทศโอเปกระหว่างเดือนมกราคมถึงมิถุนายนที่ผ่านมานั้นเท่ากับ 645,000 ล้านดอลลาร์ ต่ำกว่ารายได้ 671,000 ล้านดอลลาร์ของทั้งปีที่แล้วเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยที่รายได้ของปี 2007 ก็ถือเป็นสถิติสูงสุดเท่าที่เคยมีมาอยู่แล้ว
หากคำนวณกันทั้งปีโดยอาศัยรายได้ช่วงหกเดือนแรกเป็นตัวตั้ง กระทรวงพลังงานของสหรัฐฯก็คาดว่ากลุ่มโอเปกจะมีรายได้รวมทั้งปี 2008 เท่ากับ 1,245,000 ล้านดอลลาร์
ราคาน้ำมันที่ลดลงมา 20% ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้น้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูด มาอยู่ต่ำกว่า 120 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลในเวลานี้ ก็ไม่น่าจะทำให้รายได้ของกลุ่มประเทศเหล่านี้ลดลงมากนักเพราะว่ากำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นจะมาชดเชยกับผลกระทบจากราคาน้ำมัน
ในอุตสาหกรรมน้ำมันคาดกันว่าปริมาณผลผลิตของโอเปกในช่วงเดือนกรกฎาคมแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 32.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน และแม้ว่าราคา ณ ปัจจุบัน (ช่วงเช้าวานนี้) จะอยู่ที่ 116.53 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลก็ตาม แต่ราคานี้ก็ยังมากว่าราคาเฉลี่ยของช่วง 6 เดือนแรกของปีที่อยู่ที่ 111.1 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล
การที่มีรายได้มากก็ทำให้กลุ่มประเทศโอเปกมีการจับจ่ายใช้สอยสูงตามไปด้วย ดังจะเห็นได้ว่า มูลค่าการนำเข้าในช่วงครึ่งแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นมากกว่าระดับของปีที่แล้วถึง 40%
บิงกี้ ชาดฮา จากดอยช์แบงก์ในนิวยอร์กกล่าวว่า ตลาดเฟื่องฟูใหม่ในเอเชียตอนนี้กำลังได้รับประโยชน์จากการจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าต่าง ๆเข้าประเทศของกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมันอย่างมาก เขตที่ได้รับประโยชน์รองลงมาก็คือยุโรป ในขณะที่สหรัฐฯกลับสูญเสียส่วนแบ่งตลาดไปบางส่วน
“แม้ว่าราคาน้ำมันจะพุ่งขึ้น กลุ่มประเทศเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจในเอเชียก็มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันมาชดเชย” เขากล่าว
ยอดสั่งซื้อสินค้าของจีนจากบรรดาผู้ส่งออกน้ำมันนั้นเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 11% จากเดิมมีเพียง 4% ในช่วงปี 1999 และส่วนใหญ่แล้วก็เป็นการชิงส่วนแบ่งตลาดมาจากสหรัฐฯ ตอนนี้สหรัฐฯมีส่วนแบ่งตลาดสินค้านำเข้าของกลุ่มโอเปกอยู่เพียง 7.5% จากเดิม 12%
นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของโอเปกก็ออกมาบอกว่า การจับจ่ายใช้สอยของกลุ่มพวกตน บวกกับการลงทุนของกองทุนความมั่งคั่งภาครัฐของกลุ่มพวกตนในธนาคารตะวันตกที่กำลังมีปัญหาด้านการเงินนี่แหละ มีส่วนช่วยเหลือในการพยุงเศรษฐกิจโลกเอาไว้
หลักฐานของ “ออยล์บูม” หรือเศรษฐกิจที่เฟื่องฟูจากน้ำมัน สามารถเห็นได้ทั่วไปในดินแดนแถบอ่าวเปอร์เชียยิ่งเสียกว่าที่ใด ๆในโลก และออยล์บูมนี้เองก็กระตุ้นให้เกิดโครงการขนาดยักษ์ต่าง ๆมีมีมูลค่าตั้งแต่พันล้านไปถึงแสนล้านดอลลาร์ทั่วทั้งภูมิภาคนี้
นอกจากการลงทุนในประเทศแล้ว รัฐบาลของประเทศเหล่านี้ยังสยายปีกแห่งอำนาจการเงินออกไปนอกประเทศมากขึ้นด้วย เนื่องจากช่วงเวลานี้ก็เป็นเวลาเดียวกันกับที่เกิดวิกฤตการเงินในตลาดตะวันตก จึงทำให้เม็ดเงินของประเทศผู้ส่งน้ำมันได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากบรรดาสถาบันการเงินที่ต้องการเม็ดเงินใหม่ ๆเข้ามาเพื่อความอยู่รอด
เอชเอสบีซี แบงก์ยักษ์ระดับโลกสัญชาติอังกฤษคาดว่า ในช่วงระหว่างปี 2006 – 2010 ภูมิภาคอ่าวเปอร์เชียจะมีรายได้จากน้ำมันมากกว่าที่เคยทำได้มาในช่วง 20 ปีรวมกันเสียอีก และ 6 รัฐที่รวมกันเป็นสภาความร่วมมืออ่าวเปอร์เชีย (จีซีซี) นั้นจะมีรายได้ในปีนี้มากกว่าตลอดทั้งทศวรรษ 1980 รวมกันเสียอีก
อย่างไรก็ตาม มีข้อเท็จจริงอยู่ว่า พวกรัฐบาลของรัฐย่านอ่าวเปอร์เซีย กำลังใช้จ่ายเพียงแค่ประมาณ 40-45% ของรายรับที่พวกเขาได้มาในปีนี้เท่านั้น อันเป็นตัวเลขซึ่งต่ำกว่าที่เคยเป็นมาในอดีต
ไซมอน วิลเลียมส์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ดูแลตลาดย่านอ่าวเปอร์เซียของ เอชเอสบีซี ให้ความเห็นว่า เมื่อมองกันในเงื่อนไขสูงสุดแล้ว เวลานี้การใช้จ่ายในภาครัฐของย่านนี้กำลังอยู่ในระดับสูงสุดแล้ว
กล่าวคืออย่างหนึ่งก็คือพวกประเทศย่านนี้มีความจำกัดในการดูดซับเงินรายได้จากน้ำมันของพวกตน และเวลานี้กำลังใช้สมรรถนะในการดูดซับของพวกตนจนถึงขีดสูงสุดแล้ว ดังนั้น วิลเลียมส์คาดว่า สิ่งที่จะเกิดตามมาจากนี้ก็คือ ขณะที่ระดับการใช้จ่ายภายในประเทศน่าจะยังคงเพิ่มขึ้นไปอีกมาก แต่การเอาเงินไปออมที่ต่างประเทศก็น่าจะพุ่งขึ้นอย่างฮวบฮาบเช่นกัน
ทั้งนี้เจ้าหน้าที่รัฐบาลบางคนในย่านนี้ ได้เริ่มต้นพูดกันแล้วด้วยซ้ำ เรื่องที่อาจต้องชะลอการใช้จ่ายของรัฐบาลลงเพื่อต่อสู้บรรเทาภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งกำลังพุ่งถึงระดับเกินสิบเปอร์เซ็นต์ไปแล้วในรัฐย่านอ่าวเปอร์เซียจำนวนมาก และกำลังกลายเป็นเรื่องที่สร้างความวิตกเพิ่มขึ้นทุกที
ข้อมูลจากกระทรวงพลังงานของสหรัฐฯรายงานว่า รายได้จากการส่งออกน้ำมันของกลุ่มประเทศโอเปกระหว่างเดือนมกราคมถึงมิถุนายนที่ผ่านมานั้นเท่ากับ 645,000 ล้านดอลลาร์ ต่ำกว่ารายได้ 671,000 ล้านดอลลาร์ของทั้งปีที่แล้วเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยที่รายได้ของปี 2007 ก็ถือเป็นสถิติสูงสุดเท่าที่เคยมีมาอยู่แล้ว
หากคำนวณกันทั้งปีโดยอาศัยรายได้ช่วงหกเดือนแรกเป็นตัวตั้ง กระทรวงพลังงานของสหรัฐฯก็คาดว่ากลุ่มโอเปกจะมีรายได้รวมทั้งปี 2008 เท่ากับ 1,245,000 ล้านดอลลาร์
ราคาน้ำมันที่ลดลงมา 20% ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้น้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูด มาอยู่ต่ำกว่า 120 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลในเวลานี้ ก็ไม่น่าจะทำให้รายได้ของกลุ่มประเทศเหล่านี้ลดลงมากนักเพราะว่ากำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นจะมาชดเชยกับผลกระทบจากราคาน้ำมัน
ในอุตสาหกรรมน้ำมันคาดกันว่าปริมาณผลผลิตของโอเปกในช่วงเดือนกรกฎาคมแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 32.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน และแม้ว่าราคา ณ ปัจจุบัน (ช่วงเช้าวานนี้) จะอยู่ที่ 116.53 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลก็ตาม แต่ราคานี้ก็ยังมากว่าราคาเฉลี่ยของช่วง 6 เดือนแรกของปีที่อยู่ที่ 111.1 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล
การที่มีรายได้มากก็ทำให้กลุ่มประเทศโอเปกมีการจับจ่ายใช้สอยสูงตามไปด้วย ดังจะเห็นได้ว่า มูลค่าการนำเข้าในช่วงครึ่งแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นมากกว่าระดับของปีที่แล้วถึง 40%
บิงกี้ ชาดฮา จากดอยช์แบงก์ในนิวยอร์กกล่าวว่า ตลาดเฟื่องฟูใหม่ในเอเชียตอนนี้กำลังได้รับประโยชน์จากการจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าต่าง ๆเข้าประเทศของกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมันอย่างมาก เขตที่ได้รับประโยชน์รองลงมาก็คือยุโรป ในขณะที่สหรัฐฯกลับสูญเสียส่วนแบ่งตลาดไปบางส่วน
“แม้ว่าราคาน้ำมันจะพุ่งขึ้น กลุ่มประเทศเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจในเอเชียก็มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันมาชดเชย” เขากล่าว
ยอดสั่งซื้อสินค้าของจีนจากบรรดาผู้ส่งออกน้ำมันนั้นเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 11% จากเดิมมีเพียง 4% ในช่วงปี 1999 และส่วนใหญ่แล้วก็เป็นการชิงส่วนแบ่งตลาดมาจากสหรัฐฯ ตอนนี้สหรัฐฯมีส่วนแบ่งตลาดสินค้านำเข้าของกลุ่มโอเปกอยู่เพียง 7.5% จากเดิม 12%
นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของโอเปกก็ออกมาบอกว่า การจับจ่ายใช้สอยของกลุ่มพวกตน บวกกับการลงทุนของกองทุนความมั่งคั่งภาครัฐของกลุ่มพวกตนในธนาคารตะวันตกที่กำลังมีปัญหาด้านการเงินนี่แหละ มีส่วนช่วยเหลือในการพยุงเศรษฐกิจโลกเอาไว้
หลักฐานของ “ออยล์บูม” หรือเศรษฐกิจที่เฟื่องฟูจากน้ำมัน สามารถเห็นได้ทั่วไปในดินแดนแถบอ่าวเปอร์เชียยิ่งเสียกว่าที่ใด ๆในโลก และออยล์บูมนี้เองก็กระตุ้นให้เกิดโครงการขนาดยักษ์ต่าง ๆมีมีมูลค่าตั้งแต่พันล้านไปถึงแสนล้านดอลลาร์ทั่วทั้งภูมิภาคนี้
นอกจากการลงทุนในประเทศแล้ว รัฐบาลของประเทศเหล่านี้ยังสยายปีกแห่งอำนาจการเงินออกไปนอกประเทศมากขึ้นด้วย เนื่องจากช่วงเวลานี้ก็เป็นเวลาเดียวกันกับที่เกิดวิกฤตการเงินในตลาดตะวันตก จึงทำให้เม็ดเงินของประเทศผู้ส่งน้ำมันได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากบรรดาสถาบันการเงินที่ต้องการเม็ดเงินใหม่ ๆเข้ามาเพื่อความอยู่รอด
เอชเอสบีซี แบงก์ยักษ์ระดับโลกสัญชาติอังกฤษคาดว่า ในช่วงระหว่างปี 2006 – 2010 ภูมิภาคอ่าวเปอร์เชียจะมีรายได้จากน้ำมันมากกว่าที่เคยทำได้มาในช่วง 20 ปีรวมกันเสียอีก และ 6 รัฐที่รวมกันเป็นสภาความร่วมมืออ่าวเปอร์เชีย (จีซีซี) นั้นจะมีรายได้ในปีนี้มากกว่าตลอดทั้งทศวรรษ 1980 รวมกันเสียอีก
อย่างไรก็ตาม มีข้อเท็จจริงอยู่ว่า พวกรัฐบาลของรัฐย่านอ่าวเปอร์เซีย กำลังใช้จ่ายเพียงแค่ประมาณ 40-45% ของรายรับที่พวกเขาได้มาในปีนี้เท่านั้น อันเป็นตัวเลขซึ่งต่ำกว่าที่เคยเป็นมาในอดีต
ไซมอน วิลเลียมส์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ดูแลตลาดย่านอ่าวเปอร์เซียของ เอชเอสบีซี ให้ความเห็นว่า เมื่อมองกันในเงื่อนไขสูงสุดแล้ว เวลานี้การใช้จ่ายในภาครัฐของย่านนี้กำลังอยู่ในระดับสูงสุดแล้ว
กล่าวคืออย่างหนึ่งก็คือพวกประเทศย่านนี้มีความจำกัดในการดูดซับเงินรายได้จากน้ำมันของพวกตน และเวลานี้กำลังใช้สมรรถนะในการดูดซับของพวกตนจนถึงขีดสูงสุดแล้ว ดังนั้น วิลเลียมส์คาดว่า สิ่งที่จะเกิดตามมาจากนี้ก็คือ ขณะที่ระดับการใช้จ่ายภายในประเทศน่าจะยังคงเพิ่มขึ้นไปอีกมาก แต่การเอาเงินไปออมที่ต่างประเทศก็น่าจะพุ่งขึ้นอย่างฮวบฮาบเช่นกัน
ทั้งนี้เจ้าหน้าที่รัฐบาลบางคนในย่านนี้ ได้เริ่มต้นพูดกันแล้วด้วยซ้ำ เรื่องที่อาจต้องชะลอการใช้จ่ายของรัฐบาลลงเพื่อต่อสู้บรรเทาภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งกำลังพุ่งถึงระดับเกินสิบเปอร์เซ็นต์ไปแล้วในรัฐย่านอ่าวเปอร์เซียจำนวนมาก และกำลังกลายเป็นเรื่องที่สร้างความวิตกเพิ่มขึ้นทุกที