ผู้จัดการรายวัน - บล.ภัทร ชี้แนวโน้มธุรกิจโบรกเกอร์ครึ่งหลังปี 51 ย่ำแย่ เหตุนักลงทุนชะลอการลงทุนฉุดมูลค่าการซื้อขายหด หลังปัจจัยลบทั้งในประเทศและต่างประเทศยังไม่คลี่คลาย ระบุรายได้ครึ่งปีหลังต่ำกว่า 6 เดือนแรกที่มีรายได้ 855 ล้านบาท กำไรสุทธิ 296 ล้านบาท ผู้บริหารเล็งฉวยจังหวะหุ้นลงเพิ่มพอร์ตลงทุน
นายสุวิทย์ มาไพศาลสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ PHATRA เปิดเผยถึง แนวโน้มธุรกิจหลักทรัพย์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 ว่า ธุรกิจหลักทรัพย์คงจะขยายตัวได้น้อยกว่าครึ่งปีแรก เนื่องจากนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน จากเดิมที่มีความคาดหวังว่าจะมีการดำเนินการโครงการต่างๆ ของรัฐบาลจากที่ประกาศนโยบายออกมา แต่ไม่สามารถที่จะทำได้
ขณะเดียวกัน ตลาดหุ้นไทยยังไดรับผลกระทบจากปัจจัยต่างประเทศ ส่งผลให้นักลงทุนมีขายหุ้นออกมา และนักลงทุนชะลอการลงทุนทำให้มูลค่าการซื้อขายเบาบางตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงขณะนี้เฉลี่ยต่อวันที่ 1.3 หมื่นล้านบาทต่อวัน จากครึ่งปีแรกที่มีมูลค่าเฉลี่ย 1.9 หมื่นล้านบาทต่อวัน โดยประเด็นดังกล่าวคาดว่าจะส่งผลให้รายได้ของบริษัทในช่วงครึ่งปีหลังจะต่ำกว่าครึ่งปีแรกที่มีรายได้รวม 855.65 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 296.88 ล้านบาท
นายสุวิทย์ กล่าวว่า จากปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อตลาดหุ้นไทย ทั้งเรื่องของความไม่แน่นอนทางการเมือง เศรษฐกิจชะลอตัว รวมถึงปัจจัยต่างประเทศ ดังนั้นบริษัทจึงได้พยายามสร้างรายได้จากทุกธุรกิจที่บริษัทได้รับใบอนุญาต โดยในไตรมาส 4/51 บริษัทเตรียมที่จะออกสินค้าอนุพันธ์ ซึ่งทางผู้ถือหุ้นอนุมัติวงเงินในการออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (ดีลิเวอร์ทีฟ วอร์แรนต์) วงเงิน 1,500 ล้านบาท ที่บริษัทสามารถรับความเสี่ยงได้ และสตักเจอร์โน๊ต อีก 1,000 ล้านบาท
"การทำธุรกิจหลักทรัพย์ในช่วงครึ่งปีหลังจะเหนื่อยกว่าครึ่งแรก เพราะในช่วงครึ่งปีแรกนั้นนักลงทุนมีความหวังการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นเดือนธันวาคมแล้วจะมีการดำเนินการตามนโยบายที่ประกาศเอาไว้ แต่เมื่อทำไม่ได้ ความคาดหวังของนักลงทุนก็จะลดลง ซึ่งจะต่ำกว่าครึ่งปีแรกที่มีวอลุ่มเฉลี่ยต่อวันที่ 1.9 หมื่นล้านบาท ส่วนปัจจัยต่างประเทศมีผลกระทบต่อทุกตลาดทั่วโลกแต่เรามีการเมืองด้วยจึงทำให้เหนื่อยมากขึ้น" นายสุวิทย์ กล่าว
สำหรับธุรกิจที่ปรึกษาในการให้คำแนะนำการลงทุน (Wealth Management) นั้น จากภาวะตลาดไม่ดีทำให้ มีมูลค่าเหลือ 9.4 หมื่นล้านบาท จากช่วงเดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ 1 แสนล้านบาท โดยตั้งเป้าสิ้นปี 2552 อยู่ที่ 2 แสนล้านบาท ซึ่งขณะนี้บริษัทแนะนำการลงทุนแบ่งเป็นการลงทุนในหุ้น 40% ตราสารหนี้ 15% สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทอง 20% ที่เหลือลงทุนในตลาดเงิน โดยบริษัทจะนำลงให้ลงทุนหลายประเภทเพื่อเป็นการลดความเสี่ยง
นายสุวิทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทมีพอร์ตการลงทุนระยะกลางถึงยาว (3-5 ปี) มูลค่า 1,500 ล้านบาท ในการลงทุนในหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีขนาดกลางและเล็ก ซึ่งปีนี้บริษัทได้มีการลงทุนเพิ่ม 3 บริษัท ทำให้ขณะนี้ลงทุนรวมเป็น 10 บริษัท ใช้เงินลงทุน 1,200 ล้านบาท และจากการที่ปีนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมาประมาณ 20% ทำให้บริษัทมีผลตอบแทนติดลบระดับเดียวกับตลาด ขณะที่พอร์ตการลงทุนระยะสั้นของบริษัทมีมูลค่า 600 ล้านบาท โดยครึ่งปีแรกบริษัทกำไรจำนวน 10 ล้านบาท ส่วนครึ่งปีหลังยัไม่สามารถตอบได้จะมีกำไรเท่าเพราะขึ้นอยู่กับภาวะตลาด
ทั้งนี้ บริษัทมีแผนที่จะเข้าไปลงทุนเพิ่มจากที่ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงมาจึงเป็นโอกาสที่จะเข้าไปลงทุน โดยทางฝ่ายการลงทุนของบริษัทจะเป็นผู้พิจารณา ส่วนการลงทุนในต่างประเทศนั้น บริษัทเริ่มไปลงทุนแล้วโดยเป็นการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล คิดเป็นมูลค่ายังไม่มาก ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้มีการศึกษาที่จะไปทำธุรกิจต่างประเทศ
สำหรับงานด้านที่ปรึกษาทางการเงิน ในการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขณะนี้มีจำนวน 3 บริษัท แต่จะเข้าจดทะเบียนได้เมื่อไรนั้นไม่ตอบได้ เพราะ ขึ้นอยู่กับภาวะตลาดหุ้น ซึ่งบริษัทมีหน้าที่ในการเตรียมความพร้อมของบริษัท และหากภาวะตลาดดีก็พร้อมที่จะเข้าระดมทุนได้ทันที ส่วนในด้านที่ปรึกษาทางการเงินในการควบรวม (M&A) ขณะนี้บริษัทยังดำเนินการอยู่ โดยธุรกิจที่จะมีการควบรวมนั้นจะเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันกับต่างชาติและมีการเปิดเสรี
นายสุวิทย์ มาไพศาลสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ PHATRA เปิดเผยถึง แนวโน้มธุรกิจหลักทรัพย์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 ว่า ธุรกิจหลักทรัพย์คงจะขยายตัวได้น้อยกว่าครึ่งปีแรก เนื่องจากนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน จากเดิมที่มีความคาดหวังว่าจะมีการดำเนินการโครงการต่างๆ ของรัฐบาลจากที่ประกาศนโยบายออกมา แต่ไม่สามารถที่จะทำได้
ขณะเดียวกัน ตลาดหุ้นไทยยังไดรับผลกระทบจากปัจจัยต่างประเทศ ส่งผลให้นักลงทุนมีขายหุ้นออกมา และนักลงทุนชะลอการลงทุนทำให้มูลค่าการซื้อขายเบาบางตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงขณะนี้เฉลี่ยต่อวันที่ 1.3 หมื่นล้านบาทต่อวัน จากครึ่งปีแรกที่มีมูลค่าเฉลี่ย 1.9 หมื่นล้านบาทต่อวัน โดยประเด็นดังกล่าวคาดว่าจะส่งผลให้รายได้ของบริษัทในช่วงครึ่งปีหลังจะต่ำกว่าครึ่งปีแรกที่มีรายได้รวม 855.65 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 296.88 ล้านบาท
นายสุวิทย์ กล่าวว่า จากปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อตลาดหุ้นไทย ทั้งเรื่องของความไม่แน่นอนทางการเมือง เศรษฐกิจชะลอตัว รวมถึงปัจจัยต่างประเทศ ดังนั้นบริษัทจึงได้พยายามสร้างรายได้จากทุกธุรกิจที่บริษัทได้รับใบอนุญาต โดยในไตรมาส 4/51 บริษัทเตรียมที่จะออกสินค้าอนุพันธ์ ซึ่งทางผู้ถือหุ้นอนุมัติวงเงินในการออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (ดีลิเวอร์ทีฟ วอร์แรนต์) วงเงิน 1,500 ล้านบาท ที่บริษัทสามารถรับความเสี่ยงได้ และสตักเจอร์โน๊ต อีก 1,000 ล้านบาท
"การทำธุรกิจหลักทรัพย์ในช่วงครึ่งปีหลังจะเหนื่อยกว่าครึ่งแรก เพราะในช่วงครึ่งปีแรกนั้นนักลงทุนมีความหวังการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นเดือนธันวาคมแล้วจะมีการดำเนินการตามนโยบายที่ประกาศเอาไว้ แต่เมื่อทำไม่ได้ ความคาดหวังของนักลงทุนก็จะลดลง ซึ่งจะต่ำกว่าครึ่งปีแรกที่มีวอลุ่มเฉลี่ยต่อวันที่ 1.9 หมื่นล้านบาท ส่วนปัจจัยต่างประเทศมีผลกระทบต่อทุกตลาดทั่วโลกแต่เรามีการเมืองด้วยจึงทำให้เหนื่อยมากขึ้น" นายสุวิทย์ กล่าว
สำหรับธุรกิจที่ปรึกษาในการให้คำแนะนำการลงทุน (Wealth Management) นั้น จากภาวะตลาดไม่ดีทำให้ มีมูลค่าเหลือ 9.4 หมื่นล้านบาท จากช่วงเดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ 1 แสนล้านบาท โดยตั้งเป้าสิ้นปี 2552 อยู่ที่ 2 แสนล้านบาท ซึ่งขณะนี้บริษัทแนะนำการลงทุนแบ่งเป็นการลงทุนในหุ้น 40% ตราสารหนี้ 15% สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทอง 20% ที่เหลือลงทุนในตลาดเงิน โดยบริษัทจะนำลงให้ลงทุนหลายประเภทเพื่อเป็นการลดความเสี่ยง
นายสุวิทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทมีพอร์ตการลงทุนระยะกลางถึงยาว (3-5 ปี) มูลค่า 1,500 ล้านบาท ในการลงทุนในหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีขนาดกลางและเล็ก ซึ่งปีนี้บริษัทได้มีการลงทุนเพิ่ม 3 บริษัท ทำให้ขณะนี้ลงทุนรวมเป็น 10 บริษัท ใช้เงินลงทุน 1,200 ล้านบาท และจากการที่ปีนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมาประมาณ 20% ทำให้บริษัทมีผลตอบแทนติดลบระดับเดียวกับตลาด ขณะที่พอร์ตการลงทุนระยะสั้นของบริษัทมีมูลค่า 600 ล้านบาท โดยครึ่งปีแรกบริษัทกำไรจำนวน 10 ล้านบาท ส่วนครึ่งปีหลังยัไม่สามารถตอบได้จะมีกำไรเท่าเพราะขึ้นอยู่กับภาวะตลาด
ทั้งนี้ บริษัทมีแผนที่จะเข้าไปลงทุนเพิ่มจากที่ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงมาจึงเป็นโอกาสที่จะเข้าไปลงทุน โดยทางฝ่ายการลงทุนของบริษัทจะเป็นผู้พิจารณา ส่วนการลงทุนในต่างประเทศนั้น บริษัทเริ่มไปลงทุนแล้วโดยเป็นการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล คิดเป็นมูลค่ายังไม่มาก ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้มีการศึกษาที่จะไปทำธุรกิจต่างประเทศ
สำหรับงานด้านที่ปรึกษาทางการเงิน ในการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขณะนี้มีจำนวน 3 บริษัท แต่จะเข้าจดทะเบียนได้เมื่อไรนั้นไม่ตอบได้ เพราะ ขึ้นอยู่กับภาวะตลาดหุ้น ซึ่งบริษัทมีหน้าที่ในการเตรียมความพร้อมของบริษัท และหากภาวะตลาดดีก็พร้อมที่จะเข้าระดมทุนได้ทันที ส่วนในด้านที่ปรึกษาทางการเงินในการควบรวม (M&A) ขณะนี้บริษัทยังดำเนินการอยู่ โดยธุรกิจที่จะมีการควบรวมนั้นจะเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันกับต่างชาติและมีการเปิดเสรี