ผู้จัดการรายวัน - กรุงเทพโพลระบุชาวกรุง 44% ไม่พอใจ ครม.สมัคร 4 เหตุหลายตำแหน่งตั้งพรรคพวกตัวเอง แถมไร้ความรู้ความสามารถ ยกเว้น "เตช บุนนาค" เผยการให้รัฐบาลแก้ปัญหาเศรษฐกิจและค่าครองชีพเป็นลำดับแรก "ชูศักดิ์" ตะแบง "โกร่ง" นั่งที่ปรึกษา ครม.เศรษฐกิจได้ ไม่ขัดหลักธรรมาภิบาล “วิเชียรโชติ" อ้างกฤษฎีกาการันตี ครม.มีหุ้นบริษัทเอกชน ทีมที่ปรึกษามีวุฒิภาวะสูง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพล) ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง "ความรู้สึกของประชาชนหลังปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) สมัคร 4" โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,158 คน เมื่อวันที่ 3 ส.ค.ที่ผ่านมา พบว่า เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกของประชาชนต่อครม.ชุดใหม่ ประชาชนร้อยละ 44 ไม่พอใจ โดยให้เหตุผลว่า หลายตำแหน่งมาจากพรรคพวกกัน และความรู้ความสามารถไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง ร้อยละ 36.8 พอใจภาพรวมของ ครม.ชุดใหม่ โดยให้เหตุผลว่าน่าจะช่วยแก้ไขปัญหาของประเทศได้ เป็นการให้โอกาสคนอื่นมาทำงาน ร้อยละ 19.2 ไม่มีความเห็น
ส่วนตำแหน่งที่เห็นว่ามีการแต่งตั้งผู้มาดำรงตำแหน่งได้เหมาะสมที่สุด 3 อันดับแรก คือ อันดับ 1 ร้อยละ 36 นายเตช บุนนาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ร้อยละ 21.5 พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และร้อยละ 8.5 นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
จากการปรับครม. ครั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 48.3 เห็นว่า ไม่ทำให้คะแนนนิยมของรัฐบาลเพิ่มขึ้นหรือลดลง ขณะที่ร้อยละ 30.5 เห็นว่า ส่งผลให้คะแนนนิยมลดลง และร้อยละ 21.2 เห็นว่าส่งผลให้คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น
ส่วนความเชื่อมั่นของประชาชนต่อครม. ชุดใหม่ในการแก้ปัญหาหลัก 4 ประการของประเทศไทยนั้น พบว่าปัญหาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ประชาชนร้อยละ 33.7 เชื่อว่าแก้ได้ ร้อยละ 22.9 เชื่อว่าแก้ไม่ได้ ร้อยละ 43.4 ไม่แน่ใจ ปัญหาเศรษฐกิจและค่าครองชีพ ร้อยละ 39.1 เชื่อว่าแก้ไม่ได้ ร้อยละ 30.5 เชื่อว่าแก้ได้ และร้อยละ 30.4 ไม่แน่ใจ ปัญหาการแตกความสามัคคีของคนในชาติ ร้อยละ 50.1 เชื่อว่าแก้ไม่ได้ ร้อยละ 35.4 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 14.5 เชื่อว่าแก้ได้ ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ร้อยละ 63.3 เชื่อว่าแก้ไม่ได้ ร้อยละ 25.6 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 11.1 เชื่อว่าแก้ได้
เรื่องที่ประชาชนต้องการให้ ครม.ชุดใหม่ ดำเนินการเร่งด่วนเป็นอันดับแรกคือ ร้อยละ 61.3แก้ปัญหาเศรษฐกิจและค่าครองชีพ ร้อยละ 12.3 สร้างความสามัคคีของคนในชาติ ร้อยละ 9.5 แก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ร้อยละ 5.1 แก้ปัญหาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ร้อยละ 4.5 แก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ร้อยละ 4.4 อื่น ๆ เช่น การแก้ปัญหาจราจร ปัญหาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ร้อยละ 2.9ไม่มีความเห็น
สำหรับความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์การเมืองไทยภายหลังการปรับ ครม. พบว่า ประชาชนร้อยละ 52 เชื่อว่าสถานการณ์จะเหมือนเดิม ขณะที่อีกร้อยละ 27.9 เชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้น และร้อยละ 20.1 เชื่อว่าจะแย่ลง.
“ชูศักดิ์-วิเชียรโชติ” ตะแบงอุ้ม “โกร่ง”
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่หลายฝ่ายสงสัยการแต่งตั้งนายวีระพงษ์ รามางกูร เป็นประธานที่ปรึกษาคณะรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจว่าอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 84 เพราะมีตำแหน่งในบริษัทเอกชนที่อยู่ในตลาดหุ้น ว่า ตำแหน่งดังกล่าวทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเท่านั้น คณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้พิจารณาว่าจะดำเนินการตามคำปรึกษาหรือไม่ ส่วนการจะให้เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี ว่าจะให้เข้าประชุมทุกครั้ง หรือจะเข้าประชุมเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจเท่านั้น จึงเห็นว่านายวีระพงษ์ ไม่จำเป็นต้องลาออกจากตำแหน่งของบริษัทต่างๆ เนื่องจากไม่มีผลผูกพันกัน
พล.ต.ท.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้สอบถามนายอัชพร จารุจินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายความร่วมมือในการลงทุนระหว่างรัฐและภาคเอกชน หรือพีพีพี ถึงกรณีการทำหน้าที่ของทีมที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรีว่าสามารถเข้าร่วมประชุม ครม.ได้หรือไม่ ได้คำตอบว่า ทุกวันนี้ในการประชุม ครม.ทุกสัปดาห์ได้มีการเชิญบุคคลต่างๆ ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และบุคคลอื่น ที่ไม่ใช่ ครม. มาร่วมชี้แจงและร่วมประชุมอยู่แล้ว ทั้งผอ.สำนักงบประมาณ, ผอ.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.), ผู้อำนวยการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ และทีมงานโฆษกฯ แต่บุคคลเหล่านี้ไม่สามารถร่วมลงมติ ครม.ได้ ขณะเดียวกันคำชี้แจงของบุคคลเหล่านี้ไม่ผูกพันกับ ครม.ด้วย ดังนั้นทีมที่ปรึกษาทั้ง 5 คน สามารถเข้าร่วมประชุม ครม.ได้
“เข้าใจว่าทีมที่ปรึกษาทั้ง 5 คน คงจะเข้าร่วมประชุม ครม.ในครั้งต่อไป หลังจากที่ ครม.ใหม่ได้ถวายสัตย์ฯ แล้ว” โฆษกฯ กล่าว
ส่วนที่สังคมแสดงความเป็นห่วงกรณีที่ปรึกษาเข้าร่วมประชุมครม.เพราะบางคนเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทเอกชน อาจมีการนำข้อมูลไปใช้ได้ โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่น่าเป็นกังวล เพราะบรรดา ครม.เอง ต่างก็มีหุ้นในบริษัทเอกชนอยู่แล้ว และทีมที่ปรึกษามีวุฒิภาวะสูง สามารถแยกแยะเรื่องส่วนตัวและเรื่องประเทศชาติได้
เมื่อถามว่า นายกฯ ได้คาดหวังกับทีมเศรษฐกิจชุดนี้อย่างไร โฆษกฯ กล่าวว่า นายกฯได้ระดมคนที่มีความรู้เข้ามาเป็นทีมที่ปรึกษา ซึ่งครั้งแรกเชิญมาเป็นรมต.แต่ไม่รับ เพราะกลัวสูญเสียรายได้ประจำ เพราะบางคนต้องมีภาระทางบ้านที่ต้องดูแล ขณะเดียวกันยังมีข้อกฎหมายหลายอย่างที่ถูกจำกัดสิทธิ์ เช่นการต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สิน การห้ามกลับไปทำงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งเป็นเวลา 2 ปี ที่สำคัญการเข้ามาเป็นรมต.เท่ากับว่าขาข้างหนึ่งอยู่ในคุก จึงขอเป็นเพียงทีมที่ปรึกษาเท่านั้น แต่ที่ปรึกษาทั้งหมดจะได้รับค่าเบี้ยประชุม แต่ไม่ได้ค่าตำแหน่งแต่อย่างใด เพราะไม่ใช่ข้าราชการการเมือง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพล) ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง "ความรู้สึกของประชาชนหลังปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) สมัคร 4" โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,158 คน เมื่อวันที่ 3 ส.ค.ที่ผ่านมา พบว่า เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกของประชาชนต่อครม.ชุดใหม่ ประชาชนร้อยละ 44 ไม่พอใจ โดยให้เหตุผลว่า หลายตำแหน่งมาจากพรรคพวกกัน และความรู้ความสามารถไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง ร้อยละ 36.8 พอใจภาพรวมของ ครม.ชุดใหม่ โดยให้เหตุผลว่าน่าจะช่วยแก้ไขปัญหาของประเทศได้ เป็นการให้โอกาสคนอื่นมาทำงาน ร้อยละ 19.2 ไม่มีความเห็น
ส่วนตำแหน่งที่เห็นว่ามีการแต่งตั้งผู้มาดำรงตำแหน่งได้เหมาะสมที่สุด 3 อันดับแรก คือ อันดับ 1 ร้อยละ 36 นายเตช บุนนาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ร้อยละ 21.5 พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และร้อยละ 8.5 นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
จากการปรับครม. ครั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 48.3 เห็นว่า ไม่ทำให้คะแนนนิยมของรัฐบาลเพิ่มขึ้นหรือลดลง ขณะที่ร้อยละ 30.5 เห็นว่า ส่งผลให้คะแนนนิยมลดลง และร้อยละ 21.2 เห็นว่าส่งผลให้คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น
ส่วนความเชื่อมั่นของประชาชนต่อครม. ชุดใหม่ในการแก้ปัญหาหลัก 4 ประการของประเทศไทยนั้น พบว่าปัญหาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ประชาชนร้อยละ 33.7 เชื่อว่าแก้ได้ ร้อยละ 22.9 เชื่อว่าแก้ไม่ได้ ร้อยละ 43.4 ไม่แน่ใจ ปัญหาเศรษฐกิจและค่าครองชีพ ร้อยละ 39.1 เชื่อว่าแก้ไม่ได้ ร้อยละ 30.5 เชื่อว่าแก้ได้ และร้อยละ 30.4 ไม่แน่ใจ ปัญหาการแตกความสามัคคีของคนในชาติ ร้อยละ 50.1 เชื่อว่าแก้ไม่ได้ ร้อยละ 35.4 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 14.5 เชื่อว่าแก้ได้ ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ร้อยละ 63.3 เชื่อว่าแก้ไม่ได้ ร้อยละ 25.6 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 11.1 เชื่อว่าแก้ได้
เรื่องที่ประชาชนต้องการให้ ครม.ชุดใหม่ ดำเนินการเร่งด่วนเป็นอันดับแรกคือ ร้อยละ 61.3แก้ปัญหาเศรษฐกิจและค่าครองชีพ ร้อยละ 12.3 สร้างความสามัคคีของคนในชาติ ร้อยละ 9.5 แก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ร้อยละ 5.1 แก้ปัญหาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ร้อยละ 4.5 แก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ร้อยละ 4.4 อื่น ๆ เช่น การแก้ปัญหาจราจร ปัญหาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ร้อยละ 2.9ไม่มีความเห็น
สำหรับความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์การเมืองไทยภายหลังการปรับ ครม. พบว่า ประชาชนร้อยละ 52 เชื่อว่าสถานการณ์จะเหมือนเดิม ขณะที่อีกร้อยละ 27.9 เชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้น และร้อยละ 20.1 เชื่อว่าจะแย่ลง.
“ชูศักดิ์-วิเชียรโชติ” ตะแบงอุ้ม “โกร่ง”
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่หลายฝ่ายสงสัยการแต่งตั้งนายวีระพงษ์ รามางกูร เป็นประธานที่ปรึกษาคณะรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจว่าอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 84 เพราะมีตำแหน่งในบริษัทเอกชนที่อยู่ในตลาดหุ้น ว่า ตำแหน่งดังกล่าวทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเท่านั้น คณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้พิจารณาว่าจะดำเนินการตามคำปรึกษาหรือไม่ ส่วนการจะให้เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี ว่าจะให้เข้าประชุมทุกครั้ง หรือจะเข้าประชุมเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจเท่านั้น จึงเห็นว่านายวีระพงษ์ ไม่จำเป็นต้องลาออกจากตำแหน่งของบริษัทต่างๆ เนื่องจากไม่มีผลผูกพันกัน
พล.ต.ท.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้สอบถามนายอัชพร จารุจินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายความร่วมมือในการลงทุนระหว่างรัฐและภาคเอกชน หรือพีพีพี ถึงกรณีการทำหน้าที่ของทีมที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรีว่าสามารถเข้าร่วมประชุม ครม.ได้หรือไม่ ได้คำตอบว่า ทุกวันนี้ในการประชุม ครม.ทุกสัปดาห์ได้มีการเชิญบุคคลต่างๆ ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และบุคคลอื่น ที่ไม่ใช่ ครม. มาร่วมชี้แจงและร่วมประชุมอยู่แล้ว ทั้งผอ.สำนักงบประมาณ, ผอ.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.), ผู้อำนวยการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ และทีมงานโฆษกฯ แต่บุคคลเหล่านี้ไม่สามารถร่วมลงมติ ครม.ได้ ขณะเดียวกันคำชี้แจงของบุคคลเหล่านี้ไม่ผูกพันกับ ครม.ด้วย ดังนั้นทีมที่ปรึกษาทั้ง 5 คน สามารถเข้าร่วมประชุม ครม.ได้
“เข้าใจว่าทีมที่ปรึกษาทั้ง 5 คน คงจะเข้าร่วมประชุม ครม.ในครั้งต่อไป หลังจากที่ ครม.ใหม่ได้ถวายสัตย์ฯ แล้ว” โฆษกฯ กล่าว
ส่วนที่สังคมแสดงความเป็นห่วงกรณีที่ปรึกษาเข้าร่วมประชุมครม.เพราะบางคนเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทเอกชน อาจมีการนำข้อมูลไปใช้ได้ โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่น่าเป็นกังวล เพราะบรรดา ครม.เอง ต่างก็มีหุ้นในบริษัทเอกชนอยู่แล้ว และทีมที่ปรึกษามีวุฒิภาวะสูง สามารถแยกแยะเรื่องส่วนตัวและเรื่องประเทศชาติได้
เมื่อถามว่า นายกฯ ได้คาดหวังกับทีมเศรษฐกิจชุดนี้อย่างไร โฆษกฯ กล่าวว่า นายกฯได้ระดมคนที่มีความรู้เข้ามาเป็นทีมที่ปรึกษา ซึ่งครั้งแรกเชิญมาเป็นรมต.แต่ไม่รับ เพราะกลัวสูญเสียรายได้ประจำ เพราะบางคนต้องมีภาระทางบ้านที่ต้องดูแล ขณะเดียวกันยังมีข้อกฎหมายหลายอย่างที่ถูกจำกัดสิทธิ์ เช่นการต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สิน การห้ามกลับไปทำงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งเป็นเวลา 2 ปี ที่สำคัญการเข้ามาเป็นรมต.เท่ากับว่าขาข้างหนึ่งอยู่ในคุก จึงขอเป็นเพียงทีมที่ปรึกษาเท่านั้น แต่ที่ปรึกษาทั้งหมดจะได้รับค่าเบี้ยประชุม แต่ไม่ได้ค่าตำแหน่งแต่อย่างใด เพราะไม่ใช่ข้าราชการการเมือง