นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ส.ส. พรรคพลังประชาชนจะยื่นให้ตีความเรื่องคำสั่งของกองทัพอากาศสั่งซื้อเครื่องบิน กริพเพน และการจัดซื้อรถหุ้มเกาะยูเครน เข้าข่ายผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา190 วรรคสอง ว่า ต้องดูว่าเป็นเรื่องสนธิสัญญาหรือไม่ ส่วนวรรคสองนั้นเข้าข่ายเต็มประตูอยู่แล้วมีผลกระทบผูกพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และจะต้องดูด้วยว่า เป็นสนธิสัญญาข้อตกลงระหว่างประเทศหรือไม่ เหมือนกับกรณีที่ นายนพพล ปัทมะ อดีต รมว.ต่างประเทศที่ถูกศาลวินิจฉัยเรื่องการเซ็นลงนามแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา เข้าข่ายสนธิสัญญา แล้วจึงมาดูวรรคสองของมาตรา 190 เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องวินิจฉัย ตนตอบแทนศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะส่งผลกระทบสัญญาการซื้อขายหรือไม่ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ต้องดูคำวินิจฉัยว่าการกระทำนั้นเข้าผลหรือไม่ เพราะยังไม่ผ่านรัฐสภา ประเด็นปัญหาอยู่ที่เป็นสนธิสัญญาหรือไม่
พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่พรรคพลังประชาชนจะยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความว่าการจัดซื้อเครื่องบินกริพเพนขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 หรือไม่ว่า เขาคงจะหาความถูกต้องว่าความจริงจะต้องทำอย่างไร ซึ่งภาระตรงนั้นเป็นหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในการนำเรื่องเข้าสภาและจะผ่านหรือไม่ผ่านสภาอย่างไร ทั้งนี้ตนไม่ทราบวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของพรรคพลังประชาชน เพราะการจัดซื้อระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลมีจำนวนมาก หากเรื่องนี้ไม่ชอบธรรม ไม่ถูกต้องในส่วนขอกระทรวงกลาโหมยังมีเรื่องอีกมากมายที่ทำสัญญาระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล
โดยทั่วไปคิดว่าไม่มีอะไรที่น่าจะเกี่ยวข้องเพราะตามกฎหมายต้องเป็นเรื่องของการไปทำสัญญาหรือลงนามใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับอธิปไตยคือ จะเสียอาณาเขตในประเทศหรือนอกประเทศ หากจะตีความตรงนั้นในฐานะที่ผมเข้าไปเกี่ยวข้องอยู่บ้าง เช่น การจัดซื้อที่ดินหรือขายที่ดินนอกประเทศอาจจะเข้าข้อกฎหมาย เพราะเป็นการเสียดินแดน เสียพื้นที่ เช่นสำนักงานผู้ช่วยทูต หรือสถานทูต แต่ถ้าเป็นเรื่องอื่นมีแต่ได้อธิปไตย มันไม่เสียอธิปไตย ช่วงนี้การพิจารณากฎหมายอื่นๆ อาจจะไม่ค่อยมีจึงหาประเด็นขึ้นมา
ผู้สื่อข่าวถามว่ามีความพยายามนำไปโยงกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เป็นคนละเรื่องเดียวกันหรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวพร้อมหัวเราะว่า มันไม่ใช่คนละเรื่องเดียว มันคนละเรื่องเลย คิดว่าทางนักกฎหมายและผู้ที่เกี่ยวข้องพิจารณาได้ บางทีไม่มีประเด็นอะไรในการพิจารณาจึงนำมาเป็นหัวข้อเสียหน่อย ทั้งนี้สมัยก่อนยังไม่มี มาตรา 190 แต่เมื่อมีก็ทำให้กระจ่าง แต่โดยทั่วไปกองทัพอากาศไม่ได้ตื่นเต้น เพราะกองทัพอากาศมีหน้าที่ขอเงินจากรัฐบาลในการจัดซื้อจัดหาเพื่อทำหน้าที่ของ กองทัพอากาศ ส่วนการปฏิบัติตามกฎหมายนั้น ผู้ที่รับผิดชอบในภาระตรงนี้จะเป็นผู้ดำเนินการ
ส่วนการกระทำเช่นนี้จะเป็นการทำความไม่ชอบธรรมให้กับกองทัพหรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ไม่เกี่ยวกัน ไม่ใช่ว่าชอบธรรมหรือไม่ชอบธรรม หากพูดกันผู้ที่จะควบคุมเกี่ยวกับกฎหมายต้องพยายามทำกฎหมายให้แจ่มแจ้งที่สุด แต่จะเป็นประโยชน์หรือไม่ ผู้เกี่ยวข้องต้องนึกเอาเองด้วย ไม่ใช่ต้องการแค่มีเรื่องเข้ามาพิจารณา
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจอย่างไร พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า กองทัพอากาศชี้แจงมาโดยตลอด หากพูดง่ายๆการจะนำเข้าสู่สภาหรือไม่ กองทัพอากาศไม่มีอำนาจที่จะส่งเรื่องเข้าสภาหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องของครม. ทั้งนี้ไม่จำเป็นจะต้องทำสมุดปกขาวชี้แจง เพราะพูดแค่นี้ประชาชนประชาชนคงทราบ เมื่อถามว่า นายกรัฐมนตรีได้พูดถึงเรื่องนี้อย่างไร พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ท่านไม่ว่าอะไร ท่านเข้าใจ ท่านคงทราบแล้ว คงไม่มีอะไร ทั้งนี้ยังไม่มีการพูดคุยกับนายกรัฐมนตรีในเรื่องนี้
ด้าน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวถึงกรณีที่กองทัพถูกโจมตีเกี่ยวกับการจัดซื้ออาวุธว่า การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ในเรื่องของการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ กองทัพบกไม่ได้ทำโดยคนใดคนหนึ่ง เพราะมีคณะกรรมการรองรับอยู่ในทุกขั้นตอน ในขั้นตอนต่อไปจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบ เช่น สตง.เมื่อมีคนอยากจะให้ชี้แจง เราก็ต้องไปชี้แจงให้ สตง.รับทราบ จนกระทั่ง ครม. และ รมว.กลาโหม อนุมัติออกมา ทั้งนี้สามารถตรวจสอบได้ ตนเห็นว่า เป็นความชอบธรรม พูดได้ แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของความต้องการทราบข้อมูล หรือต้องการให้ชี้แจงข้อสงสัยในการปฏิบัติ แต่การโจมตีโดยกล่าวเลื่อนลอยนั้นประชาชนจะต้องใช้วิจารญาณเอาเอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า การจัดซื้ออาวุธโดยนำไปโยงกับการเมืองซึ่งจะต้องนำไปเข้า ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ตนไม่มีข้อวิจารณ์ในส่วนนี้ ไม่ใช่หน้าที่ของกองทัพบกจะต้องไปตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพียงแต่กองทัพต้องการอาวุธยุทโธปกรณ์ และเราได้พิจารณาในรูปของคณะกรรมการ ซึ่งจัดหายุทโธปกรณ์ที่ดีที่สุดที่เราต้องการ และเหมาะสมกับเราที่สุด และวิธี่การนั้นเราใช้วิธีจัดซื้อรัฐบาลระหว่างรัฐบาล นอกเหนือจากนี้เป็นเรื่องของรัฐมนตรีที่จะต้องไปดำเนินการ
ส่วนการนำประเด็นดังกล่าวไปเชื่อมโยงกับการเมืองจะมีผลกระทบต่อการพัฒนากองทัพหรือไม่นั้น พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ก็ยอมรับ สมมติว่าออกมาได้ก็ดี แต่ถ้าออกไม่ได้ก็ไม่ทราบจะทำอย่างไร แต่มันอยู่ในขั้นตอนของส่วนทางนั้นที่มีสิทธิ์ทำได้ ไม่ว่าจะทำอย่างไรตนไม่สามารถไปวิเคราะห์ว่าได้หรือไม่ได้อย่างไร อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ดำเนินการถ้ากฎหมายให้ทำได้ก็ทำ ถ้าทำไม่ได้ติดขัดก็ต้องติดขัด ตนไม่มีสิทธิ์ไปบอกว่าจะได้หรือไม่ได้อย่างไร
ผู้สื่อข่าวถามว่ารู้สึกอย่างไรที่ช่วงนี้กองทัพถูกกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โจมตีอย่างหนัก โดยเฉพาะการจัดซื้อรถยูเครน และ เครื่องบินกริฟเฟน ของกองทัพอากาศ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ตนไม่ค่อยได้ติดตามจากสื่อดังกล่าว ส่วนใหญ่จะติดตามจากสื่อมวลชนทั่วไป เพราะว่าจะต้องฟังทุกอย่างบนหลักเหตุผล และบนพื้นฐานความเป็นจริง ซึ่งสื่อต่าง ๆ มีสิทธิ์ได้ติดตามตรวจสอบถือเป็นกระจกที่คอยดูการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นทหาร หรือข้าราชการส่วนอื่น ๆ ในการดำเนินการจะต้องเป็นไปแนวทางธรรมาภิบาลความโปร่งใส ตรวจสอบได้ในความรับผิดชอบ
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะส่งผลกระทบสัญญาการซื้อขายหรือไม่ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ต้องดูคำวินิจฉัยว่าการกระทำนั้นเข้าผลหรือไม่ เพราะยังไม่ผ่านรัฐสภา ประเด็นปัญหาอยู่ที่เป็นสนธิสัญญาหรือไม่
พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่พรรคพลังประชาชนจะยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความว่าการจัดซื้อเครื่องบินกริพเพนขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 หรือไม่ว่า เขาคงจะหาความถูกต้องว่าความจริงจะต้องทำอย่างไร ซึ่งภาระตรงนั้นเป็นหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในการนำเรื่องเข้าสภาและจะผ่านหรือไม่ผ่านสภาอย่างไร ทั้งนี้ตนไม่ทราบวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของพรรคพลังประชาชน เพราะการจัดซื้อระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลมีจำนวนมาก หากเรื่องนี้ไม่ชอบธรรม ไม่ถูกต้องในส่วนขอกระทรวงกลาโหมยังมีเรื่องอีกมากมายที่ทำสัญญาระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล
โดยทั่วไปคิดว่าไม่มีอะไรที่น่าจะเกี่ยวข้องเพราะตามกฎหมายต้องเป็นเรื่องของการไปทำสัญญาหรือลงนามใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับอธิปไตยคือ จะเสียอาณาเขตในประเทศหรือนอกประเทศ หากจะตีความตรงนั้นในฐานะที่ผมเข้าไปเกี่ยวข้องอยู่บ้าง เช่น การจัดซื้อที่ดินหรือขายที่ดินนอกประเทศอาจจะเข้าข้อกฎหมาย เพราะเป็นการเสียดินแดน เสียพื้นที่ เช่นสำนักงานผู้ช่วยทูต หรือสถานทูต แต่ถ้าเป็นเรื่องอื่นมีแต่ได้อธิปไตย มันไม่เสียอธิปไตย ช่วงนี้การพิจารณากฎหมายอื่นๆ อาจจะไม่ค่อยมีจึงหาประเด็นขึ้นมา
ผู้สื่อข่าวถามว่ามีความพยายามนำไปโยงกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เป็นคนละเรื่องเดียวกันหรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวพร้อมหัวเราะว่า มันไม่ใช่คนละเรื่องเดียว มันคนละเรื่องเลย คิดว่าทางนักกฎหมายและผู้ที่เกี่ยวข้องพิจารณาได้ บางทีไม่มีประเด็นอะไรในการพิจารณาจึงนำมาเป็นหัวข้อเสียหน่อย ทั้งนี้สมัยก่อนยังไม่มี มาตรา 190 แต่เมื่อมีก็ทำให้กระจ่าง แต่โดยทั่วไปกองทัพอากาศไม่ได้ตื่นเต้น เพราะกองทัพอากาศมีหน้าที่ขอเงินจากรัฐบาลในการจัดซื้อจัดหาเพื่อทำหน้าที่ของ กองทัพอากาศ ส่วนการปฏิบัติตามกฎหมายนั้น ผู้ที่รับผิดชอบในภาระตรงนี้จะเป็นผู้ดำเนินการ
ส่วนการกระทำเช่นนี้จะเป็นการทำความไม่ชอบธรรมให้กับกองทัพหรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ไม่เกี่ยวกัน ไม่ใช่ว่าชอบธรรมหรือไม่ชอบธรรม หากพูดกันผู้ที่จะควบคุมเกี่ยวกับกฎหมายต้องพยายามทำกฎหมายให้แจ่มแจ้งที่สุด แต่จะเป็นประโยชน์หรือไม่ ผู้เกี่ยวข้องต้องนึกเอาเองด้วย ไม่ใช่ต้องการแค่มีเรื่องเข้ามาพิจารณา
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจอย่างไร พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า กองทัพอากาศชี้แจงมาโดยตลอด หากพูดง่ายๆการจะนำเข้าสู่สภาหรือไม่ กองทัพอากาศไม่มีอำนาจที่จะส่งเรื่องเข้าสภาหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องของครม. ทั้งนี้ไม่จำเป็นจะต้องทำสมุดปกขาวชี้แจง เพราะพูดแค่นี้ประชาชนประชาชนคงทราบ เมื่อถามว่า นายกรัฐมนตรีได้พูดถึงเรื่องนี้อย่างไร พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ท่านไม่ว่าอะไร ท่านเข้าใจ ท่านคงทราบแล้ว คงไม่มีอะไร ทั้งนี้ยังไม่มีการพูดคุยกับนายกรัฐมนตรีในเรื่องนี้
ด้าน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวถึงกรณีที่กองทัพถูกโจมตีเกี่ยวกับการจัดซื้ออาวุธว่า การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ในเรื่องของการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ กองทัพบกไม่ได้ทำโดยคนใดคนหนึ่ง เพราะมีคณะกรรมการรองรับอยู่ในทุกขั้นตอน ในขั้นตอนต่อไปจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบ เช่น สตง.เมื่อมีคนอยากจะให้ชี้แจง เราก็ต้องไปชี้แจงให้ สตง.รับทราบ จนกระทั่ง ครม. และ รมว.กลาโหม อนุมัติออกมา ทั้งนี้สามารถตรวจสอบได้ ตนเห็นว่า เป็นความชอบธรรม พูดได้ แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของความต้องการทราบข้อมูล หรือต้องการให้ชี้แจงข้อสงสัยในการปฏิบัติ แต่การโจมตีโดยกล่าวเลื่อนลอยนั้นประชาชนจะต้องใช้วิจารญาณเอาเอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า การจัดซื้ออาวุธโดยนำไปโยงกับการเมืองซึ่งจะต้องนำไปเข้า ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ตนไม่มีข้อวิจารณ์ในส่วนนี้ ไม่ใช่หน้าที่ของกองทัพบกจะต้องไปตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพียงแต่กองทัพต้องการอาวุธยุทโธปกรณ์ และเราได้พิจารณาในรูปของคณะกรรมการ ซึ่งจัดหายุทโธปกรณ์ที่ดีที่สุดที่เราต้องการ และเหมาะสมกับเราที่สุด และวิธี่การนั้นเราใช้วิธีจัดซื้อรัฐบาลระหว่างรัฐบาล นอกเหนือจากนี้เป็นเรื่องของรัฐมนตรีที่จะต้องไปดำเนินการ
ส่วนการนำประเด็นดังกล่าวไปเชื่อมโยงกับการเมืองจะมีผลกระทบต่อการพัฒนากองทัพหรือไม่นั้น พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ก็ยอมรับ สมมติว่าออกมาได้ก็ดี แต่ถ้าออกไม่ได้ก็ไม่ทราบจะทำอย่างไร แต่มันอยู่ในขั้นตอนของส่วนทางนั้นที่มีสิทธิ์ทำได้ ไม่ว่าจะทำอย่างไรตนไม่สามารถไปวิเคราะห์ว่าได้หรือไม่ได้อย่างไร อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ดำเนินการถ้ากฎหมายให้ทำได้ก็ทำ ถ้าทำไม่ได้ติดขัดก็ต้องติดขัด ตนไม่มีสิทธิ์ไปบอกว่าจะได้หรือไม่ได้อย่างไร
ผู้สื่อข่าวถามว่ารู้สึกอย่างไรที่ช่วงนี้กองทัพถูกกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โจมตีอย่างหนัก โดยเฉพาะการจัดซื้อรถยูเครน และ เครื่องบินกริฟเฟน ของกองทัพอากาศ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ตนไม่ค่อยได้ติดตามจากสื่อดังกล่าว ส่วนใหญ่จะติดตามจากสื่อมวลชนทั่วไป เพราะว่าจะต้องฟังทุกอย่างบนหลักเหตุผล และบนพื้นฐานความเป็นจริง ซึ่งสื่อต่าง ๆ มีสิทธิ์ได้ติดตามตรวจสอบถือเป็นกระจกที่คอยดูการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นทหาร หรือข้าราชการส่วนอื่น ๆ ในการดำเนินการจะต้องเป็นไปแนวทางธรรมาภิบาลความโปร่งใส ตรวจสอบได้ในความรับผิดชอบ