เอเอฟพี/ไฟแนนเชียลไทมส์ – โคลห์เบิร์ก คราวิส โรเบิร์ตส์ แอนด์ โค (เคเคอาร์) หนึ่งในบริษัทเพื่อการลงทุนที่มีชื่อเสียงที่สุดของสหรัฐฯ แถลงเจตนารมณ์เมื่อวันอาทิตย์(27) ที่จะเข้าจดทะเบียนเพื่อนำหุ้นออกซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ภายหลังชะงักงันอยู่นานกว่า 1 ปี เพราะความปั่นป่วนผันผวนในตลาดการเงิน ซึ่งเกิดติดตามวิกฤตซับไพรม์และภาวะสินเชื่อตึงตัว
กระบวนการในการเข้าตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กของเคเคอาร์ ค่อนข้างจะสลับซับซ้อน เพราะจะต้องมีการควบรวมกับ เคเคอาร์ ไพรเวท อิคิวตี้ อินเวสเตอร์ส (เคพีอี) ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่เข้าตลาดหุ้นในอัมสเตอร์ดัมอยู่แล้วเสียก่อน จากนั้นจึงจะเริ่มกระบวนการจดทะเบียนเข้าตลาดหุ้นนิวยอร์ก
เคเคอาร์แสดงความหวังว่า “ความเคลื่อนไหวนี้จะทำให้เคเคอาร์สามารถเน้นธุรกิจที่มีความชำนาญอย่างสูง นั่นคือ ทำให้บริษัทต่าง ๆทั่วโลกเติบโตขยายตัว และสร้างผลตอบแทนอันมั่นคงให้แก่นักลงทุนของเรา จากมีพื้นฐานที่ใหญ่มากกว่าเดิม และมีเงินทุนมากขึ้นกว่าเดิม” เฮนรี คราวิส และจอร์จ โรเบิร์ตส์ ซึ่งเป็นสองผู้ก่อตั้งของเคเคอาร์กล่าวในไว้คำแถลงที่ออกมาเมื่อวันอาทิตย์
นอกจากนี้ในคำแถลงยังกล่าวว่า ความเคลื่อนไหวนี้จะก่อผลประโยชน์อย่างเป็นเนื้อเป็นหนังให้แก่ผู้ถือหุ้นของเคพีอี รวมทั้งทำให้เคเคอาร์ทั้งเครือแข็งแกร่งยิ่งขึ้นในระยะยาว
อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวครั้งนี้จะไม่มีการระดมเม็ดเงินใหม่เข้ามาแต่อย่างใด รวมทั้งเมื่อจดทะเบียนแล้ว บริษัทใหม่ที่เกิดจากการรวมกันระหว่างเคเคอาร์กับเคพีอี ก็จะมีมูลค่ารวมลดฮวบลงกว่าที่ได้คาดหมายเอาไว้เดิม เมื่อตอนประกาศว่าจะเข้าตลาดครั้งแรกตอนกลางปีที่แล้ว
โดยเมื่อจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก บริษัทน่าจะมีมูลค่าราว 15,000 – 19,000 ล้านดอลลาร์ จากที่คาดหมายไว้เดิม 26,000 ล้านดอลลาร์
บรรดาหุ้นส่วนของเคเคอาร์จะไม่ได้เงินจากกระบวนการขายหุ้นเพื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก แต่จะได้รับเป็นหุ้นของบริษัทใหม่แทน ทว่าการเข้าตลาดจะทำให้เคเคอาร์สามารถดำเนินยุทธศาสตร์ธุรกิจในฐานะที่เป็นบริษัทการเงินที่มีฐานธุรกิจกระจายตัวกว้างขวางยิ่งขึ้น เนื่องจากจะสามารถจ่ายเงินสำหรับการซื้อกิจการได้มากขึ้น ตลอดจนสามารถให้รางวัลแก่พนักงานเป็นหุ้น
ทั้งนี้ ในการเคลื่อนไหวขั้นแรก เคเคอาร์จะควบรวมกับ เคพีอี ที่เป็นกองทุนเพื่อการลงทุนที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ยูโรเน็กซ อัมสเตอร์ดัม ตั้งแต่เมื่อสองปีที่แล้ว ซึ่งหมายความว่าเคพีอีจะต้องออกจากตลาดหุ้นอัมสเตอร์ดัมเสียก่อน
และหลังจากควบรวมกันเรียบร้อยดีแล้ว บริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบรวมจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กในช่วงไตรมาสที่สุดท้ายของปีนี้
ผู้ถือหุ้นของเคพีอีจะได้ถือหุ้นรวม 21% ของบริษัทใหม่ ในขณะที่ฝ่ายเคเคอาร์จะถือหุ้น 79%
นับตั้งแต่เคเคอาร์จดทะเบียนกองทุนเคพีอีเข้าสู่ตลาดในอัมสเตอร์ดัมเมื่อเดือนเมษายนปี 2006 ราคาหุ้นเคพีอีก็ตกต่ำมาตลอด โดยอยู่ต่ำกว่าราคาสินทรัพย์สุทธิของกองทุนนี้ ที่อยู่ในราว 22 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อหนึ่งหุ้น ผลประกอบการที่ย่ำแย่ของเคพีอีเช่นนี้ทำให้เฮนรี คราวิสและผู้บริหารของเคเคอาร์อื่น ๆผิดหวังอย่างมาก
เมื่อครั้งที่กองทุนเคพีอีเข้าจดทะเบียนที่ตลาดในอัมสเตอร์ดัมนั้น มีผู้แย่งซื้อหุ้นกันมากมายจนทำให้ต้องเพิ่มจำนวนหุ้นจาก 1,500 ล้านดอลลาร์มาเป็น 5,000 ล้านดอลลาร์ ด้วยราคาพาร์ที่ 25 ดอลลาร์ต่อหนึ่งหุ้น ทว่าราคาในปัจจุบันลงมาอยู่ที่แถวๆ หุ้นละ 10 ดอลลาร์
แต่เมื่อมองกันในแง่ดี ย่อมหมายความว่าในการควบรวมที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ เคเคอาร์สามารถรวมเอาเคพีอีเข้ามาด้วยราคาที่ต่ำมาก
ตัวเคเคอาร์ที่เป็นบริษัทแม่ ก็ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กในเดือนกรกฎาคม ปี 2007 โดยประกาศจะระดมทุนจากการนี้ประมาณ 1,250 ล้านดอลลาร์ แถมช่วง 3 เดือนก่อนหน้านั้น คราวิสยังได้กล่าวคำพูดซึ่งถูกนำมาอ้างอิงกันต่ออย่างกว้างขวาง นั่นคือ เขาประกาศว่า ช่วงเวลาตอนนั้น คือ “ยุคทองของกองทุนไพรเวท อิควิตี้”
อันที่จริง ก็ไม่มีบริษัทใดที่เล่นเกมธุรกิจควบรวมกิจการในเชิงรุกมากไปกว่าเคเคอาร์อีกแล้วในช่วงยุคทองดังกล่าว เคเคอาร์ทำแม้กระทั่งร่วมมือกับคู่แข่งเพื่อเข้าซื้อบริษัทจดทะเบียนที่ใหญ่กว่าตัวเองหลายเท่า อย่างเช่น ทีเอ็กซ์ยู บริษัทสาธารณูปโภคพื้นฐานระดับยักษ์ใหญ่มหึมา, อะไลแอนซ์ บู๊ทส์, และ ดอลลาร์ เจเนอรัล บริษัทค้าปลีกชื่อดัง
แต่แล้วสถานการณ์ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป เพราะความปั่นป่วนที่เกิดจากตลาดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ได้ลุกลามเข้ามาสู่ตลาดตราสารสินเชื่อที่เคเคอาร์ใช้เป็นฐานระดมทุนเพื่อการซื้อกิจการ
กองทุนตราสารหนี้สาธารณะของเคเคอาร์กลายเป็นเหยื่อของวิกฤตนี้ เช่นเดียวกันกองทุนตราสารสินเชื่อเพื่อการซื้อบ้านของคาร์ไลล์ ที่เป็นบริษัทคู่แข่งสำคัญ
นอกจากเคเคอาร์แล้ว หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์เคยรายงานว่า บริษัทไพรเวท อิควิตี้ เจ้าอื่นๆ อย่างเช่น คาร์ไลล์ กรุ๊ป และเท็กซัส แปซิฟิก กรุ๊ป ได้เคยแสดงความสนใจจดทะเบียนเข้าตลาดหุ้นเช่นกัน แต่ก็เก็บแผนการไว้ก่อนเพราะว่าสภาพตลาดอันย่ำแย่
อนึ่ง เคเคอาร์ยังประกาศในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา คาดหมายว่ายอดสินทรัพย์รวมของตนมีมูลค่าเท่ากับประมาณ 60,800 ล้านดอลลาร์ ณ สิ้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สูงขึ้นจาก 53,200 ล้านดอลลาร์เมื่อตอนสิ้นปี 2007
กระบวนการในการเข้าตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กของเคเคอาร์ ค่อนข้างจะสลับซับซ้อน เพราะจะต้องมีการควบรวมกับ เคเคอาร์ ไพรเวท อิคิวตี้ อินเวสเตอร์ส (เคพีอี) ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่เข้าตลาดหุ้นในอัมสเตอร์ดัมอยู่แล้วเสียก่อน จากนั้นจึงจะเริ่มกระบวนการจดทะเบียนเข้าตลาดหุ้นนิวยอร์ก
เคเคอาร์แสดงความหวังว่า “ความเคลื่อนไหวนี้จะทำให้เคเคอาร์สามารถเน้นธุรกิจที่มีความชำนาญอย่างสูง นั่นคือ ทำให้บริษัทต่าง ๆทั่วโลกเติบโตขยายตัว และสร้างผลตอบแทนอันมั่นคงให้แก่นักลงทุนของเรา จากมีพื้นฐานที่ใหญ่มากกว่าเดิม และมีเงินทุนมากขึ้นกว่าเดิม” เฮนรี คราวิส และจอร์จ โรเบิร์ตส์ ซึ่งเป็นสองผู้ก่อตั้งของเคเคอาร์กล่าวในไว้คำแถลงที่ออกมาเมื่อวันอาทิตย์
นอกจากนี้ในคำแถลงยังกล่าวว่า ความเคลื่อนไหวนี้จะก่อผลประโยชน์อย่างเป็นเนื้อเป็นหนังให้แก่ผู้ถือหุ้นของเคพีอี รวมทั้งทำให้เคเคอาร์ทั้งเครือแข็งแกร่งยิ่งขึ้นในระยะยาว
อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวครั้งนี้จะไม่มีการระดมเม็ดเงินใหม่เข้ามาแต่อย่างใด รวมทั้งเมื่อจดทะเบียนแล้ว บริษัทใหม่ที่เกิดจากการรวมกันระหว่างเคเคอาร์กับเคพีอี ก็จะมีมูลค่ารวมลดฮวบลงกว่าที่ได้คาดหมายเอาไว้เดิม เมื่อตอนประกาศว่าจะเข้าตลาดครั้งแรกตอนกลางปีที่แล้ว
โดยเมื่อจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก บริษัทน่าจะมีมูลค่าราว 15,000 – 19,000 ล้านดอลลาร์ จากที่คาดหมายไว้เดิม 26,000 ล้านดอลลาร์
บรรดาหุ้นส่วนของเคเคอาร์จะไม่ได้เงินจากกระบวนการขายหุ้นเพื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก แต่จะได้รับเป็นหุ้นของบริษัทใหม่แทน ทว่าการเข้าตลาดจะทำให้เคเคอาร์สามารถดำเนินยุทธศาสตร์ธุรกิจในฐานะที่เป็นบริษัทการเงินที่มีฐานธุรกิจกระจายตัวกว้างขวางยิ่งขึ้น เนื่องจากจะสามารถจ่ายเงินสำหรับการซื้อกิจการได้มากขึ้น ตลอดจนสามารถให้รางวัลแก่พนักงานเป็นหุ้น
ทั้งนี้ ในการเคลื่อนไหวขั้นแรก เคเคอาร์จะควบรวมกับ เคพีอี ที่เป็นกองทุนเพื่อการลงทุนที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ยูโรเน็กซ อัมสเตอร์ดัม ตั้งแต่เมื่อสองปีที่แล้ว ซึ่งหมายความว่าเคพีอีจะต้องออกจากตลาดหุ้นอัมสเตอร์ดัมเสียก่อน
และหลังจากควบรวมกันเรียบร้อยดีแล้ว บริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบรวมจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กในช่วงไตรมาสที่สุดท้ายของปีนี้
ผู้ถือหุ้นของเคพีอีจะได้ถือหุ้นรวม 21% ของบริษัทใหม่ ในขณะที่ฝ่ายเคเคอาร์จะถือหุ้น 79%
นับตั้งแต่เคเคอาร์จดทะเบียนกองทุนเคพีอีเข้าสู่ตลาดในอัมสเตอร์ดัมเมื่อเดือนเมษายนปี 2006 ราคาหุ้นเคพีอีก็ตกต่ำมาตลอด โดยอยู่ต่ำกว่าราคาสินทรัพย์สุทธิของกองทุนนี้ ที่อยู่ในราว 22 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อหนึ่งหุ้น ผลประกอบการที่ย่ำแย่ของเคพีอีเช่นนี้ทำให้เฮนรี คราวิสและผู้บริหารของเคเคอาร์อื่น ๆผิดหวังอย่างมาก
เมื่อครั้งที่กองทุนเคพีอีเข้าจดทะเบียนที่ตลาดในอัมสเตอร์ดัมนั้น มีผู้แย่งซื้อหุ้นกันมากมายจนทำให้ต้องเพิ่มจำนวนหุ้นจาก 1,500 ล้านดอลลาร์มาเป็น 5,000 ล้านดอลลาร์ ด้วยราคาพาร์ที่ 25 ดอลลาร์ต่อหนึ่งหุ้น ทว่าราคาในปัจจุบันลงมาอยู่ที่แถวๆ หุ้นละ 10 ดอลลาร์
แต่เมื่อมองกันในแง่ดี ย่อมหมายความว่าในการควบรวมที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ เคเคอาร์สามารถรวมเอาเคพีอีเข้ามาด้วยราคาที่ต่ำมาก
ตัวเคเคอาร์ที่เป็นบริษัทแม่ ก็ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กในเดือนกรกฎาคม ปี 2007 โดยประกาศจะระดมทุนจากการนี้ประมาณ 1,250 ล้านดอลลาร์ แถมช่วง 3 เดือนก่อนหน้านั้น คราวิสยังได้กล่าวคำพูดซึ่งถูกนำมาอ้างอิงกันต่ออย่างกว้างขวาง นั่นคือ เขาประกาศว่า ช่วงเวลาตอนนั้น คือ “ยุคทองของกองทุนไพรเวท อิควิตี้”
อันที่จริง ก็ไม่มีบริษัทใดที่เล่นเกมธุรกิจควบรวมกิจการในเชิงรุกมากไปกว่าเคเคอาร์อีกแล้วในช่วงยุคทองดังกล่าว เคเคอาร์ทำแม้กระทั่งร่วมมือกับคู่แข่งเพื่อเข้าซื้อบริษัทจดทะเบียนที่ใหญ่กว่าตัวเองหลายเท่า อย่างเช่น ทีเอ็กซ์ยู บริษัทสาธารณูปโภคพื้นฐานระดับยักษ์ใหญ่มหึมา, อะไลแอนซ์ บู๊ทส์, และ ดอลลาร์ เจเนอรัล บริษัทค้าปลีกชื่อดัง
แต่แล้วสถานการณ์ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป เพราะความปั่นป่วนที่เกิดจากตลาดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ได้ลุกลามเข้ามาสู่ตลาดตราสารสินเชื่อที่เคเคอาร์ใช้เป็นฐานระดมทุนเพื่อการซื้อกิจการ
กองทุนตราสารหนี้สาธารณะของเคเคอาร์กลายเป็นเหยื่อของวิกฤตนี้ เช่นเดียวกันกองทุนตราสารสินเชื่อเพื่อการซื้อบ้านของคาร์ไลล์ ที่เป็นบริษัทคู่แข่งสำคัญ
นอกจากเคเคอาร์แล้ว หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์เคยรายงานว่า บริษัทไพรเวท อิควิตี้ เจ้าอื่นๆ อย่างเช่น คาร์ไลล์ กรุ๊ป และเท็กซัส แปซิฟิก กรุ๊ป ได้เคยแสดงความสนใจจดทะเบียนเข้าตลาดหุ้นเช่นกัน แต่ก็เก็บแผนการไว้ก่อนเพราะว่าสภาพตลาดอันย่ำแย่
อนึ่ง เคเคอาร์ยังประกาศในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา คาดหมายว่ายอดสินทรัพย์รวมของตนมีมูลค่าเท่ากับประมาณ 60,800 ล้านดอลลาร์ ณ สิ้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สูงขึ้นจาก 53,200 ล้านดอลลาร์เมื่อตอนสิ้นปี 2007