เรามาดูเรื่องความเสี่ยงเกี่ยวกับอนุพันธ์ตราสารกันต่อนะครับ
เรื่องความเสี่ยงและความคุ้มค่าของอนุพันธ์ตราสารนั้นมันมีความเสี่ยงมากสำหรับนักลงทุนที่ไม่มีความรู้ แต่อยากเข้าไปลงทุน แน่นอนว่าอนุพันธ์ทางการเงินช่วยให้บริษัทเพิ่มระดับความเสี่ยงโดยที่ยังคงระดับเงินกองทุนไว้ที่เดิม ความเสี่ยงสามารถโอนย้ายกันได้โดยไม่จำเป็นต้องโอนกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของหรือเงินต้นทั้งหมด.
ขณะที่การลงทุนนั้น เพียงวางเงินไว้บางส่วนโดยไม่ต้องวางเงินทั้งหมด อาจเป็นข้อดี แต่ข้อเสียนั้นก็มีมากมายเหลือเกิน
อนุพันธ์การเงินจึงอาจเป็นอันตรายต่อระบบอัตราแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ อนุพันธ์ทางการเงินยังสามารถช่วยซ้ำเติม ทำให้ราคาสินทรัพย์ทางการเงินและราคาหลักทรัพย์ตกต่ำอย่างรวดเร็วและรุนแรงได้ ซึ่งรวมถึงการระบาดหรือแพร่กระจายของวิกฤติการเงิน เนื่องจากคู่กรณีของอนุพันธ์การเงินมักจะมีบริษัทในหลายประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง
ดังนั้น ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบริษัทหนึ่ง หรือตลาดการเงินหนึ่ง ก็จะมีผลกระทบต่อบริษัทอื่นหรือตลาดการเงินอื่นที่เป็นคู่สัญญาด้วย
การประเมินความเสี่ยงจากการซื้อขายตราสารอนุพันธ์นั้นคำนวณได้ยากเพราะขึ้นอยู่กับความเคลื่อนไหวของ Underlying asset ซึ่งยากต่อการทำนาย
นอกจากนั้น แล้วการที่ผู้เล่นสามารถใช้เทคนิคการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ที่สลับซับซ้อน ลงทุนในตราสารอนุพันธ์ในหลายลักษณะ หลาย Maturity ในเวลาพร้อมกันนั้น ทำให้ยากต่อการคำนวณความเสี่ยง
โดยที่ตราสารอนุพันธ์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ตราสารสิทธิ์และตราสารล่วงหน้า ผู้ที่มีความเสี่ยงมากที่สุด ก็คือ ผู้ที่ขายตราสารสิทธิ์ ผู้ซื้อตราสารล่วงหน้า และผู้ขายตราสารล่วงหน้า ส่วนผู้ที่ซื้อตราสารสิทธิ์นั้นมีความเสี่ยงจำกัดเพียงแค่ ค่า Premium หรือค่าธรรมเนียมที่จ่ายเพื่อซื้อตราสารสิทธิ์เท่านั้น ดังนั้น การคำนวณความเสี่ยง จึงมีความยากลำบากในกรณีของการขายตราสารสิทธิ์ การซื้อและการขายตราสารล่วงหน้าอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือพร้อมๆ กัน
ในปัจจุบันสถาบันการเงินหลายๆ แห่งกำลังให้ความสำคัญกับธุรกิจการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ มีการนำเอาเทคนิคทางคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยเพื่อคำนวณอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง โดยใช้นักวิเคราะห์เชิงปริมาณ ค่าตัวแพงๆ ที่เรียกว่า Quants หรือ ย่อมาจาก Quantitative Analysts มาพัฒนาสูตรทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้วัดความเสี่ยงและผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด รวมทั้งพัฒนา SOFTWARE หรือ Model ทางคณิตศาสตร์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือตัดสินใจซื้อขายตราสารอนุพันธ์
แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือ Model เหล่านี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์จนเชื่อได้ว่าสามารถวัดความเสี่ยงและผลตอบแทนได้ถูกต้อง
ปัญหามันอยู่ตรงนี้แหละครับ ถ้าหากว่า Model นั้น เป็น Model ที่ผิดซึ่งให้ผลคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง จะเสียหายมาก
แต่กลุ่มที่ยังได้กำไรจากการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ก็ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์และบริษัทหลักทรัพย์ใน Wall Street ที่ได้พัฒนาตนเองเป็นศูนย์รวมและเครือข่ายธุรกิจการเงินที่ไร้ตะเข็บ สามารถทำ Deal ทางตราสารอนุพันธ์มูลค่าเป็นพันๆ ล้านเหรียญได้ในเสี้ยววินาที โดยที่ผู้ประกอบการนักลงทุนและนักเก็งกำไรสามารถซื้อตราสารอนุพันธ์ได้โดยตรงจากผู้ค้า
สถาบันการเงินเหล่านี้ก็ยังคิดค้นผลิตภัณฑ์ตราสารอนุพันธ์ประเภทใหม่ๆ ขึ้นมาอยู่เสมอ เพื่อเพิ่มรายได้และแข่งขันกันให้บริการการเงินที่ลูกค้าพอใจ คาดว่าสถาบันการเงินต่างประเทศที่เข้ามาประกอบธุรกิจในไทย คงจะพยายามเข้ามาขายของโดยเน้นทำรายได้จาก การสร้างตราสารอนุพันธ์และการค้าตราสารอนุพันธ์ ซึ่งคงจะเข้ามาพยายามขายกับสถาบันการเงินของไทย องค์กรที่จะกำกับดูแลในเรื่องนี้คงจะมีงานที่ท้าทายให้ทำอีกแล้ว
ผมอยากให้สถาบันการเงินไทยระมัดระวังในเรื่องนี้ให้มาก สิ่งที่ต้องคิดย้ำอยู่เสมอ ก็คือ ผู้บริหารเข้าใจความเสี่ยงดีแค่ไหน และเงินกองทุนเพียงพอรองรับกับความเสียหายได้หรือไม่
เรื่องความเสี่ยงและความคุ้มค่าของอนุพันธ์ตราสารนั้นมันมีความเสี่ยงมากสำหรับนักลงทุนที่ไม่มีความรู้ แต่อยากเข้าไปลงทุน แน่นอนว่าอนุพันธ์ทางการเงินช่วยให้บริษัทเพิ่มระดับความเสี่ยงโดยที่ยังคงระดับเงินกองทุนไว้ที่เดิม ความเสี่ยงสามารถโอนย้ายกันได้โดยไม่จำเป็นต้องโอนกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของหรือเงินต้นทั้งหมด.
ขณะที่การลงทุนนั้น เพียงวางเงินไว้บางส่วนโดยไม่ต้องวางเงินทั้งหมด อาจเป็นข้อดี แต่ข้อเสียนั้นก็มีมากมายเหลือเกิน
อนุพันธ์การเงินจึงอาจเป็นอันตรายต่อระบบอัตราแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ อนุพันธ์ทางการเงินยังสามารถช่วยซ้ำเติม ทำให้ราคาสินทรัพย์ทางการเงินและราคาหลักทรัพย์ตกต่ำอย่างรวดเร็วและรุนแรงได้ ซึ่งรวมถึงการระบาดหรือแพร่กระจายของวิกฤติการเงิน เนื่องจากคู่กรณีของอนุพันธ์การเงินมักจะมีบริษัทในหลายประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง
ดังนั้น ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบริษัทหนึ่ง หรือตลาดการเงินหนึ่ง ก็จะมีผลกระทบต่อบริษัทอื่นหรือตลาดการเงินอื่นที่เป็นคู่สัญญาด้วย
การประเมินความเสี่ยงจากการซื้อขายตราสารอนุพันธ์นั้นคำนวณได้ยากเพราะขึ้นอยู่กับความเคลื่อนไหวของ Underlying asset ซึ่งยากต่อการทำนาย
นอกจากนั้น แล้วการที่ผู้เล่นสามารถใช้เทคนิคการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ที่สลับซับซ้อน ลงทุนในตราสารอนุพันธ์ในหลายลักษณะ หลาย Maturity ในเวลาพร้อมกันนั้น ทำให้ยากต่อการคำนวณความเสี่ยง
โดยที่ตราสารอนุพันธ์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ตราสารสิทธิ์และตราสารล่วงหน้า ผู้ที่มีความเสี่ยงมากที่สุด ก็คือ ผู้ที่ขายตราสารสิทธิ์ ผู้ซื้อตราสารล่วงหน้า และผู้ขายตราสารล่วงหน้า ส่วนผู้ที่ซื้อตราสารสิทธิ์นั้นมีความเสี่ยงจำกัดเพียงแค่ ค่า Premium หรือค่าธรรมเนียมที่จ่ายเพื่อซื้อตราสารสิทธิ์เท่านั้น ดังนั้น การคำนวณความเสี่ยง จึงมีความยากลำบากในกรณีของการขายตราสารสิทธิ์ การซื้อและการขายตราสารล่วงหน้าอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือพร้อมๆ กัน
ในปัจจุบันสถาบันการเงินหลายๆ แห่งกำลังให้ความสำคัญกับธุรกิจการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ มีการนำเอาเทคนิคทางคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยเพื่อคำนวณอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง โดยใช้นักวิเคราะห์เชิงปริมาณ ค่าตัวแพงๆ ที่เรียกว่า Quants หรือ ย่อมาจาก Quantitative Analysts มาพัฒนาสูตรทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้วัดความเสี่ยงและผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด รวมทั้งพัฒนา SOFTWARE หรือ Model ทางคณิตศาสตร์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือตัดสินใจซื้อขายตราสารอนุพันธ์
แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือ Model เหล่านี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์จนเชื่อได้ว่าสามารถวัดความเสี่ยงและผลตอบแทนได้ถูกต้อง
ปัญหามันอยู่ตรงนี้แหละครับ ถ้าหากว่า Model นั้น เป็น Model ที่ผิดซึ่งให้ผลคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง จะเสียหายมาก
แต่กลุ่มที่ยังได้กำไรจากการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ก็ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์และบริษัทหลักทรัพย์ใน Wall Street ที่ได้พัฒนาตนเองเป็นศูนย์รวมและเครือข่ายธุรกิจการเงินที่ไร้ตะเข็บ สามารถทำ Deal ทางตราสารอนุพันธ์มูลค่าเป็นพันๆ ล้านเหรียญได้ในเสี้ยววินาที โดยที่ผู้ประกอบการนักลงทุนและนักเก็งกำไรสามารถซื้อตราสารอนุพันธ์ได้โดยตรงจากผู้ค้า
สถาบันการเงินเหล่านี้ก็ยังคิดค้นผลิตภัณฑ์ตราสารอนุพันธ์ประเภทใหม่ๆ ขึ้นมาอยู่เสมอ เพื่อเพิ่มรายได้และแข่งขันกันให้บริการการเงินที่ลูกค้าพอใจ คาดว่าสถาบันการเงินต่างประเทศที่เข้ามาประกอบธุรกิจในไทย คงจะพยายามเข้ามาขายของโดยเน้นทำรายได้จาก การสร้างตราสารอนุพันธ์และการค้าตราสารอนุพันธ์ ซึ่งคงจะเข้ามาพยายามขายกับสถาบันการเงินของไทย องค์กรที่จะกำกับดูแลในเรื่องนี้คงจะมีงานที่ท้าทายให้ทำอีกแล้ว
ผมอยากให้สถาบันการเงินไทยระมัดระวังในเรื่องนี้ให้มาก สิ่งที่ต้องคิดย้ำอยู่เสมอ ก็คือ ผู้บริหารเข้าใจความเสี่ยงดีแค่ไหน และเงินกองทุนเพียงพอรองรับกับความเสียหายได้หรือไม่