ภายหลังจากที่หนังการ์ตูนฮอลลีวูดเรื่อง “กังฟูแพนด้า” ลงโรงฉายที่จีนแผ่นดินใหญ่แล้ว ก็มีเสียงตอบรับแสดงความชื่นชมจากชาวจีนที่ได้เข้าไปชมอย่างล้นหลาม
แต่ในท่ามกลางเสียงชื่นชมเหล่านี้ก็มีการตั้งคำถามด้วยว่า ก็ในเมื่อหมีแพนด้าเป็นหมีที่มีอยู่ในจีนเพียงประเทศเดียวในโลก แล้วเหตุใดคนจีนจึงไม่เป็นผู้ผลิตหนังเรื่องนี้เสียเอง ทำไมต้องปล่อยให้ฝรั่งเป็นคนคิดคนทำ ทั้งๆ ที่คนจีนรู้จักหมีแพนด้าดีกว่าฝรั่งเสียอีก
ที่แน่ๆ คือ ฝรั่งยังนำเอามวยจีนกังฟูซึ่งเป็นของจีนแท้ๆ มาให้หมีแพนด้าได้แสดงอีกด้วย แล้วอย่างนี้จะไม่ให้จีนหงุดหงิดได้อย่างไร?
นั่นน่ะสิครับ...ทำไม ทำไมจึงไม่เป็นเรา?
เพราะเวลาร่วมสามทศวรรษตั้งแต่ที่จีนเปิดประเทศมานั้น จีนในทุกวันนี้ไม่เพียงจะก้าวหน้าในวิทยาการทางด้านการสร้างภาพยนตร์อย่างมากเท่านั้น หากแม้แต่วิทยาการด้านอื่นๆ จีนเองก็ก้าวหน้าไปอย่างมากเช่นกัน คือมากจนเรียกได้ว่า ถ้าจีนจะสร้างหนังแบบ “กังฟูแพนด้า” ขึ้นมาสักเรื่องก็ไม่ใช่เรื่องที่ทำไม่ได้ ซ้ำยังอาจเป็นเรื่อง “เด็กเด็ก” สำหรับจีนอีกด้วย
นั่นน่ะสิครับ...แล้วทำไมเรื่องดีๆ เช่นนี้จีนจึงคิดไม่ออก คิดไม่เป็น แล้วปล่อยให้ฝรั่งหยิบชิ้นปลามันไปกินจนอิ่มแปล้ ครับแล้วก็น่าเจ็บใจน่ะครับ ยิ่งจีนมีค่านิยมรักหน้าตัวเองมากกว่าชาติอื่นด้วย ยิ่งน่าเจ็บใจ
อันที่จริงแล้วในรายงานข่าวนั้นก็มีการวิเคราะห์กันพอหอมปากหอมคออยู่บ้างว่าทำไม แต่ก็ทำอะไรได้ไม่มากไปกว่าการพูดวนอยู่รอบๆ สิ่งที่เรียกว่าอำนาจรัฐ เพราะขืนทะลวงเข้าไปในสิ่งนั้น ก็คงไม่ปลอดภัยแก่คนพูดเอง
ฉะนั้น เราในฐานะคนต่างชาติจึงอาจพูดขยายแทนคนจีนที่ตั้งคำถามเหล่านี้ได้ง่ายกว่า และปลอดภัยกว่า และข้อความที่ขยายก็คือ เป็นเพราะจีนมีข้อจำกัดในการสร้างหนังอย่างมาก
มากที่ว่าเริ่มจากผู้สร้างจะต้องนำบทหนังไปให้คณะกรรมการเซ็นเซอร์พิจารณาก่อน ว่าบทหนังนั้นกระทบต่อความมั่นคงของสังคมหรือของชาติหรือไม่ ถ้ากระทบ บทหนังนั้นก็จะไม่ผ่านและจะนำไปสร้างเป็นหนังไม่ได้ หากใครขัดขืนนำไปสร้างแล้ว นอกจากหนังจะไม่ได้รับอนุญาตให้ฉาย (อยู่แล้ว) ตัวผู้กำกับฯ หรือผู้สร้างยังต้องถูกลงโทษห้ามสร้างหนังไปอีก 5 ปีอีกด้วย
ส่วนในกรณีที่บทหนังผ่านการพิจารณาแล้วนั้น ก็ใช่ว่าผู้สร้างจะตายใจไปได้ตลอด เพราะหลังสร้างเสร็จแล้วก็ยังจะต้องผ่านการเซ็นเซอร์ซ้ำอีก ฉะนั้น ต่อให้บทหนังดีอย่างไร แต่หากคณะกรรมการฯ เห็นว่าตัวหนังยังมีปัญหา หนังเรื่องนั้นก็ไม่มีสิทธิได้ฉาย จนกว่าผู้สร้างจะไปแก้ไขหนังของตนให้ “เข้าตา” คณะกรรมการฯ เสียก่อน
อันที่จริงกฎหมายเซ็นเซอร์หนังของจีนยังมีอะไรที่มากกว่านั้น แต่เท่าที่ผมเล่ามาก็เพียงพอแล้วสำหรับการตีตรวนความคิดที่สร้างสรรค์ให้กับใครต่อใครได้ไม่ยาก เพราะจะคิดอะไรที่โลดแล่นอิสระเสรีและสุดแสนจะบรรเจิดเพียงใด สิ่งที่คิดนั้นก็ไม่อาจไปได้ไกลกว่าที่โซ่ตรวนได้เหนี่ยวรั้งเอาไว้
แม้เราจะรู้ว่านั่นคือข้อเสียของระบอบเผด็จการ แต่การตอบโจทย์เพียงเท่านี้ยังไม่พอที่จะทำให้เราเข้าใจจีนได้ดีขึ้น เพราะถ้าเราหันมาดูในอีกข้างหนึ่งของการพัฒนา เราก็จะเห็นได้ว่า จีนนั้นทั้งเปิดทั้งส่งเสริมให้การพัฒนาของตนเป็นไปอย่างเต็มที่จนเกิดความเจริญก้าวหน้าขึ้นมาในหลายๆ ด้าน แต่กับแค่การสร้างหนังอย่าง “กังฟูแพนด้า” ซึ่งดูไปแล้วก็ไม่มีพิษมีภัยอะไร (ต่อความมั่นคง) ทำไมจีนจึงคิดไม่ได้
ครับ...ตรงนี้แหละที่ผมเห็นว่า คำตอบน่าจะมีอะไรมากกว่าสิ่งที่เรียกว่าเผด็จการ
อันที่จริงแล้วจีนก็ไม่ต่างกับอีกหลายประเทศนั่นแหละครับ ที่เป็นประเทศที่เปิดรับเอาวิทยาการความก้าวหน้าของตะวันตกมาพัฒนาประเทศของตน แต่รับไปรับมาท่าไหนไม่ทราบ ปรากฏว่า คนของตัวกลับไปหลงใหลกับวัฒนธรรมตะวันตกจนทิ้งรากวัฒนธรรมเดิมของตนไปหมด
บางคนทิ้งไม่ทิ้งเปล่า ยังกลับมาดูถูกรากวัฒนธรรมเดิมของตนอีกต่างหาก
พูดเพียงแค่นี้ก็คงเห็นนะครับว่า พี่ไทยเราเองก็เป็นกันจำนวนไม่น้อย
พูดง่ายๆ ก็คือว่า การรับวิทยาการความก้าวหน้าของตะวันตกมาใช้นั้นไม่ใช่สิ่งที่ผิด ถ้าเรารับมาด้วยการรู้จักที่จะปรับใช้ให้สอดรับกับทรัพยากรที่เรามีอยู่ แต่ที่เป็นปัญหา (ทั้งกับจีน ไทย และกับอีกหลายประเทศ) ก็คือ การรับวิทยาการเหล่ามานั้น เป็นการรับมาเพื่อ “เลียนแบบ” มากกว่าที่จะปรับใช้
และที่ผมเห็นว่าสำคัญกว่านั้นก็คือ พอรับมานานๆ เข้า เรากลับแยกไม่ออกว่าอะไรคือวิทยาการและอะไรคือวัฒนธรรม ผลก็คือ เราต่างก็ถือเอาวิทยาการเหล่านั้นเป็นวัฒนธรรมสำหรับใช้ยึดถือต่อไป จนทำให้เราตกเป็นอาณานิคมทางวัฒนธรรมของตะวันตกไปในที่สุด
ถึงตรงนี้ วิทยาการที่รับมาแบบ “เลียนแบบ” ก็ไม่ถูกปรับให้ขยายไปมากนัก ส่วนคนที่คิดอะไรนอกกรอบของการเลียนแบบออกไป (คือรู้จักปรับใช้) ก็ไม่ได้ถูกให้ความสำคัญจากชนชั้นนำของตน และในส่วนที่ยึดถือวัฒนธรรมตะวันตกเป็นสรณะในการดำเนินชีวิตนั้น ก็ไม่ได้ยึดถือแต่เพียงรูปแบบภายนอก (ผ่านบริโภคนิยมลักษณะต่างๆ) เท่านั้น หากแม้แต่ความคิดก็ยังถูกกลืนเข้าไปในเขตแดนของอาณานิคมนั้นด้วย
ด้วยเหตุนี้ ไม่เพียงแต่หนังเท่านั้นที่ถูกสร้างในเชิงเลียนแบบเป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่รู้จักปรับใช้ก็เป็นส่วนน้อยอย่างยิ่ง ซ้ำยังถูกลอยแพหรือไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่างหาก แม้แต่การสร้างสรรค์สิ่งอื่นนอกเหนือหนังออกไปก็เป็นไปในเชิงเลียนแบบเช่นกัน ดังนั้น จึงไม่แปลกที่ผู้สร้างหนังชาวจีนจึงไม่ได้คิดถึงหมีแพนด้าที่ตัวเป็น “เจ้าของ” แต่คิดอะไรที่ใกล้ตัวและสามารถใช้วิทยาการของฝรั่งมาทำให้ตื่นเต้นเร้าใจยิ่งขึ้นอย่างหนังกำลังภายใน ซึ่งไม่ต้องกังวลเรื่องการเซ็นเซอร์ให้เปลืองสมอง
สังคมอื่นก็ไม่ต่างไปจากจีนในแง่นี้ ไม่เว้นแม้แต่สังคมไทย เพราะถ้าใครขืน “แหลม” ออกมานอกกรอบที่รัฐตีตรวนเอาไว้ก็มีสิทธิ “โดน” เหมือนกัน ก็ดูอย่างหนังไทยเรื่อง “แสงศตวรรษ” นั้นปะไร
เมื่อการพัฒนาถูกจำกัดไว้เพียงแค่การ “เลียนแบบ” จินตนาการก็ย่อมไปไม่ถึงไหน และจะวนเวียนเพียงแค่โจทย์ที่ว่า ทำอย่างไรจึงจะเหมือนตะวันตก และเมื่อวนเวียนไปนานๆ จนเป็นวัฒนธรรม จินตนาการนั้นก็ตกเป็นอาณานิคมไปเรียบร้อย
การเป็นอาณานิคมทางวัฒนธรรมส่งผลเลวร้ายอย่างมาก เพราะมันทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคมนั้นๆ ต้องขึ้นต่อวัฒนธรรมตะวันตกไปด้วย แต่จะมากจะน้อยย่อมขึ้นอยู่กับชนชั้นนำของแต่ละชาติด้วยว่า รู้เท่าทันมากน้อยแค่ไหน หรือสักแต่คิดถึงผลประโยชน์ส่วนตัวด้วยความโลภโมโทสันเท่านั้น
และเพราะการตกเป็นอาณานิคมทางวัฒนธรรมดังกล่าว จึงไม่เพียงหมีแพนด้าเท่านั้นที่จะตกเป็นเหยื่อของฝรั่งไปอย่างสบายมือ แม้แต่ไทยและกัมพูชาเองก็ตกเป็นเหยื่อให้กับความขัดแย้งในเรื่องพระวิหารไปจนยากที่จะหาที่ลงได้ง่ายๆ
ทั้งๆ ที่ก่อนเกิดเหตุการณ์นี้ ว่ากันว่า ชาวไทยและชาวเขมรที่อยู่ตรงตะเข็บชายแดนดังกล่าวมานาน และยังคิดอะไรบนวัฒนธรรมเดิมของตนอยู่นั้น กลับมีไมตรีต่อกัน และต่างก็ช่วยกันดูแล กับทั้งมีพิธีกรรมในพระวิหารร่วมกัน
คนทั้งสองชนชาติตรงตะเข็บนี้ไม่เคยตั้งคำถามเลยว่า ทำไมจึงไม่เป็นเรา เพราะชนทั้งสองต่างรู้สึกว่าต่างก็เป็น “เรา” ด้วยกันมานาน จนกระทั่งเมื่อไม่กี่วันมานี้เอง ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป
นั่นสิ...ทำไมจึงไม่เป็นเรา?
แต่ในท่ามกลางเสียงชื่นชมเหล่านี้ก็มีการตั้งคำถามด้วยว่า ก็ในเมื่อหมีแพนด้าเป็นหมีที่มีอยู่ในจีนเพียงประเทศเดียวในโลก แล้วเหตุใดคนจีนจึงไม่เป็นผู้ผลิตหนังเรื่องนี้เสียเอง ทำไมต้องปล่อยให้ฝรั่งเป็นคนคิดคนทำ ทั้งๆ ที่คนจีนรู้จักหมีแพนด้าดีกว่าฝรั่งเสียอีก
ที่แน่ๆ คือ ฝรั่งยังนำเอามวยจีนกังฟูซึ่งเป็นของจีนแท้ๆ มาให้หมีแพนด้าได้แสดงอีกด้วย แล้วอย่างนี้จะไม่ให้จีนหงุดหงิดได้อย่างไร?
นั่นน่ะสิครับ...ทำไม ทำไมจึงไม่เป็นเรา?
เพราะเวลาร่วมสามทศวรรษตั้งแต่ที่จีนเปิดประเทศมานั้น จีนในทุกวันนี้ไม่เพียงจะก้าวหน้าในวิทยาการทางด้านการสร้างภาพยนตร์อย่างมากเท่านั้น หากแม้แต่วิทยาการด้านอื่นๆ จีนเองก็ก้าวหน้าไปอย่างมากเช่นกัน คือมากจนเรียกได้ว่า ถ้าจีนจะสร้างหนังแบบ “กังฟูแพนด้า” ขึ้นมาสักเรื่องก็ไม่ใช่เรื่องที่ทำไม่ได้ ซ้ำยังอาจเป็นเรื่อง “เด็กเด็ก” สำหรับจีนอีกด้วย
นั่นน่ะสิครับ...แล้วทำไมเรื่องดีๆ เช่นนี้จีนจึงคิดไม่ออก คิดไม่เป็น แล้วปล่อยให้ฝรั่งหยิบชิ้นปลามันไปกินจนอิ่มแปล้ ครับแล้วก็น่าเจ็บใจน่ะครับ ยิ่งจีนมีค่านิยมรักหน้าตัวเองมากกว่าชาติอื่นด้วย ยิ่งน่าเจ็บใจ
อันที่จริงแล้วในรายงานข่าวนั้นก็มีการวิเคราะห์กันพอหอมปากหอมคออยู่บ้างว่าทำไม แต่ก็ทำอะไรได้ไม่มากไปกว่าการพูดวนอยู่รอบๆ สิ่งที่เรียกว่าอำนาจรัฐ เพราะขืนทะลวงเข้าไปในสิ่งนั้น ก็คงไม่ปลอดภัยแก่คนพูดเอง
ฉะนั้น เราในฐานะคนต่างชาติจึงอาจพูดขยายแทนคนจีนที่ตั้งคำถามเหล่านี้ได้ง่ายกว่า และปลอดภัยกว่า และข้อความที่ขยายก็คือ เป็นเพราะจีนมีข้อจำกัดในการสร้างหนังอย่างมาก
มากที่ว่าเริ่มจากผู้สร้างจะต้องนำบทหนังไปให้คณะกรรมการเซ็นเซอร์พิจารณาก่อน ว่าบทหนังนั้นกระทบต่อความมั่นคงของสังคมหรือของชาติหรือไม่ ถ้ากระทบ บทหนังนั้นก็จะไม่ผ่านและจะนำไปสร้างเป็นหนังไม่ได้ หากใครขัดขืนนำไปสร้างแล้ว นอกจากหนังจะไม่ได้รับอนุญาตให้ฉาย (อยู่แล้ว) ตัวผู้กำกับฯ หรือผู้สร้างยังต้องถูกลงโทษห้ามสร้างหนังไปอีก 5 ปีอีกด้วย
ส่วนในกรณีที่บทหนังผ่านการพิจารณาแล้วนั้น ก็ใช่ว่าผู้สร้างจะตายใจไปได้ตลอด เพราะหลังสร้างเสร็จแล้วก็ยังจะต้องผ่านการเซ็นเซอร์ซ้ำอีก ฉะนั้น ต่อให้บทหนังดีอย่างไร แต่หากคณะกรรมการฯ เห็นว่าตัวหนังยังมีปัญหา หนังเรื่องนั้นก็ไม่มีสิทธิได้ฉาย จนกว่าผู้สร้างจะไปแก้ไขหนังของตนให้ “เข้าตา” คณะกรรมการฯ เสียก่อน
อันที่จริงกฎหมายเซ็นเซอร์หนังของจีนยังมีอะไรที่มากกว่านั้น แต่เท่าที่ผมเล่ามาก็เพียงพอแล้วสำหรับการตีตรวนความคิดที่สร้างสรรค์ให้กับใครต่อใครได้ไม่ยาก เพราะจะคิดอะไรที่โลดแล่นอิสระเสรีและสุดแสนจะบรรเจิดเพียงใด สิ่งที่คิดนั้นก็ไม่อาจไปได้ไกลกว่าที่โซ่ตรวนได้เหนี่ยวรั้งเอาไว้
แม้เราจะรู้ว่านั่นคือข้อเสียของระบอบเผด็จการ แต่การตอบโจทย์เพียงเท่านี้ยังไม่พอที่จะทำให้เราเข้าใจจีนได้ดีขึ้น เพราะถ้าเราหันมาดูในอีกข้างหนึ่งของการพัฒนา เราก็จะเห็นได้ว่า จีนนั้นทั้งเปิดทั้งส่งเสริมให้การพัฒนาของตนเป็นไปอย่างเต็มที่จนเกิดความเจริญก้าวหน้าขึ้นมาในหลายๆ ด้าน แต่กับแค่การสร้างหนังอย่าง “กังฟูแพนด้า” ซึ่งดูไปแล้วก็ไม่มีพิษมีภัยอะไร (ต่อความมั่นคง) ทำไมจีนจึงคิดไม่ได้
ครับ...ตรงนี้แหละที่ผมเห็นว่า คำตอบน่าจะมีอะไรมากกว่าสิ่งที่เรียกว่าเผด็จการ
อันที่จริงแล้วจีนก็ไม่ต่างกับอีกหลายประเทศนั่นแหละครับ ที่เป็นประเทศที่เปิดรับเอาวิทยาการความก้าวหน้าของตะวันตกมาพัฒนาประเทศของตน แต่รับไปรับมาท่าไหนไม่ทราบ ปรากฏว่า คนของตัวกลับไปหลงใหลกับวัฒนธรรมตะวันตกจนทิ้งรากวัฒนธรรมเดิมของตนไปหมด
บางคนทิ้งไม่ทิ้งเปล่า ยังกลับมาดูถูกรากวัฒนธรรมเดิมของตนอีกต่างหาก
พูดเพียงแค่นี้ก็คงเห็นนะครับว่า พี่ไทยเราเองก็เป็นกันจำนวนไม่น้อย
พูดง่ายๆ ก็คือว่า การรับวิทยาการความก้าวหน้าของตะวันตกมาใช้นั้นไม่ใช่สิ่งที่ผิด ถ้าเรารับมาด้วยการรู้จักที่จะปรับใช้ให้สอดรับกับทรัพยากรที่เรามีอยู่ แต่ที่เป็นปัญหา (ทั้งกับจีน ไทย และกับอีกหลายประเทศ) ก็คือ การรับวิทยาการเหล่ามานั้น เป็นการรับมาเพื่อ “เลียนแบบ” มากกว่าที่จะปรับใช้
และที่ผมเห็นว่าสำคัญกว่านั้นก็คือ พอรับมานานๆ เข้า เรากลับแยกไม่ออกว่าอะไรคือวิทยาการและอะไรคือวัฒนธรรม ผลก็คือ เราต่างก็ถือเอาวิทยาการเหล่านั้นเป็นวัฒนธรรมสำหรับใช้ยึดถือต่อไป จนทำให้เราตกเป็นอาณานิคมทางวัฒนธรรมของตะวันตกไปในที่สุด
ถึงตรงนี้ วิทยาการที่รับมาแบบ “เลียนแบบ” ก็ไม่ถูกปรับให้ขยายไปมากนัก ส่วนคนที่คิดอะไรนอกกรอบของการเลียนแบบออกไป (คือรู้จักปรับใช้) ก็ไม่ได้ถูกให้ความสำคัญจากชนชั้นนำของตน และในส่วนที่ยึดถือวัฒนธรรมตะวันตกเป็นสรณะในการดำเนินชีวิตนั้น ก็ไม่ได้ยึดถือแต่เพียงรูปแบบภายนอก (ผ่านบริโภคนิยมลักษณะต่างๆ) เท่านั้น หากแม้แต่ความคิดก็ยังถูกกลืนเข้าไปในเขตแดนของอาณานิคมนั้นด้วย
ด้วยเหตุนี้ ไม่เพียงแต่หนังเท่านั้นที่ถูกสร้างในเชิงเลียนแบบเป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่รู้จักปรับใช้ก็เป็นส่วนน้อยอย่างยิ่ง ซ้ำยังถูกลอยแพหรือไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่างหาก แม้แต่การสร้างสรรค์สิ่งอื่นนอกเหนือหนังออกไปก็เป็นไปในเชิงเลียนแบบเช่นกัน ดังนั้น จึงไม่แปลกที่ผู้สร้างหนังชาวจีนจึงไม่ได้คิดถึงหมีแพนด้าที่ตัวเป็น “เจ้าของ” แต่คิดอะไรที่ใกล้ตัวและสามารถใช้วิทยาการของฝรั่งมาทำให้ตื่นเต้นเร้าใจยิ่งขึ้นอย่างหนังกำลังภายใน ซึ่งไม่ต้องกังวลเรื่องการเซ็นเซอร์ให้เปลืองสมอง
สังคมอื่นก็ไม่ต่างไปจากจีนในแง่นี้ ไม่เว้นแม้แต่สังคมไทย เพราะถ้าใครขืน “แหลม” ออกมานอกกรอบที่รัฐตีตรวนเอาไว้ก็มีสิทธิ “โดน” เหมือนกัน ก็ดูอย่างหนังไทยเรื่อง “แสงศตวรรษ” นั้นปะไร
เมื่อการพัฒนาถูกจำกัดไว้เพียงแค่การ “เลียนแบบ” จินตนาการก็ย่อมไปไม่ถึงไหน และจะวนเวียนเพียงแค่โจทย์ที่ว่า ทำอย่างไรจึงจะเหมือนตะวันตก และเมื่อวนเวียนไปนานๆ จนเป็นวัฒนธรรม จินตนาการนั้นก็ตกเป็นอาณานิคมไปเรียบร้อย
การเป็นอาณานิคมทางวัฒนธรรมส่งผลเลวร้ายอย่างมาก เพราะมันทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคมนั้นๆ ต้องขึ้นต่อวัฒนธรรมตะวันตกไปด้วย แต่จะมากจะน้อยย่อมขึ้นอยู่กับชนชั้นนำของแต่ละชาติด้วยว่า รู้เท่าทันมากน้อยแค่ไหน หรือสักแต่คิดถึงผลประโยชน์ส่วนตัวด้วยความโลภโมโทสันเท่านั้น
และเพราะการตกเป็นอาณานิคมทางวัฒนธรรมดังกล่าว จึงไม่เพียงหมีแพนด้าเท่านั้นที่จะตกเป็นเหยื่อของฝรั่งไปอย่างสบายมือ แม้แต่ไทยและกัมพูชาเองก็ตกเป็นเหยื่อให้กับความขัดแย้งในเรื่องพระวิหารไปจนยากที่จะหาที่ลงได้ง่ายๆ
ทั้งๆ ที่ก่อนเกิดเหตุการณ์นี้ ว่ากันว่า ชาวไทยและชาวเขมรที่อยู่ตรงตะเข็บชายแดนดังกล่าวมานาน และยังคิดอะไรบนวัฒนธรรมเดิมของตนอยู่นั้น กลับมีไมตรีต่อกัน และต่างก็ช่วยกันดูแล กับทั้งมีพิธีกรรมในพระวิหารร่วมกัน
คนทั้งสองชนชาติตรงตะเข็บนี้ไม่เคยตั้งคำถามเลยว่า ทำไมจึงไม่เป็นเรา เพราะชนทั้งสองต่างรู้สึกว่าต่างก็เป็น “เรา” ด้วยกันมานาน จนกระทั่งเมื่อไม่กี่วันมานี้เอง ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป
นั่นสิ...ทำไมจึงไม่เป็นเรา?