นักวิจัยระบุการจดรายการอาหารและปริมาณแคลอรีที่กินในแต่ละมื้อเป็นประจำ ช่วยลดน้ำหนักได้ถึงสองเท่า ขณะเดียวกัน รายงานจากแคนาดาแจกแจงสาเหตุที่ทำให้การกินอาหารหน้าทีวี ทำให้เด็กเจริญอาหารมากขึ้น
การศึกษาหญิง-ชายวัยกลางคน 1,685 คนจากสี่เมืองในสหรัฐฯ ได้แก่ พอร์ตแลนด์ บัลติมอร์ เดอแรม และบาตันรูจ ภายในระยะเวลา 6 เดือน พบว่ากลุ่มตัวอย่างลดน้ำหนักได้เฉลี่ย 5.9 กิโลกรัม
แต่สำหรับผู้ที่จดไดอารี่รายการอาหารแต่ละมื้อ 6-7 วันต่อสัปดาห์จะลดน้ำหนักได้ถึง 8.1 กิโลกรัม เทียบกับเพียง 4 กิโลกรัมสำหรับคนที่ลดน้ำหนักเพียงอย่างเดียว
กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ซึ่งอายุเฉลี่ย 55 ปี จะถูกขอให้กินไขมันน้อยลง และเพิ่มผัก ผลไม้ และธัญพืชไม่ขัดสี ตลอดจนถึงออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง ส่วนใหญ่ด้วยการเดิน และเข้าร่วมกลุ่มสนับสนุน
ดร.วิกเตอร์ สตีเวนส์ จากศูนย์วิจัยสุขภาพของไคเซอร์ เพอร์มาเนนตีในพอร์ตแลนด์ หนึ่งในแกนนำการวิจัย กล่าวว่าการลดน้ำหนักและบันทึกรายการอาหารที่กินไปถือเป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพมาก เนื่องจากทำให้รู้ว่าอาหารชนิดใดมีแคลอรีมากกว่าชนิดอื่น และปรับเปลี่ยนเมนูให้สอดคล้องกับสถานการณ์มากขึ้น
ผลศึกษาที่ตีพิมพ์อยู่ในอเมริกัน เจอร์นัล ออฟ พรีเวนทีฟ เมดิซิน สนับสนุนงานวิจัยก่อนหน้านี้ที่มีการรับรองว่าการบันทึกรายการอาหารทุกวันช่วยให้การลดน้ำหนักได้ผลมากขึ้น
อนึ่ง วิธีการนี้ได้รับการสนับสนุนในสถาบันลดน้ำหนักหลายแห่ง อาทิ เว็ต วอทเชอร์ อินเตอร์เนชันแนล
ขณะเดียวกัน มีผลการศึกษาจากแคนาดาที่ช่วยอธิบายว่า ทีวีทำให้เจริญอาหารมากขึ้นได้อย่างไร
จากการศึกษาโรคอ้วนในเด็ก ฮาร์วีย์ แอนเดอร์สัน นักโภชนาการจากมหาวิทยาลัยโทรอนโท พบว่าเด็กที่ดูทีวีระหว่างมื้อกลางวันจะกินอาหารมากกว่าเด็กที่กินข้าวกลางวันโดยไม่มีทีวีถึง 228 แคลอรี
สถาบันเพื่อการวิจัยสุขภาพแห่งแคนาดา ผู้สนับสนุนโครงการนี้ แจงว่าหนึ่งในข้อสรุปของฮาร์วีย์คือ การกินอาหารและดูทีวีไปด้วย จะกลบความสามารถในการรับรู้ว่าเมื่อใดควรอิ่ม
การศึกษาหญิง-ชายวัยกลางคน 1,685 คนจากสี่เมืองในสหรัฐฯ ได้แก่ พอร์ตแลนด์ บัลติมอร์ เดอแรม และบาตันรูจ ภายในระยะเวลา 6 เดือน พบว่ากลุ่มตัวอย่างลดน้ำหนักได้เฉลี่ย 5.9 กิโลกรัม
แต่สำหรับผู้ที่จดไดอารี่รายการอาหารแต่ละมื้อ 6-7 วันต่อสัปดาห์จะลดน้ำหนักได้ถึง 8.1 กิโลกรัม เทียบกับเพียง 4 กิโลกรัมสำหรับคนที่ลดน้ำหนักเพียงอย่างเดียว
กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ซึ่งอายุเฉลี่ย 55 ปี จะถูกขอให้กินไขมันน้อยลง และเพิ่มผัก ผลไม้ และธัญพืชไม่ขัดสี ตลอดจนถึงออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง ส่วนใหญ่ด้วยการเดิน และเข้าร่วมกลุ่มสนับสนุน
ดร.วิกเตอร์ สตีเวนส์ จากศูนย์วิจัยสุขภาพของไคเซอร์ เพอร์มาเนนตีในพอร์ตแลนด์ หนึ่งในแกนนำการวิจัย กล่าวว่าการลดน้ำหนักและบันทึกรายการอาหารที่กินไปถือเป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพมาก เนื่องจากทำให้รู้ว่าอาหารชนิดใดมีแคลอรีมากกว่าชนิดอื่น และปรับเปลี่ยนเมนูให้สอดคล้องกับสถานการณ์มากขึ้น
ผลศึกษาที่ตีพิมพ์อยู่ในอเมริกัน เจอร์นัล ออฟ พรีเวนทีฟ เมดิซิน สนับสนุนงานวิจัยก่อนหน้านี้ที่มีการรับรองว่าการบันทึกรายการอาหารทุกวันช่วยให้การลดน้ำหนักได้ผลมากขึ้น
อนึ่ง วิธีการนี้ได้รับการสนับสนุนในสถาบันลดน้ำหนักหลายแห่ง อาทิ เว็ต วอทเชอร์ อินเตอร์เนชันแนล
ขณะเดียวกัน มีผลการศึกษาจากแคนาดาที่ช่วยอธิบายว่า ทีวีทำให้เจริญอาหารมากขึ้นได้อย่างไร
จากการศึกษาโรคอ้วนในเด็ก ฮาร์วีย์ แอนเดอร์สัน นักโภชนาการจากมหาวิทยาลัยโทรอนโท พบว่าเด็กที่ดูทีวีระหว่างมื้อกลางวันจะกินอาหารมากกว่าเด็กที่กินข้าวกลางวันโดยไม่มีทีวีถึง 228 แคลอรี
สถาบันเพื่อการวิจัยสุขภาพแห่งแคนาดา ผู้สนับสนุนโครงการนี้ แจงว่าหนึ่งในข้อสรุปของฮาร์วีย์คือ การกินอาหารและดูทีวีไปด้วย จะกลบความสามารถในการรับรู้ว่าเมื่อใดควรอิ่ม