xs
xsm
sm
md
lg

สถาบันฝึกอบรมฯ จัด 12 หลักสูตร หนุน ผปก. เรียนรู้ผ่าน e – Learning

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ผู้จัดการรายวัน - สถาบันฝึกอบรมการค้าระหว่างประเทศ รุกพื้นที่โลกอินเตอร์เน็ต ต่อยอดเพิ่มความรู้เบื้องต้นในการประกอบธุรกิจส่งออก ผ่านระบบ e – Learning หวังขยายขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ สู่ผู้ประกอบการในภูมิภาค และผู้ประกอบการที่เวลาน้อย สะดวกแม้อยู่ที่บ้านก็สามารถเรียนได้ ด้วยทางลัดสู่การเรียนรู้ธุรกิจส่งออก หนึ่งคลิ๊ก หนึ่งเว็บไซต์ รู้รอบเรื่องการส่งออก

ร.อ.สุวิพันธุ์ ดิษยมณฑล ผู้อำนวยการสถาบันฝึกอบรมการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้จัดฝึกอบรมในหลักสูตร“ความรู้เบื้องต้นในการประกอบธุรกิจส่งออก” ผ่านระบบ e – Learning เพื่อผู้ประกอบการได้เข้าถึงหลักสูตรอย่างสะดวก สามารถเรียนรู้การส่งออกได้จากที่บ้าน โดยไม่ต้องเข้ามาอบรมกับทางสถาบันฝึกอบรมฯ เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งอินเตอร์เน็ตถือเป็นสื่อหนึ่งที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการ และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เป็นจำนวนมาก ๆ ดังนั้น อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งรวมสารสนเทศจากมทั่วทุกมุมโลก ทุกสาขาวิชา ทุกด้าน ทั้งวิชาการ ความรู้ ตลอดจนการประกอบธุรกิจต่างๆ

“หลักสูตร ความรู้เบื้องต้นในการประกอบธุรกิจส่งออก ผ่านระบบ e – Learning นับว่าเป็นหลักสูตรที่มีผู้ประกอบการให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งสถาบันฝึกอบรมฯได้จัดฝึกอบรมมาแล้วรวม 3 รุ่น และในวันที่ 15 ก.ค.-15 ต.ค. 51นี้ สถาบันฝึกอบรมฯ จะเปิดการฝึกอบรมผ่านระบบ e – Learning เป็นรุ่นที่ 4 เพื่อให้ผู้ที่สนใจที่จะก้าวเข้าสู่ภาคธุรกิจการส่งออกได้รับความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจ และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้เพื่อผลสำเร็จในการประกอบการต่อไป” ร.อ.สุวิพันธุ์ กล่าว

สำหรับหลักสูตรดังกล่าว เพื่อให้ผู้สนใจประกอบธุรกิจส่งออกมีโอกาสศึกษาได้เองผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทำการศึกษาได้โดยไม่จำกัดสถานที่และเวลา รวมทั้งให้ผู้สนใจในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศที่อยู่ในภิภาคได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องการส่งออกเพิ่มขึ้น โดยหลักสูตรการฝึกอบรมจะประกอบไปด้วย 12 หัว ข้อวิชา เช่น การวิเคราะห์ความพร้อมในการดำเนินธุรกิจส่งออก, การวางแผนการตลาดเพื่อการส่งออก และการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าและคณะผู้แทนทางการค้าในต่างประเทศ และขั้นตอนการดำเนินธุรกิจส่งออก เป็นต้น
กำลังโหลดความคิดเห็น