เอเอฟพี – สหรัฐฯ เตรียมยกระดับความสัมพันธ์ทางการทหารกับเวียดนาม ลาว และกัมพูชา แม้ครั้งหนึ่ง 3 ประเทศนี้จะเคยเป็นสนามรบของอเมริกันในยุคสงครามเย็นมาก่อน โดยความเคลื่อนไหวเช่นนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์สานสัมพันธ์กับประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และจะประเดิมด้วยการแลกเปลี่ยนทูตทหารกับลาวภายในสิ้นปี ทั้งนี้ยังเป็นการแข่งขันกับจีนสร้างอิทธิพลในภูมิภาคนี้ด้วย
“เรากำลังเริ่มต้นพัฒนาความสัมพันธ์แบบเดียวกันนี้ทั้งในเวียดนาม ลาว และกัมพูชา” สกอต มาร์เซียล รองผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวและระบุว่าเมื่อสามปีก่อนสหรัฐฯ ก็ได้ฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทหารกับอินโดนีเซียเช่นกัน
“เราจะเริ่มจากเรื่องเล็กๆ เช่นงานด้านฝึกอบรม การแลกเปลี่ยนบุคลากรซึ่งเราคิดว่าจะเป็นประโยชน์มาก” เขาบอก
“ภายในสิ้นปีนี้ สหรัฐฯ และลาวจะเปิดสำนักงานทูตทหารในเมืองหลวงของทั้งสองฝ่าย ซึ่งจะเป็นเรื่องใหญ่และเป็นจังหวะก้าวที่สำคัญด้วย” มาร์เซียลซึ่งมีตำแหน่งเป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำอาเซียนด้วย กล่าวในเวทีประชุมแห่งหนึ่งที่วอชิงตันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ทางการสหรัฐฯ ปฏิเสธที่มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า การสร้างความร่วมมือด้านการทหารกับเวียดนาม กัมพูชา และลาวนั้นเป็นไปเพื่อถ่วงดุลอิทธิพลของจีนที่กำลังเพิ่มขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยกล่าวแต่เพียงว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการขยายความสัมพันธ์โดยรวมให้กว้างขวางขึ้นเท่านั้น
“มันไม่ได้บ่งบอกอะไรมากมายไปกว่านั้น” เจ้าหน้าที่ระดับสูงผู้หนึ่งของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ บอกโดยไม่ยอมให้เปิดเผยชื่อ
พวกผู้เชี่ยวชาญระบุว่า จีนกำลังสร้างเสริมอำนาจด้านการทหารอย่างรวดเร็ว และอาจถึงขั้นท้าทายสหรัฐฯ ซึ่งมีบทบาทครอบงำภูมิภาคนี้มาแต่เดิม อีกทั้งยังได้อ้างถึงกรณีที่จีนจะสร้างฐานทัพเรือใต้ดินแห่งใหม่ทางใต้สุดของเกาะไห่หนาน(ไหหลำ) อันเป็นจุดที่อยู่ใกล้กับเส้นทางเดินเรือสำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศคนดังกล่าวยังระบุอีกว่า สหรัฐฯ นั้นมีความสัมพันธ์ทางการทหารอย่างแน่นแฟ้นกับหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ “เราไม่มีความสัมพันธ์ลักษณะดังกล่าวกับเวียดนาม ลาว และกัมพูชามากนัก เนื่องจากเหตุผลทางประวัติศาสตร์”
ทั้งนี้ ประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงก็คือเหตุการณ์สงครามเวียดนามซึ่งต่อมาบานปลายจนทำให้ลาวและกัมพูชาเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย และชักนำจีนให้มีบทบาทสำคัญด้วยการสนับสนุนระบอบคอมมิวนิสต์ของเขมรแดงในช่วงปี 1975-1979
อนึ่ง เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ระบุว่าพวกเขากำลังมองหาช่องทางในการขยายโครงการฝึกอบรมและให้การศึกษาด้านการทหารระหว่างประเทศในเวียดนาม ซึ่งในปัจจุบันยังจำกัดอยู่เฉพาะในเรื่องการดูงานและโครงการสอนภาษาอังกฤษแก่ทหารของเวียดนามเป็นส่วนใหญ่
สหรัฐฯ และเวียดนามมีการแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ทูตทหารกันตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 1990 หลังจากที่รัฐบาลเวียดนามให้ความร่วมมือในการสืบหาทหารอเมริกันที่สูญหายในช่วงสงครามเวียดนาม ขณะที่ความสัมพันธ์ทางการทหารในลาวก็มุ่งไปที่การค้นหาทหารที่สูญหายเช่นกัน
“เป็นเรื่องจริงที่จีนกำลังเติบโตทางเศรษฐกิจและมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในเวทีโลก รวมทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย แต่เราไม่คิดว่าในเกมที่จีนได้ประโยชน์นี้เราจะต้องเป็นฝ่ายเสียประโยชน์ด้วย” มาร์เซียลกล่าว
“เรากำลังเริ่มต้นพัฒนาความสัมพันธ์แบบเดียวกันนี้ทั้งในเวียดนาม ลาว และกัมพูชา” สกอต มาร์เซียล รองผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวและระบุว่าเมื่อสามปีก่อนสหรัฐฯ ก็ได้ฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทหารกับอินโดนีเซียเช่นกัน
“เราจะเริ่มจากเรื่องเล็กๆ เช่นงานด้านฝึกอบรม การแลกเปลี่ยนบุคลากรซึ่งเราคิดว่าจะเป็นประโยชน์มาก” เขาบอก
“ภายในสิ้นปีนี้ สหรัฐฯ และลาวจะเปิดสำนักงานทูตทหารในเมืองหลวงของทั้งสองฝ่าย ซึ่งจะเป็นเรื่องใหญ่และเป็นจังหวะก้าวที่สำคัญด้วย” มาร์เซียลซึ่งมีตำแหน่งเป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำอาเซียนด้วย กล่าวในเวทีประชุมแห่งหนึ่งที่วอชิงตันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ทางการสหรัฐฯ ปฏิเสธที่มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า การสร้างความร่วมมือด้านการทหารกับเวียดนาม กัมพูชา และลาวนั้นเป็นไปเพื่อถ่วงดุลอิทธิพลของจีนที่กำลังเพิ่มขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยกล่าวแต่เพียงว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการขยายความสัมพันธ์โดยรวมให้กว้างขวางขึ้นเท่านั้น
“มันไม่ได้บ่งบอกอะไรมากมายไปกว่านั้น” เจ้าหน้าที่ระดับสูงผู้หนึ่งของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ บอกโดยไม่ยอมให้เปิดเผยชื่อ
พวกผู้เชี่ยวชาญระบุว่า จีนกำลังสร้างเสริมอำนาจด้านการทหารอย่างรวดเร็ว และอาจถึงขั้นท้าทายสหรัฐฯ ซึ่งมีบทบาทครอบงำภูมิภาคนี้มาแต่เดิม อีกทั้งยังได้อ้างถึงกรณีที่จีนจะสร้างฐานทัพเรือใต้ดินแห่งใหม่ทางใต้สุดของเกาะไห่หนาน(ไหหลำ) อันเป็นจุดที่อยู่ใกล้กับเส้นทางเดินเรือสำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศคนดังกล่าวยังระบุอีกว่า สหรัฐฯ นั้นมีความสัมพันธ์ทางการทหารอย่างแน่นแฟ้นกับหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ “เราไม่มีความสัมพันธ์ลักษณะดังกล่าวกับเวียดนาม ลาว และกัมพูชามากนัก เนื่องจากเหตุผลทางประวัติศาสตร์”
ทั้งนี้ ประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงก็คือเหตุการณ์สงครามเวียดนามซึ่งต่อมาบานปลายจนทำให้ลาวและกัมพูชาเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย และชักนำจีนให้มีบทบาทสำคัญด้วยการสนับสนุนระบอบคอมมิวนิสต์ของเขมรแดงในช่วงปี 1975-1979
อนึ่ง เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ระบุว่าพวกเขากำลังมองหาช่องทางในการขยายโครงการฝึกอบรมและให้การศึกษาด้านการทหารระหว่างประเทศในเวียดนาม ซึ่งในปัจจุบันยังจำกัดอยู่เฉพาะในเรื่องการดูงานและโครงการสอนภาษาอังกฤษแก่ทหารของเวียดนามเป็นส่วนใหญ่
สหรัฐฯ และเวียดนามมีการแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ทูตทหารกันตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 1990 หลังจากที่รัฐบาลเวียดนามให้ความร่วมมือในการสืบหาทหารอเมริกันที่สูญหายในช่วงสงครามเวียดนาม ขณะที่ความสัมพันธ์ทางการทหารในลาวก็มุ่งไปที่การค้นหาทหารที่สูญหายเช่นกัน
“เป็นเรื่องจริงที่จีนกำลังเติบโตทางเศรษฐกิจและมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในเวทีโลก รวมทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย แต่เราไม่คิดว่าในเกมที่จีนได้ประโยชน์นี้เราจะต้องเป็นฝ่ายเสียประโยชน์ด้วย” มาร์เซียลกล่าว