เอเอฟพี/ฟอร์บส์ดอตคอม/ผู้จัดการรายวัน - “ฟอร์บส์” นิตยสารธุรกิจชื่อดังของอเมริกา จัดอันดับ 40 มหาเศรษฐีร่ำรวยที่สุดของไทยประจำปีนี้ ระบุ “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและครอบครัว” มีทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้นกว่าปีก่อน 100 ล้านดอลลาร์ มาอยู่ที่ 400 ล้านดอลลาร์ ติดอันดับ 16 ของผู้มั่งคั่งที่สุดในไทย ถึงแม้ถูกอายัดทรัพย์สินราวๆ 2,000 ล้านดอลลาร์ แบงก์พาณิชย์เผยเงินอายัดยังมีดอกเบี้ยและเงินปันผลจากการลงทุน “แก้วสรร” ตั้งข้อสังเกตอาจรวยจากสินทรัพย์ต่างประเทศที่ คตส.เข้าไปตรวจสอบและอายัดไม่ได้
รายงานของฟอร์บส์ ซึ่งนำออกเผยแพร่ทางเว็บไซต์ www.forbes.com เมื่อวานนี้(10) ตามเวลาในประเทศไทย ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว ปีนี้มีทรัพย์สินรวมกัน 400 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวเอเอฟพี ตั้งข้อสังเกตว่า ความมั่งคั่งที่แท้จริงของเขาและครอบครัวน่าจะสูงกว่านี้มากมายนัก เมื่อดูเฉพาะทรัพย์สินของเขาที่ถูกทางการไทยอายัดไว้ก็สูงถึง 2,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินที่ได้มาจากการขายบริษัทสื่อสาร ชิน คอร์ป ของเขาให้แก่บริษัทเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ของสิงคโปร์ในปี 2549
เอเอฟพี ชี้ ต่อไปว่า บุตรชายบุตรสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นชินคอร์ปเอาไว้จำนวนมากในทางเป็นจริง ก็กำลังต่อสู้คัดค้านคำสั่งของทางการที่ให้พวกเขาชำระภาษีเป็นจำนวน 789 ล้านดอลลาร์ จากรายได้ในการขายหุ้นแก่เทมาเส็ก
สำหรับนิตยสารฟอร์บส์ แนะนำ พ.ต.ท.ทักษิณเอาไว้สั้นๆ ว่า “อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศผู้ถูกขับออกจากตำแหน่งด้วยการรัฐประหารในปี 2549 หลีกหนีข้อกล่าวหาว่าทุจริตคอร์รัปชั่นด้วยการโยกย้ายไปอยู่ที่สหราชอาณาจักร ทางการผู้รับผิดชอบของไทยได้อายัดทรัพย์สินต่างๆ เอาไว้รวม 2,000 ล้านดอลลาร์ ส่วนใหญ่เป็นเงินทองที่ครอบครัวนี้ได้มาจากการขายชินคอร์ป บริษัทสื่อสารที่ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นผู้ก่อตั้ง
“เขาไปซื้อสโมสรฟุตอบลแมนเชสเตอร์ซิตี้ของอังกฤษในปี 2550 และเดินทางกลับกรุงเทพฯในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ ภายหลังการเลือกตั้งที่ได้รัฐบาลซึ่งเป็นฝ่ายโปรทักษิณ เวลานี้เขายังคงเผชิญกับข้อกล่าวหาใหม่ๆ เกี่ยวกับการซุกหุ้นในบริษัทอสังหาริมทรัพย์ เอสซี แอสเสท (ซึ่งตัวเขาเองปฏิเสธข้อกล่าวหา) นายกสมาคมกอล์ฟอาชีพแห่งประเทศไทยผู้นี้บอกว่า เขาเลิกราการเมืองแล้ว”
ฟอร์บส์บอกว่า สำหรับ 40 มหาเศรษฐีร่ำรวยที่สุดของไทยในปีนี้ มีทรัพย์สินรวมกันแล้วเท่ากับ 25,000 ล้านดอลลาร์ สูงขึ้นกว่าปีที่แล้ว 6,000 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้นิตยสารฉบับนี้กล่าวว่า วิธีคำนวณความมั่งคั่งของมหาเศรษฐีเหล่านี้ ในส่วนที่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการถือหุ้นนั้น จำนวนมากใช้ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกระทรวงพาณิชย์ สำหรับบริษัทเอกชนที่อยู่นอกตลาด ก็ใช้วิธีประมาณการว่าหากเข้าจดทะเบียนในตลาดควรจะมีมูลค่าเท่าใด โดยการคำนวณทรัพย์สินเหล่านี้ถือเอาราคาและอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 26 มิถุนายน
ในรายชื่อมหาเศรษฐีไทยของฟอร์บส์ปีนี้ อันดับ 1 ยังคงเป็นนายเฉลียว อยู่วิทยา เจ้าของกิจการเครื่องดื่ม “กระทิงแดง” ซึ่งมีทรัพย์สินรวม 4,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่อันดับ 2 คือ นายเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของ “เบียร์ช้าง” ที่มีความมั่งคั่ง 3,900 ล้านดอลลาร์ ส่วนอันดับ 3 คือ ครอบครัวจิราธิวัฒน์ เจ้าของกลุ่ม “เซ็นทรัล” 2,800 ล้านดอลลาร์, อันดับ 4 นายธนิน เจียรวนนท์ และครอบครัว แห่งเครือ “ซีพี” 2,000 ล้านดอลลาร์, อันดับ 5 นายกฤตย์ รัตนรักษ์ และครอบครัว 1,000 ล้านดอลลาร์
อันดับ 6 คือ คุณหญิงประณีตศิลป์ วัชรพล และครอบครัว เจ้าของหนังสือพิมพ์ “ไทยรัฐ” 940 ล้านดอลลาร์, อันดับ 7 นายวิชัย มาลีนนท์ และครอบครัว 880 ล้านดอลลาร์, อันดับ 8 นายจำนงค์ ภิรมย์ภักดี และครอบครัว เจ้าของ “เบียร์สิงห์” 820 ล้านดอลลาร์, อันดับ 9 นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ และครอบครัว เจ้าของกิจการชิ้นส่วนรถยนต์ “ไทยซัมมิทกรุ๊ป” 580 ล้านดอลลาร์, และอันดับ 10 นายอนันต์ อัศวโภคิน แห่งกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ “แลนด์แอนด์เฮ้าส์” 530 ล้านดอลลาร์
“คุณหญิงอ้อ” ถือถุงเงิน
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ปิดประกาศการแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จำนวน 33 คน กรณีพ้นจากตำแหน่ง 1 ปี หลังจากถูกยึดอำนาจเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2549 พบว่า บัญชีทรัพย์สินของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีทรัพย์สิน 614,393,759 บาท ประกอบด้วย เงินสด 1 ล้านบาท เงินฝากในบัญชีธนาคาร 551,257,421 บาท หลักทรัพย์และเงินลงทุนอื่น 27,061,143 บาท ที่ดิน 1,149,350 บาท สิทธิและสัมปทาน 19,125,845 บาท ทรัพย์สินอื่น 14,800,000 บาท
คุณหญิงพจมาน ชินวัตร คู่สมรส มีทรัพย์สิน 8,594,784,177 บาท มีหนี้สิน 110,360,000 บาท รวมมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 8,484,424,177 บาท โดยมีทรัพย์สิน ประกอบด้วย เงินสด 1 ล้านบาท เงินฝากในบัญชีธนาคารพาณิชย์ 1,993,661,767 บาท เงินฝากในสถาบันการเงิน 64,360,886 บาท หลักทรัพย์จดทะเบียน 1,138,301,654 บาท หลักทรัพย์และเงินลงทุนอื่น 2,067,929,681 บาท เงินให้กู้ยืม 28 ล้านบาท ที่ดิน 123 แปลง มูลค่า 2,079,048,220 บาท บ้าน 5 หลังมูลค่า 588 ล้านบาท สิ่งปลูกสร้างอื่น 37 หลัง มูลค่า 289,602,594 บาท ยานพาหนะ 12 คัน มูลค่า 34,124,000 บาท สิทธิและสัมปทาน 375,374 บาท ทรัพย์สินอื่น 310,380,000 บาท รวมแล้ว พ.ต.ท. ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน มีทรัพย์สินทั้งสิ้น 9,098,817,936 บาท
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับสมัยที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ยื่น บัญชีทรัพย์สินเมื่อพ้นตำแหน่งเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2549 พ.ต.ท. ทักษิณ มีทรัพย์สิน 557,363,123 บาท คุณหญิงพจมาน 8,842,085,955 บาท รวมเวลา 1 ปี พ.ต.ท. ทักษิณ มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น 57,030,636 บาท คุณหญิงพจมาน มีทรัพย์สินลดลง 247,301,778 บาท โดยเฉพาะคุณหญิงพจมาน มีเงินฝากในบัญชีธนาคารพาณิชย์ลดลงถึง 1,432,298,730 บาท รวมถึงหลักทรัพย์รัฐบาลหายไปทั้งสิ้น 20 ล้านบาท แต่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนเพิ่มขึ้น 484,466,368 บาท หลักทรัพย์และเงินลงทุนอื่นเพิ่มขึ้น 381,503,232 บาท ที่ดินเพิ่มขึ้น 79,946,400 บาท บ้านเพิ่มขึ้น 1 หลัง มูลค่า 264 ล้านบาท เป็นบ้านที่วู๊ดซัมแมนเนอร์, อิสต์โร้ด, เซ็นต์จอร์จ ฮิล, เวย์บริดจ์, เซอร์เรย์ เคที 13 โอแอลดี ประเทศอังกฤษ
สำหรับการสำรวจของนิตยสารฟอร์บส์ ที่ระบุสินทรัพย์ของครอบครัวอดีตนายกรัฐมนตรีผู้นี้ว่า เมื่อปี 2550 เขามีสินทรัพย์ 300 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 9,900 ล้านบาท (คิดอัตราแลกเปลี่ยน 33 บาทต่อดอลลาร์) ขณะที่ตัวเลขทรัพย์สินที่ พ.ต.ท.ทักษิณ แจ้งต่อ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2550 หลังพ้นจากตำแหน่งจากการยึดอำนาจเมื่อ 19 ก.ย. 2549 เป็นเวลา 1 ปี มีจำนวน 614,393,759 บาท เท่านั้น
ดังนั้น หากแยกตัวเลขสินทรัพย์ที่พ.ต.ท.ทักษิณ แจ้งต่อป.ป.ช. จึงต่ำกว่าที่ฟอร์บส์ ค้นพบถึงประมาณ 9,286 ล้านบาท ซึ่งจำนวนที่มากกว่าที่พ.ต.ท.ทักษิณ แจ้งต่อป.ป.ช. เป็นทรัพย์สินส่วนที่ภรรยาและบุตรเป็นผู้ถือครอง ซึ่งเฉพาะในส่วนของคุณหญิงพจมาน แจ้งต่อป.ป.ช. มีประมาณ 8,500 ล้านบาท ขณะที่บุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วของพ.ต.ท.ทักษิณ คือ นายพานทองแท้ และนางสาวพิณทองทา ไม่อยู่ในข่ายที่ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินแต่อย่างใด
ชี้ดอกเบี้ยและปันผลงอก
แหล่งข่าวธนาคารพาณิชย์เปิดเผยว่า เป็นไปได้ที่เงินของ พ.ต.ท.ทักษิณที่เพิ่มขึ้นมาจะมาจากส่วนของดอกเบี้ยในบัญชีเงินฝากและเงินปันผลจากการถือหุ้นในบริษัทต่างๆ เพราะบัญชีและหุ้นที่ คตส.ประกาศอายัดไปนั้นยังเป็นชื่อของครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณอยู่ ผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินที่ถูกอายัดไว้นั้นจึงยังอยู่ในนามของ พ.ต.ท.ทักษิณ ตราบใดที่การพิจารณาของศาลยังไม่สิ้นสุด
“ข้อมูลที่ฟอร์บประกาศออกมานั้น ไม่อาจเชื่อถือได้ 100% เพราะไม่มีการชี้แจงรายละเอียดที่มาที่ไปอย่างชัดเจน ส่วนที่เป็นห่วงว่าจะมีเงินบางส่วนเล็ดรอดออกไปนอกเหนือจากที่ คตส.อายัดไว้นั้นเท่าที่ตรวจสอบข้อมูลพบว่ามีเงินบางส่วนอยู่ในบัญชีที่หมู่เกาะกลางมหาสมุทรแปซิฟิกจำนวนหนึ่งซึ่ง คตส.ได้ฟ้องร้องให้มีการอายัดเงินจำนวนนี้ไปแล้วและอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย” แหล่งข่าวกล่าว
“แก้วสรร” ตั้งข้อสังเกตเงิน ตปท.
ในการสำรวจของฟอร์บส์ ในปี 2551 ที่พบว่า มีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 100 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 3,300 ล้านบาทนั้น นายแก้วสรร อติโพธิ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียต่อรัฐ (คตส.) กล่าวว่า ไม่ทราบรายละเอียดว่าข้อมูลของฟอร์บส์ มาจากไหน จากสินทรัพย์ในประเทศหรือรวมจากต่างประเทศ แต่จากการทำงานตรวจสอบของ คตส.ที่ผ่านมา สามารถตรวจสอบทรัพย์สินของพ.ต.ท.ทักษิณ ได้แต่เพียงภายในประเทศเท่านั้น ส่วนทรัพย์สินในต่างประเทศตรวจสอบไม่ได้ เพราะไม่มีความร่วมมือระหว่างกัน แต่ คตส. ก็รู้ว่ามีบัญชีอยู่ในต่างประเทศ นอกจากนั้น บัญชีทรัพย์สินในส่วนที่เป็นของบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ก็ไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้เช่นกัน
นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) กล่าวว่า เงินของ พ.ต.ท.ทักษิณที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นเงินที่เล็ดรอดจากการตรวจสอบของ คตส. ที่ใช้อำนาจตรวจสอบของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กรมสรรพากร คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานอื่นๆ ตามที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ประกาศ
“เชื่อว่าอาจมีเงินบางส่วนนอกจากที่ คตส.ประกาศอายัดไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้โดยเป็นเงินที่ไม่สามารถตรวจสอบได้อย่างเป็นทางการ แต่ตอนนี้ สตง.ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ที่จะจัดการในส่วนนี้แล้วเราทำหน้าที่ตรวจสอบเงินของแผ่นดินเท่านั้น แต่หากมีข้อมูลหรือหลักฐานที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติเราก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานตรวจสอบอื่นๆ ในการทำงานร่วมกัน”
รายงานของฟอร์บส์ ซึ่งนำออกเผยแพร่ทางเว็บไซต์ www.forbes.com เมื่อวานนี้(10) ตามเวลาในประเทศไทย ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว ปีนี้มีทรัพย์สินรวมกัน 400 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวเอเอฟพี ตั้งข้อสังเกตว่า ความมั่งคั่งที่แท้จริงของเขาและครอบครัวน่าจะสูงกว่านี้มากมายนัก เมื่อดูเฉพาะทรัพย์สินของเขาที่ถูกทางการไทยอายัดไว้ก็สูงถึง 2,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินที่ได้มาจากการขายบริษัทสื่อสาร ชิน คอร์ป ของเขาให้แก่บริษัทเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ของสิงคโปร์ในปี 2549
เอเอฟพี ชี้ ต่อไปว่า บุตรชายบุตรสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นชินคอร์ปเอาไว้จำนวนมากในทางเป็นจริง ก็กำลังต่อสู้คัดค้านคำสั่งของทางการที่ให้พวกเขาชำระภาษีเป็นจำนวน 789 ล้านดอลลาร์ จากรายได้ในการขายหุ้นแก่เทมาเส็ก
สำหรับนิตยสารฟอร์บส์ แนะนำ พ.ต.ท.ทักษิณเอาไว้สั้นๆ ว่า “อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศผู้ถูกขับออกจากตำแหน่งด้วยการรัฐประหารในปี 2549 หลีกหนีข้อกล่าวหาว่าทุจริตคอร์รัปชั่นด้วยการโยกย้ายไปอยู่ที่สหราชอาณาจักร ทางการผู้รับผิดชอบของไทยได้อายัดทรัพย์สินต่างๆ เอาไว้รวม 2,000 ล้านดอลลาร์ ส่วนใหญ่เป็นเงินทองที่ครอบครัวนี้ได้มาจากการขายชินคอร์ป บริษัทสื่อสารที่ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นผู้ก่อตั้ง
“เขาไปซื้อสโมสรฟุตอบลแมนเชสเตอร์ซิตี้ของอังกฤษในปี 2550 และเดินทางกลับกรุงเทพฯในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ ภายหลังการเลือกตั้งที่ได้รัฐบาลซึ่งเป็นฝ่ายโปรทักษิณ เวลานี้เขายังคงเผชิญกับข้อกล่าวหาใหม่ๆ เกี่ยวกับการซุกหุ้นในบริษัทอสังหาริมทรัพย์ เอสซี แอสเสท (ซึ่งตัวเขาเองปฏิเสธข้อกล่าวหา) นายกสมาคมกอล์ฟอาชีพแห่งประเทศไทยผู้นี้บอกว่า เขาเลิกราการเมืองแล้ว”
ฟอร์บส์บอกว่า สำหรับ 40 มหาเศรษฐีร่ำรวยที่สุดของไทยในปีนี้ มีทรัพย์สินรวมกันแล้วเท่ากับ 25,000 ล้านดอลลาร์ สูงขึ้นกว่าปีที่แล้ว 6,000 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้นิตยสารฉบับนี้กล่าวว่า วิธีคำนวณความมั่งคั่งของมหาเศรษฐีเหล่านี้ ในส่วนที่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการถือหุ้นนั้น จำนวนมากใช้ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกระทรวงพาณิชย์ สำหรับบริษัทเอกชนที่อยู่นอกตลาด ก็ใช้วิธีประมาณการว่าหากเข้าจดทะเบียนในตลาดควรจะมีมูลค่าเท่าใด โดยการคำนวณทรัพย์สินเหล่านี้ถือเอาราคาและอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 26 มิถุนายน
ในรายชื่อมหาเศรษฐีไทยของฟอร์บส์ปีนี้ อันดับ 1 ยังคงเป็นนายเฉลียว อยู่วิทยา เจ้าของกิจการเครื่องดื่ม “กระทิงแดง” ซึ่งมีทรัพย์สินรวม 4,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่อันดับ 2 คือ นายเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของ “เบียร์ช้าง” ที่มีความมั่งคั่ง 3,900 ล้านดอลลาร์ ส่วนอันดับ 3 คือ ครอบครัวจิราธิวัฒน์ เจ้าของกลุ่ม “เซ็นทรัล” 2,800 ล้านดอลลาร์, อันดับ 4 นายธนิน เจียรวนนท์ และครอบครัว แห่งเครือ “ซีพี” 2,000 ล้านดอลลาร์, อันดับ 5 นายกฤตย์ รัตนรักษ์ และครอบครัว 1,000 ล้านดอลลาร์
อันดับ 6 คือ คุณหญิงประณีตศิลป์ วัชรพล และครอบครัว เจ้าของหนังสือพิมพ์ “ไทยรัฐ” 940 ล้านดอลลาร์, อันดับ 7 นายวิชัย มาลีนนท์ และครอบครัว 880 ล้านดอลลาร์, อันดับ 8 นายจำนงค์ ภิรมย์ภักดี และครอบครัว เจ้าของ “เบียร์สิงห์” 820 ล้านดอลลาร์, อันดับ 9 นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ และครอบครัว เจ้าของกิจการชิ้นส่วนรถยนต์ “ไทยซัมมิทกรุ๊ป” 580 ล้านดอลลาร์, และอันดับ 10 นายอนันต์ อัศวโภคิน แห่งกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ “แลนด์แอนด์เฮ้าส์” 530 ล้านดอลลาร์
“คุณหญิงอ้อ” ถือถุงเงิน
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ปิดประกาศการแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จำนวน 33 คน กรณีพ้นจากตำแหน่ง 1 ปี หลังจากถูกยึดอำนาจเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2549 พบว่า บัญชีทรัพย์สินของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีทรัพย์สิน 614,393,759 บาท ประกอบด้วย เงินสด 1 ล้านบาท เงินฝากในบัญชีธนาคาร 551,257,421 บาท หลักทรัพย์และเงินลงทุนอื่น 27,061,143 บาท ที่ดิน 1,149,350 บาท สิทธิและสัมปทาน 19,125,845 บาท ทรัพย์สินอื่น 14,800,000 บาท
คุณหญิงพจมาน ชินวัตร คู่สมรส มีทรัพย์สิน 8,594,784,177 บาท มีหนี้สิน 110,360,000 บาท รวมมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 8,484,424,177 บาท โดยมีทรัพย์สิน ประกอบด้วย เงินสด 1 ล้านบาท เงินฝากในบัญชีธนาคารพาณิชย์ 1,993,661,767 บาท เงินฝากในสถาบันการเงิน 64,360,886 บาท หลักทรัพย์จดทะเบียน 1,138,301,654 บาท หลักทรัพย์และเงินลงทุนอื่น 2,067,929,681 บาท เงินให้กู้ยืม 28 ล้านบาท ที่ดิน 123 แปลง มูลค่า 2,079,048,220 บาท บ้าน 5 หลังมูลค่า 588 ล้านบาท สิ่งปลูกสร้างอื่น 37 หลัง มูลค่า 289,602,594 บาท ยานพาหนะ 12 คัน มูลค่า 34,124,000 บาท สิทธิและสัมปทาน 375,374 บาท ทรัพย์สินอื่น 310,380,000 บาท รวมแล้ว พ.ต.ท. ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน มีทรัพย์สินทั้งสิ้น 9,098,817,936 บาท
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับสมัยที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ยื่น บัญชีทรัพย์สินเมื่อพ้นตำแหน่งเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2549 พ.ต.ท. ทักษิณ มีทรัพย์สิน 557,363,123 บาท คุณหญิงพจมาน 8,842,085,955 บาท รวมเวลา 1 ปี พ.ต.ท. ทักษิณ มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น 57,030,636 บาท คุณหญิงพจมาน มีทรัพย์สินลดลง 247,301,778 บาท โดยเฉพาะคุณหญิงพจมาน มีเงินฝากในบัญชีธนาคารพาณิชย์ลดลงถึง 1,432,298,730 บาท รวมถึงหลักทรัพย์รัฐบาลหายไปทั้งสิ้น 20 ล้านบาท แต่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนเพิ่มขึ้น 484,466,368 บาท หลักทรัพย์และเงินลงทุนอื่นเพิ่มขึ้น 381,503,232 บาท ที่ดินเพิ่มขึ้น 79,946,400 บาท บ้านเพิ่มขึ้น 1 หลัง มูลค่า 264 ล้านบาท เป็นบ้านที่วู๊ดซัมแมนเนอร์, อิสต์โร้ด, เซ็นต์จอร์จ ฮิล, เวย์บริดจ์, เซอร์เรย์ เคที 13 โอแอลดี ประเทศอังกฤษ
สำหรับการสำรวจของนิตยสารฟอร์บส์ ที่ระบุสินทรัพย์ของครอบครัวอดีตนายกรัฐมนตรีผู้นี้ว่า เมื่อปี 2550 เขามีสินทรัพย์ 300 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 9,900 ล้านบาท (คิดอัตราแลกเปลี่ยน 33 บาทต่อดอลลาร์) ขณะที่ตัวเลขทรัพย์สินที่ พ.ต.ท.ทักษิณ แจ้งต่อ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2550 หลังพ้นจากตำแหน่งจากการยึดอำนาจเมื่อ 19 ก.ย. 2549 เป็นเวลา 1 ปี มีจำนวน 614,393,759 บาท เท่านั้น
ดังนั้น หากแยกตัวเลขสินทรัพย์ที่พ.ต.ท.ทักษิณ แจ้งต่อป.ป.ช. จึงต่ำกว่าที่ฟอร์บส์ ค้นพบถึงประมาณ 9,286 ล้านบาท ซึ่งจำนวนที่มากกว่าที่พ.ต.ท.ทักษิณ แจ้งต่อป.ป.ช. เป็นทรัพย์สินส่วนที่ภรรยาและบุตรเป็นผู้ถือครอง ซึ่งเฉพาะในส่วนของคุณหญิงพจมาน แจ้งต่อป.ป.ช. มีประมาณ 8,500 ล้านบาท ขณะที่บุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วของพ.ต.ท.ทักษิณ คือ นายพานทองแท้ และนางสาวพิณทองทา ไม่อยู่ในข่ายที่ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินแต่อย่างใด
ชี้ดอกเบี้ยและปันผลงอก
แหล่งข่าวธนาคารพาณิชย์เปิดเผยว่า เป็นไปได้ที่เงินของ พ.ต.ท.ทักษิณที่เพิ่มขึ้นมาจะมาจากส่วนของดอกเบี้ยในบัญชีเงินฝากและเงินปันผลจากการถือหุ้นในบริษัทต่างๆ เพราะบัญชีและหุ้นที่ คตส.ประกาศอายัดไปนั้นยังเป็นชื่อของครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณอยู่ ผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินที่ถูกอายัดไว้นั้นจึงยังอยู่ในนามของ พ.ต.ท.ทักษิณ ตราบใดที่การพิจารณาของศาลยังไม่สิ้นสุด
“ข้อมูลที่ฟอร์บประกาศออกมานั้น ไม่อาจเชื่อถือได้ 100% เพราะไม่มีการชี้แจงรายละเอียดที่มาที่ไปอย่างชัดเจน ส่วนที่เป็นห่วงว่าจะมีเงินบางส่วนเล็ดรอดออกไปนอกเหนือจากที่ คตส.อายัดไว้นั้นเท่าที่ตรวจสอบข้อมูลพบว่ามีเงินบางส่วนอยู่ในบัญชีที่หมู่เกาะกลางมหาสมุทรแปซิฟิกจำนวนหนึ่งซึ่ง คตส.ได้ฟ้องร้องให้มีการอายัดเงินจำนวนนี้ไปแล้วและอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย” แหล่งข่าวกล่าว
“แก้วสรร” ตั้งข้อสังเกตเงิน ตปท.
ในการสำรวจของฟอร์บส์ ในปี 2551 ที่พบว่า มีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 100 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 3,300 ล้านบาทนั้น นายแก้วสรร อติโพธิ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียต่อรัฐ (คตส.) กล่าวว่า ไม่ทราบรายละเอียดว่าข้อมูลของฟอร์บส์ มาจากไหน จากสินทรัพย์ในประเทศหรือรวมจากต่างประเทศ แต่จากการทำงานตรวจสอบของ คตส.ที่ผ่านมา สามารถตรวจสอบทรัพย์สินของพ.ต.ท.ทักษิณ ได้แต่เพียงภายในประเทศเท่านั้น ส่วนทรัพย์สินในต่างประเทศตรวจสอบไม่ได้ เพราะไม่มีความร่วมมือระหว่างกัน แต่ คตส. ก็รู้ว่ามีบัญชีอยู่ในต่างประเทศ นอกจากนั้น บัญชีทรัพย์สินในส่วนที่เป็นของบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ก็ไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้เช่นกัน
นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) กล่าวว่า เงินของ พ.ต.ท.ทักษิณที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นเงินที่เล็ดรอดจากการตรวจสอบของ คตส. ที่ใช้อำนาจตรวจสอบของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กรมสรรพากร คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานอื่นๆ ตามที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ประกาศ
“เชื่อว่าอาจมีเงินบางส่วนนอกจากที่ คตส.ประกาศอายัดไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้โดยเป็นเงินที่ไม่สามารถตรวจสอบได้อย่างเป็นทางการ แต่ตอนนี้ สตง.ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ที่จะจัดการในส่วนนี้แล้วเราทำหน้าที่ตรวจสอบเงินของแผ่นดินเท่านั้น แต่หากมีข้อมูลหรือหลักฐานที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติเราก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานตรวจสอบอื่นๆ ในการทำงานร่วมกัน”