เอเจนซี - นักวิจัยเมืองผู้ดีชี้การกินผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง อาทิ เต้าหู้ มากๆ ทำให้สมรรถภาพในการทำงานของสมองถดถอยลงถึง 20% โดยเฉพาะกับผู้สูงวัยที่เป็นผู้หญิงและกินมังสวิรัติ ที่มีแนวโน้มกินอาหารชนิดนี้บ่อยกว่าคนกลุ่มอื่น
การศึกษาผู้สูงวัย 719 คนที่อาศัยอยู่บนเกาะชวา อินโดนีเซีย พบว่าการกินเต้าหู้อย่างน้อยวันละมื้อ มีส่วนเกี่ยวพันกับการสูญเสียความจำ โดยเฉพาะในกลุ่มคนอายุ 68 ปีขึ้นไป
ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือเป็นโปรตีนทางเลือกสำคัญสำหรับคนจำนวนมากในประเทศกำลังพัฒนา และเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นๆ ในโลกตะวันตก ซึ่งบ่อยครั้งมีการเรียกขานกันว่า ‘ซูเปอร์ฟูด’
ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองอุดมด้วยสารอาหารรองที่เรียกว่า phytoestrogen ซึ่งทำให้เกิดผลเช่นเดียวกับฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน และมีหลักฐานว่า สารอาหารนี้อาจช่วยปกป้องสมองของหนุ่มสาวและคนวัยกลางคนจากการถูกทำลาย ทว่า ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าสารนี้มีผลอย่างไรต่อสมองของผู้สูงวัย
กระทั่งล่าสุด งานวิจัยของมหาวิทยาลัยลัฟโบโรห์, มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดในอังกฤษ และนักวิจัยจากอินโดนีเซีย ที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสารดีเมนเทียส์ แอนด์ เกเรียทริก ค็อกนิทีฟ ดิสออร์เดอร์ส ระบุว่าไฟโตเอสโตรเจนอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคจิตเสื่อม หากบริโภคในปริมาณมาก
กล่าวคือผู้ที่กินเต้าหู้วันละมากกว่าหนึ่งมื้อ การทำงานของสมองจะเสื่อมลง 20% เมื่อเทียบกับคนที่กินอาหารชนิดนี้น้อยที่สุด
ศาสตราจารย์เอฟ โฮเกอร์เวิร์สต์ ผู้นำการวิจัย กล่าวว่างานวิจัยในอดีตได้เชื่อมโยงการบำบัดด้วยเอสโตรเจนกับความเสี่ยงโรคจิตเสื่อมที่เพิ่มขึ้นสองเท่าในกลุ่มคนอายุ 65 ปีขึ้น
โฮเกอร์เวิร์สต์ระบุว่า เอสโตรเจน หรืออาจเป็นไฟโตเอสโตรเจน มีแนวโน้มกระตุ้นการเติบโตของเซลล์ต่างๆ ซึ่งอาจไม่ส่งผลดีต่อสมองของผู้สูงวัย และเป็นไปได้ว่า เซลล์สมองของผู้สูงวัยที่อ่อนแอต่อโรคจิตเสื่อมในเชิงพันธุกรรม อาจได้รับผลร้ายจากปริมาณเอสโตรเจนที่มากไป
หรืออาจกล่าวได้ว่า เอสโตรเจนในปริมาณมากมีแนวโน้มส่งเสริมให้เซลล์ถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระมากขึ้น
ทฤษฎีที่สามคือ เซลล์ในร่างกายไม่ได้ถูกทำลายโดยเต้าหู้ แต่โดยฟอร์มาลดีไฮด์ ที่บางครั้งชาวอินโดนีเซียใช้เป็นสารถนอมอาหาร
นักวิจัยยอมรับว่า จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้แน่ใจว่า ผลลัพธ์แบบเดียวกันนี้เกิดขึ้นกับคนเชื้อชาติอื่นๆ ด้วยหรือไม่ กระนั้น งานวิจัยก่อนหน้านี้ได้เชื่อมโยงการบริโภคเต้าหู้กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการเป็นโรคจิตเสื่อมของผู้ชายเชื้อสายญี่ปุ่น-อเมริกัน
ศาสตราจารย์เดวิด สมิท จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด อังกฤษ กล่าวว่าเต้าหู้เป็นอาหารที่มีส่วนประกอบซับซ้อน ซึ่งอาจส่งผลบางอย่างต่อร่างกาย อย่างไรก็ตาม น่าจะมีบางสิ่งเกิดขึ้นในสมองเมื่อเข้าสู่ภาวะสูงวัย และทำให้สมองมีปฏิกิริยาต่อเอสโตรเจนในทางตรงข้ามกับที่เคยคาดการณ์กันไว้
การศึกษาล่าสุดยังพบว่า การกินเทมเป้ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองหมัก ช่วยส่งเสริมความจำ
โฮเกอร์เวิร์สต์กล่าวว่า คุณประโยชน์จากเทมเป้อาจเกี่ยวเนื่องกับข้อเท็จจริงที่ว่า อาหารชนิดนี้อุดมด้วยสารโฟเลต ที่รู้กันว่าลดความเสี่ยงโรคจิตเสื่อม
“เป็นไปได้ว่า ปฏิกิริยาระหว่างโฟเลตและไฟโตเอสโตรเจนช่วยป้องกันภาวะความสามารถในการรับรู้เสื่อมถอย”
เธอยังย้ำว่า ไม่มีข้อบ่งชี้ว่าการกินเต้าหู้ในปริมาณปานกลางจะทำให้เกิดปัญหาแต่อย่างใด
รีเบ็กกา วูด จากอัลไซเมอร์ส รีเสิร์ช ทรัสต์ ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนงานวิจัยนี้ เสริมว่าจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม เพื่อค้นหาแนวโน้มความเสี่ยงและประโยชน์จากซูเปอร์ฟูดนี้
“อย่างไรก็ดี การวิจัยสาเหตุของอัลไซเมอร์แบบนี้อาจทำให้นักวิจัยพบวิธีใหม่ๆ ในการป้องกันโรคนี้”
การศึกษาผู้สูงวัย 719 คนที่อาศัยอยู่บนเกาะชวา อินโดนีเซีย พบว่าการกินเต้าหู้อย่างน้อยวันละมื้อ มีส่วนเกี่ยวพันกับการสูญเสียความจำ โดยเฉพาะในกลุ่มคนอายุ 68 ปีขึ้นไป
ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือเป็นโปรตีนทางเลือกสำคัญสำหรับคนจำนวนมากในประเทศกำลังพัฒนา และเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นๆ ในโลกตะวันตก ซึ่งบ่อยครั้งมีการเรียกขานกันว่า ‘ซูเปอร์ฟูด’
ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองอุดมด้วยสารอาหารรองที่เรียกว่า phytoestrogen ซึ่งทำให้เกิดผลเช่นเดียวกับฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน และมีหลักฐานว่า สารอาหารนี้อาจช่วยปกป้องสมองของหนุ่มสาวและคนวัยกลางคนจากการถูกทำลาย ทว่า ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าสารนี้มีผลอย่างไรต่อสมองของผู้สูงวัย
กระทั่งล่าสุด งานวิจัยของมหาวิทยาลัยลัฟโบโรห์, มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดในอังกฤษ และนักวิจัยจากอินโดนีเซีย ที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสารดีเมนเทียส์ แอนด์ เกเรียทริก ค็อกนิทีฟ ดิสออร์เดอร์ส ระบุว่าไฟโตเอสโตรเจนอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคจิตเสื่อม หากบริโภคในปริมาณมาก
กล่าวคือผู้ที่กินเต้าหู้วันละมากกว่าหนึ่งมื้อ การทำงานของสมองจะเสื่อมลง 20% เมื่อเทียบกับคนที่กินอาหารชนิดนี้น้อยที่สุด
ศาสตราจารย์เอฟ โฮเกอร์เวิร์สต์ ผู้นำการวิจัย กล่าวว่างานวิจัยในอดีตได้เชื่อมโยงการบำบัดด้วยเอสโตรเจนกับความเสี่ยงโรคจิตเสื่อมที่เพิ่มขึ้นสองเท่าในกลุ่มคนอายุ 65 ปีขึ้น
โฮเกอร์เวิร์สต์ระบุว่า เอสโตรเจน หรืออาจเป็นไฟโตเอสโตรเจน มีแนวโน้มกระตุ้นการเติบโตของเซลล์ต่างๆ ซึ่งอาจไม่ส่งผลดีต่อสมองของผู้สูงวัย และเป็นไปได้ว่า เซลล์สมองของผู้สูงวัยที่อ่อนแอต่อโรคจิตเสื่อมในเชิงพันธุกรรม อาจได้รับผลร้ายจากปริมาณเอสโตรเจนที่มากไป
หรืออาจกล่าวได้ว่า เอสโตรเจนในปริมาณมากมีแนวโน้มส่งเสริมให้เซลล์ถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระมากขึ้น
ทฤษฎีที่สามคือ เซลล์ในร่างกายไม่ได้ถูกทำลายโดยเต้าหู้ แต่โดยฟอร์มาลดีไฮด์ ที่บางครั้งชาวอินโดนีเซียใช้เป็นสารถนอมอาหาร
นักวิจัยยอมรับว่า จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้แน่ใจว่า ผลลัพธ์แบบเดียวกันนี้เกิดขึ้นกับคนเชื้อชาติอื่นๆ ด้วยหรือไม่ กระนั้น งานวิจัยก่อนหน้านี้ได้เชื่อมโยงการบริโภคเต้าหู้กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการเป็นโรคจิตเสื่อมของผู้ชายเชื้อสายญี่ปุ่น-อเมริกัน
ศาสตราจารย์เดวิด สมิท จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด อังกฤษ กล่าวว่าเต้าหู้เป็นอาหารที่มีส่วนประกอบซับซ้อน ซึ่งอาจส่งผลบางอย่างต่อร่างกาย อย่างไรก็ตาม น่าจะมีบางสิ่งเกิดขึ้นในสมองเมื่อเข้าสู่ภาวะสูงวัย และทำให้สมองมีปฏิกิริยาต่อเอสโตรเจนในทางตรงข้ามกับที่เคยคาดการณ์กันไว้
การศึกษาล่าสุดยังพบว่า การกินเทมเป้ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองหมัก ช่วยส่งเสริมความจำ
โฮเกอร์เวิร์สต์กล่าวว่า คุณประโยชน์จากเทมเป้อาจเกี่ยวเนื่องกับข้อเท็จจริงที่ว่า อาหารชนิดนี้อุดมด้วยสารโฟเลต ที่รู้กันว่าลดความเสี่ยงโรคจิตเสื่อม
“เป็นไปได้ว่า ปฏิกิริยาระหว่างโฟเลตและไฟโตเอสโตรเจนช่วยป้องกันภาวะความสามารถในการรับรู้เสื่อมถอย”
เธอยังย้ำว่า ไม่มีข้อบ่งชี้ว่าการกินเต้าหู้ในปริมาณปานกลางจะทำให้เกิดปัญหาแต่อย่างใด
รีเบ็กกา วูด จากอัลไซเมอร์ส รีเสิร์ช ทรัสต์ ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนงานวิจัยนี้ เสริมว่าจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม เพื่อค้นหาแนวโน้มความเสี่ยงและประโยชน์จากซูเปอร์ฟูดนี้
“อย่างไรก็ดี การวิจัยสาเหตุของอัลไซเมอร์แบบนี้อาจทำให้นักวิจัยพบวิธีใหม่ๆ ในการป้องกันโรคนี้”