ผู้จัดการรายวัน – ฟรีทีวีปรับทิศรับกม.โทรทัศน์ แห่เดินหน้าผลิตรายการเอง รวมทั้งร่วมผลิตกับผู้จัดมากขึ้น ชี้ผู้จัดรายการเดินเข้าตาจน ด้านช่อง 9 เปิด 4 รูปแบบ ลุยเอง ส่วนช่อง 5 ประกาศลั่นปีหน้ายกเลิกการเช่าเวลา หันมาผลิตเองเต็มสูบ ขณะที่ช่อง 3 และ ช่อง 7 ก็เดินหน้าใช้บริษัทในเครือผลิตให้ปูทางไว้แล้ว
แหล่งข่าวจากวงการทีวี กล่าวกับ “ผู้จัดการรายวัน” ว่า จากกรณีที่พรบ.การประกอบกิจการวิทยุและโทรทัศน์2551 มีผลบังคับใช้นั้น ส่งผลให้การแข่งขันของฟรีทีมีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของการผลิตรายการ เพราะมีแนวโน้มอย่างมากว่าแต่ละสถานีจะหันมาเป็นผู้ผลิตรายการเองมากขึ้น เนื่องจากว่า สถานีจะได้สามารถกำหนดแนวทางและรูปแบบรายการ รวมทั้งการบริหารเวลาทั้งหมดได้ และที่สำคัญรายได้จะเป็นกอบเป็นกำมากขึ้นกว่าเดิมด้วย และจะทำให้ผู้จัดรายการตกอยู่ในสถานะลำบาก
ช่วงที่ผ่านมานั้น หลายช่องมักจะใช้วิธีการให้เช่าเวลา แล้วเก็บค่าเช่า ซึ่งทำให้ได้รายได้ตายตัว ช่อง 3 นั้นถือว่ามีผู้จัดรายการอยู่ในมือมาก เดิมเป็นการจ้างผลิตรายการแต่ว่าเมื่อต้นทุนสูงขึ้นมาก จึงปรับมาเป็นแบบไทม์แชร์ริ่ง ส่วนช่อง 7 ก็เป็นการจ้างผลิตมาก แต่ระยะหลังก็เอาบริษัทในเครือมาผลิตให้ ด้านช่อง 5 แทบจะ 90% เป็นการให้ผู้จัดเช่าเวลา ทั้งนี้รายได้จากการร่วมผลิตนั้นจะมีมากกว่า แต่เปอร์เซ็ต์ของมาร์จิ้นจากการร่วมผลิตจะไม่มาก
ทั้งนี้หากพิจารณาถึงต้นทุนของการเช่าเวลาในรายการประเภทต่างๆจะแตกต่างกันไป เช่น วาไรตี้ ประมาณ 3-4 แสนบาทต่อชั่วโมง รายการข่าวประมาณ 1 ล้านบาทต่อชั่วโมง ซึ่งส่วนใหญ่แต่ละช่องทำเอง รายการละคร ประมาณ 7 แสน – 1 ล้านบาทต่อตอน สารคดีประมาณ 150,000 บาทต่อชั่วโมง
**โมเดิร์นไนน์ฉีกแนวผลิตเอง3แบบ
นายเขมทัตต์ พลเดช ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สำนักการตลาด บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารทีวีโมเดิร์นไนน์ กล่าวว่า พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรทัศน์ฯ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สถานีทีวีหันมาเป็นผู้ผลิตรายการเองมากขึ้นซึ่งโมเดิร์นไนน์เองก็เตรียมตัวผลิตรายการเองเช่นกัน
สำหรับรูปแบบการผลิตรายการเองของโมเดิร์นไนน์มี 3 รูปแบบคือ 1.การร่วมกับผู้ผลิตทุกระดับในการผลิตรายการตามแนวทางของโมเดิร์นไนน์ 2.การซื้อคอนเท้นต์มาจากต่างประเทศแล้วมาทำการรีโปรดักชันใหม่ และ 3. การจ้างผู้จัดผลิตแต่ภายใต้คอนเซ็ปท์และต้นทุนที่โมเดิร์นไนน์เป็นคนกำหนดทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม การผลิตรายการเองของโมเดิร์นไนน์ไม่ได้หมายความว่าจะยกเลิกผู้จัดรายการทั้งหมด หรือโมเดิร์นไนน์จะต้องลงทุนมากมายเพื่อเพิ่มคนเพิ่มอุปกรณ์ในการรองรับการผลิตรายการเอง แต่เรายังทำงานร่วมกับผู้จัดเหมือนเดิม เพียงแต่แนวทางมันเปลี่ยนไป ซึ่งช่วงเวลาตั้งแต่หลังเที่ยงคืนจนถึง 6 โมงเช้า ก็จะยังคงเป็นการให้ผู้จัดมาเช่าเวลาแล้วออกอากาศเหมือนเดิม ส่วนช่วงเวลาตั้งแต่ 5 โมงเย็นถึงเที่ยงคืน จะเป็นการผลิตเองเป็นหลัก
ส่วนบริษัทในเครือข่ายของโมเดิร์นไนน์ก็มีบ้างแต่ยังไม่เต็มรูปแบบเช่น บริษัทที่ผลิตรายการสารคดี
ปัจจุบันผังรายการของโมเดิร์นไนน์ มีดังนี้ 1. เช่าเวลา 2. ร่วมผลิตรายการ 3.ผลิตรายการเองคือ ข่าวและสารคดี 4.การรีโปรดักชั่น โดยสัดส่วนรายได้นั้นมาจาก การผลิตเองประมาณ 30% และการร่วมผลิต ประมาณ 70%
**ช่อง 5 ลั่นเลิกเช่าเวลา เน้นผลิตเอง
ทางด้านช่อง 5 นั้น พลโท กิตติทัศน์ บำเหน็จพันธุ์ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก กล่าวว่า รูปแบบการดำเนินงานของผังรายการของช่อง 5 ในปี 2552 จะพลิกโฉมจากการเป็น “ผู้ให้เช่าเวลา” เป็น “การผลิตรายการเอง” มากขึ้น จากเดิมที่ช่อง 5 ผลิตรายการข่าวและสารคดีบางประเภทในสัดส่วน 30% จะต้องเพิ่มขึ้นอีกกว่าเท่าตัวเป็น 60% - 70% ตามกรอบของ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรทัศน์ โดยมั่นใจในศักยภาพของ ททบ.5 ซึ่งมีทั้งบุคคลากร และเทคโนโลยีที่ทันสมัย พร้อมจะเพิ่มกำลังการผลิตรายการโทรทัศน์คุณภาพทุกรูปแบบด้วยตนเอง ซึ่งจะเป็นผลให้โอกาสของผู้ร่วมรายการที่จะร่วมผลิตรายการกับทางสถานีลดลงกว่า 50%
การที่ช่อง5หันมาผลิตเองกับร่วมผลิตรายการมากขึ้น เป็นเพราะปัญหาเรื่องของโบรกเกอร์ที่ทำให้ผู้จัดรายการตัวจริงต้องเสียงบประมาณมากโดยใช่เหตุ เพราะต้องไปจ่ายให้กับนายหน้าที่เอาเวลามาขายให้ ทำให้ต้องลดต้นทุนในการผลิตลงบางส่วน ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของรายการด้วย ดังนั้นการที่ใช้รูปแบบผลิตเองกับร่วมผลิตมากขึ้นก็จะช่วยขจัดปัญหาโบรกเกอร์ได้
**ช่อง3 -ช่อง 7 ปรับทัพรับมือ
ทางด้านช่อง 7 แม้ว่าจะยังไม่มีการประกาศตัวอย่างชัดเจน แต่แนวทางก็ไม่ได้ต่างจากช่องอื่นแต่อย่างใด ที่ผ่านมาช่อง 7 มีบริษัทในเครือเป็นผู้ผลิตรายการป้อนให้อยู่แล้วหลายรายการ ไม่ว่าจะเป็นรายการวาไรตี้ รายการบันเทิงต่างๆ ในนามของบริษัท มีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด (มหาชน) ที่มีนางชาลอต โทณวณิก กุมบังเหียนอยู่
ส่วนช่อง 3 ก็เป็นช่องที่มีผู้จัดมากหน้าหลายตาสังกัดอยู่ แต่ขณะเดียวกัน ช่อง 3 เองก็มีบริษัทฯลูกหรือบริษัทในเครือข่ายที่ผลิตรายการป้อนให้อยู่แล้วจำนวนมาก โดยเฉพาะในเรื่องของละครบันเทิง ซึ่งส่วนใหญ่ผู้จะเป็นดารานักแสดงที่สังกัดช่อง 3 แล้วผันตัวเองมาเป็นผู้จัดละคร ผู้จัดรายการกันจำนนมาก และก็ทำงานให้กับช่อง 3 ช่องเดียวมานาน
ล่าสุดบริษัท ซีวีดี เอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ที่เป็นของตระกูลมาลีนนท์เหมือนกันนั้น ก็ปรับแนวทางธุรกิจจากธุรกิจหลัก้ป็นผู้ซื้อลิขสิทธิ์หนังซีดี วีซีดี ดีวีดี จากต่างประเทศ มาสู่การเป็นผู้ผลิตคอนเท้นต์แทน ซึ่งแน่นอนว่า มีเป้าหมายหลักที่จะป้อนให้กับช่อง 3 ก่อนเป็นอันดับแรก
โดยตั้งหน่วยธุรกิจ ซีวีดี อี โปรดักชันส์ ซึ่งซีวีดีอีโปรดักชั่นส์ จะเป็นการรับจ้างผลิตรายการป้อนให้กับสื่อโทรทัศน์ ซึ่งมองถึงช่อง 3 และฟรีทีวีช่องอื่นๆ รวมทั้งเคเบิลทีวีด้วย ภายใต้เงินทุนกว่า 400 ล้านบาท โดยเปิดตัว 2 รายการใหม่ทางช่อง 3 เดือนกุมภาพันธ์นี้เป็นต้นมา คือ ละครซิทคอม เรื่อง “มหาชนชาวแฟลต” ที่ผลิตร่วมกับ บริษัท minds@work จำกัด และรายการเกมโชว์ ชื่อ “44 21 4” ทุกวันเสาร์ 16.30-17.00น. เริ่ม 2 กุมภาพันธ์ และซีวีดี ออร์แกไนเซอร์ทำธุรกิจจัดอีเว้นต์
แหล่งข่าวจากวงการทีวี กล่าวกับ “ผู้จัดการรายวัน” ว่า จากกรณีที่พรบ.การประกอบกิจการวิทยุและโทรทัศน์2551 มีผลบังคับใช้นั้น ส่งผลให้การแข่งขันของฟรีทีมีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของการผลิตรายการ เพราะมีแนวโน้มอย่างมากว่าแต่ละสถานีจะหันมาเป็นผู้ผลิตรายการเองมากขึ้น เนื่องจากว่า สถานีจะได้สามารถกำหนดแนวทางและรูปแบบรายการ รวมทั้งการบริหารเวลาทั้งหมดได้ และที่สำคัญรายได้จะเป็นกอบเป็นกำมากขึ้นกว่าเดิมด้วย และจะทำให้ผู้จัดรายการตกอยู่ในสถานะลำบาก
ช่วงที่ผ่านมานั้น หลายช่องมักจะใช้วิธีการให้เช่าเวลา แล้วเก็บค่าเช่า ซึ่งทำให้ได้รายได้ตายตัว ช่อง 3 นั้นถือว่ามีผู้จัดรายการอยู่ในมือมาก เดิมเป็นการจ้างผลิตรายการแต่ว่าเมื่อต้นทุนสูงขึ้นมาก จึงปรับมาเป็นแบบไทม์แชร์ริ่ง ส่วนช่อง 7 ก็เป็นการจ้างผลิตมาก แต่ระยะหลังก็เอาบริษัทในเครือมาผลิตให้ ด้านช่อง 5 แทบจะ 90% เป็นการให้ผู้จัดเช่าเวลา ทั้งนี้รายได้จากการร่วมผลิตนั้นจะมีมากกว่า แต่เปอร์เซ็ต์ของมาร์จิ้นจากการร่วมผลิตจะไม่มาก
ทั้งนี้หากพิจารณาถึงต้นทุนของการเช่าเวลาในรายการประเภทต่างๆจะแตกต่างกันไป เช่น วาไรตี้ ประมาณ 3-4 แสนบาทต่อชั่วโมง รายการข่าวประมาณ 1 ล้านบาทต่อชั่วโมง ซึ่งส่วนใหญ่แต่ละช่องทำเอง รายการละคร ประมาณ 7 แสน – 1 ล้านบาทต่อตอน สารคดีประมาณ 150,000 บาทต่อชั่วโมง
**โมเดิร์นไนน์ฉีกแนวผลิตเอง3แบบ
นายเขมทัตต์ พลเดช ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สำนักการตลาด บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารทีวีโมเดิร์นไนน์ กล่าวว่า พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรทัศน์ฯ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สถานีทีวีหันมาเป็นผู้ผลิตรายการเองมากขึ้นซึ่งโมเดิร์นไนน์เองก็เตรียมตัวผลิตรายการเองเช่นกัน
สำหรับรูปแบบการผลิตรายการเองของโมเดิร์นไนน์มี 3 รูปแบบคือ 1.การร่วมกับผู้ผลิตทุกระดับในการผลิตรายการตามแนวทางของโมเดิร์นไนน์ 2.การซื้อคอนเท้นต์มาจากต่างประเทศแล้วมาทำการรีโปรดักชันใหม่ และ 3. การจ้างผู้จัดผลิตแต่ภายใต้คอนเซ็ปท์และต้นทุนที่โมเดิร์นไนน์เป็นคนกำหนดทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม การผลิตรายการเองของโมเดิร์นไนน์ไม่ได้หมายความว่าจะยกเลิกผู้จัดรายการทั้งหมด หรือโมเดิร์นไนน์จะต้องลงทุนมากมายเพื่อเพิ่มคนเพิ่มอุปกรณ์ในการรองรับการผลิตรายการเอง แต่เรายังทำงานร่วมกับผู้จัดเหมือนเดิม เพียงแต่แนวทางมันเปลี่ยนไป ซึ่งช่วงเวลาตั้งแต่หลังเที่ยงคืนจนถึง 6 โมงเช้า ก็จะยังคงเป็นการให้ผู้จัดมาเช่าเวลาแล้วออกอากาศเหมือนเดิม ส่วนช่วงเวลาตั้งแต่ 5 โมงเย็นถึงเที่ยงคืน จะเป็นการผลิตเองเป็นหลัก
ส่วนบริษัทในเครือข่ายของโมเดิร์นไนน์ก็มีบ้างแต่ยังไม่เต็มรูปแบบเช่น บริษัทที่ผลิตรายการสารคดี
ปัจจุบันผังรายการของโมเดิร์นไนน์ มีดังนี้ 1. เช่าเวลา 2. ร่วมผลิตรายการ 3.ผลิตรายการเองคือ ข่าวและสารคดี 4.การรีโปรดักชั่น โดยสัดส่วนรายได้นั้นมาจาก การผลิตเองประมาณ 30% และการร่วมผลิต ประมาณ 70%
**ช่อง 5 ลั่นเลิกเช่าเวลา เน้นผลิตเอง
ทางด้านช่อง 5 นั้น พลโท กิตติทัศน์ บำเหน็จพันธุ์ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก กล่าวว่า รูปแบบการดำเนินงานของผังรายการของช่อง 5 ในปี 2552 จะพลิกโฉมจากการเป็น “ผู้ให้เช่าเวลา” เป็น “การผลิตรายการเอง” มากขึ้น จากเดิมที่ช่อง 5 ผลิตรายการข่าวและสารคดีบางประเภทในสัดส่วน 30% จะต้องเพิ่มขึ้นอีกกว่าเท่าตัวเป็น 60% - 70% ตามกรอบของ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรทัศน์ โดยมั่นใจในศักยภาพของ ททบ.5 ซึ่งมีทั้งบุคคลากร และเทคโนโลยีที่ทันสมัย พร้อมจะเพิ่มกำลังการผลิตรายการโทรทัศน์คุณภาพทุกรูปแบบด้วยตนเอง ซึ่งจะเป็นผลให้โอกาสของผู้ร่วมรายการที่จะร่วมผลิตรายการกับทางสถานีลดลงกว่า 50%
การที่ช่อง5หันมาผลิตเองกับร่วมผลิตรายการมากขึ้น เป็นเพราะปัญหาเรื่องของโบรกเกอร์ที่ทำให้ผู้จัดรายการตัวจริงต้องเสียงบประมาณมากโดยใช่เหตุ เพราะต้องไปจ่ายให้กับนายหน้าที่เอาเวลามาขายให้ ทำให้ต้องลดต้นทุนในการผลิตลงบางส่วน ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของรายการด้วย ดังนั้นการที่ใช้รูปแบบผลิตเองกับร่วมผลิตมากขึ้นก็จะช่วยขจัดปัญหาโบรกเกอร์ได้
**ช่อง3 -ช่อง 7 ปรับทัพรับมือ
ทางด้านช่อง 7 แม้ว่าจะยังไม่มีการประกาศตัวอย่างชัดเจน แต่แนวทางก็ไม่ได้ต่างจากช่องอื่นแต่อย่างใด ที่ผ่านมาช่อง 7 มีบริษัทในเครือเป็นผู้ผลิตรายการป้อนให้อยู่แล้วหลายรายการ ไม่ว่าจะเป็นรายการวาไรตี้ รายการบันเทิงต่างๆ ในนามของบริษัท มีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด (มหาชน) ที่มีนางชาลอต โทณวณิก กุมบังเหียนอยู่
ส่วนช่อง 3 ก็เป็นช่องที่มีผู้จัดมากหน้าหลายตาสังกัดอยู่ แต่ขณะเดียวกัน ช่อง 3 เองก็มีบริษัทฯลูกหรือบริษัทในเครือข่ายที่ผลิตรายการป้อนให้อยู่แล้วจำนวนมาก โดยเฉพาะในเรื่องของละครบันเทิง ซึ่งส่วนใหญ่ผู้จะเป็นดารานักแสดงที่สังกัดช่อง 3 แล้วผันตัวเองมาเป็นผู้จัดละคร ผู้จัดรายการกันจำนนมาก และก็ทำงานให้กับช่อง 3 ช่องเดียวมานาน
ล่าสุดบริษัท ซีวีดี เอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ที่เป็นของตระกูลมาลีนนท์เหมือนกันนั้น ก็ปรับแนวทางธุรกิจจากธุรกิจหลัก้ป็นผู้ซื้อลิขสิทธิ์หนังซีดี วีซีดี ดีวีดี จากต่างประเทศ มาสู่การเป็นผู้ผลิตคอนเท้นต์แทน ซึ่งแน่นอนว่า มีเป้าหมายหลักที่จะป้อนให้กับช่อง 3 ก่อนเป็นอันดับแรก
โดยตั้งหน่วยธุรกิจ ซีวีดี อี โปรดักชันส์ ซึ่งซีวีดีอีโปรดักชั่นส์ จะเป็นการรับจ้างผลิตรายการป้อนให้กับสื่อโทรทัศน์ ซึ่งมองถึงช่อง 3 และฟรีทีวีช่องอื่นๆ รวมทั้งเคเบิลทีวีด้วย ภายใต้เงินทุนกว่า 400 ล้านบาท โดยเปิดตัว 2 รายการใหม่ทางช่อง 3 เดือนกุมภาพันธ์นี้เป็นต้นมา คือ ละครซิทคอม เรื่อง “มหาชนชาวแฟลต” ที่ผลิตร่วมกับ บริษัท minds@work จำกัด และรายการเกมโชว์ ชื่อ “44 21 4” ทุกวันเสาร์ 16.30-17.00น. เริ่ม 2 กุมภาพันธ์ และซีวีดี ออร์แกไนเซอร์ทำธุรกิจจัดอีเว้นต์