ผู้จัดการรายวัน - บลจ.กรุงไทย จับจังหวะค่าเงินบาทอ่อนตัว จ่อคิวเอฟไอเอฟ 2 กอง ลุยมันนี่มาร์เกตต่างประเทศสกุลเงิน "ดอลลาร์สหรัฐ-ยูโร" เพิ่มทางเลือกให้ลูกค้า หลังกองทุนแรก ที่ลงทุนในเงินปอนด์ผลตอบแทนพุ่ง เผยแค่ 2 เดือนฟันกำไรในรูปเงินบาทแล้วประมาณ 5.59% เหตุค่าเงินบาทอ่อนลง ชี้ช่องลงทุนช่วยลดความเสี่ยงเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยน จับกลุ่มลูกค้าที่ส่งลูกไปเรียนเมืองนอก พร้อมระบุแนวโน้มหุ้น-ตราสารหนี้ไทยราคาถูกจนน่าลงทุน โดยเฉพาะหุ้นไทยที่พื้นฐานยังแกร่ง แม้ปรับตัวลงมากว่า20% มั่นใจดึงเงินลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาได้
นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน รองกรรมการผู้จัดการ สายงานจัดการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTAM เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างยื่นขอจัดตั้งกองทุนเปิดกรุงไทยโกลบอลเทรเชอรี่ ฟันด์ เพิ่มอีกจำนวน 2 กองทุน ซึ่งเป็นกองทุนตลาดเงิน (มันนี่มาร์เก็ต) ที่เน้นลงทุนสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐและสกุลเงินยูโร เพื่อเพิ่มทางเลือกการลงทุนให้กับลูกค้าในสกุลอื่นๆ นอกเหนือจากสกุลเงินปอนด์ ที่บริษัทเปิดขายไปแล้วก่อนหน้านี้ และได้รับความสนใจจากผู้ลงทุนพอสมควร นอกจากนี้ ในอนาคตบริษัทยังมีแผนตั้งกองทุนที่ลงทุนในสกุลเงินออสเตรเลียดอลลาร์และเงินหยวนด้วย
ทั้งนี้ กองทุนเปิดกรุงไทยโกลบอลเทรเชอรี่ ฟันด์ ที่จะลงทุนในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐและสกุลเงินยูโรนั้น จะลงทุนผ่านกองทุน Global Treasury Funds ที่บริหารกองทุนโดย RBS Asset management (Dublin) Limited ซึ่งเป็นกองทุนเดียวกันกับกองทุนแรกที่ลงทุนใน Pound Sterling
"เดิมทีเราตั้งใจจะเลือกให้ลูกค้าเองว่า จังหวะไหนจะลงทุนในสกุลเงินใด เพราะกองทุนเปิดกรุงไทยโกลบอลเทรเชอรี่ ฟันด์สามารถสับเปลี่ยนการลงทุนไปสกลุเงินดอลลาร์สหรัฐและยูโรได้ จากการลงทุนในเงินปอนด์ในปัจจุบัน แต่หลังจากดูความต้องการของลูกค้าแล้ว เราต้องการให้ลูกค้าเลือกเองจึงตั้งกองทุนเพิ่มเพื่อให้มีทางเลือกสำหรับลูกค้าที่มีธุรกรรมการเงินเกี่ยวกับเงินดอลลาร์สหรัฐและยูโรการ ไม่ว่าจะเป็นส่งออกหรือส่งลูกไปเรียน"นายธีรพันธุ์กล่าว
สำหรับกองทุนเปิดกรุงไทยโกลบอลเทรเชอรี่ ฟันด์ ปัจจุบันมีเงินลงทุนรวมประมาณ 100 ล้านบาท โดยในช่วง 2 เดือนตั้งแต่เปิดขายกองทุนมา สามารถสร้างผลตอบแทนในรูปเงินบาทได้แล้วประมาณ 5.59% ซึ่งที่ผ่านมานอกจากผลตอบแทนของตราสารที่กองทุนออกไปลงทุนแล้ว กองทุนยังได้ประโยชน์จากการที่ค่าเงินบาทอ่อนลงเมื่อเทียบกับเงินปอนด์ด้วย ขณะเดียวกันตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมา บริษัทได้เปิดให้นักลงทุนสามารถซื้อขายหน่วยลงทุนได้ทุกวันจากเดิมสัปดาห์ละครั้งเท่านั้น
นายธีรพันธุ์กล่าวว่า ภายในปีนี้ บริษัทตั้งเป้าระดมทุนผ่านกองทุนเปิดกรุงไทยโกลบอลเทรเชอรี่ ฟันด์ไว้ที่ 1,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมา ผู้ลงทุนส่วนใหญ่เดินเข้ามาซื้อผ่านบริษัทมากกว่าผ่านสาขาของธนาคาร เนื่องจากผู้ลงทุนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจการลงทุนของกองทุนมากนัก ซึ่งส่วนที่เข้ามาลงทุนกด็จะเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีความรู้ความเข้าใจเท่านั้น ดังนั้น บริษัทจำเป็นต้องอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจก่อน ถึงจะสามารถขยายตัวและเติบโตต่อไปได้
ทั้งนี้ กองทุนดังกล่าวมีจุดเด่นที่มีสภาพคล่องสูง เพราะผู้ลงทุนสามารถเข้าออกได้ทุกวัน นอกจากนี้ ยังมีความมั่งคงสูงจากอันดับเครดิตของตราสารที่กองทุนออกไปลงทุนตั้งแต่ AAA ขึ้นไป ซึ่งหลังจากเราออกกองทุนอีก 2 สกุลมาแล้ว จะทำให้เราเป็นบลจ. แรกที่มีการกองทุนมันนี่มาร์เกตต่างประเทศที่มีทางเลือกลงทุนมากที่สุด โดยเป้าหมายในระยะต่อไป จะเน้นดึงลูกค้าที่ส่งลูกไปเรียนต่อต่างประเทศและทำการค้ากับประเทศที่มีใช้สกุลเงินดังกล่าวเข้ามาลงทุนกับเรา และใช้เป็นฐานลูกค้าเพื่อลงทุนในกองทุนประเภทอื่นๆ ต่อไป ในอนาคต
"นักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนนี้ จะช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนได้เป็นอย่างดี เพราะนอกจากค่าเงินบาทที่อ่อนลงแล้ว ยังได้เรทอัตราแลกเปลี่ยนที่ดีกว่าจากธนาคารกรุงไทยด้วย ซึ่งเท่าที่คุยกับลูกค้าส่วนใหญ่ชอบมาก โดยเฉพาะคนที่ส่งลูกไปเรียนต่างประเทศ ซึ่งสามารถวางแผนการลงทุนล่วงหน้าได้"นายธีรพันธุ์กล่าว
**โอกาสลงทุนหุ้น-ตราสารหนี้**
นายธีรพันธุ์กล่าวถึงการลงทุนในประเทศว่า ตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ของไทยปัจจุบันถือว่ามีราคาถูกและเป็นโอกาสที่ดีในการลงทุน อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล(Yield Curve)ปรับตัวขึ้นจากช่วงต้นปีประมาณ 2% แล้วแต่อายุของตราสารหนี้ พันธบัตรอายุ 5 ปี ตอนนี้ให้ผลตอบแทน 5.6% ซึ่งถือเป็นระดับที่น่าสนใจลงทุนในขณะที่มีความเสี่ยงจากการปรับตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยไม่มากนัก โดยเฉพาะหลังจากที่ทางธนาคารกลางของยุโรปขึ้นอัตราดอกเบี้ยมา 0.25% อยู่ที่ 4.25% และส่งสัญญาณว่าจะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเพราะเพียงพอต่อการดูแลอัตราเงินเฟ้อของประเทศ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ(FED FUND RATE)เองนักวิเคราะห์มองว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ 2.0% ไปจนถึงสิ้นปีนี้และในปีหน้ามีแต่มองว่าจะคงไว้ที่ 2.0% หรือปรับลดลงไป 1.0% คือมีแนวโน้มที่จะทรงตัวหรือปรับตัวลดลง
โดยแนวโน้มดังกล่าว ทำให้ดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เองที่ระดับ 3.25% ในปัจจุบัน ก็มีแนวโน้มที่ทรงตัวหรือปรับตัวขึ้นได้อีกเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าภายในสิ้นปีนี้ถ้าจะปรับขึ้นก็ไม่เกิน 0.25-0.50% หรืออาจจะไม่มีการปรับขึ้นก็ได้ เพราะราคาน้ำมันและราคาสินค้าที่ปรับตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมาได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการบริโภคของประชาชนไปแล้วระดับหนึ่ง หากไปขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกจะยิ่งเป็นการไปเบรกการใช้เงินของคนซึ่งอาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวได้ จึงถือเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ช่วงนี้ซึ่งให้ผลตอบที่ดีทีเดียว
นายธีรพันธุ์กล่าวอีกว่า ในส่วนของตลาดหุ้นไทยเองโดยปัจจัยพื้นฐานยังถือว่าดีอยู่ แต่ตลาดปรับตัวลงมาประมาณ 20% เนื่องจากความวิตกกังวล(Panic Sell)จากปัจจัยลบต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมาโดยเฉพาะปัจจัยทางการเมือง ประกอบกับปัญหาซับไพร์มในสหรัฐที่ยังไม่นิ่งทำให้กองทุนบริหารความเสี่ยง(Hedge Fund)มีการถอนเงินออกจากตลาดหุ้นทั่วเอเชียในช่วงที่ผ่านมารวมทั้งประเทศไทย แต่ถ้ามองดูปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศไทยแล้วไม่เลวร้าย อย่างตลาดหุ้นจีนลงมาแล้ว 50% ในขณะที่เศรษฐกิจยังโต 9% แต่ตลาดหุ้นสหรัฐซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาปรับตัวลงมาประมาณ 15% เท่านั้น ถ้าเรามองจากปัจจัยพื้นฐานแล้วในที่สุดเม็ดเงินลงทุนของต่างชาติในที่สุดจะต้องไหลกลับเข้ามา
“ถ้าเศรษฐกิจไทยเติบโตได้ 5-6% ดัชนีตลาดหุ้นควรจะอยู่ที่ 900-1,000 จุด แต่ถ้าเศรษฐกิจไทยโตต่ำกว่า 4.0% ดัชนีตลาดหุ้นไทยอาจจะอยู่ที่ระดับ 800 จุด เพราะปี2550 เศรษฐกิจไทยโต 4.7% ดัชนีอยู่ประมาณ 860 จุด ทั้งนี้เชื่อว่าผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนของไทยยังดีอยู่ แม้ให้ยอดขายเท่าเดิมหรือลดลงเล็กน้อยแต่ราคาที่ปรับขึ้นจะช่วยให้บริษัทรักษาระดับการเติบโตของกำไรเอาไว้ได้”นายธีรพันธุ์กล่าว
นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน รองกรรมการผู้จัดการ สายงานจัดการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTAM เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างยื่นขอจัดตั้งกองทุนเปิดกรุงไทยโกลบอลเทรเชอรี่ ฟันด์ เพิ่มอีกจำนวน 2 กองทุน ซึ่งเป็นกองทุนตลาดเงิน (มันนี่มาร์เก็ต) ที่เน้นลงทุนสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐและสกุลเงินยูโร เพื่อเพิ่มทางเลือกการลงทุนให้กับลูกค้าในสกุลอื่นๆ นอกเหนือจากสกุลเงินปอนด์ ที่บริษัทเปิดขายไปแล้วก่อนหน้านี้ และได้รับความสนใจจากผู้ลงทุนพอสมควร นอกจากนี้ ในอนาคตบริษัทยังมีแผนตั้งกองทุนที่ลงทุนในสกุลเงินออสเตรเลียดอลลาร์และเงินหยวนด้วย
ทั้งนี้ กองทุนเปิดกรุงไทยโกลบอลเทรเชอรี่ ฟันด์ ที่จะลงทุนในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐและสกุลเงินยูโรนั้น จะลงทุนผ่านกองทุน Global Treasury Funds ที่บริหารกองทุนโดย RBS Asset management (Dublin) Limited ซึ่งเป็นกองทุนเดียวกันกับกองทุนแรกที่ลงทุนใน Pound Sterling
"เดิมทีเราตั้งใจจะเลือกให้ลูกค้าเองว่า จังหวะไหนจะลงทุนในสกุลเงินใด เพราะกองทุนเปิดกรุงไทยโกลบอลเทรเชอรี่ ฟันด์สามารถสับเปลี่ยนการลงทุนไปสกลุเงินดอลลาร์สหรัฐและยูโรได้ จากการลงทุนในเงินปอนด์ในปัจจุบัน แต่หลังจากดูความต้องการของลูกค้าแล้ว เราต้องการให้ลูกค้าเลือกเองจึงตั้งกองทุนเพิ่มเพื่อให้มีทางเลือกสำหรับลูกค้าที่มีธุรกรรมการเงินเกี่ยวกับเงินดอลลาร์สหรัฐและยูโรการ ไม่ว่าจะเป็นส่งออกหรือส่งลูกไปเรียน"นายธีรพันธุ์กล่าว
สำหรับกองทุนเปิดกรุงไทยโกลบอลเทรเชอรี่ ฟันด์ ปัจจุบันมีเงินลงทุนรวมประมาณ 100 ล้านบาท โดยในช่วง 2 เดือนตั้งแต่เปิดขายกองทุนมา สามารถสร้างผลตอบแทนในรูปเงินบาทได้แล้วประมาณ 5.59% ซึ่งที่ผ่านมานอกจากผลตอบแทนของตราสารที่กองทุนออกไปลงทุนแล้ว กองทุนยังได้ประโยชน์จากการที่ค่าเงินบาทอ่อนลงเมื่อเทียบกับเงินปอนด์ด้วย ขณะเดียวกันตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมา บริษัทได้เปิดให้นักลงทุนสามารถซื้อขายหน่วยลงทุนได้ทุกวันจากเดิมสัปดาห์ละครั้งเท่านั้น
นายธีรพันธุ์กล่าวว่า ภายในปีนี้ บริษัทตั้งเป้าระดมทุนผ่านกองทุนเปิดกรุงไทยโกลบอลเทรเชอรี่ ฟันด์ไว้ที่ 1,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมา ผู้ลงทุนส่วนใหญ่เดินเข้ามาซื้อผ่านบริษัทมากกว่าผ่านสาขาของธนาคาร เนื่องจากผู้ลงทุนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจการลงทุนของกองทุนมากนัก ซึ่งส่วนที่เข้ามาลงทุนกด็จะเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีความรู้ความเข้าใจเท่านั้น ดังนั้น บริษัทจำเป็นต้องอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจก่อน ถึงจะสามารถขยายตัวและเติบโตต่อไปได้
ทั้งนี้ กองทุนดังกล่าวมีจุดเด่นที่มีสภาพคล่องสูง เพราะผู้ลงทุนสามารถเข้าออกได้ทุกวัน นอกจากนี้ ยังมีความมั่งคงสูงจากอันดับเครดิตของตราสารที่กองทุนออกไปลงทุนตั้งแต่ AAA ขึ้นไป ซึ่งหลังจากเราออกกองทุนอีก 2 สกุลมาแล้ว จะทำให้เราเป็นบลจ. แรกที่มีการกองทุนมันนี่มาร์เกตต่างประเทศที่มีทางเลือกลงทุนมากที่สุด โดยเป้าหมายในระยะต่อไป จะเน้นดึงลูกค้าที่ส่งลูกไปเรียนต่อต่างประเทศและทำการค้ากับประเทศที่มีใช้สกุลเงินดังกล่าวเข้ามาลงทุนกับเรา และใช้เป็นฐานลูกค้าเพื่อลงทุนในกองทุนประเภทอื่นๆ ต่อไป ในอนาคต
"นักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนนี้ จะช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนได้เป็นอย่างดี เพราะนอกจากค่าเงินบาทที่อ่อนลงแล้ว ยังได้เรทอัตราแลกเปลี่ยนที่ดีกว่าจากธนาคารกรุงไทยด้วย ซึ่งเท่าที่คุยกับลูกค้าส่วนใหญ่ชอบมาก โดยเฉพาะคนที่ส่งลูกไปเรียนต่างประเทศ ซึ่งสามารถวางแผนการลงทุนล่วงหน้าได้"นายธีรพันธุ์กล่าว
**โอกาสลงทุนหุ้น-ตราสารหนี้**
นายธีรพันธุ์กล่าวถึงการลงทุนในประเทศว่า ตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ของไทยปัจจุบันถือว่ามีราคาถูกและเป็นโอกาสที่ดีในการลงทุน อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล(Yield Curve)ปรับตัวขึ้นจากช่วงต้นปีประมาณ 2% แล้วแต่อายุของตราสารหนี้ พันธบัตรอายุ 5 ปี ตอนนี้ให้ผลตอบแทน 5.6% ซึ่งถือเป็นระดับที่น่าสนใจลงทุนในขณะที่มีความเสี่ยงจากการปรับตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยไม่มากนัก โดยเฉพาะหลังจากที่ทางธนาคารกลางของยุโรปขึ้นอัตราดอกเบี้ยมา 0.25% อยู่ที่ 4.25% และส่งสัญญาณว่าจะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเพราะเพียงพอต่อการดูแลอัตราเงินเฟ้อของประเทศ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ(FED FUND RATE)เองนักวิเคราะห์มองว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ 2.0% ไปจนถึงสิ้นปีนี้และในปีหน้ามีแต่มองว่าจะคงไว้ที่ 2.0% หรือปรับลดลงไป 1.0% คือมีแนวโน้มที่จะทรงตัวหรือปรับตัวลดลง
โดยแนวโน้มดังกล่าว ทำให้ดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เองที่ระดับ 3.25% ในปัจจุบัน ก็มีแนวโน้มที่ทรงตัวหรือปรับตัวขึ้นได้อีกเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าภายในสิ้นปีนี้ถ้าจะปรับขึ้นก็ไม่เกิน 0.25-0.50% หรืออาจจะไม่มีการปรับขึ้นก็ได้ เพราะราคาน้ำมันและราคาสินค้าที่ปรับตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมาได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการบริโภคของประชาชนไปแล้วระดับหนึ่ง หากไปขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกจะยิ่งเป็นการไปเบรกการใช้เงินของคนซึ่งอาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวได้ จึงถือเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ช่วงนี้ซึ่งให้ผลตอบที่ดีทีเดียว
นายธีรพันธุ์กล่าวอีกว่า ในส่วนของตลาดหุ้นไทยเองโดยปัจจัยพื้นฐานยังถือว่าดีอยู่ แต่ตลาดปรับตัวลงมาประมาณ 20% เนื่องจากความวิตกกังวล(Panic Sell)จากปัจจัยลบต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมาโดยเฉพาะปัจจัยทางการเมือง ประกอบกับปัญหาซับไพร์มในสหรัฐที่ยังไม่นิ่งทำให้กองทุนบริหารความเสี่ยง(Hedge Fund)มีการถอนเงินออกจากตลาดหุ้นทั่วเอเชียในช่วงที่ผ่านมารวมทั้งประเทศไทย แต่ถ้ามองดูปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศไทยแล้วไม่เลวร้าย อย่างตลาดหุ้นจีนลงมาแล้ว 50% ในขณะที่เศรษฐกิจยังโต 9% แต่ตลาดหุ้นสหรัฐซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาปรับตัวลงมาประมาณ 15% เท่านั้น ถ้าเรามองจากปัจจัยพื้นฐานแล้วในที่สุดเม็ดเงินลงทุนของต่างชาติในที่สุดจะต้องไหลกลับเข้ามา
“ถ้าเศรษฐกิจไทยเติบโตได้ 5-6% ดัชนีตลาดหุ้นควรจะอยู่ที่ 900-1,000 จุด แต่ถ้าเศรษฐกิจไทยโตต่ำกว่า 4.0% ดัชนีตลาดหุ้นไทยอาจจะอยู่ที่ระดับ 800 จุด เพราะปี2550 เศรษฐกิจไทยโต 4.7% ดัชนีอยู่ประมาณ 860 จุด ทั้งนี้เชื่อว่าผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนของไทยยังดีอยู่ แม้ให้ยอดขายเท่าเดิมหรือลดลงเล็กน้อยแต่ราคาที่ปรับขึ้นจะช่วยให้บริษัทรักษาระดับการเติบโตของกำไรเอาไว้ได้”นายธีรพันธุ์กล่าว