การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในปี 2551 เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม และกินเวลาข้ามเดือนมิถุนายน มาถึงปัจจุบันก็ย่างเข้าเดือนใหม่ เดือนกรกฎาคมแล้ว
ดังเช่นที่ คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ประกาศไปบนเวทีพันธมิตรฯ ในคืนวันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน แล้วว่าการชุมนุมต่อเนื่องยาวนานสามสิบกว่าวันของประชาชนนับแสน นับล้านนั้นมิได้เป็นการชุมนุมที่สูญเปล่า หรือประชาชนต้องเหนื่อยฟรี แต่เป็นการชุมนุมแสดงเจตนารมณ์และแสดงพลังที่ก่อให้เกิดผลในการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางรูปธรรมและนามธรรมมากมาย
ความสำเร็จในทางรูปธรรมนั้นมีปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐานแล้ว 15 ประการ เช่น ทำให้การกระทำผิดด้วยการหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ของนายจักรภพ เพ็ญแขนั้นเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้นายจักรภพต้องประกาศลาออกจากตำแหน่ง ทำให้ญัตติการล้มล้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ที่เสนอโดย ส.ส.-ส.ว. ฝ่ายระบอบทักษิณต้องล้มเลิกไปเนื่องจากมีการกดดันให้ ส.ว. ต้องถอนรายชื่อจนญัตติตก
นอกจากนี้การชุมนุมครั้งนี้ยังส่งผลให้มีการเปิดโปงการกระทำผิดของคณะกรรมการการเลือกตั้งกรณีปลอมแปลงเอกสารเพื่อช่วยเหลือนายยงยุทธ ติยะไพรัชในคดีทุจริตการเลือกตั้ง อันสะท้อนให้เห็นถึงความไม่ชอบมาพากลและกลไกที่บิดเบี้ยวภายในองค์กร กกต. พร้อมกันนั้นยังกดดันให้การใช้อำนาจมิชอบของรัฐตำรวจในการดำเนินคดีกับ นายสุนัย มโนมัยอุดม อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) นั้นมิอาจเดินหน้าต่อไปได้โดยสะดวก
ในกรณีของ คตส. ถือเป็นเรื่องน่ายินดียิ่งที่ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ที่ผ่านมา กรรมการทั้ง 11 คน สิ้นสุดวาระการทำงานโดยมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญรับรององค์กรและการทำงานขององค์กร พร้อมกันนั้นยังสามารถส่งไม้ต่อให้กับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้อย่างเรียบร้อย
ทั้งนี้ผลสำเร็จจากการชุมนุมที่ถือได้ว่ายิ่งใหญ่ที่สุดอีกประการหนึ่งก็คือ การทำให้มติคณะรัฐมนตรีและการลงนามในแถลงการณ์ร่วม (Joint Communique) ของ นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ ในการสนับสนุนให้ประเทศกัมพูชาจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกนั้นต้องกลายเป็นโมฆะเนื่องจากคำสั่งของศาลปกครอง นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวของประชาชน นักวิชาการ และนักการเมืองในวงกว้างเพื่อหยุดยั้งการกระทำของรัฐบาลไทยที่มีความสุ่มเสี่ยงสูงว่าจะก่อให้เกิดการสูญเสียในดินแดนและอธิปไตยเหนือดินแดนของชาติ
ในส่วนของผลสำเร็จในเชิงนามธรรมนั้น ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดจากการชุมนุมหนึ่งเดือนกว่าๆ ที่ผ่านมาของกลุ่มพันธมิตรฯ ก็คือ การก่อให้เกิดจิตสำนึกใหม่ทางการเมือง โดยทำให้ประชาชนจำนวนหลายล้านคนทราบว่า ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้นประชาชนมิได้มีส่วนร่วมเพียงแค่เวลา “ลงคะแนนเลือกตั้ง” เท่านั้น แต่สามารถมีส่วนร่วมได้ตลอดเวลา ทั้งในเชิงของการตรวจสอบผู้ใช้อำนาจรัฐ การต่อต้านการใช้อำนาจรัฐโดยไม่ชอบธรรม คัดค้านการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม รวมถึงการเสนอกฎหมายและแนวทางปฏิบัติให้แก่ฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ
กระนั้น การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ มิได้มีความท้าทายเพียงแค่นี้ แต่ในช่วงเดือนกว่าๆ ที่ผ่านมา 5 แกนนำและผู้ประสานงานพันธมิตรฯ รวมถึงวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านยังกล่าวย้ำถึงจุดมุ่งหมายของ “ภารกิจการสร้างการเมืองใหม่” อีกด้วย
การเมืองใหม่ของพันธมิตรฯ คืออะไร? หลายคนสงสัย หลายคนกังขา คือ สูตร 30:70 หรือ 70:30 ใช่หรือไม่? คือลัทธิชาตินิยมใหม่หรือไม่? คือการฟื้นคืนชีพของระบอบอำมาตยาธิปไตยหรือไม่?
ในทัศนะส่วนบุคคล ผมเห็นว่า จุดมุ่งหมายที่สูงที่สุดของ “การเมืองใหม่” ในสายตาของพันธมิตรฯ ก็คือ การเมืองที่นักการเมืองและประชาชนไม่เพียงแต่ยึดข้อกฎหมายในการดำเนินชีวิตและดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเท่านั้น แต่ยึดถือเอาขนบ ประเพณี คุณธรรม และจริยธรรมอันดีงามของสังคมเข้ามาประกอบไว้ด้วย
หรือกล่าวอย่างง่ายๆ ก็คือ การเมืองใหม่ = การเมืองที่มียางอาย นั่นเอง
คงจำกันได้ว่าเมื่อครั้งที่ครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีขายหุ้นชินคอร์ปโดยไม่เสียภาษี ฝ่ายกฎหมายฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณเคยอ้างถึงเรื่อง “ถูกกฎหมายเท่ากับถูกจริยธรรม” ขึ้นมา
การยกเรื่องถูกกฎหมายเท่ากับถูกจริยธรรม ขึ้นมาครั้งนั้นนับเป็นเรื่องที่น่าสมเพชที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ด้วยเหตุผลที่ว่า การปฏิบัติตามกฎหมายแท้จริงแล้วก็คือกติกาขั้นต่ำที่สุดที่คนในสังคมคนหนึ่งควรจะปฏิบัติ แต่มิได้หมายความว่า “ถูกกฎหมายเท่ากับถูกจริยธรรม” แต่อย่างใด
นักการเมืองไทยมักจะกล่าวอ้างถึงมาตรฐานสากลอยู่เสมอ เมื่อกล่าวถึงประเด็นเรื่องผลประโยชน์ทางธุรกิจ-ตลาดหุ้น ระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สิทธิ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎหมายต่างๆ ทว่า นักการเมืองไทย ไม่เคยเลยที่จะอ้างถึงเรื่องคุณธรรม จริยธรรมของนักการเมืองในระดับสากล อย่าว่าแต่จะยึดถือและปฏิบัติ
ทำไม? เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2549 นายลี แฮชาน นายกรัฐมนตรีของเกาหลีใต้ จึงได้ยื่นใบลาออกต่อประธานาธิบดี โรห์ มูฮุน เพียงเพราะสื่อมวลชนและประชาชนเรียกร้องให้ลาออกด้วยข้อหาที่ว่า นายลี ละเลยหน้าที่ด้วยการไปเล่นกอล์ฟกับนักธุรกิจในระหว่างที่บรรดาพนักงานรถไฟนัดหยุดงานประท้วงเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2549
...... ทั้งๆ ที่ กฎหมายของเกาหลีใต้ก็ไม่ได้ห้ามนายกฯ ไปตีกอล์ฟระหว่างที่มีการประท้วง
ทำไม? เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2551 นายเอเลียต สปิตเซอร์ ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก จึงประกาศลาออกจากตำแหน่ง หลังจากถูกจับได้ว่าซื้อบริการทางเพศจากโสเภณีชั้นสูง โดยมิได้อ้างหรือแก้ตัวเลยว่าตัวเขาเองนั้นเคยถูกยกย่องว่าเป็น ‘มิสเตอร์คลีน’ หรือนักการเมืองที่มีคุณธรรมจากผลงานการกวาดล้างอาชญากรรม ผลงานการจัดตั้งและแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในตลาดหุ้นวอลล์สตรีท
...... ทั้งๆ ที่กฎหมายของนิวยอร์กก็ไม่ได้ระบุว่า ถ้าผู้ว่าการรัฐต้องพ้นจากตำแหน่งถ้าซื้อบริการทางเพศ
หรือกรณีล่าสุด ทำไม? เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีของเกาหลีใต้จึงยื่นจดหมายลาออกจากตำแหน่งทั้งคณะต่อประธานาธิบดีลี เมียงบัก เพื่อแสดงความรับผิดชอบจากกรณีที่รัฐบาลมีคำสั่งอนุญาตให้นำเข้าเนื้อวัวจากสหรัฐอเมริกาได้อีกครั้ง ทั้งๆ ที่ชาวเกาหลีใต้ยังหวาดกลัวต่อปัญหาเชื้อวัวบ้าในเนื้อวัวที่นำเข้าจากสหรัฐฯ อันส่งผลให้มีชาวเกาหลีออกมาชุมนุมประท้วงต่อเนื่องยาวนานกว่า 1 เดือน
...... ทั้งๆ ที่คณะรัฐมนตรีเพิ่งเข้ามาทำงานได้เพียงสามเดือน และกฎหมายของเกาหลีใต้ก็ไม่ได้กำหนดให้ ครม.ต้องลาออกหากเกิดกรณีทำนองนี้ขึ้น
คำตอบสั้นๆ ที่ผมพอจะหาได้จากคำถามเหล่านี้ก็คือ นักการเมืองในประเทศที่พัฒนาแล้วเขามี “ยางอาย” ครับ และถึงแม้ปากของพวกเขาจะไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม หรือศาสนาใดๆ แต่พวกเขาก็มีคุณธรรมมากกว่านักการเมืองไทยที่บอกว่าตัวเองนับถือศาสนาพุทธ กราบไหว้พระสงฆ์ ทั้งยังเคยปฏิญาณตนต่อพระพักตร์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เพียงแค่ทำให้นักการเมืองไทยมียางอายได้สักครึ่งหนึ่งของนักการเมืองเกาหลีใต้หรือนักการเมืองอเมริกันที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น การเมืองไทยโฉมใหม่ในความหมายของพันธมิตรฯ ก็คงเกิดขึ้นได้โดยอัตโนมัติ แต่ว่า การเมืองใหม่ข้างต้นจะเกิดไม่ได้เลยหากประชาชนส่วนใหญ่ยังมี ‘รสนิยมสาธารณ์ทางการเมือง’ อยู่เช่นนี้
ดังเช่นที่ คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ประกาศไปบนเวทีพันธมิตรฯ ในคืนวันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน แล้วว่าการชุมนุมต่อเนื่องยาวนานสามสิบกว่าวันของประชาชนนับแสน นับล้านนั้นมิได้เป็นการชุมนุมที่สูญเปล่า หรือประชาชนต้องเหนื่อยฟรี แต่เป็นการชุมนุมแสดงเจตนารมณ์และแสดงพลังที่ก่อให้เกิดผลในการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางรูปธรรมและนามธรรมมากมาย
ความสำเร็จในทางรูปธรรมนั้นมีปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐานแล้ว 15 ประการ เช่น ทำให้การกระทำผิดด้วยการหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ของนายจักรภพ เพ็ญแขนั้นเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้นายจักรภพต้องประกาศลาออกจากตำแหน่ง ทำให้ญัตติการล้มล้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ที่เสนอโดย ส.ส.-ส.ว. ฝ่ายระบอบทักษิณต้องล้มเลิกไปเนื่องจากมีการกดดันให้ ส.ว. ต้องถอนรายชื่อจนญัตติตก
นอกจากนี้การชุมนุมครั้งนี้ยังส่งผลให้มีการเปิดโปงการกระทำผิดของคณะกรรมการการเลือกตั้งกรณีปลอมแปลงเอกสารเพื่อช่วยเหลือนายยงยุทธ ติยะไพรัชในคดีทุจริตการเลือกตั้ง อันสะท้อนให้เห็นถึงความไม่ชอบมาพากลและกลไกที่บิดเบี้ยวภายในองค์กร กกต. พร้อมกันนั้นยังกดดันให้การใช้อำนาจมิชอบของรัฐตำรวจในการดำเนินคดีกับ นายสุนัย มโนมัยอุดม อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) นั้นมิอาจเดินหน้าต่อไปได้โดยสะดวก
ในกรณีของ คตส. ถือเป็นเรื่องน่ายินดียิ่งที่ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ที่ผ่านมา กรรมการทั้ง 11 คน สิ้นสุดวาระการทำงานโดยมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญรับรององค์กรและการทำงานขององค์กร พร้อมกันนั้นยังสามารถส่งไม้ต่อให้กับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้อย่างเรียบร้อย
ทั้งนี้ผลสำเร็จจากการชุมนุมที่ถือได้ว่ายิ่งใหญ่ที่สุดอีกประการหนึ่งก็คือ การทำให้มติคณะรัฐมนตรีและการลงนามในแถลงการณ์ร่วม (Joint Communique) ของ นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ ในการสนับสนุนให้ประเทศกัมพูชาจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกนั้นต้องกลายเป็นโมฆะเนื่องจากคำสั่งของศาลปกครอง นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวของประชาชน นักวิชาการ และนักการเมืองในวงกว้างเพื่อหยุดยั้งการกระทำของรัฐบาลไทยที่มีความสุ่มเสี่ยงสูงว่าจะก่อให้เกิดการสูญเสียในดินแดนและอธิปไตยเหนือดินแดนของชาติ
ในส่วนของผลสำเร็จในเชิงนามธรรมนั้น ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดจากการชุมนุมหนึ่งเดือนกว่าๆ ที่ผ่านมาของกลุ่มพันธมิตรฯ ก็คือ การก่อให้เกิดจิตสำนึกใหม่ทางการเมือง โดยทำให้ประชาชนจำนวนหลายล้านคนทราบว่า ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้นประชาชนมิได้มีส่วนร่วมเพียงแค่เวลา “ลงคะแนนเลือกตั้ง” เท่านั้น แต่สามารถมีส่วนร่วมได้ตลอดเวลา ทั้งในเชิงของการตรวจสอบผู้ใช้อำนาจรัฐ การต่อต้านการใช้อำนาจรัฐโดยไม่ชอบธรรม คัดค้านการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม รวมถึงการเสนอกฎหมายและแนวทางปฏิบัติให้แก่ฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ
กระนั้น การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ มิได้มีความท้าทายเพียงแค่นี้ แต่ในช่วงเดือนกว่าๆ ที่ผ่านมา 5 แกนนำและผู้ประสานงานพันธมิตรฯ รวมถึงวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านยังกล่าวย้ำถึงจุดมุ่งหมายของ “ภารกิจการสร้างการเมืองใหม่” อีกด้วย
การเมืองใหม่ของพันธมิตรฯ คืออะไร? หลายคนสงสัย หลายคนกังขา คือ สูตร 30:70 หรือ 70:30 ใช่หรือไม่? คือลัทธิชาตินิยมใหม่หรือไม่? คือการฟื้นคืนชีพของระบอบอำมาตยาธิปไตยหรือไม่?
ในทัศนะส่วนบุคคล ผมเห็นว่า จุดมุ่งหมายที่สูงที่สุดของ “การเมืองใหม่” ในสายตาของพันธมิตรฯ ก็คือ การเมืองที่นักการเมืองและประชาชนไม่เพียงแต่ยึดข้อกฎหมายในการดำเนินชีวิตและดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเท่านั้น แต่ยึดถือเอาขนบ ประเพณี คุณธรรม และจริยธรรมอันดีงามของสังคมเข้ามาประกอบไว้ด้วย
หรือกล่าวอย่างง่ายๆ ก็คือ การเมืองใหม่ = การเมืองที่มียางอาย นั่นเอง
คงจำกันได้ว่าเมื่อครั้งที่ครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีขายหุ้นชินคอร์ปโดยไม่เสียภาษี ฝ่ายกฎหมายฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณเคยอ้างถึงเรื่อง “ถูกกฎหมายเท่ากับถูกจริยธรรม” ขึ้นมา
การยกเรื่องถูกกฎหมายเท่ากับถูกจริยธรรม ขึ้นมาครั้งนั้นนับเป็นเรื่องที่น่าสมเพชที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ด้วยเหตุผลที่ว่า การปฏิบัติตามกฎหมายแท้จริงแล้วก็คือกติกาขั้นต่ำที่สุดที่คนในสังคมคนหนึ่งควรจะปฏิบัติ แต่มิได้หมายความว่า “ถูกกฎหมายเท่ากับถูกจริยธรรม” แต่อย่างใด
นักการเมืองไทยมักจะกล่าวอ้างถึงมาตรฐานสากลอยู่เสมอ เมื่อกล่าวถึงประเด็นเรื่องผลประโยชน์ทางธุรกิจ-ตลาดหุ้น ระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สิทธิ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎหมายต่างๆ ทว่า นักการเมืองไทย ไม่เคยเลยที่จะอ้างถึงเรื่องคุณธรรม จริยธรรมของนักการเมืองในระดับสากล อย่าว่าแต่จะยึดถือและปฏิบัติ
ทำไม? เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2549 นายลี แฮชาน นายกรัฐมนตรีของเกาหลีใต้ จึงได้ยื่นใบลาออกต่อประธานาธิบดี โรห์ มูฮุน เพียงเพราะสื่อมวลชนและประชาชนเรียกร้องให้ลาออกด้วยข้อหาที่ว่า นายลี ละเลยหน้าที่ด้วยการไปเล่นกอล์ฟกับนักธุรกิจในระหว่างที่บรรดาพนักงานรถไฟนัดหยุดงานประท้วงเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2549
...... ทั้งๆ ที่ กฎหมายของเกาหลีใต้ก็ไม่ได้ห้ามนายกฯ ไปตีกอล์ฟระหว่างที่มีการประท้วง
ทำไม? เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2551 นายเอเลียต สปิตเซอร์ ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก จึงประกาศลาออกจากตำแหน่ง หลังจากถูกจับได้ว่าซื้อบริการทางเพศจากโสเภณีชั้นสูง โดยมิได้อ้างหรือแก้ตัวเลยว่าตัวเขาเองนั้นเคยถูกยกย่องว่าเป็น ‘มิสเตอร์คลีน’ หรือนักการเมืองที่มีคุณธรรมจากผลงานการกวาดล้างอาชญากรรม ผลงานการจัดตั้งและแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในตลาดหุ้นวอลล์สตรีท
...... ทั้งๆ ที่กฎหมายของนิวยอร์กก็ไม่ได้ระบุว่า ถ้าผู้ว่าการรัฐต้องพ้นจากตำแหน่งถ้าซื้อบริการทางเพศ
หรือกรณีล่าสุด ทำไม? เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีของเกาหลีใต้จึงยื่นจดหมายลาออกจากตำแหน่งทั้งคณะต่อประธานาธิบดีลี เมียงบัก เพื่อแสดงความรับผิดชอบจากกรณีที่รัฐบาลมีคำสั่งอนุญาตให้นำเข้าเนื้อวัวจากสหรัฐอเมริกาได้อีกครั้ง ทั้งๆ ที่ชาวเกาหลีใต้ยังหวาดกลัวต่อปัญหาเชื้อวัวบ้าในเนื้อวัวที่นำเข้าจากสหรัฐฯ อันส่งผลให้มีชาวเกาหลีออกมาชุมนุมประท้วงต่อเนื่องยาวนานกว่า 1 เดือน
...... ทั้งๆ ที่คณะรัฐมนตรีเพิ่งเข้ามาทำงานได้เพียงสามเดือน และกฎหมายของเกาหลีใต้ก็ไม่ได้กำหนดให้ ครม.ต้องลาออกหากเกิดกรณีทำนองนี้ขึ้น
คำตอบสั้นๆ ที่ผมพอจะหาได้จากคำถามเหล่านี้ก็คือ นักการเมืองในประเทศที่พัฒนาแล้วเขามี “ยางอาย” ครับ และถึงแม้ปากของพวกเขาจะไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม หรือศาสนาใดๆ แต่พวกเขาก็มีคุณธรรมมากกว่านักการเมืองไทยที่บอกว่าตัวเองนับถือศาสนาพุทธ กราบไหว้พระสงฆ์ ทั้งยังเคยปฏิญาณตนต่อพระพักตร์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เพียงแค่ทำให้นักการเมืองไทยมียางอายได้สักครึ่งหนึ่งของนักการเมืองเกาหลีใต้หรือนักการเมืองอเมริกันที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น การเมืองไทยโฉมใหม่ในความหมายของพันธมิตรฯ ก็คงเกิดขึ้นได้โดยอัตโนมัติ แต่ว่า การเมืองใหม่ข้างต้นจะเกิดไม่ได้เลยหากประชาชนส่วนใหญ่ยังมี ‘รสนิยมสาธารณ์ทางการเมือง’ อยู่เช่นนี้